จาร์วิสผู้ช่วยเสมือนจริง คู่หูดิจิตอลในโลกอนาคต โดย ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์
เคยดูหนังเรื่องไอรอนแมนกันบ้างไหมครับ เชื่อว่าหลายคนต้องเคยดูกันมาบ้าง มหาเศรษฐี โทนี สตาร์ก ที่สวมใส่ชุดเกราะเหล็กเพิ่มพลังในการ์ตูนแนวซุปเปอร์ฮีโร่ของมาร์เวล เมื่อหลายสิบปีก่อนโน้น ถูกนำมาสร้างใหม่เป็นภาพยนตร์ในโลกยุคไอทีที่ประเคนความไฮเทคเข้าไปเต็มที่ถึงสามภาคมาแล้ว
สตาร์กมีคู่หูรู้ใจที่มองไม่เห็นตัวคอยช่วยเหลือ อยู่ตลอดเวลาชื่อ จาร์วิส มันคือผู้ช่วยเสมือนจริงหรือที่จริงมันก็คือสมองกลอัจฉริยะช่างเจรจา ที่ไม่เพียงคอยรับคำสั่งจากสตาร์กเท่านั้น แต่ยังเป็นเหมือนคู่สนทนาที่เพิ่มความสนุกสนานไปตลอดเรื่อง
ในชีวิตจริงทุกวันนี้เรายังไม่มีซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ฉลาดล้ำได้ถึงขั้นสนทนากับ คนได้เหมือนคนจริงๆๆอย่างมากที่มีอยู่ก็อย่าง เช่น สิรี ของแอปเปิล ซึ่งไม่รู้ว่าถึงเดี๋ยวนี้มีคนใช้งานจริงกันสักเท่าไร หรือกูเกิล เองก็มีระบบแบบนี้ด้วยเช่นกัน รวมทั้งมีแอพพลิเคชั่นทำนองเดียวกันนี้ให้เลือกมาลองใช้กันบนสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต อีกไม่น้อยด้วย ผมก็เคยเอามาลองๆ ใช้ดูได้แค่ความสนุกสนานชั่วครู่ชั่วยาม ห่างไกลจากการใช้งานจริงอาจจะเนื่องด้วยสำเนียงภาษาอังกฤษไม่เอาอ่าวพอที่ซอฟต์แวร์จะฟังรู้เรื่องก็ได้
เมื่อราวต้นเดือนที่ผ่านมาในงานคอนซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ โชว์ ที่ลาสเวกัส งานซึ่งบริษัทต่างๆ จะนำเอาเทคโนโลยีล้ำยุคมาเปิดตัวกันมากมาย ในงานที่ว่านี้บริษัทยักษ์ใหญ่ อินเทล ก็เอา จาร์วิส มาโชว์กับเขาด้วยบนเวทีแต่มาในรูปของหูฟังบลูทูธที่เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนอีกที
สิ่งที่อินเทลพยายามจะทำก็คือทำให้จาร์วิส หรือผู้ช่วยดิจิตอลสนทนาตอบโต้กับคน ได้ใกล้เคียงคนมากยิ่งขึ้นอย่างน้อยที่สาธิตก็ดูว่าจะล้ำไปกว่าแอปเปิลหรือกูเกิลอยู่บ้าง บนเวทีชายคนหนึ่งขอให้จาร์วิสแนะนำร้านอาหารอินเดียที่ใกล้ที่สุดให้ จาร์วิสตอบแนะนำร้านให้ร้านหนึ่งแล้วถามเขาต่อว่าอยากจะโทรศัพท์ไปจองโต๊ะ ไว้เลยหรือไม่ ชายคนนั้นตอบว่าอยากจองแต่เอาไว้ทีหลัง จาร์วิสถ้าจองทีหลังเขาก็ต้องเลื่อนนัดหมายที่กำหนดไว้ในปฏิทินก่อนหน้านี้ ออกไปด้วย จากนั้นชายคนนั้นก็โทรศัพท์เลื่อนนัด ระหว่างนั้นจาร์วิสยังเตือนเขาด้วยว่ามีข้อความจากภรรยาที่เขายังไม่ได้ตอบกลับ
จากการสาธิตดังกล่าวนี้ทำให้พอเห็นภาพได้ว่าผู้ช่วยเสมือนจริงของอินเทลไม่ใช่ถามมาตอบไปเท่านั้น แต่ยังขัดคอหรือให้คำแนะนำได้อีกด้วย หนึ่งในทิศทางใหญ่ของการพัฒนาอุปกรณ์ไอทียุคนี้ก็คือการพัฒนาเทคโนโลยีสวมใส่ ที่พัฒนาไปมากๆ ก็อย่างเช่น กูเกิล กลาส เป็นต้น แต่อุปกรณ์แบบนี้ถ้าจะกลืนไปกับวิถีชีวิตของคนได้จริงๆ มันจะต้องเป็นอิสระจากมือหมายถึงเราต้องสามารถใช้งานมันได้โดยไม่ต้องใช้มือแต่ใช้ปากนั่นละครับ
แต่ใช้ปากเฉยๆ ผ่านเทคโนโลยีวอยซ์ รีคอก นิชั่น หรือรับรู้เสียงพูดอย่างที่มีอยู่ตอนนี้เท่านั้น สำหรับอินเทลแล้วคิดว่ามันไม่พอ มันจะต้องฉลาดมากขึ้นที่จะโต้ตอบกับคนได้ สำหรับจาร์วิสของอินเทลนั้นจะทำงานประสานกับส่วนอื่นๆ ของผู้ใช้ อย่างที่สาธิตบนเวทีก็คือการที่มันสอดประสานเข้ากับปฏิทินหรือตารางชีวิต ประจำวันของผู้ใช้ที่บันทึกเอาไว้บนสมาร์ทโฟนตลอดจนระบบรับส่งข้อความ
ลองจินตนาการว่ามันทำงานประสานกับแอพพลิเคชั่นเช่น เพลง หนัง หรืออื่นๆ เช่น มันอาจจะติดตามข่าวสารการจราจรแล้วคอยเตือนเราว่าสี่แยกข้างหน้าการจราจรติด ขัดมีเหตุม็อบปะทะกับตำรวจควรหลีกเลี่ยงใช้เส้นทางอื่นเป็นต้น?
คงน่าสนุกพิลึก แม้จะเหมือนพูดคนเดียว แต่ทุกวันนี้เราก็เห็นคนที่เหมือนพูดคนเดียวเกลื่อนกลาดในที่สาธารณะอยู่แล้วไม่ต้องถึงขั้นสวมชุดเกราะเหล็กแบบโทนีสตาร์กก็ได้นับวันคอมพิวเตอร์จะฉลาดขึ้นเรื่อยๆ ไม่แน่หรอกว่าวันหนึ่งข้างหน้ามันอาจจะฉลาดกว่าเราก็ได้หากวิธีคิดของเราไม่พัฒนา
มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ม.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
จาร์วิสผู้ช่วยเสมือนจริง คู่หูดิจิตอลในโลกอนาคต เคยดูหนังเรื่องไอรอนแมนกันบ้างไหมครับ เชื่อว่าหลายคนต้องเคยดูกันมาบ้าง มหาเศรษฐี โทนี สตาร์ก ที่สวมใส่ชุดเกราะเหล็กเพิ่มพลังในการ์ตูนแนวซุปเปอร์ฮีโร่ของมาร์เวล เมื่อหลายสิบปีก่อนโน้น ถูกนำมาสร้างใหม่เป็นภาพยนตร์ในโลกยุคไอทีที่ประเคนความไฮเทคเข้าไปเต็มที่ถึงสามภาคมาแล้ว สตาร์กมีคู่หูรู้ใจที่มองไม่เห็นตัวคอยช่วยเหลือ อยู่ตลอดเวลาชื่อ จาร์วิส มันคือผู้ช่วยเสมือนจริงหรือที่จริงมันก็คือสมองกลอัจฉริยะช่างเจรจา ที่ไม่เพียงคอยรับคำสั่งจากสตาร์กเท่านั้น แต่ยังเป็นเหมือนคู่สนทนาที่เพิ่มความสนุกสนานไปตลอดเรื่อง ในชีวิตจริงทุกวันนี้เรายังไม่มีซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ฉลาดล้ำได้ถึงขั้นสนทนากับ คนได้เหมือนคนจริงๆๆอย่างมากที่มีอยู่ก็อย่าง เช่น สิรี ของแอปเปิล ซึ่งไม่รู้ว่าถึงเดี๋ยวนี้มีคนใช้งานจริงกันสักเท่าไร หรือกูเกิล เองก็มีระบบแบบนี้ด้วยเช่นกัน รวมทั้งมีแอพพลิเคชั่นทำนองเดียวกันนี้ให้เลือกมาลองใช้กันบนสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต อีกไม่น้อยด้วย ผมก็เคยเอามาลองๆ ใช้ดูได้แค่ความสนุกสนานชั่วครู่ชั่วยาม ห่างไกลจากการใช้งานจริงอาจจะเนื่องด้วยสำเนียงภาษาอังกฤษไม่เอาอ่าวพอที่ซอฟต์แวร์จะฟังรู้เรื่องก็ได้ เมื่อราวต้นเดือนที่ผ่านมาในงานคอนซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ โชว์ ที่ลาสเวกัส งานซึ่งบริษัทต่างๆ จะนำเอาเทคโนโลยีล้ำยุคมาเปิดตัวกันมากมาย ในงานที่ว่านี้บริษัทยักษ์ใหญ่ อินเทล ก็เอา จาร์วิส มาโชว์กับเขาด้วยบนเวทีแต่มาในรูปของหูฟังบลูทูธที่เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนอีกที สิ่งที่อินเทลพยายามจะทำก็คือทำให้จาร์วิส หรือผู้ช่วยดิจิตอลสนทนาตอบโต้กับคน ได้ใกล้เคียงคนมากยิ่งขึ้นอย่างน้อยที่สาธิตก็ดูว่าจะล้ำไปกว่าแอปเปิลหรือกูเกิลอยู่บ้าง บนเวทีชายคนหนึ่งขอให้จาร์วิสแนะนำร้านอาหารอินเดียที่ใกล้ที่สุดให้ จาร์วิสตอบแนะนำร้านให้ร้านหนึ่งแล้วถามเขาต่อว่าอยากจะโทรศัพท์ไปจองโต๊ะ ไว้เลยหรือไม่ ชายคนนั้นตอบว่าอยากจองแต่เอาไว้ทีหลัง จาร์วิสถ้าจองทีหลังเขาก็ต้องเลื่อนนัดหมายที่กำหนดไว้ในปฏิทินก่อนหน้านี้ ออกไปด้วย จากนั้นชายคนนั้นก็โทรศัพท์เลื่อนนัด ระหว่างนั้นจาร์วิสยังเตือนเขาด้วยว่ามีข้อความจากภรรยาที่เขายังไม่ได้ตอบกลับ จากการสาธิตดังกล่าวนี้ทำให้พอเห็นภาพได้ว่าผู้ช่วยเสมือนจริงของอินเทลไม่ใช่ถามมาตอบไปเท่านั้น แต่ยังขัดคอหรือให้คำแนะนำได้อีกด้วย หนึ่งในทิศทางใหญ่ของการพัฒนาอุปกรณ์ไอทียุคนี้ก็คือการพัฒนาเทคโนโลยีสวมใส่ ที่พัฒนาไปมากๆ ก็อย่างเช่น กูเกิล กลาส เป็นต้น แต่อุปกรณ์แบบนี้ถ้าจะกลืนไปกับวิถีชีวิตของคนได้จริงๆ มันจะต้องเป็นอิสระจากมือหมายถึงเราต้องสามารถใช้งานมันได้โดยไม่ต้องใช้มือแต่ใช้ปากนั่นละครับ แต่ใช้ปากเฉยๆ ผ่านเทคโนโลยีวอยซ์ รีคอก นิชั่น หรือรับรู้เสียงพูดอย่างที่มีอยู่ตอนนี้เท่านั้น สำหรับอินเทลแล้วคิดว่ามันไม่พอ มันจะต้องฉลาดมากขึ้นที่จะโต้ตอบกับคนได้ สำหรับจาร์วิสของอินเทลนั้นจะทำงานประสานกับส่วนอื่นๆ ของผู้ใช้ อย่างที่สาธิตบนเวทีก็คือการที่มันสอดประสานเข้ากับปฏิทินหรือตารางชีวิต ประจำวันของผู้ใช้ที่บันทึกเอาไว้บนสมาร์ทโฟนตลอดจนระบบรับส่งข้อความ ลองจินตนาการว่ามันทำงานประสานกับแอพพลิเคชั่นเช่น เพลง หนัง หรืออื่นๆ เช่น มันอาจจะติดตามข่าวสารการจราจรแล้วคอยเตือนเราว่าสี่แยกข้างหน้าการจราจรติด ขัดมีเหตุม็อบปะทะกับตำรวจควรหลีกเลี่ยงใช้เส้นทางอื่นเป็นต้น? คงน่าสนุกพิลึก แม้จะเหมือนพูดคนเดียว แต่ทุกวันนี้เราก็เห็นคนที่เหมือนพูดคนเดียวเกลื่อนกลาดในที่สาธารณะอยู่แล้วไม่ต้องถึงขั้นสวมชุดเกราะเหล็กแบบโทนีสตาร์กก็ได้นับวันคอมพิวเตอร์จะฉลาดขึ้นเรื่อยๆ ไม่แน่หรอกว่าวันหนึ่งข้างหน้ามันอาจจะฉลาดกว่าเราก็ได้หากวิธีคิดของเราไม่พัฒนา ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1390273771&grpid=03&catid=&subcatid= มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ม.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)