“เครื่องช่วยฟังอินทิมา” ฝีมือคนไทย ราคาถูกกว่าเครื่องนำเข้า เพิ่มคนพิการได้ยินเข้าถึง
“เครื่องช่วยฟังอินทิมา” ผลงานเด่นตลาดนัดนวัตกรรมทางการแพทย์ ได้มาตรฐานสากล ราคาถูกกว่าเครื่องนำเข้าครึ่งหนึ่ง ช่วยผู้พิการการได้ยินเข้าถึงอุปกรณ์ เพิ่มคุณภาพชีวิต ด้าน สปสช. หนุนนำร่องให้ผู้พิการการได้ยินใช้ผ่านรพ.13แห่งเพื่อประเมิน
ดร.พศิน อิศรเสนา ณ อยุธยา ผู้อำนวยการหน่วยพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์และระบบทางชีวการแพทย์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะผู้วิจัย “เครื่องช่วยฟังดิจิทัล P02-INTIMA” กล่าวว่า เครื่องช่วยฟังดังกล่าวเป็นหนึ่งในผลงานนวัตกรรมเด่นด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่ได้รับการนำเสนอในงาน “มหกรรมตลาดนัดนวัตกรรมการแพทย์ไทย ผลิตภัณฑ์จากแนวคิด สิ่งประดิษฐ์ด้านการแพทย์” ระหว่างวันที่ 18 - 20 ส.ค. ถือเป็นเครื่องช่วยฟังรุ่นแรกที่ผลิตโดยคนไทยและได้มาตรฐานสากล เพราะผ่านการทดสอบการใช้งานทางคลินิกแล้ว มีระบบควบคุมการผลิตตามมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ ISO 13485 จนได้รับเครื่องหมาย CE โดยมีราคาถูกกว่าเครื่องนำเข้าจากต่างประเทศครึ่งหนึ่ง จึงช่วยเพิ่มการเข้าถึงของผู้พิการทางการได้ยินมากขึ้น เพราะที่ผ่านมามักมีปัญหาการเข้าถึงอุปกรณ์เพราะต้องนำเข้าและมีราคาแพง
“เครื่องช่วยฟังดังกล่าวที่ผลิตเป็นแบบกล่องพกพา เพราะใช้งานง่าย ทนทาน และประหยัดพลังงาน เพราะสามารถบรรจุแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟฟ้าได้เช่นเดียวกับโทรศัพท์มือถือ ต่างจากรุ่นที่เป็นแบบทัดหูที่ต้องใช้ถ่านชนิดพิเศษราคาก้อนละ 50 บาท และใช้ได้เพียงแค่ 4 - 5 วัน ก็ต้องเปลี่ยน ทำให้มีค่าใช้จ่ายมาก และหาซื้อยาก แต่เครื่องต้นแบบมีขนาดใหญ่ ผู้ที่มีปัญหาการได้ยินจึงอยากให้ผลิตในรุ่นที่เล็กลง เพราะไม่ต้องการคนให้เห็นความพิการ และความพิการการได้ยินมีหลายระดับแตกต่างกันไป จึงเป็นโจทย์ในการพัฒนาให้เหมาะสมต่อการใช้งาน” ดร.พศิน กล่าวและว่า นอกจากการทดสอบประเมินประสิทธิภาพทางคลินิกร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้ว สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ยังสนับสนุนดำเนินโครงการนำร่องใช้กับผู้พิการการได้ยินในสิทธิบัตรทองจำนวน 1,000 เครื่อง พร้อมติดตามประเมินในโรงพยาบาล 13 แห่ง ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ
ดร.พศิน กล่าวว่า การที่เครื่องช่วยฟังดังกล่าวได้รับการยอมรับและชูเป็นผลงานนวัตกรรมเด่น ในความรู้สึกส่วนตัว ก็คงเช่นเดียวกับนักวิจัย สวทช. ที่ต่างอยากเห็นผลงานพัฒนาขึ้นสามารถใช้งานได้จริง เกิดประโยชน์กับคนไทยและประเทศชาติ ถือเป็นกำลังใจขั้นแรกและเป็นประสบการณ์ที่จะต่อยอดเพื่อพัฒนาคิดค้นผลงานนวัตกรรมต่อไป
ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000090857 (ขนาดไฟล์: 164)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
“เครื่องช่วยฟังอินทิมา” ผลงานเด่นตลาดนัดนวัตกรรมทางการแพทย์ ได้มาตรฐานสากล ราคาถูกกว่าเครื่องนำเข้าครึ่งหนึ่ง ช่วยผู้พิการการได้ยินเข้าถึงอุปกรณ์ เพิ่มคุณภาพชีวิต ด้าน สปสช. หนุนนำร่องให้ผู้พิการการได้ยินใช้ผ่านรพ.13แห่งเพื่อประเมิน เครื่องช่วยฟังอินทิมา ดร.พศิน อิศรเสนา ณ อยุธยา ผู้อำนวยการหน่วยพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์และระบบทางชีวการแพทย์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะผู้วิจัย “เครื่องช่วยฟังดิจิทัล P02-INTIMA” กล่าวว่า เครื่องช่วยฟังดังกล่าวเป็นหนึ่งในผลงานนวัตกรรมเด่นด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่ได้รับการนำเสนอในงาน “มหกรรมตลาดนัดนวัตกรรมการแพทย์ไทย ผลิตภัณฑ์จากแนวคิด สิ่งประดิษฐ์ด้านการแพทย์” ระหว่างวันที่ 18 - 20 ส.ค. ถือเป็นเครื่องช่วยฟังรุ่นแรกที่ผลิตโดยคนไทยและได้มาตรฐานสากล เพราะผ่านการทดสอบการใช้งานทางคลินิกแล้ว มีระบบควบคุมการผลิตตามมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ ISO 13485 จนได้รับเครื่องหมาย CE โดยมีราคาถูกกว่าเครื่องนำเข้าจากต่างประเทศครึ่งหนึ่ง จึงช่วยเพิ่มการเข้าถึงของผู้พิการทางการได้ยินมากขึ้น เพราะที่ผ่านมามักมีปัญหาการเข้าถึงอุปกรณ์เพราะต้องนำเข้าและมีราคาแพง “เครื่องช่วยฟังดังกล่าวที่ผลิตเป็นแบบกล่องพกพา เพราะใช้งานง่าย ทนทาน และประหยัดพลังงาน เพราะสามารถบรรจุแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟฟ้าได้เช่นเดียวกับโทรศัพท์มือถือ ต่างจากรุ่นที่เป็นแบบทัดหูที่ต้องใช้ถ่านชนิดพิเศษราคาก้อนละ 50 บาท และใช้ได้เพียงแค่ 4 - 5 วัน ก็ต้องเปลี่ยน ทำให้มีค่าใช้จ่ายมาก และหาซื้อยาก แต่เครื่องต้นแบบมีขนาดใหญ่ ผู้ที่มีปัญหาการได้ยินจึงอยากให้ผลิตในรุ่นที่เล็กลง เพราะไม่ต้องการคนให้เห็นความพิการ และความพิการการได้ยินมีหลายระดับแตกต่างกันไป จึงเป็นโจทย์ในการพัฒนาให้เหมาะสมต่อการใช้งาน” ดร.พศิน กล่าวและว่า นอกจากการทดสอบประเมินประสิทธิภาพทางคลินิกร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้ว สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ยังสนับสนุนดำเนินโครงการนำร่องใช้กับผู้พิการการได้ยินในสิทธิบัตรทองจำนวน 1,000 เครื่อง พร้อมติดตามประเมินในโรงพยาบาล 13 แห่ง ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ ดร.พศิน กล่าวว่า การที่เครื่องช่วยฟังดังกล่าวได้รับการยอมรับและชูเป็นผลงานนวัตกรรมเด่น ในความรู้สึกส่วนตัว ก็คงเช่นเดียวกับนักวิจัย สวทช. ที่ต่างอยากเห็นผลงานพัฒนาขึ้นสามารถใช้งานได้จริง เกิดประโยชน์กับคนไทยและประเทศชาติ ถือเป็นกำลังใจขั้นแรกและเป็นประสบการณ์ที่จะต่อยอดเพื่อพัฒนาคิดค้นผลงานนวัตกรรมต่อไป ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000090857
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)