พัฒนาหุ่นยนต์ช่วยผู้ป่วยอัมพาตเดินได้
นวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่เข้ามามีบทบาทและอำนวยความสะดวก ช่วยทำให้ชีวิตคนเราง่ายยิ่งขึ้น อย่างเช่นหุ่นยนต์ในวงการแพทย์ ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยอัมพาตกลับมาเดินได้อีกครั้ง
หวู เฉิง หัว นักพัฒนาชาวไต้หวัน จากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมไต้หวัน หรือ ITRI คิดค้นและออกแบบหุ่นยนต์สำหรับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งล่าง ให้สามารถเดิน ใช้ชีวิต และเคลื่อนไหวตัวเองได้ในชีวิตประจำวันโดยไม่ต้องมีคนคอยดูแล
ตัวหุ่นยนต์นั้นมีน้ำหนักเบาประมาณ 20 กิโลกรัม ทำจากเส้นใยอะลูมิเนียมอัลลอย และคาร์บอน มีมอเตอร์ติดตั้งอยู่ที่ขา 4 ตัว และสามารถทำงานได้นานกว่า 3 ชั่วโมง นอกจากนี้ ยังใช้งานง่าย ผู้ป่วยสามารถใช้ได้ด้วยตนเอง โดยจะรองรับกับผู้ป่วยที่มีส่วนสูงระหว่าง 150-180 เซนติเมตร และมีน้ำหนักระหว่าง 45-100 กิโลกรัม
เมื่อปี 2012 มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโครงการนี้ถึง 12 คน ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นผู้ป่วยอัมพาตที่ไขสันหลังส่วนหน้าอกถูกทำลายถึงข้อที่ 4 แต่ก็ยังสามารถใช้เจ้าหุ่นยนต์ในการลุกขึ้นยืน เดิน และนั่งได้อย่างสะดวกสบาย
หวู กล่าวอีกว่า ในระหว่างขั้นตอนการศึกษาวิจัย ยังมีการตรวจวัดเกี่ยวกับความหนาแน่นของมวลกระดูก ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าความหนาแน่นของมวลกระดูกของผู้ป่วยที่ใส่หุ่นยนต์ช่วยเดิน มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นดัชนีบ่งชี้สุขภาพทางบวก
สำหรับแผนการวางจำหน่ายคาดว่า จะออกสู่ตลาดไต้หวันในช่วงต้นปี 2018 หลังจากได้รับการรับรองมาตราฐานเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณ... http://goo.gl/UM0ccU (ขนาดไฟล์: 0 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นวัตกรรมเทคโนโลยีพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยผู้ป่วยอัมพาตเดินได้ นวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่เข้ามามีบทบาทและอำนวยความสะดวก ช่วยทำให้ชีวิตคนเราง่ายยิ่งขึ้น อย่างเช่นหุ่นยนต์ในวงการแพทย์ ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยอัมพาตกลับมาเดินได้อีกครั้ง หวู เฉิง หัว นักพัฒนาชาวไต้หวัน จากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมไต้หวัน หรือ ITRI คิดค้นและออกแบบหุ่นยนต์สำหรับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งล่าง ให้สามารถเดิน ใช้ชีวิต และเคลื่อนไหวตัวเองได้ในชีวิตประจำวันโดยไม่ต้องมีคนคอยดูแล ทดลองการใช้หุ่นยนต์ช่วยผู้ป่วยอัมพาตเดินได้ ตัวหุ่นยนต์นั้นมีน้ำหนักเบาประมาณ 20 กิโลกรัม ทำจากเส้นใยอะลูมิเนียมอัลลอย และคาร์บอน มีมอเตอร์ติดตั้งอยู่ที่ขา 4 ตัว และสามารถทำงานได้นานกว่า 3 ชั่วโมง นอกจากนี้ ยังใช้งานง่าย ผู้ป่วยสามารถใช้ได้ด้วยตนเอง โดยจะรองรับกับผู้ป่วยที่มีส่วนสูงระหว่าง 150-180 เซนติเมตร และมีน้ำหนักระหว่าง 45-100 กิโลกรัม เมื่อปี 2012 มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโครงการนี้ถึง 12 คน ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นผู้ป่วยอัมพาตที่ไขสันหลังส่วนหน้าอกถูกทำลายถึงข้อที่ 4 แต่ก็ยังสามารถใช้เจ้าหุ่นยนต์ในการลุกขึ้นยืน เดิน และนั่งได้อย่างสะดวกสบาย หวู กล่าวอีกว่า ในระหว่างขั้นตอนการศึกษาวิจัย ยังมีการตรวจวัดเกี่ยวกับความหนาแน่นของมวลกระดูก ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าความหนาแน่นของมวลกระดูกของผู้ป่วยที่ใส่หุ่นยนต์ช่วยเดิน มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นดัชนีบ่งชี้สุขภาพทางบวก สำหรับแผนการวางจำหน่ายคาดว่า จะออกสู่ตลาดไต้หวันในช่วงต้นปี 2018 หลังจากได้รับการรับรองมาตราฐานเรียบร้อยแล้ว ขอบคุณ... http://goo.gl/UM0ccU
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)