เปิดตลาดนัดนวัตกรรมการแพทย์ไทย

แสดงความคิดเห็น

เราอยู่ไกลกับศูนย์สิรินธรมีปัญหามากเวลาเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ทั้งหมอและผู้ช่วยเป็นผู้หญิง คนไข้บางคนที่น้ำหนักมาก แล้วคนไข้ที่เป็นผู้หญิงเขาไม่ชอบนะที่จะมีใครก็ไม่รู้เป็นผู้ชายมาอุ้มเขาลงจากรถเข็น” ทพญ.วีรนันท์ วิชาไทย ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ สถาบันทันตกรรม (กรมการแพทย์) บอกถึงปัญหา เมื่อต้องทำฟันให้กับผู้ป่วยที่มีความพิการทางการเคลื่อนไหว ผู้ป่วยเหล่านี้มากับรถเข็น ประสบความยากลำบากที่จะพาร่างกายไปสู่เก้าอี้ทำฟัน

นวัตกรรมการแพทย์ไทย

ทพญ.วีรนันท์ บอกว่า เวลาเคลื่อนย้ายบางคนจะเกร็งเพราะมีปัญหาเรื่องไขสันหลัง บางคนลงจากรถเข็นลำบากหมอฟันต้องทำฟันบนเก้าอี้รถเข็น ทำให้มีข้อจำกัดของการมองเห็นในช่องปาก ส่งผลให้คนไข้มีโรคสะสมในช่องปากมากขึ้น แม้ปัญหานี้ทางทีมทันตแพทย์ได้ปลดล็อกด้วยการนำเข้าเก้าอี้ทำฟันจากต่างประเทศเข้ามา ซึ่งมีราคาสูงถึง 1.5 ล้านบาท แต่ ปรากฏว่าเก้าอี้ทำฟันไม่ได้ออกแบบให้รองรับสรีระคนไทย ทันตแพทย์ไม่สามารถนั่งได้ต้องยืน คนไข้นอนแล้วปวดคอ และที่สำคัญราคาแพง ด้วยข้อจำกัดสถาบันทันตกรรม จึงได้นำโจทย์เหล่านี้ให้ทีมวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ช่วยแก้ไข

ณัฐพล ชโยพิทักษ์ นักวิจัยจากเนคเทค เล่าว่า ก่อนออกแบบได้สำรวจความต้องการของคนไข้และทันตแพทย์ จนสามารถพัฒนาเก้าอี้ทำฟันคนพิการฝีมือคนไทยถึง 3 รุ่น ผลิตออกมาในเชิงพาณิชย์ได้แล้ว มีจุดเด่นที่รองรับวีลแชร์ได้ทุกรูปแบบ ซึ่งราคาใกล้เคียงกับเก้าอี้ทำฟันของคนปกติราคา 3.5 แสนบาท ลักษณะการใช้งานเป็นอุปกรณ์ช่วยทำให้คนไข้นั่งทำฟันอยู่บนรถเข็นได้เลย

ด้านประพันธ์ วิไลเลิศ กรรมการผู้จัดการ บจก.ไทยเด็นทอล อินเตอร์เนชั่นแนล ในฐานะบริษัทเอกชนผู้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากเนคเทค กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทได้นำมาต่อยอดให้เก้าอี้ทำฟันผู้พิการนี้ มีฟังก์ชั่นการใช้งานครบถ้วนรวมทั้งอ่างบ้วนน้ำ ระบบดูดเลือดน้ำลาย หัวกรอ ซึ่งเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ถ้ารวมครบชุดราคาไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท แต่คนไทยทำได้ราคาแค่ 4.3 แสน

นอกจากนี้ยังใช้พลังงานลมแทนไฟฟ้า ด้วยการออกแบบที่ดัดแปลงภูมิปัญญาแบบกาลักน้ำมาปรับใช้ในเก้าอี้ทำฟัน รวมทั้งออกแบบให้วัสดุเป็นสเตนเลส เพื่อป้องกันสนิมหากเกิดน้ำท่วม และออกแบบให้เป็นยูนิตประกอบ เพื่อให้เก้าอี้ทำฟันเคลื่อนย้ายได้สะดวกในถิ่นทุรกันดารน้ำหนักอยู่ที่ 65 กก. จากเดิม 100 กก. “ตอนนี้มีต่างประเทศสนใจสั่งซื้อแล้ว มีทั้งญี่ปุ่น เวียดนาม ปากีสถาน ทำให้บริษัทมียอดขายเฉลี่ยเดือนละ 200 เครื่อง” ผู้บริหารบริษัท ไทยเด็นทอล อินเตอร์เนชั่นแนล บอกเล่า

รัฐบาลโดยคณะพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ เห็นความสำคัญของการเชื่อมโยงผลงานนวัตกรรมไทยกับความต้องการภาครัฐโดยบูรณาการความร่วมมือร่วมกันระหว่างผู้ผลิต ผู้ใช้ และผู้วิจัย ครั้งแรกกับการจัดงานตลาดนัดนวัตกรรม การแพทย์ไทย ผลิตภัณฑ์จากแนวคิด สิ่งประดิษฐ์ด้านการแพทย์ เกิดจากแนวคิดของ นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เห็นความสำคัญของการคิดค้นนวัตกรรมทางการแพทย์และสุขภาพด้วยคนไทยและเพื่อคนไทย งานนี้ได้มอบหมายให้ 4 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกันจัดงานขึ้น ระหว่างวันที่ 18-20 สิงหาคม 58 ณ ศูนย์ประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี

ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า วัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อให้โรงพยาบาลและหน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับ เห็นคุณค่าและร่วมสนับสนุนนวัตกรรมการแพทย์ฯ ที่ได้คุณภาพมาตรฐาน วิจัยโดยคนไทยและผลิตในประเทศ นอกจากจะเป็นการพึ่งพาตนเอง ลดรายจ่ายในการนำเข้าสินค้าทางการแพทย์จากต่างประเทศแล้ว ยังเปิดให้เป็นเวทีพบปะระหว่างผู้พัฒนานวัตกรรมการแพทย์ฯ ผู้ผลิต และผู้ใช้งานจริง เพิ่มโอกาสเจรจาจับคู่ธุรกิจ ซึ่งนำไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศได้ รวมถึงเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่สนใจ

ไฮไลต์ที่น่าสนใจของงานนี้ อาทิ หุ่นยนต์สอนพัฒนาการเด็กออทิสติก จากศูนย์ความเป็นเลิศด้วยวิทยาศาสตร์ รถพยาบาลนาโน จากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของคนไข้และเจ้าหน้าที่ที่ใช้บริการรถพยาบาลฉุกเฉิน โดยบริษัท สุพรีมโพรดักส์ จำกัด ระบบหุ่นยนต์ผ่าตัด จากศูนย์วิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์ ม.มหิดล Care Home กระเบื้องและสุขภัณฑ์เพื่อบ้านที่มีผู้สูงอายุและผู้ป่วย ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพภาคอุตสาหกรรมไทย และแก้ปัญหาแรงงาน หุ่นยนต์ดินสอ เพื่อดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วย สามารถเสิร์ฟอาหาร หยิบของ และโทรศัพท์ได้กรณีฉุกเฉิน

ภายในงานมีการจัดแสดงผลงานนวัตกรรมการแพทย์ฯ 195 รายการ รวมทั้งยาและเครื่องสำอาง โดยแบ่งสัดส่วนการจัดแสดงผลงานเพื่อให้เห็นกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ นำมาใช้ประโยชน์ได้กับระบบสุขภาพคนไทยและส่งออกได้. พรประไพ เสือเขียว /article@dailynews.co.th

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/341136 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย13ส.ค.58
วันที่โพสต์: 13/08/2558 เวลา 13:14:50 ดูภาพสไลด์โชว์ เปิดตลาดนัดนวัตกรรมการแพทย์ไทย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เราอยู่ไกลกับศูนย์สิรินธรมีปัญหามากเวลาเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ทั้งหมอและผู้ช่วยเป็นผู้หญิง คนไข้บางคนที่น้ำหนักมาก แล้วคนไข้ที่เป็นผู้หญิงเขาไม่ชอบนะที่จะมีใครก็ไม่รู้เป็นผู้ชายมาอุ้มเขาลงจากรถเข็น” ทพญ.วีรนันท์ วิชาไทย ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ สถาบันทันตกรรม (กรมการแพทย์) บอกถึงปัญหา เมื่อต้องทำฟันให้กับผู้ป่วยที่มีความพิการทางการเคลื่อนไหว ผู้ป่วยเหล่านี้มากับรถเข็น ประสบความยากลำบากที่จะพาร่างกายไปสู่เก้าอี้ทำฟัน นวัตกรรมการแพทย์ไทย ทพญ.วีรนันท์ บอกว่า เวลาเคลื่อนย้ายบางคนจะเกร็งเพราะมีปัญหาเรื่องไขสันหลัง บางคนลงจากรถเข็นลำบากหมอฟันต้องทำฟันบนเก้าอี้รถเข็น ทำให้มีข้อจำกัดของการมองเห็นในช่องปาก ส่งผลให้คนไข้มีโรคสะสมในช่องปากมากขึ้น แม้ปัญหานี้ทางทีมทันตแพทย์ได้ปลดล็อกด้วยการนำเข้าเก้าอี้ทำฟันจากต่างประเทศเข้ามา ซึ่งมีราคาสูงถึง 1.5 ล้านบาท แต่ ปรากฏว่าเก้าอี้ทำฟันไม่ได้ออกแบบให้รองรับสรีระคนไทย ทันตแพทย์ไม่สามารถนั่งได้ต้องยืน คนไข้นอนแล้วปวดคอ และที่สำคัญราคาแพง ด้วยข้อจำกัดสถาบันทันตกรรม จึงได้นำโจทย์เหล่านี้ให้ทีมวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ช่วยแก้ไข ณัฐพล ชโยพิทักษ์ นักวิจัยจากเนคเทค เล่าว่า ก่อนออกแบบได้สำรวจความต้องการของคนไข้และทันตแพทย์ จนสามารถพัฒนาเก้าอี้ทำฟันคนพิการฝีมือคนไทยถึง 3 รุ่น ผลิตออกมาในเชิงพาณิชย์ได้แล้ว มีจุดเด่นที่รองรับวีลแชร์ได้ทุกรูปแบบ ซึ่งราคาใกล้เคียงกับเก้าอี้ทำฟันของคนปกติราคา 3.5 แสนบาท ลักษณะการใช้งานเป็นอุปกรณ์ช่วยทำให้คนไข้นั่งทำฟันอยู่บนรถเข็นได้เลย ด้านประพันธ์ วิไลเลิศ กรรมการผู้จัดการ บจก.ไทยเด็นทอล อินเตอร์เนชั่นแนล ในฐานะบริษัทเอกชนผู้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากเนคเทค กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทได้นำมาต่อยอดให้เก้าอี้ทำฟันผู้พิการนี้ มีฟังก์ชั่นการใช้งานครบถ้วนรวมทั้งอ่างบ้วนน้ำ ระบบดูดเลือดน้ำลาย หัวกรอ ซึ่งเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ถ้ารวมครบชุดราคาไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท แต่คนไทยทำได้ราคาแค่ 4.3 แสน นอกจากนี้ยังใช้พลังงานลมแทนไฟฟ้า ด้วยการออกแบบที่ดัดแปลงภูมิปัญญาแบบกาลักน้ำมาปรับใช้ในเก้าอี้ทำฟัน รวมทั้งออกแบบให้วัสดุเป็นสเตนเลส เพื่อป้องกันสนิมหากเกิดน้ำท่วม และออกแบบให้เป็นยูนิตประกอบ เพื่อให้เก้าอี้ทำฟันเคลื่อนย้ายได้สะดวกในถิ่นทุรกันดารน้ำหนักอยู่ที่ 65 กก. จากเดิม 100 กก. “ตอนนี้มีต่างประเทศสนใจสั่งซื้อแล้ว มีทั้งญี่ปุ่น เวียดนาม ปากีสถาน ทำให้บริษัทมียอดขายเฉลี่ยเดือนละ 200 เครื่อง” ผู้บริหารบริษัท ไทยเด็นทอล อินเตอร์เนชั่นแนล บอกเล่า รัฐบาลโดยคณะพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ เห็นความสำคัญของการเชื่อมโยงผลงานนวัตกรรมไทยกับความต้องการภาครัฐโดยบูรณาการความร่วมมือร่วมกันระหว่างผู้ผลิต ผู้ใช้ และผู้วิจัย ครั้งแรกกับการจัดงานตลาดนัดนวัตกรรม การแพทย์ไทย ผลิตภัณฑ์จากแนวคิด สิ่งประดิษฐ์ด้านการแพทย์ เกิดจากแนวคิดของ นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เห็นความสำคัญของการคิดค้นนวัตกรรมทางการแพทย์และสุขภาพด้วยคนไทยและเพื่อคนไทย งานนี้ได้มอบหมายให้ 4 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกันจัดงานขึ้น ระหว่างวันที่ 18-20 สิงหาคม 58 ณ ศูนย์ประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า วัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อให้โรงพยาบาลและหน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับ เห็นคุณค่าและร่วมสนับสนุนนวัตกรรมการแพทย์ฯ ที่ได้คุณภาพมาตรฐาน วิจัยโดยคนไทยและผลิตในประเทศ นอกจากจะเป็นการพึ่งพาตนเอง ลดรายจ่ายในการนำเข้าสินค้าทางการแพทย์จากต่างประเทศแล้ว ยังเปิดให้เป็นเวทีพบปะระหว่างผู้พัฒนานวัตกรรมการแพทย์ฯ ผู้ผลิต และผู้ใช้งานจริง เพิ่มโอกาสเจรจาจับคู่ธุรกิจ ซึ่งนำไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศได้ รวมถึงเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่สนใจ ไฮไลต์ที่น่าสนใจของงานนี้ อาทิ หุ่นยนต์สอนพัฒนาการเด็กออทิสติก จากศูนย์ความเป็นเลิศด้วยวิทยาศาสตร์ รถพยาบาลนาโน จากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของคนไข้และเจ้าหน้าที่ที่ใช้บริการรถพยาบาลฉุกเฉิน โดยบริษัท สุพรีมโพรดักส์ จำกัด ระบบหุ่นยนต์ผ่าตัด จากศูนย์วิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์ ม.มหิดล Care Home กระเบื้องและสุขภัณฑ์เพื่อบ้านที่มีผู้สูงอายุและผู้ป่วย ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพภาคอุตสาหกรรมไทย และแก้ปัญหาแรงงาน หุ่นยนต์ดินสอ เพื่อดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วย สามารถเสิร์ฟอาหาร หยิบของ และโทรศัพท์ได้กรณีฉุกเฉิน ภายในงานมีการจัดแสดงผลงานนวัตกรรมการแพทย์ฯ 195 รายการ รวมทั้งยาและเครื่องสำอาง โดยแบ่งสัดส่วนการจัดแสดงผลงานเพื่อให้เห็นกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ นำมาใช้ประโยชน์ได้กับระบบสุขภาพคนไทยและส่งออกได้. พรประไพ เสือเขียว /article@dailynews.co.th ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/341136

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...