บ้านใจดีสำหรับผู้สูงอายุ-ผู้พิการ
ในเดือนแห่งความรักนี้ขออนุญาตนำโครงการดีๆ มาเล่าสู่กันฟังครับ หลายวัน ก่อนได้มีโอกาสดูรายการโทรทัศน์รายการหนึ่งของ Thai PBS ซึ่งเป็นรายการ เรียลิตี้รูปแบบใหม่ สร้างแรงบันดาลใจ ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคน นับว่าเป็นประโยชน์กับคนพิการ และผู้ด้อยโอกาสเป็นอย่างยิ่ง จึงอดไม่ได้ที่จะนำโครงการดังกล่าวมานำเสนอและขอสนับสนุนอีกหนึ่งแรง
โครงการนี้จะให้ความช่วยเหลือทั้งคนเมืองและคนชนบท สืบเนื่องจากปัจจุบัน ผู้สูงอายุมีมากขึ้นรวมถึงผู้พิการของเราก็ยังขาดสิ่งอำนวยความสะดวกอีกมากมาย หากเปรียบเทียบกับต่างประเทศแล้วผู้พิการจะได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นอย่างดี สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทางภาครัฐก็ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ผิดกับบ้านเมือง เราผู้พิการต้องช่วยเหลือตนเอง รายการดังกล่าวได้นำนิสิตนักศึกษามาช่วยกันออกแบบและก่อสร้าง โดยมีอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ท้วงติงและชี้แนะ จากประเด็น ข้างต้นจึงเป็นที่มาของคำว่า “Universal Design (การออกแบบเพื่อมวลชน)” โดยคำนึงถึงผู้ใช้ประโยชน์เป็นหลัก แต่ก็ไม่ละเลยถึงหลักการและความถูกต้องเป็นสำคัญเช่นกัน การออกแบบดังกล่าวเพื่อมวลชนทั้งหมดสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่และเท่าเทียมกัน ตลอดรวมถึงการใช้งานที่คุ้มค่าและให้ประโยชน์ครอบคลุมสำหรับทุกคน
“บ้านใจดี” คือ อีกหนึ่งตัวอย่างของต้นแบบบ้านที่ถูกสร้างสรรค์ออกมาเพื่อให้เหมาะสมกับมวลชน โดยได้รับการสนับสนุนการคิดค้นจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สถาบันสร้างเสริมสุขภาพเพื่อคนพิการ (สสพ.) มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และกระทรวงมหาดไทยที่ต้องการให้ประเทศไทยมีต้นแบบบ้านที่ได้รับการออกแบบ อย่างใส่ใจเพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือแม้กระทั่งมวลชนทุกคนได้มีบ้านที่สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย และปลอดภัย
หัวใจสำคัญของการออกแบบ “บ้านใจดี” ๑. ที่จอดรถ ควรเตรียมพื้นที่ให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒.๔ x ๖ ม. จัดไว้ใกล้ทางเข้าออกอาคารให้มากที่สุดและไม่ขนานกับทางสัญจรของรถ พื้นต้องมีผิวเรียบและระดับเสมอกัน ไม่ลื่น มีที่ว่างด้านข้างกว้าง ๑๐๐ ซม. ตลอดความยาวของที่จอดรถสำหรับการขนย้ายผู้สูงอายุที่นั่งรถเข็น ๒.ทางเข้าบ้าน ควรออกแบบบ้านให้มีทางลาดชัน มีความกว้างไม่น้อยกว่า ๙๐ ซม. และความลาดชันไม่น้อยกว่ ๑ : ๑๒ มีการแยกสีให้แตกต่างกับผนังกันตก และควรหลีกเลี่ยงการใช้พรม เพราะเป็นอุปสรรคต่อรถเข็น ๓.ประตูบ้าน ควรมีช่องเปิดที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า ๙๐ ซม. มีพื้นที่ว่างตอนหน้าและหลัง เพื่อให้เพียงพอสำหรับการสัญจรของรถเข็น ในกรณีที่ประตูเป็นแบบบานเปิดผลักเข้าออก ที่เปิด-ปิดประตูควรเป็นแบบก้านโยก แต่ประตูที่ดีสำหรับคนทุกกลุ่ม ควรเป็นบานเลื่อน ๔.บริเวณบ้าน ควรจัดให้มีพื้นที่สำหรับวางกระถางต้นไม้ เพื่อให้ผู้สูงอายุหรือผู้พิการมีกิจกรรมคลายเหงา และเป็นการสร้างบรรยากาศที่สดชื่นให้กับบ้าน เลือกสีโทนร้อนเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีและหลีกเลี่ยงสีโทนเย็น เช่น สีฟ้า สีม่วง สีเทา สีเขียว เพราะไม่เหมาะกับคนสูงอายุที่มีปัญหาสายตาพร่ามัว ๕.ห้องนั่งเล่น คือสถานที่ที่ทุกคนในบ้านสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันมากที่สุด ดังนั้นความสูงของที่นั่ง ตู้ ชั้นวางของต่างๆ ควรจะถูกจัดให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้สูงสุด ระวังไม่ให้มีสิ่งกีดขวาง เน้นให้มีแสงสว่างและอากาศถ่ายเท ๖.เคาน์เตอร์ต่างๆ ในห้องครัว ต้องมีความสูงและความลึกที่เหมาะสม เอื้อให้ทุกคนสามารถทำอาหารร่วมกันได้ เคาน์เตอร์ที่ดีต้องสูง ๗๕ ซม. เพื่อให้พอดีกับระดับรถเข็น มีที่ว่างตอนล่างสุทธิ ๖๐ ซม. และมีความลึกไม่น้อยกว่า ๔๐ ซม. ๗.ห้องอาหาร ควรมีพื้นที่กว้าง และตอนล่างของโต๊ะอาหารต้องมีความโล่งให้ผู้สูงอายุที่นั่งรถเข็นสามารถร่วมรับประทานอาหารกับสมาชิกในครอบครัวได้ รวมทั้ง ห้องนั่งเล่นต้องคำนึงถึงความสูงของที่นั่ง ตู้ ชั้นวางของต่างๆ ควรจัดให้ทุกคนสามารถเข้าถึงเน้นให้มีแสงสว่างและอากาศถ่ายเท ๘.ห้องนอน การติดตั้งปลั๊กไฟและสวิตช์ ควรมีความสูง ๙๐ ซม. มีสัญญาณฉุกเฉินเพื่อขอความช่วยเหลือใกล้หัวเตียง และมีไฟใต้เตียงสำหรับเปิดตอนกลางคืนเพื่อนำทางสู่ห้องน้ำ ๙.ตู้เสื้อผ้า ควรมีความสูงของราวและความลึกของตู้ที่ทุกคนใช้ได้อย่างสะดวก โต๊ะเครื่องแป้งต้องมีที่โล่งตอนล่างสูง ๖๐ ซม. เพื่อให้ผู้สูงอายุที่นั่งรถเข็นใช้งานได้สะดวก ๑๐.ห้องน้ำ เป็นจุดสำคัญของบ้าน เพราะมีผู้สูงอายุจำนวนมากประสบอุบัติเหตุในห้องน้ำอยู่ประจำ ดังนั้น การออกแบบจึงต้องใส่ใจเป็นพิเศษ โดยประตูห้องน้ำควรเป็นบานเลื่อน เลี่ยงการทำธรณีประตู เลือกวัสดุที่ไม่ลื่น และมีพื้นที่เพียงพอให้รถเข็นหมุนได้ ระยะที่เหมาะสมคือเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๕๐ ซม. เอื้อให้รถเข็นหมุนกลับได้ มีราวจับบริเวณ โถส้วม ที่อาบน้ำหรืออ่างอาบน้ำ ติดตั้งสูงจากพื้น ๗๐-๘๐ ซม. อ่างล้างมือควรสูงจากพื้นที่ถึงขอบอ่าง ๗๕-๘๐ ซม. เป็นอ่างล้างมือแบบแขวนหรือแบบเคาน์เตอร์โปร่ง เพื่อให้รถเข็นสอดเข้าไปได้ ก๊อกน้ำควรเป็นคันโยก และควรมีปุ่มกดควรมีสีแดงเพื่อส่งสัญญาณฉุกเฉินขอความช่วยเหลือบริเวณโถส้วมและอ่างน้ำ
ขอขอบคุณสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ซึ่งคิดค้นโครงการดีๆ นี้มา สำหรับท่านที่สนใจแบบบ้านใจดีสามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://www. healthyability.com....(สยามธุรกิจออนไลน์ฉบับที่ ๑๓๗๖ ประจำวันที่ ๙-๒-๒๐๑๓ ถึง ๑๒-๒-๒๐๑๓/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๓ ก.พ.๕๖)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ในเดือนแห่งความรักนี้ขออนุญาตนำโครงการดีๆ มาเล่าสู่กันฟังครับ หลายวัน ก่อนได้มีโอกาสดูรายการโทรทัศน์รายการหนึ่งของ Thai PBS ซึ่งเป็นรายการ เรียลิตี้รูปแบบใหม่ สร้างแรงบันดาลใจ ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคน นับว่าเป็นประโยชน์กับคนพิการ และผู้ด้อยโอกาสเป็นอย่างยิ่ง จึงอดไม่ได้ที่จะนำโครงการดังกล่าวมานำเสนอและขอสนับสนุนอีกหนึ่งแรง โครงการนี้จะให้ความช่วยเหลือทั้งคนเมืองและคนชนบท สืบเนื่องจากปัจจุบัน ผู้สูงอายุมีมากขึ้นรวมถึงผู้พิการของเราก็ยังขาดสิ่งอำนวยความสะดวกอีกมากมาย หากเปรียบเทียบกับต่างประเทศแล้วผู้พิการจะได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นอย่างดี สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทางภาครัฐก็ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ผิดกับบ้านเมือง เราผู้พิการต้องช่วยเหลือตนเอง รายการดังกล่าวได้นำนิสิตนักศึกษามาช่วยกันออกแบบและก่อสร้าง โดยมีอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ท้วงติงและชี้แนะ จากประเด็น ข้างต้นจึงเป็นที่มาของคำว่า “Universal Design (การออกแบบเพื่อมวลชน)” โดยคำนึงถึงผู้ใช้ประโยชน์เป็นหลัก แต่ก็ไม่ละเลยถึงหลักการและความถูกต้องเป็นสำคัญเช่นกัน การออกแบบดังกล่าวเพื่อมวลชนทั้งหมดสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่และเท่าเทียมกัน ตลอดรวมถึงการใช้งานที่คุ้มค่าและให้ประโยชน์ครอบคลุมสำหรับทุกคน “บ้านใจดี” คือ อีกหนึ่งตัวอย่างของต้นแบบบ้านที่ถูกสร้างสรรค์ออกมาเพื่อให้เหมาะสมกับมวลชน โดยได้รับการสนับสนุนการคิดค้นจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สถาบันสร้างเสริมสุขภาพเพื่อคนพิการ (สสพ.) มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และกระทรวงมหาดไทยที่ต้องการให้ประเทศไทยมีต้นแบบบ้านที่ได้รับการออกแบบ อย่างใส่ใจเพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือแม้กระทั่งมวลชนทุกคนได้มีบ้านที่สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย และปลอดภัย หัวใจสำคัญของการออกแบบ “บ้านใจดี” ๑. ที่จอดรถ ควรเตรียมพื้นที่ให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒.๔ x ๖ ม. จัดไว้ใกล้ทางเข้าออกอาคารให้มากที่สุดและไม่ขนานกับทางสัญจรของรถ พื้นต้องมีผิวเรียบและระดับเสมอกัน ไม่ลื่น มีที่ว่างด้านข้างกว้าง ๑๐๐ ซม. ตลอดความยาวของที่จอดรถสำหรับการขนย้ายผู้สูงอายุที่นั่งรถเข็น ๒.ทางเข้าบ้าน ควรออกแบบบ้านให้มีทางลาดชัน มีความกว้างไม่น้อยกว่า ๙๐ ซม. และความลาดชันไม่น้อยกว่ ๑ : ๑๒ มีการแยกสีให้แตกต่างกับผนังกันตก และควรหลีกเลี่ยงการใช้พรม เพราะเป็นอุปสรรคต่อรถเข็น ๓.ประตูบ้าน ควรมีช่องเปิดที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า ๙๐ ซม. มีพื้นที่ว่างตอนหน้าและหลัง เพื่อให้เพียงพอสำหรับการสัญจรของรถเข็น ในกรณีที่ประตูเป็นแบบบานเปิดผลักเข้าออก ที่เปิด-ปิดประตูควรเป็นแบบก้านโยก แต่ประตูที่ดีสำหรับคนทุกกลุ่ม ควรเป็นบานเลื่อน ๔.บริเวณบ้าน ควรจัดให้มีพื้นที่สำหรับวางกระถางต้นไม้ เพื่อให้ผู้สูงอายุหรือผู้พิการมีกิจกรรมคลายเหงา และเป็นการสร้างบรรยากาศที่สดชื่นให้กับบ้าน เลือกสีโทนร้อนเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีและหลีกเลี่ยงสีโทนเย็น เช่น สีฟ้า สีม่วง สีเทา สีเขียว เพราะไม่เหมาะกับคนสูงอายุที่มีปัญหาสายตาพร่ามัว ๕.ห้องนั่งเล่น คือสถานที่ที่ทุกคนในบ้านสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันมากที่สุด ดังนั้นความสูงของที่นั่ง ตู้ ชั้นวางของต่างๆ ควรจะถูกจัดให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้สูงสุด ระวังไม่ให้มีสิ่งกีดขวาง เน้นให้มีแสงสว่างและอากาศถ่ายเท ๖.เคาน์เตอร์ต่างๆ ในห้องครัว ต้องมีความสูงและความลึกที่เหมาะสม เอื้อให้ทุกคนสามารถทำอาหารร่วมกันได้ เคาน์เตอร์ที่ดีต้องสูง ๗๕ ซม. เพื่อให้พอดีกับระดับรถเข็น มีที่ว่างตอนล่างสุทธิ ๖๐ ซม. และมีความลึกไม่น้อยกว่า ๔๐ ซม. ๗.ห้องอาหาร ควรมีพื้นที่กว้าง และตอนล่างของโต๊ะอาหารต้องมีความโล่งให้ผู้สูงอายุที่นั่งรถเข็นสามารถร่วมรับประทานอาหารกับสมาชิกในครอบครัวได้ รวมทั้ง ห้องนั่งเล่นต้องคำนึงถึงความสูงของที่นั่ง ตู้ ชั้นวางของต่างๆ ควรจัดให้ทุกคนสามารถเข้าถึงเน้นให้มีแสงสว่างและอากาศถ่ายเท ๘.ห้องนอน การติดตั้งปลั๊กไฟและสวิตช์ ควรมีความสูง ๙๐ ซม. มีสัญญาณฉุกเฉินเพื่อขอความช่วยเหลือใกล้หัวเตียง และมีไฟใต้เตียงสำหรับเปิดตอนกลางคืนเพื่อนำทางสู่ห้องน้ำ ๙.ตู้เสื้อผ้า ควรมีความสูงของราวและความลึกของตู้ที่ทุกคนใช้ได้อย่างสะดวก โต๊ะเครื่องแป้งต้องมีที่โล่งตอนล่างสูง ๖๐ ซม. เพื่อให้ผู้สูงอายุที่นั่งรถเข็นใช้งานได้สะดวก ๑๐.ห้องน้ำ เป็นจุดสำคัญของบ้าน เพราะมีผู้สูงอายุจำนวนมากประสบอุบัติเหตุในห้องน้ำอยู่ประจำ ดังนั้น การออกแบบจึงต้องใส่ใจเป็นพิเศษ โดยประตูห้องน้ำควรเป็นบานเลื่อน เลี่ยงการทำธรณีประตู เลือกวัสดุที่ไม่ลื่น และมีพื้นที่เพียงพอให้รถเข็นหมุนได้ ระยะที่เหมาะสมคือเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๕๐ ซม. เอื้อให้รถเข็นหมุนกลับได้ มีราวจับบริเวณ โถส้วม ที่อาบน้ำหรืออ่างอาบน้ำ ติดตั้งสูงจากพื้น ๗๐-๘๐ ซม. อ่างล้างมือควรสูงจากพื้นที่ถึงขอบอ่าง ๗๕-๘๐ ซม. เป็นอ่างล้างมือแบบแขวนหรือแบบเคาน์เตอร์โปร่ง เพื่อให้รถเข็นสอดเข้าไปได้ ก๊อกน้ำควรเป็นคันโยก และควรมีปุ่มกดควรมีสีแดงเพื่อส่งสัญญาณฉุกเฉินขอความช่วยเหลือบริเวณโถส้วมและอ่างน้ำ ขอขอบคุณสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ซึ่งคิดค้นโครงการดีๆ นี้มา สำหรับท่านที่สนใจแบบบ้านใจดีสามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://www. healthyability.com....(สยามธุรกิจออนไลน์ฉบับที่ ๑๓๗๖ ประจำวันที่ ๙-๒-๒๐๑๓ ถึง ๑๒-๒-๒๐๑๓/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๓ ก.พ.๕๖)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)