คิดดี : ข้อแนะนำในการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อผู้สูงวัย
ในปัจจุบันการแพทย์มีการพัฒนาไปมากประกอบกับอัตราการเกิดของประชากรลดลง จึงมีประชากรเป็นกลุ่มผู้สูงวัยเพิ่มมากขึ้นซึ่งร่างกายจะเริ่มถดถอยมีการ เสื่อมสภาพต่าง ๆ ของกระดูกและข้อต่อทำให้ทำอะไรได้ไม่สะดวกเหมือนเคยจึงจำเป็นต้องมีการออก แบบเพื่อรองรับกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
1. ระดับพื้น ไม่ควรทำระดับพื้นให้มีระดับแตกต่างกับภายในอาคารเพราะจะทำให้สะดุดหรือหก ล้มได้ง่ายหากจำเป็นต้องมีควรทำเป็นทางลาดที่มีความชัน 1:12 และขนาดของทางลาดควรกว้างไม่น้อยกว่า1 เมตรและมีราวจับตลอดแนวและมีพื้นผิวเรียบแต่ไม่ลื่น
2.ประตูควรเป็นบานเลื่อนขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 0.90 เซนติเมตรเพื่อให้รถเข็นหรืออุปกรณ์ช่วยเดินผ่านได้โดยสะดวกหากเป็นบานเปิด มือจับควรเป็นลักษณะก้านโยกและไม่ควรติดระบบปิดประตูอัตโนมัติ (โช้คอัพ)
3.วัสดุพื้น วัสดุที่นำมาปูพื้นควรมีลักษณะที่สามารถยืดหยุ่นได้และไม่มีความลื่นทำความ สะอาดง่าย มีรอยต่อน้อยเช่น กระเบื้องยางม้วนอย่างหนาไม้ทำให้เวลาเดินไม่สะดุดรอยต่อของวัสดุปูพื้นและ ไม่เย็นเท้าอีกด้วย
4.ปลั๊กและสวิตช์ไฟต่าง ๆ ควรติดตั้งที่ระดับความสูง 0.70-1.00 เมตรเพื่อหลีกเลี่ยงการก้มลงเมื่อเวลาเปิดใช้งานและควรมีแป้นสัมผัสที่ใหญ่ กว่าปกติ สำหรับปลั๊กไฟ ควรมีสวิตช์เปิด-ปิดปลั๊กด้วย
5.ห้องน้ำควรมีราวจับที่มั่นคงตามพื้นที่ใช้งานต่าง ๆ
-อ่างล้างหน้า หากมีผู้สูงอายุที่ต้องใช้รถเข็นควรคำนึงถึงความสูงของเคาน์เตอร์ให้เหมาะสม และสามารถให้รถเข็นเข้าไปในด้านล่างของเคาน์เตอร์เพื่อให้ใช้งานได้โดย สะดวก(ด้านล่างของเคาน์เตอร์ควรเปิดโล่งสำหรับรถเข็น)
-ส่วนอาบน้ำควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1x1.5 เมตรและมีการติดตั้งราวจับสำหรับช่วยพยุงตัวและมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการ วางเก้าอี้อาบน้ำหรือมีผู้ช่วยอาบน้ำได้หากจะมีกระจกกั้นส่วนเปียก-แห้งต้อง เป็นกระจกนิรภัยเท่านั้น
-การลดระดับต่าง ๆ ควรทำทางลาดทั้งหมดหากเลี่ยงการลดระดับไม่ได้ควรเปลี่ยนสีของกระเบื้องให้ ชัดเจนเพื่อสามารถรับรู้ได้โดยง่ายและควรใช้กระเบื้องที่มีผิวหยาบไม่ลื่น
-ชักโครกต้องมีอุปกรณ์ช่วยพยุงตัวจึงควรเว้นพื้นที่ไว้ให้มากกว่าปกติ
-อุปกรณ์เปิด-ปิดน้ำต่าง ๆ ควรเป็นก้านโยก และใช้ฝักบัวแรงดันต่ำ-ประตูไม่ควรมีกลอนเพื่อให้สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ ทันทีหากเกิดเหตุฉุกเฉิน
6. หน้าต่างควรมีช่องเปิดไม่น้อยกว่า 20% ของพื้นที่ห้องเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกควรเปิดหน้าต่างทางทิศเหนือและ ตะวันออก หน้าต่างควรใช้เป็นบานเลื่อนเพื่อความสะดวกในการใช้งาน
7. ลิฟต์โดยสาร (หากมี) ควรคำนึงถึงขนาดไม่ให้เล็กเกินไปเพราะต้องเผื่อพื้นที่สำหรับรถเข็นหรือ อุปกรณ์ช่วยเดินอื่น ๆ และมีพื้นที่เหลือเพียงพอสำหรับผู้ดูแลและควรมีระบบเก็บไฟฟ้าสำรองเผื่อใน กรณีไฟฟ้าดับด้วย
8. โทรศัพท์และสัญญาณเรียกฉุกเฉินควรติดอยู่โดยทั่วไปเป็นระยะโดยเฉพาะบริเวณที่นอนและห้องน้ำ
9. เครื่องเรือนต่าง ๆ ควรจัดวางให้มีระยะเข้าถึงที่กว้างมากกว่าปกติ ควรมีระยะห่างไม่น้อยกว่า 1.20 เมตรโดยรอบบริเวณเครื่องเรือน
10. การวางเตียงนอนโดยมากผู้สูงอายุมักมีพฤติกรรมตื่นนอนง่าย รู้สึกตัวง่ายถ้าคู่นอนมีการพลิกตัวบ่อยอาจแก้ปัญหาโดยออกแบบเตียงนอนแบบแยก กันเพื่อให้เกิดการรบกวนกันน้อยที่สุดและควรมีที่ว่างโดยรอบเตียงทั้ง 3 ด้านเพื่อให้ขึ้นเตียงนอนได้โดยสะดวก
11. ราวระเบียงควรติดตั้งให้มีขอบสูงไม่น้อยกว่า 1.20 เมตรเพื่อป้องกันอุบัติเหตุต่าง ๆ
12.โทนสีควรเลือกใช้โทนสีสว่างจะกระตุ้นให้ผู้อยู่อาศัยมีความสดชื่นลดอาการซึมเศร้าได้
นอกจากนี้การออกแบบต่าง ๆ ควรปรึกษาสถาปนิกผู้มีความชำนาญเพื่อให้สามารถออกแบบใช้งานได้ตรงวัตถุประสงค์.
lifeimage_ar@yahoo.com
ภาณุวัฒน์ สินธวัชต์
ณัฐพล ปิยะตันติ
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 มี.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ในปัจจุบันการแพทย์มีการพัฒนาไปมากประกอบกับอัตราการเกิดของประชากรลดลง จึงมีประชากรเป็นกลุ่มผู้สูงวัยเพิ่มมากขึ้นซึ่งร่างกายจะเริ่มถดถอยมีการ เสื่อมสภาพต่าง ๆ ของกระดูกและข้อต่อทำให้ทำอะไรได้ไม่สะดวกเหมือนเคยจึงจำเป็นต้องมีการออก แบบเพื่อรองรับกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้ ชักโครกที่ถูกต้องตามการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อผู้สูงวัย 1. ระดับพื้น ไม่ควรทำระดับพื้นให้มีระดับแตกต่างกับภายในอาคารเพราะจะทำให้สะดุดหรือหก ล้มได้ง่ายหากจำเป็นต้องมีควรทำเป็นทางลาดที่มีความชัน 1:12 และขนาดของทางลาดควรกว้างไม่น้อยกว่า1 เมตรและมีราวจับตลอดแนวและมีพื้นผิวเรียบแต่ไม่ลื่น 2.ประตูควรเป็นบานเลื่อนขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 0.90 เซนติเมตรเพื่อให้รถเข็นหรืออุปกรณ์ช่วยเดินผ่านได้โดยสะดวกหากเป็นบานเปิด มือจับควรเป็นลักษณะก้านโยกและไม่ควรติดระบบปิดประตูอัตโนมัติ (โช้คอัพ) 3.วัสดุพื้น วัสดุที่นำมาปูพื้นควรมีลักษณะที่สามารถยืดหยุ่นได้และไม่มีความลื่นทำความ สะอาดง่าย มีรอยต่อน้อยเช่น กระเบื้องยางม้วนอย่างหนาไม้ทำให้เวลาเดินไม่สะดุดรอยต่อของวัสดุปูพื้นและ ไม่เย็นเท้าอีกด้วย 4.ปลั๊กและสวิตช์ไฟต่าง ๆ ควรติดตั้งที่ระดับความสูง 0.70-1.00 เมตรเพื่อหลีกเลี่ยงการก้มลงเมื่อเวลาเปิดใช้งานและควรมีแป้นสัมผัสที่ใหญ่ กว่าปกติ สำหรับปลั๊กไฟ ควรมีสวิตช์เปิด-ปิดปลั๊กด้วย 5.ห้องน้ำควรมีราวจับที่มั่นคงตามพื้นที่ใช้งานต่าง ๆ -อ่างล้างหน้า หากมีผู้สูงอายุที่ต้องใช้รถเข็นควรคำนึงถึงความสูงของเคาน์เตอร์ให้เหมาะสม และสามารถให้รถเข็นเข้าไปในด้านล่างของเคาน์เตอร์เพื่อให้ใช้งานได้โดย สะดวก(ด้านล่างของเคาน์เตอร์ควรเปิดโล่งสำหรับรถเข็น) รวมภาพการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อผู้สูงวัยและคนพิการ อาทิ ทางลาด ห้องน้ำ ทางต่างระดับ -ส่วนอาบน้ำควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1x1.5 เมตรและมีการติดตั้งราวจับสำหรับช่วยพยุงตัวและมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการ วางเก้าอี้อาบน้ำหรือมีผู้ช่วยอาบน้ำได้หากจะมีกระจกกั้นส่วนเปียก-แห้งต้อง เป็นกระจกนิรภัยเท่านั้น -การลดระดับต่าง ๆ ควรทำทางลาดทั้งหมดหากเลี่ยงการลดระดับไม่ได้ควรเปลี่ยนสีของกระเบื้องให้ ชัดเจนเพื่อสามารถรับรู้ได้โดยง่ายและควรใช้กระเบื้องที่มีผิวหยาบไม่ลื่น -ชักโครกต้องมีอุปกรณ์ช่วยพยุงตัวจึงควรเว้นพื้นที่ไว้ให้มากกว่าปกติ -อุปกรณ์เปิด-ปิดน้ำต่าง ๆ ควรเป็นก้านโยก และใช้ฝักบัวแรงดันต่ำ-ประตูไม่ควรมีกลอนเพื่อให้สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ ทันทีหากเกิดเหตุฉุกเฉิน 6. หน้าต่างควรมีช่องเปิดไม่น้อยกว่า 20% ของพื้นที่ห้องเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกควรเปิดหน้าต่างทางทิศเหนือและ ตะวันออก หน้าต่างควรใช้เป็นบานเลื่อนเพื่อความสะดวกในการใช้งาน 7. ลิฟต์โดยสาร (หากมี) ควรคำนึงถึงขนาดไม่ให้เล็กเกินไปเพราะต้องเผื่อพื้นที่สำหรับรถเข็นหรือ อุปกรณ์ช่วยเดินอื่น ๆ และมีพื้นที่เหลือเพียงพอสำหรับผู้ดูแลและควรมีระบบเก็บไฟฟ้าสำรองเผื่อใน กรณีไฟฟ้าดับด้วย 8. โทรศัพท์และสัญญาณเรียกฉุกเฉินควรติดอยู่โดยทั่วไปเป็นระยะโดยเฉพาะบริเวณที่นอนและห้องน้ำ 9. เครื่องเรือนต่าง ๆ ควรจัดวางให้มีระยะเข้าถึงที่กว้างมากกว่าปกติ ควรมีระยะห่างไม่น้อยกว่า 1.20 เมตรโดยรอบบริเวณเครื่องเรือน 10. การวางเตียงนอนโดยมากผู้สูงอายุมักมีพฤติกรรมตื่นนอนง่าย รู้สึกตัวง่ายถ้าคู่นอนมีการพลิกตัวบ่อยอาจแก้ปัญหาโดยออกแบบเตียงนอนแบบแยก กันเพื่อให้เกิดการรบกวนกันน้อยที่สุดและควรมีที่ว่างโดยรอบเตียงทั้ง 3 ด้านเพื่อให้ขึ้นเตียงนอนได้โดยสะดวก 11. ราวระเบียงควรติดตั้งให้มีขอบสูงไม่น้อยกว่า 1.20 เมตรเพื่อป้องกันอุบัติเหตุต่าง ๆ 12.โทนสีควรเลือกใช้โทนสีสว่างจะกระตุ้นให้ผู้อยู่อาศัยมีความสดชื่นลดอาการซึมเศร้าได้ นอกจากนี้การออกแบบต่าง ๆ ควรปรึกษาสถาปนิกผู้มีความชำนาญเพื่อให้สามารถออกแบบใช้งานได้ตรงวัตถุประสงค์. lifeimage_ar@yahoo.com ภาณุวัฒน์ สินธวัชต์ ณัฐพล ปิยะตันติ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/224499/คิดดี+%3A+ข้อแนะนำในการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อผู้สูงวัย เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 มี.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)