มือเทียมไบโอนิกรู้สึกวัตถุที่สัมผัส
คอลัมน์ มิติวิทยาศาสตร์: มือเทียมไบโอนิกสำหรับผู้พิการ เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จทำให้มือเทียมสามารถรู้สึกถึง พื้นผิวและรูปร่างของวัสดุที่จับได้ โดยการทดลองดังกล่าวทำที่อิตาลี เพื่อแก้ปัญหาเดิมที่เมื่อสวมมือเทียมแล้วผู้ใช้จะไม่มีความรู้สึก ทำให้ยากที่จะควบคุมมือเทียม จนเวลาหยิบจับอะไรอาจจะจบลงด้วยการทำให้ของสิ่งนั้นบุบสลายลงได้
หนึ่งในผู้นำการทดลองมือไบโอนิกที่มีชื่อว่า "Lifehand 2" นี้คือ ดร.ซิลเวสโตร มิเซรา เผยว่า "เป็นครั้งแรกที่เราสามารถนำความรู้สึกแบบเรียลไทม์ให้กับผู้สวมมือเทียมใน การควบคุมการใช้ได้" เขาทำโครงการนี้กับ สตานิซา ราสโพโพวิก จากโพลีเทคนิค ฟีเดอรัล เดอ โลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์ ร่วมกับไบโอโรโบติกส์ เมืองปิซา อิตาลี
ผู้ที่มาทดลองใช้มือไบโอนิกนี้คือ เดนนิส เออาโบ ซอเรนสันชาวเดนมาร์กวัย 36 ปี ซึ่งเสียแขนซ้ายของเขาไปจากอุบัติเหตุในการจุดพลุ เขาเผยว่า "เวลาที่ผมใช้มือนี้หยิบจับสิ่งของต่างๆ ผมรู้สึกได้ว่ามันนุ่มหรือแข็ง เป็นวัตถุทรงกลมหรือสี่เหลี่ยม ช่างเหลือเชื่อที่แขนข้างนี้ของผมกลับมารู้สึกได้อีกครั้งหลังจากอุบัติเหตุ เมื่อ 9 ปีก่อน"
มือไบโอนิกนี้ได้ติดตั้งเซ็นเซอร์มากมายเอาไว้ที่ปลายนิ้วแต่ละนิ้ว ซึ่งเซ็นเซอร์จะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปตามสายไฟไปยังขั้วไฟฟ้าที่ผ่าตัดฝังเอาไว้ ในแขนของผู้ทดลอง ซึ่งซอเรนสันผู้ทดลองสวมมือไบโอนิกนี้ แม้เขาจะใส่ที่ปิดตาและสวมที่ปิดหูก็ยังสามารถแยกความแตกต่างระหว่างส้มจีน และลูกเบสบอลได้ และรู้สึกถึงพื้นผิวของกระดาษทิชชูอ่อนนุ่ม, ความแข็งของไม้และแก้วพลาสติกบางๆ ได้ เขายังพูดติดตลกว่า เด็กๆ เมื่อเห็นเขาสวมมือวิเศษนี้ที่มีสายไฟระโยงระยางต่างพากันเรียกเขาว่า "The Cable Guy"
หลังจากทดลองไปได้ 30 วัน จึงได้นำเอาขั้วไฟฟ้าที่ฝังเอาไว้ในตัวเขาออกไปก่อน ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย แต่ผู้ทำการทดลองเชื่อว่าแม้จะไม่นำออกก็อยู่ได้หลายปีโดยไม่เป็นอันตรายใดๆ ทีมทดลองนี้ยังคงเดินหน้าทำงานกันต่อไปเพื่อให้มือนี้รับรู้ถึงความรู้สึก ต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และจะพัฒนาให้มือเล็กลงด้วยเพื่อความสะดวกยิ่งขึ้น และเชื่อว่าภายใน 5 ปีจะสามารถพัฒนามือไบโอนิกจนออกจำหน่ายให้กับผู้ที่ต้องการในวงกว้างได้
ผู้เชี่ยวชาญร่วมยินดีกับมือไบโอนิกนี้ ริชาร์ด ฟรายเดนอาจารย์แห่งไอแคนสกูลออฟเมดิซีน กรุงนิวยอร์ก เห็นว่า "นับว่าเป็นความล้ำหน้าเป็นก้าวใหม่ในการสร้างสรรรค์ให้เกิดการเชื่อมประสาน กันอย่างดีระหว่างมนุษย์และเครื่องกลให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น" เดวิด โกว์ ผอ.ด้านวิศวกรรมแห่งการฟื้นฟูและชีววิศวกรรมจากสกอตแลนด์ เห็นว่าแม้จะเพิ่งทำการทดลองไปแค่เคสเดียว แต่ผลที่ออกมาแสดงให้เห็นว่ามือเทียมนี้ใช้งานได้จริงๆ ซึ่งจะช่วยสร้างให้เกิดความเป็นไปได้ที่น่าตื่นเต้นสำหรับผู้มีความจำเป็น ต้องใช้แขนขาเทียมต่อไป".
ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1832588
(ryt9.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ก.พ.58 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
มือเทียมไบโอนิกสำหรับผู้พิการ คอลัมน์ มิติวิทยาศาสตร์: มือเทียมไบโอนิกสำหรับผู้พิการ เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จทำให้มือเทียมสามารถรู้สึกถึง พื้นผิวและรูปร่างของวัสดุที่จับได้ โดยการทดลองดังกล่าวทำที่อิตาลี เพื่อแก้ปัญหาเดิมที่เมื่อสวมมือเทียมแล้วผู้ใช้จะไม่มีความรู้สึก ทำให้ยากที่จะควบคุมมือเทียม จนเวลาหยิบจับอะไรอาจจะจบลงด้วยการทำให้ของสิ่งนั้นบุบสลายลงได้ หนึ่งในผู้นำการทดลองมือไบโอนิกที่มีชื่อว่า "Lifehand 2" นี้คือ ดร.ซิลเวสโตร มิเซรา เผยว่า "เป็นครั้งแรกที่เราสามารถนำความรู้สึกแบบเรียลไทม์ให้กับผู้สวมมือเทียมใน การควบคุมการใช้ได้" เขาทำโครงการนี้กับ สตานิซา ราสโพโพวิก จากโพลีเทคนิค ฟีเดอรัล เดอ โลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์ ร่วมกับไบโอโรโบติกส์ เมืองปิซา อิตาลี ผู้ที่มาทดลองใช้มือไบโอนิกนี้คือ เดนนิส เออาโบ ซอเรนสันชาวเดนมาร์กวัย 36 ปี ซึ่งเสียแขนซ้ายของเขาไปจากอุบัติเหตุในการจุดพลุ เขาเผยว่า "เวลาที่ผมใช้มือนี้หยิบจับสิ่งของต่างๆ ผมรู้สึกได้ว่ามันนุ่มหรือแข็ง เป็นวัตถุทรงกลมหรือสี่เหลี่ยม ช่างเหลือเชื่อที่แขนข้างนี้ของผมกลับมารู้สึกได้อีกครั้งหลังจากอุบัติเหตุ เมื่อ 9 ปีก่อน" มือไบโอนิกนี้ได้ติดตั้งเซ็นเซอร์มากมายเอาไว้ที่ปลายนิ้วแต่ละนิ้ว ซึ่งเซ็นเซอร์จะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปตามสายไฟไปยังขั้วไฟฟ้าที่ผ่าตัดฝังเอาไว้ ในแขนของผู้ทดลอง ซึ่งซอเรนสันผู้ทดลองสวมมือไบโอนิกนี้ แม้เขาจะใส่ที่ปิดตาและสวมที่ปิดหูก็ยังสามารถแยกความแตกต่างระหว่างส้มจีน และลูกเบสบอลได้ และรู้สึกถึงพื้นผิวของกระดาษทิชชูอ่อนนุ่ม, ความแข็งของไม้และแก้วพลาสติกบางๆ ได้ เขายังพูดติดตลกว่า เด็กๆ เมื่อเห็นเขาสวมมือวิเศษนี้ที่มีสายไฟระโยงระยางต่างพากันเรียกเขาว่า "The Cable Guy" หลังจากทดลองไปได้ 30 วัน จึงได้นำเอาขั้วไฟฟ้าที่ฝังเอาไว้ในตัวเขาออกไปก่อน ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย แต่ผู้ทำการทดลองเชื่อว่าแม้จะไม่นำออกก็อยู่ได้หลายปีโดยไม่เป็นอันตรายใดๆ ทีมทดลองนี้ยังคงเดินหน้าทำงานกันต่อไปเพื่อให้มือนี้รับรู้ถึงความรู้สึก ต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และจะพัฒนาให้มือเล็กลงด้วยเพื่อความสะดวกยิ่งขึ้น และเชื่อว่าภายใน 5 ปีจะสามารถพัฒนามือไบโอนิกจนออกจำหน่ายให้กับผู้ที่ต้องการในวงกว้างได้ ผู้เชี่ยวชาญร่วมยินดีกับมือไบโอนิกนี้ ริชาร์ด ฟรายเดนอาจารย์แห่งไอแคนสกูลออฟเมดิซีน กรุงนิวยอร์ก เห็นว่า "นับว่าเป็นความล้ำหน้าเป็นก้าวใหม่ในการสร้างสรรรค์ให้เกิดการเชื่อมประสาน กันอย่างดีระหว่างมนุษย์และเครื่องกลให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น" เดวิด โกว์ ผอ.ด้านวิศวกรรมแห่งการฟื้นฟูและชีววิศวกรรมจากสกอตแลนด์ เห็นว่าแม้จะเพิ่งทำการทดลองไปแค่เคสเดียว แต่ผลที่ออกมาแสดงให้เห็นว่ามือเทียมนี้ใช้งานได้จริงๆ ซึ่งจะช่วยสร้างให้เกิดความเป็นไปได้ที่น่าตื่นเต้นสำหรับผู้มีความจำเป็น ต้องใช้แขนขาเทียมต่อไป". ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1832588 (ryt9.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ก.พ.58 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)