“ม.มหิดล”ผลิตเครื่องช่วยคนตาบอดจดจำ

แสดงความคิดเห็น

เครื่องช่วยคนตาบอดจดจำ

วันที่ (27 ก.ค.) ศ.นพ.อุดม คชินทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล(มม.) เปิดเผยว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาลัยราชสุดา มม. ร่วมมือกับ มูลนิธิพุทธรักษา และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พัฒนาอุปกรณ์จดจำ หรือ My Eye Memory ผลงานนวัตกรรมฝีมือคนไทยมาตรฐานระดับสากล ที่จะช่วยให้คนพิการทางสายตาสามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสามารถบันทึกข้อมูลด้วยการกดปุ่มตามอักษรเบรลล์ และย้อนกลับไปฟัง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องได้ รวมถึงสามารถส่งข้อมูลที่บันทึกแล้วไปยังอุปกรณ์ไอที เพื่อส่งข้อความ หรือสร้างเอกสารให้คนอื่นได้ ซึ่งรองรับทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยยังคงมุ่งมั่นที่จะนำความรู้มาประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมที่เกิดประโยชน์ให้แก่สังคม และประเทศชาติต่อไป

ด้าน นางทิพพาภรณ์ (เจียรวนนท์) อริยวรารมย์ ประธานกรรมการมูลนิธิพุทธรักษา กล่าวว่า มูลนิธิพุทธรักษาร่วมสนับสนุนการผลิตอุปกรณ์ดังกล่าว 100 เครื่องแรก เพื่อส่งมอบให้แก่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 50 เครื่อง เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ และโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ นอกจากนี้จะมอบให้แก่วิทยาลัยราชสุดา อีก 50 เครื่อง เพื่อใช้บันทึกในการเรียน ทั้งนี้ทางมูลนิธิฯ หวังว่าอุปกรณ์จดจำนี้จะช่วยลดข้อจำกัด และเพิ่มขีดความสามารถของคนพิการในการสื่อสาร อันเป็นการเพิ่มโอกาส และช่องทางในการประกอบอาชีพในสังคมได้อีกด้วย.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/education/337682 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ก.ค.58
วันที่โพสต์: 28/07/2558 เวลา 11:10:26 ดูภาพสไลด์โชว์ “ม.มหิดล”ผลิตเครื่องช่วยคนตาบอดจดจำ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เครื่องช่วยคนตาบอดจดจำ วันที่ (27 ก.ค.) ศ.นพ.อุดม คชินทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล(มม.) เปิดเผยว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาลัยราชสุดา มม. ร่วมมือกับ มูลนิธิพุทธรักษา และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พัฒนาอุปกรณ์จดจำ หรือ My Eye Memory ผลงานนวัตกรรมฝีมือคนไทยมาตรฐานระดับสากล ที่จะช่วยให้คนพิการทางสายตาสามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสามารถบันทึกข้อมูลด้วยการกดปุ่มตามอักษรเบรลล์ และย้อนกลับไปฟัง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องได้ รวมถึงสามารถส่งข้อมูลที่บันทึกแล้วไปยังอุปกรณ์ไอที เพื่อส่งข้อความ หรือสร้างเอกสารให้คนอื่นได้ ซึ่งรองรับทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยยังคงมุ่งมั่นที่จะนำความรู้มาประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมที่เกิดประโยชน์ให้แก่สังคม และประเทศชาติต่อไป ด้าน นางทิพพาภรณ์ (เจียรวนนท์) อริยวรารมย์ ประธานกรรมการมูลนิธิพุทธรักษา กล่าวว่า มูลนิธิพุทธรักษาร่วมสนับสนุนการผลิตอุปกรณ์ดังกล่าว 100 เครื่องแรก เพื่อส่งมอบให้แก่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 50 เครื่อง เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ และโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ นอกจากนี้จะมอบให้แก่วิทยาลัยราชสุดา อีก 50 เครื่อง เพื่อใช้บันทึกในการเรียน ทั้งนี้ทางมูลนิธิฯ หวังว่าอุปกรณ์จดจำนี้จะช่วยลดข้อจำกัด และเพิ่มขีดความสามารถของคนพิการในการสื่อสาร อันเป็นการเพิ่มโอกาส และช่องทางในการประกอบอาชีพในสังคมได้อีกด้วย. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/education/337682

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...