โปรเจ็กต์′ออนเทนนะ′ เพื่อคนพิการทางหู

แสดงความคิดเห็น

โปรเจ็กต์′ออนเทนนะ′ เพื่อคนพิการทางหู

"ทัต สึยะ ฮอนดะ" นักออกแบบยูสเซอร์ อินเตอร์เฟซ (ยูไอ) ชาวญี่ปุ่น เริ่มต้นทำ "โปรเจ็กต์ ออนเทนนะ" มาตั้งแต่ปี 2012 เมื่อตอนที่ยังเป็นนักศึกษาปี 4 ของฟิวเจอร์ ยูนิเวอร์ซิตี้ ฮาโกดาเตะ ในเมืองฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น หลังจากได้พบและทำความรู้จักกับประธานสมาคมวิจัยทางภาพและเสียงแห่งฮาโกดา เตะ คนพิการทางหูซึ่งบังเอิญเดินทางมาเที่ยวชมมหาวิทยาลัยและฮอนดะอาสานำชมโดยใช้ภาษาท่าทาง

ฮอนดะไม่เพียงกลายเป็นนักวิจัย อาสาสมัครของสมาคม เท่านั้น ยังทุ่มความสนใจในการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางหูอย่างเต็มความสามารถ ตั้งแต่การเข้าเรียนภาษาสัญลักษณ์เพื่อสื่อสารกับคนพิการทางหู, อาสาสมัครเป็นล่ามให้กับคนพิการทางหู และจัดตั้งชมรมช่วยคนพิการทางหูขึ้นในมหาวิทยาลัย ก่อนที่จะตัดสินใจทุ่มเวลาส่วนใหญ่ให้กับการพัฒนา "ออนเทนนะ" ขึ้นมาเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยให้คนพิการทางหูได้รับรู้และเข้าใจเสียงรอบตัวโดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ความพยายามของฮอนดะไม่สูญเปล่า หน่วยงานส่งเสริมวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานส่งเสริมไอทีของรัฐบาลญี่ปุ่น เห็นความสำคัญของโครงการนี้ จึงให้ทุนสนับสนุนในการวิจัยและพัฒนา"ออนเทนนะ"ของฮอนดะมาตลอดแม้จะสำเร็จการศึกษาแล้วก็ตาม

"ออนเทนนะ" คืออุปกรณ์อัจฉริยะที่ทำหน้าที่แปลงเสียงให้กลายเป็นรูปแบบของแสงและการสั่นสะเทือน เพื่อให้ผู้ใช้ซึ่งเป็นคนพิการทางหูได้รับรู้และเข้าใจเสียงต่างๆ ดังกล่าว ซึ่งฮอนดะคิดค้นและปรับปรุงมาตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ด้วยความช่วยเหลือจากเพื่อนๆ คนพิการทางหู ที่อาสาเป็นผู้ทดลองใช้และให้ความคิดเห็นในการปรับปรุงอุปกรณ์อัจฉริยะนี้เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด

ในตอนแรกสุด ฮอนดะสร้างอุปกรณ์ต้นแบบขึ้นมาเป็นทรงสี่เหลี่ยม สำหรับใช้ติดผิวหนัง เพื่อให้คนพิการทางหูได้รับแรงสั่นสะเทือนได้มากที่สุด แต่หลังจากได้รับปฏิกิริยาตอบกลับจากผู้ใช้ ทั้งเรื่องความคมของเหลี่ยมต่างๆ ของต้นแบบ และอาการผื่นคันที่เกิดจากการใช้เครื่อง "ออนเทนนะ" ก็ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดก็กลายเป็นอุปกรณ์ที่หนีบติดไว้กับศีรษะเหมือนกิ๊บหนีบผมอย่างในภาพ

"ออนเทนนะ" สามารถแปลงเสียงตั้งแต่ความดังในระดับ 30 เดซิเบล เรื่อยไปจนถึง 90 เดซิเบล ให้กลายเป็นแรงสั่นสะเทือนและแสงแตกต่างกันถึง 256 ระดับ เพื่อแสดงให้เห็นถึงรูปแบบและคุณภาพของเสียงที่อยู่รอบตัวผู้ใช้ เช่นเสียงเตือนภัยไฟไหม้ เป็นต้น ระดับความแตกต่างของแสงและการสั่นสะเทือนทำให้คนพิการทางหูที่ใช้งานออนเทนนะอยู่สามารถ "รู้สึก" ได้ถึงเสียงต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัว รู้ถึงจังหวะจะโคนของเสียง, รูปแบบของเสียง, ที่มาของเสียง และความดัง-ค่อยของเสียง รวมถึงคุณลักษณะอื่นๆของเสียง ซึ่งคนพิการทางหูไม่เคย "รู้สึก" ได้มาก่อนในชีวิต

"ออนเทนนะ" ไม่ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการสื่อสาร แต่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้การใช้ชีวิตประจำวันของคนพิการทางหูสะดวกสบาย มากขึ้น และรับรู้เรื่องราวรอบตัวมากขึ้น เช่น ผู้ใช้ออนเทนนะสามารถแยกความแตกต่างระหว่างเสียงกริ่งโทรศัพท์กับเสียงกดออด หน้าประตูได้ หรือในกรณีของเด็กหญิงคนพิการทางหูชาวญี่ปุ่นรายหนึ่ง ซึ่งทดลองใช้ออนเทนนะระบุว่า เธอสามารถรู้สึกได้ว่าเสียงจักจั่นเป็นอย่างไรเมื่อใช้อุปกรณ์นี้ โดยที่ก่อนหน้านี้เธอได้แต่รับรู้จากตำราเรียนเท่านั้นว่าจักจั่นร้องอย่างไรแต่ไม่เคยได้ยินมาก่อนในชีวิต ทัตสึยะ ฮอนดะ บอกว่า โปรเจ็กต์ออนเทนนะของตัวเองยังคงอยู่ระหว่างการพัฒนา แต่พยายามจะทำให้สมบูรณ์สำหรับวางจำหน่ายให้คนพิการทางหูทั่วไปได้ใช้งานให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1446436075 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 02 พ.ย.58
วันที่โพสต์: 3/11/2558 เวลา 11:24:28 ดูภาพสไลด์โชว์ โปรเจ็กต์′ออนเทนนะ′ เพื่อคนพิการทางหู

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โปรเจ็กต์′ออนเทนนะ′ เพื่อคนพิการทางหู "ทัต สึยะ ฮอนดะ" นักออกแบบยูสเซอร์ อินเตอร์เฟซ (ยูไอ) ชาวญี่ปุ่น เริ่มต้นทำ "โปรเจ็กต์ ออนเทนนะ" มาตั้งแต่ปี 2012 เมื่อตอนที่ยังเป็นนักศึกษาปี 4 ของฟิวเจอร์ ยูนิเวอร์ซิตี้ ฮาโกดาเตะ ในเมืองฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น หลังจากได้พบและทำความรู้จักกับประธานสมาคมวิจัยทางภาพและเสียงแห่งฮาโกดา เตะ คนพิการทางหูซึ่งบังเอิญเดินทางมาเที่ยวชมมหาวิทยาลัยและฮอนดะอาสานำชมโดยใช้ภาษาท่าทาง ฮอนดะไม่เพียงกลายเป็นนักวิจัย อาสาสมัครของสมาคม เท่านั้น ยังทุ่มความสนใจในการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางหูอย่างเต็มความสามารถ ตั้งแต่การเข้าเรียนภาษาสัญลักษณ์เพื่อสื่อสารกับคนพิการทางหู, อาสาสมัครเป็นล่ามให้กับคนพิการทางหู และจัดตั้งชมรมช่วยคนพิการทางหูขึ้นในมหาวิทยาลัย ก่อนที่จะตัดสินใจทุ่มเวลาส่วนใหญ่ให้กับการพัฒนา "ออนเทนนะ" ขึ้นมาเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยให้คนพิการทางหูได้รับรู้และเข้าใจเสียงรอบตัวโดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ความพยายามของฮอนดะไม่สูญเปล่า หน่วยงานส่งเสริมวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานส่งเสริมไอทีของรัฐบาลญี่ปุ่น เห็นความสำคัญของโครงการนี้ จึงให้ทุนสนับสนุนในการวิจัยและพัฒนา"ออนเทนนะ"ของฮอนดะมาตลอดแม้จะสำเร็จการศึกษาแล้วก็ตาม "ออนเทนนะ" คืออุปกรณ์อัจฉริยะที่ทำหน้าที่แปลงเสียงให้กลายเป็นรูปแบบของแสงและการสั่นสะเทือน เพื่อให้ผู้ใช้ซึ่งเป็นคนพิการทางหูได้รับรู้และเข้าใจเสียงต่างๆ ดังกล่าว ซึ่งฮอนดะคิดค้นและปรับปรุงมาตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ด้วยความช่วยเหลือจากเพื่อนๆ คนพิการทางหู ที่อาสาเป็นผู้ทดลองใช้และให้ความคิดเห็นในการปรับปรุงอุปกรณ์อัจฉริยะนี้เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด ในตอนแรกสุด ฮอนดะสร้างอุปกรณ์ต้นแบบขึ้นมาเป็นทรงสี่เหลี่ยม สำหรับใช้ติดผิวหนัง เพื่อให้คนพิการทางหูได้รับแรงสั่นสะเทือนได้มากที่สุด แต่หลังจากได้รับปฏิกิริยาตอบกลับจากผู้ใช้ ทั้งเรื่องความคมของเหลี่ยมต่างๆ ของต้นแบบ และอาการผื่นคันที่เกิดจากการใช้เครื่อง "ออนเทนนะ" ก็ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดก็กลายเป็นอุปกรณ์ที่หนีบติดไว้กับศีรษะเหมือนกิ๊บหนีบผมอย่างในภาพ "ออนเทนนะ" สามารถแปลงเสียงตั้งแต่ความดังในระดับ 30 เดซิเบล เรื่อยไปจนถึง 90 เดซิเบล ให้กลายเป็นแรงสั่นสะเทือนและแสงแตกต่างกันถึง 256 ระดับ เพื่อแสดงให้เห็นถึงรูปแบบและคุณภาพของเสียงที่อยู่รอบตัวผู้ใช้ เช่นเสียงเตือนภัยไฟไหม้ เป็นต้น ระดับความแตกต่างของแสงและการสั่นสะเทือนทำให้คนพิการทางหูที่ใช้งานออนเทนนะอยู่สามารถ "รู้สึก" ได้ถึงเสียงต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัว รู้ถึงจังหวะจะโคนของเสียง, รูปแบบของเสียง, ที่มาของเสียง และความดัง-ค่อยของเสียง รวมถึงคุณลักษณะอื่นๆของเสียง ซึ่งคนพิการทางหูไม่เคย "รู้สึก" ได้มาก่อนในชีวิต "ออนเทนนะ" ไม่ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการสื่อสาร แต่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้การใช้ชีวิตประจำวันของคนพิการทางหูสะดวกสบาย มากขึ้น และรับรู้เรื่องราวรอบตัวมากขึ้น เช่น ผู้ใช้ออนเทนนะสามารถแยกความแตกต่างระหว่างเสียงกริ่งโทรศัพท์กับเสียงกดออด หน้าประตูได้ หรือในกรณีของเด็กหญิงคนพิการทางหูชาวญี่ปุ่นรายหนึ่ง ซึ่งทดลองใช้ออนเทนนะระบุว่า เธอสามารถรู้สึกได้ว่าเสียงจักจั่นเป็นอย่างไรเมื่อใช้อุปกรณ์นี้ โดยที่ก่อนหน้านี้เธอได้แต่รับรู้จากตำราเรียนเท่านั้นว่าจักจั่นร้องอย่างไรแต่ไม่เคยได้ยินมาก่อนในชีวิต ทัตสึยะ ฮอนดะ บอกว่า โปรเจ็กต์ออนเทนนะของตัวเองยังคงอยู่ระหว่างการพัฒนา แต่พยายามจะทำให้สมบูรณ์สำหรับวางจำหน่ายให้คนพิการทางหูทั่วไปได้ใช้งานให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1446436075

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...