ศิริราชเล็งสร้าง “แว่นตาเซ็นเซอร์” ช่วยผู้ป่วยอัมพาตคุม “วีลแชร์” ได้แค่ใช้สายตา

แสดงความคิดเห็น

นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการประจำปี 2559

ศิริราชรุกงาน “นวัตกรรมการแพทย์” เพื่ออนาคต ร่วมมือคณะวิศวกรรมฯ ม.มหิดล จัดสร้าง “แว่นตาเซ็นเซอร์”ช่วยผู้ป่วยอัมพาตควบคุมรถวีลแชร์ได้เองเพียงกรอกสายตาไม่ต้องใช้แขนขาหรือพึ่งคนเข็น

เมื่อวันที่ (13 มิ.ย.) นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการประจำปี 2559 Siriraj International Conference in Medicine and Public Health (SICMPH) 2016 ในหัวข้อ “Innovation in Health” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสที่ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 - 15 มิ.ย. โดยมี นพ.โสภณ เมฆธน ปลัด สธ. และ ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมเปิดงาน

ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า งานดังกล่าวจะพูดถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน ว่ามีความก้าวหน้าอย่างไร และจะนำไปสู่ทิศทางในอนาคตอย่างไร ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. การแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine ) เป็นการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลร่วมกับเทคโนโลยีชีวโมเลกุล ทำให้สามารถนำ “อภิมหาข้อมูล” หรือ “Big Data” มาใช้ประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค เลือกวิธีการรักษา และทำนายผลการรักษาได้แม่นยำขึ้น ซึ่งปัจจุบันศิริราชมีการดำเนินการลักษณะนี้ เรียกว่า “ศูนย์ตรวจสารพันธุกรรม” เพื่อตรวจหาคนไข้รายบุคคล ว่า มีความไวของยารักษาโรคในแต่ละกลุ่มโรคอย่างไรบ้างเรียกว่าเป็นการรักษาเฉพาะบุคคลนั่นเอง

2. การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) เทคโนโลยีการสื่อสาร ช่วยเพิ่มศักยภาพการดูแลรักษาได้ในหลายบริบทที่มีข้อจำกัด และเพิ่มความเท่าเทียมให้ผู้ป่วยทุกระดับ ยกตัวอย่าง หุ่นยนต์ผ่าตัดทางไกล ใช้ระบบเทคโนโลยีดาวเทียมในการส่งผ่านข้อมูล สามารถดำเนินการได้แม้อยู่ห่างคนละทวีป ซึ่งศิริราชมีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ศิริราชยังอยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการบูรณาการระบบการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน และการส่งต่อข้อมูลจากจุดเกิดเหตุไปยังสถานพยาบาลในเครือข่ายสถานพยาบาล เพื่อการให้คำปรึกษาเบื้องต้น และการเตรียมการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อให้เหมาะสมทันท่วงที

3. การแพทย์แห่งอนาคต (Future medicine) ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้การแพทย์แห่งอนาคตไม่ใช่เรื่องนวนิยายวิทยาศาสตร์อีกต่อไป โดยศิริราชได้ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมศึกษาเทคโนโลยีการแพทย์ใหม่ ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน อาทิ แว่นตาติดเซนเซอร์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยอัมพาต สามารถบังคับรถเข็นวีลแชร์ให้เคลื่อนที่ไปไหน ๆ ได้ตามทิศทางที่ตนเองต้องการ โดยไม่ต้องใช้แขนขาหรือคนช่วยเข็นรถ แต่ใช้เพียงการกรอกตาเท่านั้น รวมทั้งแนวคิดการสร้าง “บ้านเมืองอัจฉริยะ” (smart home / smart city) ช่วยให้ผู้สูงอายุหรือผู้พิการสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามลำพังอย่างมีศักดิ์ศรี

ผู้สื่อข่าวถามถึงแผนในการใช้โดรน (Drone) เพื่อทางการแพทย์ของศิริราช ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า โดรน ถือเป็นเทคโนโลยีอย่างหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ทางการแพทย์ได้ อาทิ การออกไปฉายภาพผู้ป่วย เพื่อวินิจฉัยผู้ป่วยเบื้องต้น ซึ่งจะทำให้เมื่อผู้ป่วยมาถึงจะสามารถรักษาได้อย่างรวดเร็ว หรือกรณีเมื่อใช้โดรนถ่ายภาพ แพทย์ที่อยู่ในอาคารก็สามารถให้คำแนะนำกับบุคลากรที่ลงพื้นที่ไปช่วยในเบื้องต้นก่อนได้ แต่ปัจจุบันยังมีกฎหมายเกี่ยวกับการใช้โดรน เพราะจะเป็นการละเมิดสิทธิผู้ป่วยได้

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000059078 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 มิ.ย.59
วันที่โพสต์: 15/06/2559 เวลา 10:37:10 ดูภาพสไลด์โชว์ ศิริราชเล็งสร้าง “แว่นตาเซ็นเซอร์” ช่วยผู้ป่วยอัมพาตคุม “วีลแชร์” ได้แค่ใช้สายตา

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการประจำปี 2559 ศิริราชรุกงาน “นวัตกรรมการแพทย์” เพื่ออนาคต ร่วมมือคณะวิศวกรรมฯ ม.มหิดล จัดสร้าง “แว่นตาเซ็นเซอร์”ช่วยผู้ป่วยอัมพาตควบคุมรถวีลแชร์ได้เองเพียงกรอกสายตาไม่ต้องใช้แขนขาหรือพึ่งคนเข็น เมื่อวันที่ (13 มิ.ย.) นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการประจำปี 2559 Siriraj International Conference in Medicine and Public Health (SICMPH) 2016 ในหัวข้อ “Innovation in Health” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสที่ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 - 15 มิ.ย. โดยมี นพ.โสภณ เมฆธน ปลัด สธ. และ ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมเปิดงาน ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า งานดังกล่าวจะพูดถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน ว่ามีความก้าวหน้าอย่างไร และจะนำไปสู่ทิศทางในอนาคตอย่างไร ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. การแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine ) เป็นการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลร่วมกับเทคโนโลยีชีวโมเลกุล ทำให้สามารถนำ “อภิมหาข้อมูล” หรือ “Big Data” มาใช้ประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค เลือกวิธีการรักษา และทำนายผลการรักษาได้แม่นยำขึ้น ซึ่งปัจจุบันศิริราชมีการดำเนินการลักษณะนี้ เรียกว่า “ศูนย์ตรวจสารพันธุกรรม” เพื่อตรวจหาคนไข้รายบุคคล ว่า มีความไวของยารักษาโรคในแต่ละกลุ่มโรคอย่างไรบ้างเรียกว่าเป็นการรักษาเฉพาะบุคคลนั่นเอง 2. การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) เทคโนโลยีการสื่อสาร ช่วยเพิ่มศักยภาพการดูแลรักษาได้ในหลายบริบทที่มีข้อจำกัด และเพิ่มความเท่าเทียมให้ผู้ป่วยทุกระดับ ยกตัวอย่าง หุ่นยนต์ผ่าตัดทางไกล ใช้ระบบเทคโนโลยีดาวเทียมในการส่งผ่านข้อมูล สามารถดำเนินการได้แม้อยู่ห่างคนละทวีป ซึ่งศิริราชมีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ศิริราชยังอยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการบูรณาการระบบการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน และการส่งต่อข้อมูลจากจุดเกิดเหตุไปยังสถานพยาบาลในเครือข่ายสถานพยาบาล เพื่อการให้คำปรึกษาเบื้องต้น และการเตรียมการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อให้เหมาะสมทันท่วงที 3. การแพทย์แห่งอนาคต (Future medicine) ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้การแพทย์แห่งอนาคตไม่ใช่เรื่องนวนิยายวิทยาศาสตร์อีกต่อไป โดยศิริราชได้ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมศึกษาเทคโนโลยีการแพทย์ใหม่ ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน อาทิ แว่นตาติดเซนเซอร์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยอัมพาต สามารถบังคับรถเข็นวีลแชร์ให้เคลื่อนที่ไปไหน ๆ ได้ตามทิศทางที่ตนเองต้องการ โดยไม่ต้องใช้แขนขาหรือคนช่วยเข็นรถ แต่ใช้เพียงการกรอกตาเท่านั้น รวมทั้งแนวคิดการสร้าง “บ้านเมืองอัจฉริยะ” (smart home / smart city) ช่วยให้ผู้สูงอายุหรือผู้พิการสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามลำพังอย่างมีศักดิ์ศรี ผู้สื่อข่าวถามถึงแผนในการใช้โดรน (Drone) เพื่อทางการแพทย์ของศิริราช ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า โดรน ถือเป็นเทคโนโลยีอย่างหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ทางการแพทย์ได้ อาทิ การออกไปฉายภาพผู้ป่วย เพื่อวินิจฉัยผู้ป่วยเบื้องต้น ซึ่งจะทำให้เมื่อผู้ป่วยมาถึงจะสามารถรักษาได้อย่างรวดเร็ว หรือกรณีเมื่อใช้โดรนถ่ายภาพ แพทย์ที่อยู่ในอาคารก็สามารถให้คำแนะนำกับบุคลากรที่ลงพื้นที่ไปช่วยในเบื้องต้นก่อนได้ แต่ปัจจุบันยังมีกฎหมายเกี่ยวกับการใช้โดรน เพราะจะเป็นการละเมิดสิทธิผู้ป่วยได้ ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000059078

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...