อุปกรณ์ช่วยมองเพื่อคนตาบอด

แสดงความคิดเห็น

นักศึกษาทีม Visionear เจ้าของผลงาน Visionear อุปกรณ์สวมใส่สำหรับช่วยเหลือผู้บกพร่องทางการมองเห็น

นศ.มจธ. เจ๋ง คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Microsoft Imagine Cup Thailand 2015 ประเภท World Citizenshipพัฒนาอุปกรณ์ช่วยมองสำหรับผู้พิการทางสายตา

Visionear อุปกรณ์สวมใส่สำหรับช่วยเหลือผู้บกพร่องทางการมองเห็น เปรียบเสมือนดวงตาให้กับผู้บกพร่องทางการมองเห็น เป็นผลงานของ 4 นักศึกษาชั้นปีที่4 จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Microsoft Imagine Cup Thailand 2015 จากประเภท World Citizenship และยังได้เป็นตัวแทนประเทศ ไทยในการเข้าร่วมคัดเลือกไปแข่งขันในระดับโลกที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนกรกฎาคม2558นี้

โดยนักศึกษาเจ้าของผลงานประกอบด้วย นายนันทิพัฒน์ นาคทอง , นายณัฐภัทร เลาหระวี , นางสาวบุษภาณี พงษ์ศิริยาภรณ์ และนางสาวเกวลี เลี่ยมโลหะ ได้ร่วมกันพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าวขึ้นภายใต้ชื่อทีม Visionear (วิชั่นเนียร์) นางสาวเกวลี เลี่ยมโลหะ ตัวแทนทีม Visionear เล่าถึงแรงบันดาลใจในการพัฒนาอุปกรณ์ตัวนี้ว่า ต้องการช่วยเหลือผู้บกพร่องทางการมองเห็น อุปกรณ์นี้ไม่ได้เป็นการช่วยเดินทางให้กับผู้พิการแต่จะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันเปรียบเสมือนเป็นดวงตาให้กับผู้มีปัญหาด้านการมองเห็น

จึงได้ออกแบบเป็นหูฟังในลักษณะของหูฟังแบบเฮดเซ็ท (Headset) ออกคำสั่งด้วยเสียงโดยมีกล้องขนาดเล็กติดตั้งอยู่เพื่อใช้จับภาพภายในมีระบบเซนเซอร์เมื่อกล้องรับภาพที่ต้องการจากนั้นจะถูกส่งไป ประมวลผลแล้วตอบกลับเป็นเสียงมายังหูฟัง ซึ่งรูปแบบที่คิดขึ้นนี้ทางทีมฯ ได้ทำงานร่วมกับสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยเพื่อศึกษาว่ามีปัญหาอะไรที่ผู้พิการต้องการให้ช่วยแล้วเรามีเทคโนโลยีอะไรที่จะไปช่วยแก้โจทย์เหล่านั้นได้

นายนันทิพัฒน์ นาคทอง หัวหน้าทีมฯ กล่าวว่า จากการทำงานร่วมกับสมาคมฯ เบื้องต้นได้โจทย์มาสี่ปัญหาหลักที่ทางสมาคมฯต้องการให้แก้ คือ หนึ่งเรื่องธนบัตร เพราะคนพิการทางสายตาบางคนไม่สามารถ แยกได้คนที่แยกได้ต้องผ่านการฝึกสอนมาก่อนจึงจะสามารถแยกธนบัตรได้ สองเรื่องสิ่งของ เพราะในชีวิตประจำวันหลายๆ อย่างไม่สามารถแยกได้ด้วยการสัมผัสเพียงอย่างเดียว เช่น บรรจุภัณฑ์ของสินค้า ซึ่งมี รูปร่าง ขนาดหรือรูปทรงของขวดที่เหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่รสชาติหรือกลิ่น ซึ่งเขาไม่สามารถรับรู้ได้จากการคลำหรือจับเพียงอย่างเดียวได้ สามเรื่องแสง เช่น เขาอาจไม่รู้ว่าไฟถูกเปิดอยู่ และสุดท้ายเรื่องสี ถึงแม้จะมองไม่เห็นแต่เขาก็ไม่ต้องการถูกมองเป็น คนประหลาดเรื่องของสีและการใส่เสื้อผ้าที่ไม่เข้ากัน เป็นต้น

จึงต้องมีอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีที่จะสามารถตอบสนองและช่วยอำนวยความสะดวกเหล่านั้นได้ โดยอุปกรณ์ดังกล่าวประกอบด้วย ชุดฮาร์ดแวร์ และ ซอฟท์แวร์ ที่ทำงานร่วมกับผู้ใช้งาน โดยมีกล้องที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลภาพนำไปประมวลผลในระบบและรายงานในรูปแบบเสียงผ่านหูฟังสามารถช่วยตรวจสอบและแยกแยะธนบัตร รวมทั้งตรวจสอบสินค้าผ่านบาร์โค๊ท หรือแม้กระทั่งแยกแยะสี และวัตถุ โดยทำงานร่วมกับแอพพลิเคชั่นและเอพีไอ ที่คำนวณและรวบรวมข้อมูลจากโซเชียลเน็ตเวิร์ค เสิร์ชเอนจิ้น และวิกิพีเดีย ช่วยให้ผู้มีปัญหาด้านการมองเห็น ไม่ว่าจะเป็น ผู้พิการทางสายตาหรือผู้สูงอายุ สามารถใช้ชีวิตด้วยตนเองได้ตามปกติ ซึ่งอุปกรณ์ชิ้นนี้ได้ผ่านการทดสอบจากผู้พิการทางสายตาของสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว

ขอบคุณ... http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/633560

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย2ก.ค.58
วันที่โพสต์: 3/07/2558 เวลา 11:48:21 ดูภาพสไลด์โชว์ อุปกรณ์ช่วยมองเพื่อคนตาบอด

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นักศึกษาทีม Visionear เจ้าของผลงาน Visionear อุปกรณ์สวมใส่สำหรับช่วยเหลือผู้บกพร่องทางการมองเห็น นศ.มจธ. เจ๋ง คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Microsoft Imagine Cup Thailand 2015 ประเภท World Citizenshipพัฒนาอุปกรณ์ช่วยมองสำหรับผู้พิการทางสายตา Visionear อุปกรณ์สวมใส่สำหรับช่วยเหลือผู้บกพร่องทางการมองเห็น เปรียบเสมือนดวงตาให้กับผู้บกพร่องทางการมองเห็น เป็นผลงานของ 4 นักศึกษาชั้นปีที่4 จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Microsoft Imagine Cup Thailand 2015 จากประเภท World Citizenship และยังได้เป็นตัวแทนประเทศ ไทยในการเข้าร่วมคัดเลือกไปแข่งขันในระดับโลกที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนกรกฎาคม2558นี้ โดยนักศึกษาเจ้าของผลงานประกอบด้วย นายนันทิพัฒน์ นาคทอง , นายณัฐภัทร เลาหระวี , นางสาวบุษภาณี พงษ์ศิริยาภรณ์ และนางสาวเกวลี เลี่ยมโลหะ ได้ร่วมกันพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าวขึ้นภายใต้ชื่อทีม Visionear (วิชั่นเนียร์) นางสาวเกวลี เลี่ยมโลหะ ตัวแทนทีม Visionear เล่าถึงแรงบันดาลใจในการพัฒนาอุปกรณ์ตัวนี้ว่า ต้องการช่วยเหลือผู้บกพร่องทางการมองเห็น อุปกรณ์นี้ไม่ได้เป็นการช่วยเดินทางให้กับผู้พิการแต่จะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันเปรียบเสมือนเป็นดวงตาให้กับผู้มีปัญหาด้านการมองเห็น จึงได้ออกแบบเป็นหูฟังในลักษณะของหูฟังแบบเฮดเซ็ท (Headset) ออกคำสั่งด้วยเสียงโดยมีกล้องขนาดเล็กติดตั้งอยู่เพื่อใช้จับภาพภายในมีระบบเซนเซอร์เมื่อกล้องรับภาพที่ต้องการจากนั้นจะถูกส่งไป ประมวลผลแล้วตอบกลับเป็นเสียงมายังหูฟัง ซึ่งรูปแบบที่คิดขึ้นนี้ทางทีมฯ ได้ทำงานร่วมกับสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยเพื่อศึกษาว่ามีปัญหาอะไรที่ผู้พิการต้องการให้ช่วยแล้วเรามีเทคโนโลยีอะไรที่จะไปช่วยแก้โจทย์เหล่านั้นได้ นายนันทิพัฒน์ นาคทอง หัวหน้าทีมฯ กล่าวว่า จากการทำงานร่วมกับสมาคมฯ เบื้องต้นได้โจทย์มาสี่ปัญหาหลักที่ทางสมาคมฯต้องการให้แก้ คือ หนึ่งเรื่องธนบัตร เพราะคนพิการทางสายตาบางคนไม่สามารถ แยกได้คนที่แยกได้ต้องผ่านการฝึกสอนมาก่อนจึงจะสามารถแยกธนบัตรได้ สองเรื่องสิ่งของ เพราะในชีวิตประจำวันหลายๆ อย่างไม่สามารถแยกได้ด้วยการสัมผัสเพียงอย่างเดียว เช่น บรรจุภัณฑ์ของสินค้า ซึ่งมี รูปร่าง ขนาดหรือรูปทรงของขวดที่เหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่รสชาติหรือกลิ่น ซึ่งเขาไม่สามารถรับรู้ได้จากการคลำหรือจับเพียงอย่างเดียวได้ สามเรื่องแสง เช่น เขาอาจไม่รู้ว่าไฟถูกเปิดอยู่ และสุดท้ายเรื่องสี ถึงแม้จะมองไม่เห็นแต่เขาก็ไม่ต้องการถูกมองเป็น คนประหลาดเรื่องของสีและการใส่เสื้อผ้าที่ไม่เข้ากัน เป็นต้น จึงต้องมีอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีที่จะสามารถตอบสนองและช่วยอำนวยความสะดวกเหล่านั้นได้ โดยอุปกรณ์ดังกล่าวประกอบด้วย ชุดฮาร์ดแวร์ และ ซอฟท์แวร์ ที่ทำงานร่วมกับผู้ใช้งาน โดยมีกล้องที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลภาพนำไปประมวลผลในระบบและรายงานในรูปแบบเสียงผ่านหูฟังสามารถช่วยตรวจสอบและแยกแยะธนบัตร รวมทั้งตรวจสอบสินค้าผ่านบาร์โค๊ท หรือแม้กระทั่งแยกแยะสี และวัตถุ โดยทำงานร่วมกับแอพพลิเคชั่นและเอพีไอ ที่คำนวณและรวบรวมข้อมูลจากโซเชียลเน็ตเวิร์ค เสิร์ชเอนจิ้น และวิกิพีเดีย ช่วยให้ผู้มีปัญหาด้านการมองเห็น ไม่ว่าจะเป็น ผู้พิการทางสายตาหรือผู้สูงอายุ สามารถใช้ชีวิตด้วยตนเองได้ตามปกติ ซึ่งอุปกรณ์ชิ้นนี้ได้ผ่านการทดสอบจากผู้พิการทางสายตาของสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว ขอบคุณ... http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/633560

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...