บ้านสบายเพื่อ ‘ยาย-ตา’
“ผู้สูงอายุในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ย้ำแย่ต่ำกว่ามาตรฐาน อาศัยอยู่ในบ้านที่ยากจะยอมรับได้ว่าเป็นบ้านได้สนิทใจ บางหลังเป็นเพิง เป็นซุ้มมากว่าบ้านจะเป็นบ้าน และที่สำคัญ...ยังขาดอุปกรณ์อำนวยความสะดวก เช่นราวบันได ลุกกรงชานบ้าน กระทั้งห้องน้ำต้องไปอาศัยพื้นที่นอกบ้านหรือบ้านคนอื่น...”
ธิดารัตน์ ศรีอรรถจันทร์ รองผู้อำนวยการกองฟื้นฟูเมืองฝ่ายการฟื้นฟูและพัฒนาเมือง การเคหะแห่งชาติ กล่าวระหว่างนำคณะการเคหะแห่งชาติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่ จ.ระยองและสื่อมวลชนลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงาน “จ.ระยอง”
ธิดารัตน์ บอกว่า การเคหะฯ ได้ดำเนินโครงการปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยและผู้ยากไร้ ในปี 2556-2557 จำนวน 40 หลัง ในพื้นที่เป้าหมาย 5 ภูมิภาค ทั่วประเทศ ประกอบด้วย เชียงใหม่ เพชรบุรี อำนาจเจริญ ระยอง และสงขลา กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่เป็นผู้มีรายได้น้อย ผู้ยากไร้ หรือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมที่อาศัยอยู่ในสถานที่ที่ไม่เอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีเกณฑ์พิจารณา เช่น เป็นครัวเรือนผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวหรืออยู่กับเด็กและครัวเรือนผู้ยากไร้ ซึ่งผู้สูงอายุเหล่านี้มีรายได้หลังจากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากรัฐคนละ 500-600 บาทต่อเดือนเท่านั้น
ธิดารัตน์บอกอีกว่า การที่ผู้สูงอายุไม่ได้ทำงาน มีรายได้น้อย และไม่มีหลักประกันยามชราภาพ ทำให้ตกอยู่ในสภาพยากจน และยังต้องประสบปัญหาสุขภาพ การเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ “ผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย ไม่สามารถดำรงชีวิตอย่างปลอดภัยได้แม้กระทั่งในบ้านของตนเอง โดยมักจะหกล้มหรือตกบันได ทั้งหกล้มในบ้าน หรือหกล้มแม้ในเวลากลางวัน และอุบัติเหตุนี้มักนำไปสู่ภาวะการทุพพลภาพในที่สุด ดังนั้นการสร้างบ้านหรือการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในบ้านต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้สูงอายุ เช่น ห้องน้ำต้องใช้ส้วมแบบชักโครก มีราวจับสำหรับไว้ยึดพยุงตัวหากผู้สูงอายุอาศัยอยู่ชั้นบนควรมีราวจับบันได เป็นต้น” ธิดารัตน์กล่าว สำหรับโครงการบ้านสบายเพื่อยายตานี้ใช้งบประมาณในการปรับปรุงไม่เกินหลังละ 80,000 บาท แต่ถ้ามีการใช้วัสดุส่วนหนึ่งของตัวบ้านเดิม ใช้งบไม่เกินหลังละ 100,000 บาท และสำหรับบ้านที่สร้างใหม่ไม่เกินหลังละ 120,000 บาท และมีจิตอาสามาช่วยทาสีบ้าน ปลูกผัก ทำแปลงดอกไม้ ฯลฯ แต่ถ้าเป็นขั้นตอนในการก่อสร้างบ้านจะจ้างผู้รับเหมาในพื้นที่ดำเนินการ ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 1 เดือน และนอกจากสร้างบ้านให้แล้ว เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตการเคหะฯได้จัดสรรอุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุไว้ให้ด้วย
ด้าน คุณยายตา ตะสอน วัย 80 ปี ชาวบ้าน ต.กระแสบน อ.แกลง จ.ระยอง หนึ่งในผู้สูงอายุที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าไปพักอาศัยในโครงการดังกล่าว บอกด้วยสีหน้ายิ้มแย้มว่า ย้ายเข้าไปอยู่บ้านหลังใหม่ได้ 2 เดือนเพราะบ้านหลังเดิมถูกปลวกกินเกือบทั้งหลังและทุกครั้งที่ฝนตกกลัวว่าหลังคาจะพังถล่มลงมา ชอบมาก เพราะอยู่แล้วสบาย และดีใจมากที่หลายคนชมว่าบ้านสวย ที่สำคัญบ้านหลังนี้ได้ใช้เงินเก็บของตัวเองมาช่วยสร้างส่วนหนึ่งด้วย ที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างปกติสุข : อัจฉรา พรมเกาะ
ขอบคุณ... มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
บ้านจากการปรับปรุงให้ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยและผู้ยากไร้ ในปี 2556-2557 จำนวน 40 หลัง “ผู้สูงอายุในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ย้ำแย่ต่ำกว่ามาตรฐาน อาศัยอยู่ในบ้านที่ยากจะยอมรับได้ว่าเป็นบ้านได้สนิทใจ บางหลังเป็นเพิง เป็นซุ้มมากว่าบ้านจะเป็นบ้าน และที่สำคัญ...ยังขาดอุปกรณ์อำนวยความสะดวก เช่นราวบันได ลุกกรงชานบ้าน กระทั้งห้องน้ำต้องไปอาศัยพื้นที่นอกบ้านหรือบ้านคนอื่น...” ธิดารัตน์ ศรีอรรถจันทร์ รองผู้อำนวยการกองฟื้นฟูเมืองฝ่ายการฟื้นฟูและพัฒนาเมือง การเคหะแห่งชาติ กล่าวระหว่างนำคณะการเคหะแห่งชาติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่ จ.ระยองและสื่อมวลชนลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงาน “จ.ระยอง” บ้านของผู้สูงอายุก่อนได้รับการปรับปรุง จากโครงการ บ้านสบายเพื่อ ‘ยาย-ตา’ธิดารัตน์ บอกว่า การเคหะฯ ได้ดำเนินโครงการปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยและผู้ยากไร้ ในปี 2556-2557 จำนวน 40 หลัง ในพื้นที่เป้าหมาย 5 ภูมิภาค ทั่วประเทศ ประกอบด้วย เชียงใหม่ เพชรบุรี อำนาจเจริญ ระยอง และสงขลา กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่เป็นผู้มีรายได้น้อย ผู้ยากไร้ หรือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมที่อาศัยอยู่ในสถานที่ที่ไม่เอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีเกณฑ์พิจารณา เช่น เป็นครัวเรือนผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวหรืออยู่กับเด็กและครัวเรือนผู้ยากไร้ ซึ่งผู้สูงอายุเหล่านี้มีรายได้หลังจากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากรัฐคนละ 500-600 บาทต่อเดือนเท่านั้น ธิดารัตน์บอกอีกว่า การที่ผู้สูงอายุไม่ได้ทำงาน มีรายได้น้อย และไม่มีหลักประกันยามชราภาพ ทำให้ตกอยู่ในสภาพยากจน และยังต้องประสบปัญหาสุขภาพ การเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ “ผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย ไม่สามารถดำรงชีวิตอย่างปลอดภัยได้แม้กระทั่งในบ้านของตนเอง โดยมักจะหกล้มหรือตกบันได ทั้งหกล้มในบ้าน หรือหกล้มแม้ในเวลากลางวัน และอุบัติเหตุนี้มักนำไปสู่ภาวะการทุพพลภาพในที่สุด ดังนั้นการสร้างบ้านหรือการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในบ้านต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้สูงอายุ เช่น ห้องน้ำต้องใช้ส้วมแบบชักโครก มีราวจับสำหรับไว้ยึดพยุงตัวหากผู้สูงอายุอาศัยอยู่ชั้นบนควรมีราวจับบันได เป็นต้น” ธิดารัตน์กล่าว สำหรับโครงการบ้านสบายเพื่อยายตานี้ใช้งบประมาณในการปรับปรุงไม่เกินหลังละ 80,000 บาท แต่ถ้ามีการใช้วัสดุส่วนหนึ่งของตัวบ้านเดิม ใช้งบไม่เกินหลังละ 100,000 บาท และสำหรับบ้านที่สร้างใหม่ไม่เกินหลังละ 120,000 บาท และมีจิตอาสามาช่วยทาสีบ้าน ปลูกผัก ทำแปลงดอกไม้ ฯลฯ แต่ถ้าเป็นขั้นตอนในการก่อสร้างบ้านจะจ้างผู้รับเหมาในพื้นที่ดำเนินการ ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 1 เดือน และนอกจากสร้างบ้านให้แล้ว เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตการเคหะฯได้จัดสรรอุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุไว้ให้ด้วย บ้านจากการปรับปรุงให้ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยและผู้ยากไร้ ในปี 2556-2557 จำนวน 40 หลัง ด้าน คุณยายตา ตะสอน วัย 80 ปี ชาวบ้าน ต.กระแสบน อ.แกลง จ.ระยอง หนึ่งในผู้สูงอายุที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าไปพักอาศัยในโครงการดังกล่าว บอกด้วยสีหน้ายิ้มแย้มว่า ย้ายเข้าไปอยู่บ้านหลังใหม่ได้ 2 เดือนเพราะบ้านหลังเดิมถูกปลวกกินเกือบทั้งหลังและทุกครั้งที่ฝนตกกลัวว่าหลังคาจะพังถล่มลงมา ชอบมาก เพราะอยู่แล้วสบาย และดีใจมากที่หลายคนชมว่าบ้านสวย ที่สำคัญบ้านหลังนี้ได้ใช้เงินเก็บของตัวเองมาช่วยสร้างส่วนหนึ่งด้วย ที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างปกติสุข : อัจฉรา พรมเกาะ ขอบคุณ... มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)