พิมพ์ "เซลล์ดวงตา" ด้วยอิงค์เจ็ท ความหวังรักษาตาบอด
นับเป็นความหวังสำหรับผู้ที่ตาบอดหรือสูญ เสียการมองเห็น เมื่อทีมนักวิจัยเมืองผู้ดีพบวิธีพิมพ์เซลล์ประสาทของดวงตาขึ้นมาใหม่ได้ ด้วยเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท ได้เซลล์มีชีวิตและยังคงประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ไว้ได้ งานวิจัยดังกล่าวเป็นผลงานของทีมจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University) สหราชอาณาจักร ที่ได้ทำการทดลองในเซลล์สัตว์ และตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยลงในวารสาร ไบโอเฟบริเคชัน (Biofabriccation) ซึ่งบีบีซีนิวส์รายงานว่า เทคนิคที่พวกเขาพัฒนาขึ้นนี้จะนำไปสู่การรักษาคนไข้ที่สูญเสียการมองเห็น อันเนื่องจากจอประสาทตา หรือ "เรตินา" (retina) เสียหาย
ผลการวิจัยในเบื้องต้น นักวิจัยพบว่าเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทสามารถใช้พิมพ์เซลล์ 2 ชนิดที่มาจากเนื้อเยื่อจอประสาทตาของหนูทดลองที่โตเต็มวัย ได้แก่ เซลล์แกงเกลียน (ganglion cells) และเซลล์เกลียล (glial cells) ซึ่งเซลล์ 2 ชนิดนี้ทำหน้าที่ส่งสัญญาณข้อมูลจากดวงตาไปยังสมอง รวมถึงทำหน้าที่ค้ำจุนและปกป้องเซลล์ประสาทตาด้วย ทั้งนี้ เซลล์ที่พิมพ์ออกมาได้นั้นมีความสมบูรณ์และยังคงความสามารถอยู่รอดและเจริญ เติบโตในห้องทดลองได้
ศ.คีธ มาร์ติน (Prof Keith Martin) และ ดร.บาร์บารา ลอร์เบอร์ (Dr Barbara Lorber) จากศูนย์ฟื้นฟูสมอง จอห์น แวน กีสท์ (John van Geest Centre for Brain Repair) มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งร่วมในทีมวิจัย กล่าวว่า ความเสียหายของเซลล์ประสาทในจอประสาทตาเป็นหนึ่งในหลายรูปแบบของภาวะการสูญเสียการมองเห็นของดวงตา จอประสาทตาเป็นโครงสร้างอวัยวะที่ยอดเยี่ยม มีการจัดเรียงตัวของเซลล์อย่างพิถีพิถันและสัมพันธ์กันกับเซลล์อีกชนิดเพื่อ ทำหน้าที่ในการมองเห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
"การศึกษาของพวกเรานั้นแสดงให้เห็นเป็นครั้งแรกว่า เซลล์ที่ได้มาจากระบบประสาทส่วนกลางที่เจริญเต็มที่ ซึ่งในที่นี้คือดวงตา นั้นสามารถพิมพ์ออกมาได้ด้วยเครื่องพิมพ์เพียโซอิเล็กทริกอิงค์เจ็ท (piezoelectric inkjet printer) แม้ว่าผลที่ได้นั้นจะเป็นเพียงแค่ความสำเร็จในชั้นต้น และยังจำเป็นต้องศึกษาต่ออีกมาก ซึ่งวัตถุประสงค์ในงานของเรานั้นก็คือการพัฒนาเทคโนโลยีนี้เพื่อช่วยในการ ซ่อมแซมจอประสาทตาให้แก่คนไข้ในอนาคตข้างหน้า" ทีมวิจัยเผยรายละเอียดงานวิจัย ทีมวิจัยได้วางแผนต่อไปว่าจะพยายามพิมพ์เซลล์ชนิดอื่นๆ ที่อยู่ในจอประสาทตาให้ออกมาได้ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเซลล์รูปแท่ง (rod cells)และเซลล์รูปกรวย (cone cells) ซึ่งเป็นเซลล์รับแสงในจอประสาทตานั่นเอง
ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์สามารถทำให้หนูที่ตาบอดกลับมามองเห็นได้ ด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์มาแล้ว และยังพบสัญญาณที่ดีในการปลูกฝังเรตินาไฟฟ้า (electronic retina implants) ในคนไข้อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีทั้งสองดังกล่าวนั้นเพิ่งสัมฤทธิ์ผลในเบื้องต้น และยังต้องได้รับการศึกษาวิจัยและพัฒนาอีกหลายขั้นเพื่อให้สามารถนำมาใช้ รักษาในคนไข้อย่างปลอดภัยและได้ผล
ศ.จิม เบนบริดจ์ (Prof Jim Bainbridge) แห่งโรงพยาบาลจักษุมัวร์ฟิลด์ (Moorfields Eye Hospital) ในกรุงลอนดอน อังกฤษ ให้สัมภาษณ์แก่บีบีซีนิวส์ว่า การที่นักวิจัยพบว่าเซลล์ดวงตานั้นสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในกระบวนการพิมพ์ แสดงถึงความเป็นไปได้ว่าเทคนิคนี้จะสามารถใช้สร้างเนื้อเยื่อที่มี ประสิทธิภาพสำหรับสร้างดวงตาขึ้นมาใหม่และฟื้นคืนการมองเห็นของคนไข้ได้ในอนาคต
ขอบคุณ … http://manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000156048 (ขนาดไฟล์: 168)
(manager.co.th ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ธ.ค.56)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นักวิทยาศาสตร์พัฒนาเทคนิคการพิมพ์เซลล์ดวงตา เพื่อนำไปสู่การรักษาคนไข้ที่สูญเสียการมองเห็น นับเป็นความหวังสำหรับผู้ที่ตาบอดหรือสูญ เสียการมองเห็น เมื่อทีมนักวิจัยเมืองผู้ดีพบวิธีพิมพ์เซลล์ประสาทของดวงตาขึ้นมาใหม่ได้ ด้วยเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท ได้เซลล์มีชีวิตและยังคงประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ไว้ได้ งานวิจัยดังกล่าวเป็นผลงานของทีมจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University) สหราชอาณาจักร ที่ได้ทำการทดลองในเซลล์สัตว์ และตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยลงในวารสาร ไบโอเฟบริเคชัน (Biofabriccation) ซึ่งบีบีซีนิวส์รายงานว่า เทคนิคที่พวกเขาพัฒนาขึ้นนี้จะนำไปสู่การรักษาคนไข้ที่สูญเสียการมองเห็น อันเนื่องจากจอประสาทตา หรือ "เรตินา" (retina) เสียหาย ผลการวิจัยในเบื้องต้น นักวิจัยพบว่าเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทสามารถใช้พิมพ์เซลล์ 2 ชนิดที่มาจากเนื้อเยื่อจอประสาทตาของหนูทดลองที่โตเต็มวัย ได้แก่ เซลล์แกงเกลียน (ganglion cells) และเซลล์เกลียล (glial cells) ซึ่งเซลล์ 2 ชนิดนี้ทำหน้าที่ส่งสัญญาณข้อมูลจากดวงตาไปยังสมอง รวมถึงทำหน้าที่ค้ำจุนและปกป้องเซลล์ประสาทตาด้วย ทั้งนี้ เซลล์ที่พิมพ์ออกมาได้นั้นมีความสมบูรณ์และยังคงความสามารถอยู่รอดและเจริญ เติบโตในห้องทดลองได้ ศ.คีธ มาร์ติน (Prof Keith Martin) และ ดร.บาร์บารา ลอร์เบอร์ (Dr Barbara Lorber) จากศูนย์ฟื้นฟูสมอง จอห์น แวน กีสท์ (John van Geest Centre for Brain Repair) มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งร่วมในทีมวิจัย กล่าวว่า ความเสียหายของเซลล์ประสาทในจอประสาทตาเป็นหนึ่งในหลายรูปแบบของภาวะการสูญเสียการมองเห็นของดวงตา จอประสาทตาเป็นโครงสร้างอวัยวะที่ยอดเยี่ยม มีการจัดเรียงตัวของเซลล์อย่างพิถีพิถันและสัมพันธ์กันกับเซลล์อีกชนิดเพื่อ ทำหน้าที่ในการมองเห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาพ แสดงส่วนประกอบต่างๆที่เกี่ยวข้องในการมองเห็นของดวงตา โดยมีจอประสาทตา หรือ เรตินา เป็นส่วนรับภาพอยู่ด้านหลังของดวงตา (บีบีซีนิวส์)"การศึกษาของพวกเรานั้นแสดงให้เห็นเป็นครั้งแรกว่า เซลล์ที่ได้มาจากระบบประสาทส่วนกลางที่เจริญเต็มที่ ซึ่งในที่นี้คือดวงตา นั้นสามารถพิมพ์ออกมาได้ด้วยเครื่องพิมพ์เพียโซอิเล็กทริกอิงค์เจ็ท (piezoelectric inkjet printer) แม้ว่าผลที่ได้นั้นจะเป็นเพียงแค่ความสำเร็จในชั้นต้น และยังจำเป็นต้องศึกษาต่ออีกมาก ซึ่งวัตถุประสงค์ในงานของเรานั้นก็คือการพัฒนาเทคโนโลยีนี้เพื่อช่วยในการ ซ่อมแซมจอประสาทตาให้แก่คนไข้ในอนาคตข้างหน้า" ทีมวิจัยเผยรายละเอียดงานวิจัย ทีมวิจัยได้วางแผนต่อไปว่าจะพยายามพิมพ์เซลล์ชนิดอื่นๆ ที่อยู่ในจอประสาทตาให้ออกมาได้ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเซลล์รูปแท่ง (rod cells)และเซลล์รูปกรวย (cone cells) ซึ่งเป็นเซลล์รับแสงในจอประสาทตานั่นเอง ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์สามารถทำให้หนูที่ตาบอดกลับมามองเห็นได้ ด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์มาแล้ว และยังพบสัญญาณที่ดีในการปลูกฝังเรตินาไฟฟ้า (electronic retina implants) ในคนไข้อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีทั้งสองดังกล่าวนั้นเพิ่งสัมฤทธิ์ผลในเบื้องต้น และยังต้องได้รับการศึกษาวิจัยและพัฒนาอีกหลายขั้นเพื่อให้สามารถนำมาใช้ รักษาในคนไข้อย่างปลอดภัยและได้ผล ศ.จิม เบนบริดจ์ (Prof Jim Bainbridge) แห่งโรงพยาบาลจักษุมัวร์ฟิลด์ (Moorfields Eye Hospital) ในกรุงลอนดอน อังกฤษ ให้สัมภาษณ์แก่บีบีซีนิวส์ว่า การที่นักวิจัยพบว่าเซลล์ดวงตานั้นสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในกระบวนการพิมพ์ แสดงถึงความเป็นไปได้ว่าเทคนิคนี้จะสามารถใช้สร้างเนื้อเยื่อที่มี ประสิทธิภาพสำหรับสร้างดวงตาขึ้นมาใหม่และฟื้นคืนการมองเห็นของคนไข้ได้ในอนาคต ขอบคุณ … http://manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000156048 (manager.co.th ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ธ.ค.56)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)