สุดเจ๋ง! “แขนเทียมเลโก้” เพื่อเด็กพิการคว้ารางวัลนวัตกรรมดิจิตอลในงาน Netexplo
เอเอฟพี - แขนเทียมที่สร้างมาจากตัวต่อเลโก้ที่เด็กๆ ผู้พิการสามารถปรับแต่งตามความต้องการของตนเองได้รับรางวัลสำหรับผลงานด้านเทคโนโลยีดิจิตอลในงานประชุมเน็ตเอ็กซ์โป (Netexplo) ที่กรุงปารีสเมื่อวานนี้ (10) ระบบกายประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ไอเคโอ (IKO Creative Prosthetic System) ที่คิดค้นโดย คาร์ลอส ตอร์เลส นักออกแบบชาวโคลอมเบีย ต่อเข้ากันได้กับชิ้นส่วนเลโก้และสามารถปรับแต่งรูปร่าง สีและส่วนประกอบได้
“ตอร์เลสต้องการช่วยเด็กๆ ที่มีความพิการหรือแขนบาดเจ็บให้รู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลงด้วยการทำให้ความรู้สึกทุพพลภาพของพวกเขาเป็นภาระและเป็นปมด้อยน้อยลง” คณะผู้จัดงานระบุ “เทคโนโลยีและจินตนาการสามารถช่วยให้เด็กๆก้าวข้ามความพิการไปได้”
ผลงานชนะเลิศชิ้นนี้ถูกเลือกจากอีกหลายๆ ผลงานทั่วโลกที่เข้าชิง รวมถึงแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือที่สามารถแปลภาษาทางการของแอฟริกาใต้ 11 ภาษา และหุ่นยนต์ของญี่ปุ่นที่ทำคะแนนสอบได้ดีพอที่จะเข้ามหาวิทยาลัยโตเกียว
การประชุมเน็ตเอ็กซ์โป ซึ่งถูกจัดขึ้นเป็นปีที่ 9 โดยกลุ่มผู้สังเกตการณ์ที่ใช้ชื่อเดียวกัน จะเสาะหานวัตกรรมในเทคโนโลยีดิจิตอลผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัย 20 แห่งที่แพร่กระจายทั่ว 15 ประเทศ เธียร์รี แฮปเป ผู้ร่วมก่อตั้งงานนี้กล่าวว่า กลุ่มสังเกตการณ์เน็ตเอ็กซ์โป (Netexplo Observatory) ได้คัดเลือกสิ่งประดิษฐ์ดิจิตอลมาราว 2,175ชิ้นในปีนี้
“ผลงานเข้าชิง 10 ชิ้นแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มใหญ่ที่ได้ผลักดันข้อจำกัดต่างๆ เพื่อขยายขอบเขตของความเป็นไปได้ ทั้งนี้เป็นเพราะ (เทคโนโลยี) ดิจิตอล” เขากล่าว
ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000015180 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เอเอฟพี - แขนเทียมที่สร้างมาจากตัวต่อเลโก้ที่เด็กๆ ผู้พิการสามารถปรับแต่งตามความต้องการของตนเองได้รับรางวัลสำหรับผลงานด้านเทคโนโลยีดิจิตอลในงานประชุมเน็ตเอ็กซ์โป (Netexplo) ที่กรุงปารีสเมื่อวานนี้ (10) ระบบกายประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ไอเคโอ (IKO Creative Prosthetic System) ที่คิดค้นโดย คาร์ลอส ตอร์เลส นักออกแบบชาวโคลอมเบีย ต่อเข้ากันได้กับชิ้นส่วนเลโก้และสามารถปรับแต่งรูปร่าง สีและส่วนประกอบได้ แขนเทียมเลโก้ เพื่อเด็กพิการคว้ารางวัลนวัตกรรมดิจิตอลในงาน Netexplo “ตอร์เลสต้องการช่วยเด็กๆ ที่มีความพิการหรือแขนบาดเจ็บให้รู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลงด้วยการทำให้ความรู้สึกทุพพลภาพของพวกเขาเป็นภาระและเป็นปมด้อยน้อยลง” คณะผู้จัดงานระบุ “เทคโนโลยีและจินตนาการสามารถช่วยให้เด็กๆก้าวข้ามความพิการไปได้” ผลงานชนะเลิศชิ้นนี้ถูกเลือกจากอีกหลายๆ ผลงานทั่วโลกที่เข้าชิง รวมถึงแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือที่สามารถแปลภาษาทางการของแอฟริกาใต้ 11 ภาษา และหุ่นยนต์ของญี่ปุ่นที่ทำคะแนนสอบได้ดีพอที่จะเข้ามหาวิทยาลัยโตเกียว การประชุมเน็ตเอ็กซ์โป ซึ่งถูกจัดขึ้นเป็นปีที่ 9 โดยกลุ่มผู้สังเกตการณ์ที่ใช้ชื่อเดียวกัน จะเสาะหานวัตกรรมในเทคโนโลยีดิจิตอลผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัย 20 แห่งที่แพร่กระจายทั่ว 15 ประเทศ เธียร์รี แฮปเป ผู้ร่วมก่อตั้งงานนี้กล่าวว่า กลุ่มสังเกตการณ์เน็ตเอ็กซ์โป (Netexplo Observatory) ได้คัดเลือกสิ่งประดิษฐ์ดิจิตอลมาราว 2,175ชิ้นในปีนี้ “ผลงานเข้าชิง 10 ชิ้นแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มใหญ่ที่ได้ผลักดันข้อจำกัดต่างๆ เพื่อขยายขอบเขตของความเป็นไปได้ ทั้งนี้เป็นเพราะ (เทคโนโลยี) ดิจิตอล” เขากล่าว ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000015180
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)