"AAC" เครื่องมือสื่อสารทางเลือก เปิดโลกเงียบด้วยเสียงที่ไม่ได้ยิน
เชื่อว่าการติดต่อสื่อสารด้วย กิริยาหรือคำพูด ล้วนเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานในการแสดงออกที่ทำหน้าที่ให้ทุกคนในสังคมเข้าใจกัน ได้มากขึ้น หากแต่ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่สามารถเข้าใจและเข้าถึงสิ่งพื้นฐานเหล่นี้ได้ จึงส่งผลให้ผู้พิการ หรือผู้ที่มีปัญหาสภาวะบก.พ.ร่องทางการสื่อสารไม่สามารถแสดงออกทางการสื่อสารได้และหากจะอาศัยการหยิบยื่นความสะดวกจากสังคม ซึ่งนั่นอาจไม่ใช่ความต้องการที่แท้จริง และไม่ได้ส่งผลต่อความช่วยเหลือระยะยาวได้เท่ากับการสร้างเครื่องมือเพื่อ ช่วยให้กลุ่มคนเหล่านี้สามารถสื่อสารได้โดยตรง
การสื่อสารแทนคำพูดจึงกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารทางเลือกให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ในชื่อที่เรียกว่า AAC (Augmentative and Alternative Communication) ภายใต้การควบคุมดูแลของ "นิษฐา อึ้งสุประเสริฐ" นายกสมาคมเทคโนโลยีการสื่อสารทางเลือกและการสื่อสารแทนคำพูดนานาชาติแห่งประเทศไทย หรือ ISAAC Thailand (The International Society for Augmentative and Alternative Communication) ผู้คร่ำหวอดในวงการการสื่อสารทางเลือกระดับนานาชาติ
"นิษฐา" ผ่านประสบการณ์การทำงานเป็นนักอรรถบำบัด และผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้อุปกรณ์ช่วยเสริมทักษะ อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มีปัญหาสภาวะบก.พ.ร่องทางการสื่อสารให้สามารถสื่อสารได้จากประเทศออสเตรเลีย ทั้งยังได้รับการยอมรับจนเป็นที่รู้จักทั่วโลก
"จากประสบการณ์การทำงานของดิฉัน ที่เปรียบเสมือนการเปิดโลกความเงียบให้มีเสียง เปิดโลกมืดให้สว่าง และเปิดความเข้าใจให้เกิดการสื่อสารที่ง่ายและสะดวกที่สุด ไม่ว่าจะเป็นวิธีการฟัง พูด อ่านเขียนล้วนแต่เป็นการสื่อสารที่จะทำให้เราได้ผลลัพธ์เชิงบวกร่วมกัน"
"สำหรับประเทศไทย เราดำเนินงานภายใต้กรอบวิสัยทัศน์ที่เน้นการส่งเสริมให้การสื่อสารที่ดีที่สุด สำหรับผู้ที่มีภาวะซ้ำซ้อนด้านการสื่อสารที่ต้องการสื่อสารกับคนทั่วไป โดยมีจุดมุ่งหมายไม่เพียงแต่ผู้พิการที่เป็นใบ้ หูหนวก ตาบอด หรือผู้พิการซ้ำซ้อนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยการพูดปกติได้"ด้วยการผ่านเครื่องมือ AAC ทั้ง 2 ระดับ คือ หนึ่ง แบบที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือช่วย เช่น การใช้ภาษามือ, การจ้องตา และการแสดงกิริยาท่าทาง และ สอง การใช้เครื่องมือช่วย แบ่งเป็นแบบที่ใช้สิ่งของโดยใช้วัตถุขนาดย่อเพื่อแทนสัญลักษณ์ อย่างรูปภาพ, แผนภาพ, หนังสือ, ลายเส้น หรือแบบที่ใช้เทคโนโลยีพื้นฐาน เช่น Eyegaze รวมถึงการใช้สมาร์ทโฟนที่มีแอปพลิเคชั่นที่ช่วยเกี่ยวกับเรื่องการสื่อสาร เช่น Proloquo2Go ถึงตรงนี้ "นิษฐา" กล่าวต่อว่า เมื่อเขาสามารถบอกความต้องการเบื้องต้นของตนเอง เช่น หิวข้าว, หิวน้ำ, อยากเล่น หรือแม้กระทั่งอยากเข้าห้องน้ำได้แล้ว
"เราจะนำไปสู่พัฒนาการอีกระดับหนึ่ง คือ การพัฒนาไปสู่การอ่านหนังสือ และเขียนหนังสือได้ในที่สุด ที่ผ่านมาอาจมีด้วยข้อจำกัดบางประการที่ทำให้คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ถูกละเลยในด้านการติดต่อสื่อสาร แต่ในความเป็นจริงเขาอาจมีความสามารถที่เกินความคาดหมาย เพียงแต่เขาไม่มีวิธีสื่อสารกับเราโดยตรงต่างหาก"
หรือบางคนสามารถพัฒนาไปได้ไกลจนสามารถเรียนจบในระดับปริญญาอย่าง"แดริล เชลวูด" นักศึกษาปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยเซาท์ออสเตรเลีย ผู้ที่มีภาวะสมองพิการแต่กำเนิด
"แดริล เชลวูด" เล่าว่า จุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดความตั้งใจเข้าศึกษาต่อ คือ การได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลออสเตรเลีย และครูที่เข้าใจการใช้ AAC, Assistive Technology ในระบบการเรียนการสอน ซึ่งถือเป็นส่วนช่วยสำคัญที่ทำให้ผมสามารถอ่านออกเขียนได้
"ด้วยความมหัศจรรย์ของเครื่องมือนี้ ทำให้ผมตั้งใจวางเป้าหมายที่จะติดตามการทำวิจัยของเครื่องมือ AAC และด้านการสื่อสารโทรคมนาคม รวมถึงผมต้องการสำรวจวิธีการปรับปรุง และขยายการเข้าถึงการสื่อสารโทรคมนาคมสำหรับคนที่มีความต้องการการสื่อสารที่ซับซ้อน นี่คือแรงบันดาลใจที่ทำให้ผมทุ่มเทการทำงานในด้านอาสาสมัคร เพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีสภาวะบก.พ.ร่องทางการสื่อสารให้มีชีวิตที่น่าพอใจและมีความสุขมากขึ้น"
ด้วยเหตุนี้ "นิษฐา" จึงมั่นใจว่า AAC น่าจะเป็นเครื่องมือที่สามารถตอบโจทย์ด้านการสื่อสารทางเลือก และการสื่อสารแทนคำพูดที่ตรงจุดที่สุด
"โดยเราหวังว่าเครื่องมือ AAC จะเป็นการไขกุญแจความอึดอัดของคนที่สื่อสารไม่ได้ หรือเขียนหนังสือได้ไม่ถนัดให้สามารถบอกความต้องการของตนเองได้อย่างมีสมรรถภาพสูงสุด" จะดีแค่ไหนถ้าเราสามารถเปิดโลกที่อยู่ในความเงียบให้ส่องสว่างด้วย คำพูดที่ (ไม่) เคยได้ยินมาก่อนเป็นเวลาแสนนาน
ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1391503915
(ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ก.พ.57 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เครื่องมือสื่อสารทางเลือก AAC (Augmentative and Alternative Communication) เชื่อว่าการติดต่อสื่อสารด้วย กิริยาหรือคำพูด ล้วนเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานในการแสดงออกที่ทำหน้าที่ให้ทุกคนในสังคมเข้าใจกัน ได้มากขึ้น หากแต่ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่สามารถเข้าใจและเข้าถึงสิ่งพื้นฐานเหล่นี้ได้ จึงส่งผลให้ผู้พิการ หรือผู้ที่มีปัญหาสภาวะบก.พ.ร่องทางการสื่อสารไม่สามารถแสดงออกทางการสื่อสารได้และหากจะอาศัยการหยิบยื่นความสะดวกจากสังคม ซึ่งนั่นอาจไม่ใช่ความต้องการที่แท้จริง และไม่ได้ส่งผลต่อความช่วยเหลือระยะยาวได้เท่ากับการสร้างเครื่องมือเพื่อ ช่วยให้กลุ่มคนเหล่านี้สามารถสื่อสารได้โดยตรง การสื่อสารแทนคำพูดจึงกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารทางเลือกให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ในชื่อที่เรียกว่า AAC (Augmentative and Alternative Communication) ภายใต้การควบคุมดูแลของ "นิษฐา อึ้งสุประเสริฐ" นายกสมาคมเทคโนโลยีการสื่อสารทางเลือกและการสื่อสารแทนคำพูดนานาชาติแห่งประเทศไทย หรือ ISAAC Thailand (The International Society for Augmentative and Alternative Communication) ผู้คร่ำหวอดในวงการการสื่อสารทางเลือกระดับนานาชาติ "นิษฐา" ผ่านประสบการณ์การทำงานเป็นนักอรรถบำบัด และผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้อุปกรณ์ช่วยเสริมทักษะ อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มีปัญหาสภาวะบก.พ.ร่องทางการสื่อสารให้สามารถสื่อสารได้จากประเทศออสเตรเลีย ทั้งยังได้รับการยอมรับจนเป็นที่รู้จักทั่วโลก "จากประสบการณ์การทำงานของดิฉัน ที่เปรียบเสมือนการเปิดโลกความเงียบให้มีเสียง เปิดโลกมืดให้สว่าง และเปิดความเข้าใจให้เกิดการสื่อสารที่ง่ายและสะดวกที่สุด ไม่ว่าจะเป็นวิธีการฟัง พูด อ่านเขียนล้วนแต่เป็นการสื่อสารที่จะทำให้เราได้ผลลัพธ์เชิงบวกร่วมกัน" "สำหรับประเทศไทย เราดำเนินงานภายใต้กรอบวิสัยทัศน์ที่เน้นการส่งเสริมให้การสื่อสารที่ดีที่สุด สำหรับผู้ที่มีภาวะซ้ำซ้อนด้านการสื่อสารที่ต้องการสื่อสารกับคนทั่วไป โดยมีจุดมุ่งหมายไม่เพียงแต่ผู้พิการที่เป็นใบ้ หูหนวก ตาบอด หรือผู้พิการซ้ำซ้อนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยการพูดปกติได้"ด้วยการผ่านเครื่องมือ AAC ทั้ง 2 ระดับ คือ หนึ่ง แบบที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือช่วย เช่น การใช้ภาษามือ, การจ้องตา และการแสดงกิริยาท่าทาง และ สอง การใช้เครื่องมือช่วย แบ่งเป็นแบบที่ใช้สิ่งของโดยใช้วัตถุขนาดย่อเพื่อแทนสัญลักษณ์ อย่างรูปภาพ, แผนภาพ, หนังสือ, ลายเส้น หรือแบบที่ใช้เทคโนโลยีพื้นฐาน เช่น Eyegaze รวมถึงการใช้สมาร์ทโฟนที่มีแอปพลิเคชั่นที่ช่วยเกี่ยวกับเรื่องการสื่อสาร เช่น Proloquo2Go ถึงตรงนี้ "นิษฐา" กล่าวต่อว่า เมื่อเขาสามารถบอกความต้องการเบื้องต้นของตนเอง เช่น หิวข้าว, หิวน้ำ, อยากเล่น หรือแม้กระทั่งอยากเข้าห้องน้ำได้แล้ว "เราจะนำไปสู่พัฒนาการอีกระดับหนึ่ง คือ การพัฒนาไปสู่การอ่านหนังสือ และเขียนหนังสือได้ในที่สุด ที่ผ่านมาอาจมีด้วยข้อจำกัดบางประการที่ทำให้คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ถูกละเลยในด้านการติดต่อสื่อสาร แต่ในความเป็นจริงเขาอาจมีความสามารถที่เกินความคาดหมาย เพียงแต่เขาไม่มีวิธีสื่อสารกับเราโดยตรงต่างหาก" หรือบางคนสามารถพัฒนาไปได้ไกลจนสามารถเรียนจบในระดับปริญญาอย่าง"แดริล เชลวูด" นักศึกษาปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยเซาท์ออสเตรเลีย ผู้ที่มีภาวะสมองพิการแต่กำเนิด "แดริล เชลวูด" เล่าว่า จุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดความตั้งใจเข้าศึกษาต่อ คือ การได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลออสเตรเลีย และครูที่เข้าใจการใช้ AAC, Assistive Technology ในระบบการเรียนการสอน ซึ่งถือเป็นส่วนช่วยสำคัญที่ทำให้ผมสามารถอ่านออกเขียนได้ "ด้วยความมหัศจรรย์ของเครื่องมือนี้ ทำให้ผมตั้งใจวางเป้าหมายที่จะติดตามการทำวิจัยของเครื่องมือ AAC และด้านการสื่อสารโทรคมนาคม รวมถึงผมต้องการสำรวจวิธีการปรับปรุง และขยายการเข้าถึงการสื่อสารโทรคมนาคมสำหรับคนที่มีความต้องการการสื่อสารที่ซับซ้อน นี่คือแรงบันดาลใจที่ทำให้ผมทุ่มเทการทำงานในด้านอาสาสมัคร เพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีสภาวะบก.พ.ร่องทางการสื่อสารให้มีชีวิตที่น่าพอใจและมีความสุขมากขึ้น" ด้วยเหตุนี้ "นิษฐา" จึงมั่นใจว่า AAC น่าจะเป็นเครื่องมือที่สามารถตอบโจทย์ด้านการสื่อสารทางเลือก และการสื่อสารแทนคำพูดที่ตรงจุดที่สุด "โดยเราหวังว่าเครื่องมือ AAC จะเป็นการไขกุญแจความอึดอัดของคนที่สื่อสารไม่ได้ หรือเขียนหนังสือได้ไม่ถนัดให้สามารถบอกความต้องการของตนเองได้อย่างมีสมรรถภาพสูงสุด" จะดีแค่ไหนถ้าเราสามารถเปิดโลกที่อยู่ในความเงียบให้ส่องสว่างด้วย คำพูดที่ (ไม่) เคยได้ยินมาก่อนเป็นเวลาแสนนาน ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1391503915 (ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ก.พ.57 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)