"มือเทียม" ที่มีความ "รู้สึก"
เดนนิส อาโบ โซเรนเซน เด็กหนุ่มชาวเดนมาร์ก เสียมือและแขนข้างซ้ายไปจนเกือบถึงข้อศอก เพราะเล่นพลุจนเกิดอุบัติเหตุขึ้นเมื่อ 9 ปีก่อน แต่โชคดีที่ได้รับเลือกจาก สถาบันเทคโนโลยีโลซานน์แห่งรัฐบาลสวิส ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กับสคโอลา ซุปเพริโอเร ซานต์ อานนา สถาบันวิศวกรรมแห่งอิตาลี ให้เป็นผู้ทดลองเทคนิคใหม่ในการผลิตมือและแขนเทียมไฮเทค ที่สามารถ "รู้สึก" ได้ เช่นเดียวกับที่เราใช้มือของเราสัมผัสอะไรต่อมิอะไรจริงๆ
เมื่อเร็วๆ นี้ ทีมวิจัยร่วมของสองสถาบันดังกล่าว ประกาศผลสำเร็จในการทดลองเบื้องต้นของโซเรนเซน เมื่อเขาสามารถใช้อวัยวะเทียมระบบใหม่ที่ออกแบบและผลิตขึ้นได้อย่างคล่องแคล่วที่สำคัญก็คือ สามารถ "รู้สึก" ได้เมื่อสัมผัส จนสามารถรู้ได้ว่าควรออกกำลังมือกลของตนมากน้อยแค่ไหนเมื่อต้องหยิบฉวยวัตถุที่มีความแข็งแรงแตกต่างกัน ซึ่งถือเป็นความสำเร็จครั้งแรกของการทำให้ระบบอวัยวะเทียม "รู้สึก" เช่นนี้ได้ และทำให้มือข้างซ้ายของเขารู้สึกในการสัมผัสทุกอย่างได้อีกครั้ง อย่างที่เขาไม่เคยรู้สึกมาก่อนในช่วง 9 ปีที่ผ่านมานี้ความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวันที่เพิ่มมากขึ้นย่อมเข้าใจได้
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นักวิจัยหลายทีมในหลายประเทศพยายามพัฒนาระบบอวัยวะเทียมให้มีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อฟื้นฟูขีดความสามารถในการควบคุมให้กับผู้ที่สูญเสียอวัยวะต่างๆ เหล่านั้นจากการถูกตัดทิ้ง หรือจากอาการบาดเจ็บหรือติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง เป้าหมายก็เพื่อหาวิธีการให้อวัยวะเทียมอย่างเช่นแขน มือหรือขาเทียม สามารถส่ง "ฟีดแบ๊ก" ที่ถูกต้อง เหมาะสม แต่เพิ่งมีทีมวิจัยทีมนี้เป็นทีมแรกที่ประสบความสำเร็จดังกล่าว
ซิลเวสโตร ไมเซรา วิศวกรระบบประสาท ผู้นำทีมวิจัยทีมนี้ ติดตั้งเซ็นเซอร์รับการสัมผัสเอาไว้ในมือเทียมที่พัฒนาขึ้น แล้วเชื่อมโยงสัญญาณจากเซ็นเซอร์รับสัมผัสดังกล่าวเข้ากับอีเลคโทรดส์ ที่ผ่าตัดฝังไว้ในกลุ่มประสาทส่วนที่เหลืออยู่ในแขนท่อนบนของโซเรนเซน แล้วก็เขียนอัลกอริธึ่ม คอมพิวเตอร์ ให้ทำหน้าที่เป็นตัวแปลงสัญญาณจากเซ็นเซอร์ให้อยู่ในรูปที่กลุ่มประสาทของคนเราสามารถรับรู้ได้
การทดลองใช้งานมือและแขนเทียมของโซเรนเซนใช้เวลาเพียง 1 เดือน บางครั้งโซเรนเซนถูกปิดตาและอุดหูทั้งสองด้วยเอียร์ปลั๊ก เพื่อให้แน่ใจว่า เขาพึ่งพาการสัมผัสที่ได้รับจากมือเทียมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ผลปรากฏว่า โซเรนเซนสามารถควบคุมการใช้แรงของมือในการจับวัตถุได้อย่างเหมาะสม นอกจากนั้น ยังรู้สึกได้ถึงรูปร่างและความแน่นหนาของวัตถุนั้น เขายังสามารถบอกความแตกต่างระหว่างระดับของความแข็งกระด้างของวัตถุว่าอยู่ในระดับแข็งมาก ปานกลาง หรือ อ่อนนุ่มได้จากการสัมผัสด้วยมือเทียม และระบุรูปทรงของวัตถุได้ว่าอันไหนเป็นขวดกลมทรงกระบอกอันไหนเป็นลูกเบสบอลทรงกลมอีกด้วย
โซเรนเซนบอกกับทีมวิจัยว่า ความรู้สึกที่รับได้จากมือข้างซ้ายของเขานั้น เหมือนกันกับที่เขาได้รับจากการใช้มือข้างขวาที่เป็นปกติเลยทีเดียว ทีมวิจัยยอมรับว่า การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาอวัยวะเทียมครั้งนี้ยังอยู่ในระดับขั้นต้นอยู่มาก เนื่องจากมีผู้ทดลองเพียงรายเดียว นอกจากนั้น เพื่อให้ได้อุปกรณ์ที่ยังประโยชน์ได้อย่างเต็มที่จำเป็นต้องมีการฝังอุปกรณ์ ด้วยการผ่าตัดให้อยู่ใต้ผิวหนังและจำเป็นต้องฝึกฝนการใช้งานในระยะยาว คงจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการปรับปรุงและทดลองอีกนานปีไม่น้อยกว่าที่จะนำมาทดลองใช้ทั่วไปได้จริง แต่ก็ถือเป็นความก้าวหน้าสำคัญในทิศทางที่ถูกต้องอย่างแท้จริงแล้ว!
ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1392013799
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ก.พ.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เดนนิส อาโบ โซเรนเซน เด็กหนุ่มชาวเดนมาร์ก เสียมือและแขนข้างซ้ายไปจนเกือบถึงข้อศอก เพราะเล่นพลุจนเกิดอุบัติเหตุขึ้นเมื่อ 9 ปีก่อน แต่โชคดีที่ได้รับเลือกจาก สถาบันเทคโนโลยีโลซานน์แห่งรัฐบาลสวิส ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กับสคโอลา ซุปเพริโอเร ซานต์ อานนา สถาบันวิศวกรรมแห่งอิตาลี ให้เป็นผู้ทดลองเทคนิคใหม่ในการผลิตมือและแขนเทียมไฮเทค ที่สามารถ "รู้สึก" ได้ เช่นเดียวกับที่เราใช้มือของเราสัมผัสอะไรต่อมิอะไรจริงๆ เดนนิส อาโบ โซเรนเซน ทดลองใช้การผลิตมือและแขนเทียมไฮเทค ที่สามารถ \"รู้สึก\" ได้ เมื่อเร็วๆ นี้ ทีมวิจัยร่วมของสองสถาบันดังกล่าว ประกาศผลสำเร็จในการทดลองเบื้องต้นของโซเรนเซน เมื่อเขาสามารถใช้อวัยวะเทียมระบบใหม่ที่ออกแบบและผลิตขึ้นได้อย่างคล่องแคล่วที่สำคัญก็คือ สามารถ "รู้สึก" ได้เมื่อสัมผัส จนสามารถรู้ได้ว่าควรออกกำลังมือกลของตนมากน้อยแค่ไหนเมื่อต้องหยิบฉวยวัตถุที่มีความแข็งแรงแตกต่างกัน ซึ่งถือเป็นความสำเร็จครั้งแรกของการทำให้ระบบอวัยวะเทียม "รู้สึก" เช่นนี้ได้ และทำให้มือข้างซ้ายของเขารู้สึกในการสัมผัสทุกอย่างได้อีกครั้ง อย่างที่เขาไม่เคยรู้สึกมาก่อนในช่วง 9 ปีที่ผ่านมานี้ความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวันที่เพิ่มมากขึ้นย่อมเข้าใจได้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นักวิจัยหลายทีมในหลายประเทศพยายามพัฒนาระบบอวัยวะเทียมให้มีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อฟื้นฟูขีดความสามารถในการควบคุมให้กับผู้ที่สูญเสียอวัยวะต่างๆ เหล่านั้นจากการถูกตัดทิ้ง หรือจากอาการบาดเจ็บหรือติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง เป้าหมายก็เพื่อหาวิธีการให้อวัยวะเทียมอย่างเช่นแขน มือหรือขาเทียม สามารถส่ง "ฟีดแบ๊ก" ที่ถูกต้อง เหมาะสม แต่เพิ่งมีทีมวิจัยทีมนี้เป็นทีมแรกที่ประสบความสำเร็จดังกล่าว ซิลเวสโตร ไมเซรา วิศวกรระบบประสาท ผู้นำทีมวิจัยทีมนี้ ติดตั้งเซ็นเซอร์รับการสัมผัสเอาไว้ในมือเทียมที่พัฒนาขึ้น แล้วเชื่อมโยงสัญญาณจากเซ็นเซอร์รับสัมผัสดังกล่าวเข้ากับอีเลคโทรดส์ ที่ผ่าตัดฝังไว้ในกลุ่มประสาทส่วนที่เหลืออยู่ในแขนท่อนบนของโซเรนเซน แล้วก็เขียนอัลกอริธึ่ม คอมพิวเตอร์ ให้ทำหน้าที่เป็นตัวแปลงสัญญาณจากเซ็นเซอร์ให้อยู่ในรูปที่กลุ่มประสาทของคนเราสามารถรับรู้ได้ การทดลองใช้งานมือและแขนเทียมของโซเรนเซนใช้เวลาเพียง 1 เดือน บางครั้งโซเรนเซนถูกปิดตาและอุดหูทั้งสองด้วยเอียร์ปลั๊ก เพื่อให้แน่ใจว่า เขาพึ่งพาการสัมผัสที่ได้รับจากมือเทียมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ผลปรากฏว่า โซเรนเซนสามารถควบคุมการใช้แรงของมือในการจับวัตถุได้อย่างเหมาะสม นอกจากนั้น ยังรู้สึกได้ถึงรูปร่างและความแน่นหนาของวัตถุนั้น เขายังสามารถบอกความแตกต่างระหว่างระดับของความแข็งกระด้างของวัตถุว่าอยู่ในระดับแข็งมาก ปานกลาง หรือ อ่อนนุ่มได้จากการสัมผัสด้วยมือเทียม และระบุรูปทรงของวัตถุได้ว่าอันไหนเป็นขวดกลมทรงกระบอกอันไหนเป็นลูกเบสบอลทรงกลมอีกด้วย โซเรนเซนบอกกับทีมวิจัยว่า ความรู้สึกที่รับได้จากมือข้างซ้ายของเขานั้น เหมือนกันกับที่เขาได้รับจากการใช้มือข้างขวาที่เป็นปกติเลยทีเดียว ทีมวิจัยยอมรับว่า การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาอวัยวะเทียมครั้งนี้ยังอยู่ในระดับขั้นต้นอยู่มาก เนื่องจากมีผู้ทดลองเพียงรายเดียว นอกจากนั้น เพื่อให้ได้อุปกรณ์ที่ยังประโยชน์ได้อย่างเต็มที่จำเป็นต้องมีการฝังอุปกรณ์ ด้วยการผ่าตัดให้อยู่ใต้ผิวหนังและจำเป็นต้องฝึกฝนการใช้งานในระยะยาว คงจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการปรับปรุงและทดลองอีกนานปีไม่น้อยกว่าที่จะนำมาทดลองใช้ทั่วไปได้จริง แต่ก็ถือเป็นความก้าวหน้าสำคัญในทิศทางที่ถูกต้องอย่างแท้จริงแล้ว! ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1392013799 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ก.พ.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)