หนุ่มวิศวะชาวตราดทำดีตามรอยเท้าพ่อ ซ่อมกายอุปกรณ์แจกจ่ายให้ผู้ป่วยตาม รพ.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอธิราช อิงประสาร อายุ 36 ปี หรือน้องเอ ชาวบ้าน ต.ห้วยแร้ง อ.เมือง จ.ตราด ซึ่งจบการศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อปี 2546 และกลับมาดูแลกิจการสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมันของที่บ้าน ได้ชักชวนเพื่อนๆและเยาวชนจิตอาสานำกายอุปกรณ์ที่เก่า ชำรุด ใช้การไมได้ มาช่วยกันซ่อมแซมเสียใหม่ และนำไปมอบให้กับโรงพยาบาลประจำอำเภอ ที่อยู่ห่างไกลตัวเมืองตราด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลต่างๆ และมอบให้กับผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ ตามหมู่บ้านต่างๆ นำไปใช้ในการดำรงชีวิต ซึ่งก็มีทั้งเตียงธรรมดา เตียงไฟฟ้า วีลแชร์ รถจักรยานคนพิการ วอคเกอร์สำหรับคนพิการ เป็นต้น โดยใช้โรงจอดรถภายในบ้านพักกลางสวนผลไม้ เป็นศูนย์ซ่อมกายอุปกรณ์ดังกล่าว แต่ละวันจะมีจิตอาสามาช่วยทำการซ่อมแซมกายอุปกรณ์วันละ 6-7คน แบ่งเป็นจิตอาสาไม่คิดค่าตอบแทนส่วนหนึ่งและจิตอาสาคิดค่าตอบแทนครึ่งเดียวคือค่าแรงวันละ 200 บาท โดยน้องเอ จะเป็นผู้จัดค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด รวมทั้งค่าอาหารกลางวันที่นำมาเลี้ยงผู้มาช่วยงานด้วย
นายอธิราช กล่าวว่า ได้รับแรงบันดาลใจจากการเห็นความอุตสาหะ เสียสละของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อพสกนิกรชาวไทยแล้ว ทำให้นำมาคิดไตร่ตรอง และเมื่อจบการศึกษา ออกมาประกอบอาชีพ พบเห็นว่ากายอุปกรณ์จากโรงพยาบาลส่วนใหญ่ จะถูกแทงจำหน่ายเมื่อชำรุด ไม่มีการนำมาซ่อมแซมแล้วกลับไปใช้ใหม่ คิดว่าเป็นการสูญเปล่าโดยเปล่าประโยชน์ จึงไปรับซื้อเตียงและกายอุปกรณ์ต่างๆจากร้านรับซื้อของเก่า มาคิดหาวิธีซ่อมแซม จนสามารถนำมาใช้งานใหม่ได้ จึงชักชวนเพื่อนๆจิตอาสาและน้องๆ ผลัดเปลี่ยน หมุนเวียนกันมารวมกลุ่ม ซ่อมแซมกายอุปกรณ์ดังกล่าวขึ้น แล้วนำไปมอบให้กับผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการภายในหมู่บ้านก่อน หลังจากนั้นจึงมีโรงพยาบาลประจำอำเภอ ของให้ช่วยทำการซ่อมแซมกายอุปกรณ์ต่างๆให้ โดยมีค่าใช้จ่ายตอบแทนเล็กๆน้อยๆ ซึ่งตนเองได้นำเงินที่ได้จากการซ่อมแซมกายอุปกรณ์ ไปซื้อกายอุปกรณ์เก่าจากร้านรับซื้อของเก่า เป็นเตียงราคาเตียงละ 1,000 แล้วนำมาซ่อมแซมใหม่จนใช้การได้ ด้วยงบประมาณเพียงไม่กี่บาท อย่างเช่นเตียงไฟฟ้า ใช้การไมได้ จะต้องนำมาใช้อุปกรณ์อิเลคทรอนิคใส่แทนอุปกรณ์เก่า และเปลี่ยนรีโมทใหม่ก็ใช้ได้ บางเตียงใช้งบประมาณแค่ไม่ถึงพันบาทก็สามารถใช้งานได้ เป็นที่น่าเสียดายที่เตียงไฟฟ้าราคาเตียงละ 7 หมื่นบาท แต่ถูกขายเป็นเศษเหล็กเพียงไม่กี่ร้อยบาท นอกจากนี้พวกรถวีลแชร์ ส่วนใหญ่จะเสียแค่ตลับลูกปืน จึงนำมาดัดแปลงด้วยการซื้อตลับลูกปืนตามร้าน แทนตลับลูกปืนที่ผลิตมาจากประเทศจีน ก็สามารถนำไปใช้ได้ และทำการขัดสนิม พ่นสีใหม่ กายอุปกรณ์ต่างๆก็จะเป็นของใหม่ ใช้งานได้ต่อไป
ขณะนี้ตนเองกำลังหาผู้บริจาคกายอุปกรณ์ ซึ่งมีผู้ใจบุญ มีกายอุปกรณ์ที่เลิกใช้แล้ว หรือชำรุด นำมามามอบให้ และทำการซ่อมแซมใหม่ ส่งมอบให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล มอบให้ผู้พิการในหมู่บ้านยืมไปใช้ในการดำรงชีวิต แต่ยังไม่เพียงพอ กำลังต้องการผู้บริจาคกายอุปกรณ์เพิ่มเติม ซึ่งผู้ใดมีจิตศรัทธา สามารถบริจาคได้ที่วัดไผ่ล้อม ต.บางพระ อ.เมือง จ.ตราด ที่ผ่านมา นำเงินทุนส่วนตัวมาใช้ในโครงการนี้ไปกว่า 3 แสนบาทแล้ว
ขอบคุณ... http://morning-news.bectero.com/regional/27-Oct-2016/90077
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายอธิราช อิงประสาร อายุ 36 ปี หนุ่มวิศวะชาวตราดทำดีตามรอยเท้าพ่อ ซ่อมกายอุปกรณ์แจกจ่ายให้ผู้ป่วยตาม รพ. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอธิราช อิงประสาร อายุ 36 ปี หรือน้องเอ ชาวบ้าน ต.ห้วยแร้ง อ.เมือง จ.ตราด ซึ่งจบการศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อปี 2546 และกลับมาดูแลกิจการสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมันของที่บ้าน ได้ชักชวนเพื่อนๆและเยาวชนจิตอาสานำกายอุปกรณ์ที่เก่า ชำรุด ใช้การไมได้ มาช่วยกันซ่อมแซมเสียใหม่ และนำไปมอบให้กับโรงพยาบาลประจำอำเภอ ที่อยู่ห่างไกลตัวเมืองตราด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลต่างๆ และมอบให้กับผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ ตามหมู่บ้านต่างๆ นำไปใช้ในการดำรงชีวิต ซึ่งก็มีทั้งเตียงธรรมดา เตียงไฟฟ้า วีลแชร์ รถจักรยานคนพิการ วอคเกอร์สำหรับคนพิการ เป็นต้น โดยใช้โรงจอดรถภายในบ้านพักกลางสวนผลไม้ เป็นศูนย์ซ่อมกายอุปกรณ์ดังกล่าว แต่ละวันจะมีจิตอาสามาช่วยทำการซ่อมแซมกายอุปกรณ์วันละ 6-7คน แบ่งเป็นจิตอาสาไม่คิดค่าตอบแทนส่วนหนึ่งและจิตอาสาคิดค่าตอบแทนครึ่งเดียวคือค่าแรงวันละ 200 บาท โดยน้องเอ จะเป็นผู้จัดค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด รวมทั้งค่าอาหารกลางวันที่นำมาเลี้ยงผู้มาช่วยงานด้วย นายอธิราช กล่าวว่า ได้รับแรงบันดาลใจจากการเห็นความอุตสาหะ เสียสละของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อพสกนิกรชาวไทยแล้ว ทำให้นำมาคิดไตร่ตรอง และเมื่อจบการศึกษา ออกมาประกอบอาชีพ พบเห็นว่ากายอุปกรณ์จากโรงพยาบาลส่วนใหญ่ จะถูกแทงจำหน่ายเมื่อชำรุด ไม่มีการนำมาซ่อมแซมแล้วกลับไปใช้ใหม่ คิดว่าเป็นการสูญเปล่าโดยเปล่าประโยชน์ จึงไปรับซื้อเตียงและกายอุปกรณ์ต่างๆจากร้านรับซื้อของเก่า มาคิดหาวิธีซ่อมแซม จนสามารถนำมาใช้งานใหม่ได้ จึงชักชวนเพื่อนๆจิตอาสาและน้องๆ ผลัดเปลี่ยน หมุนเวียนกันมารวมกลุ่ม ซ่อมแซมกายอุปกรณ์ดังกล่าวขึ้น แล้วนำไปมอบให้กับผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการภายในหมู่บ้านก่อน หลังจากนั้นจึงมีโรงพยาบาลประจำอำเภอ ของให้ช่วยทำการซ่อมแซมกายอุปกรณ์ต่างๆให้ โดยมีค่าใช้จ่ายตอบแทนเล็กๆน้อยๆ ซึ่งตนเองได้นำเงินที่ได้จากการซ่อมแซมกายอุปกรณ์ ไปซื้อกายอุปกรณ์เก่าจากร้านรับซื้อของเก่า เป็นเตียงราคาเตียงละ 1,000 แล้วนำมาซ่อมแซมใหม่จนใช้การได้ ด้วยงบประมาณเพียงไม่กี่บาท อย่างเช่นเตียงไฟฟ้า ใช้การไมได้ จะต้องนำมาใช้อุปกรณ์อิเลคทรอนิคใส่แทนอุปกรณ์เก่า และเปลี่ยนรีโมทใหม่ก็ใช้ได้ บางเตียงใช้งบประมาณแค่ไม่ถึงพันบาทก็สามารถใช้งานได้ เป็นที่น่าเสียดายที่เตียงไฟฟ้าราคาเตียงละ 7 หมื่นบาท แต่ถูกขายเป็นเศษเหล็กเพียงไม่กี่ร้อยบาท นอกจากนี้พวกรถวีลแชร์ ส่วนใหญ่จะเสียแค่ตลับลูกปืน จึงนำมาดัดแปลงด้วยการซื้อตลับลูกปืนตามร้าน แทนตลับลูกปืนที่ผลิตมาจากประเทศจีน ก็สามารถนำไปใช้ได้ และทำการขัดสนิม พ่นสีใหม่ กายอุปกรณ์ต่างๆก็จะเป็นของใหม่ ใช้งานได้ต่อไป ขณะนี้ตนเองกำลังหาผู้บริจาคกายอุปกรณ์ ซึ่งมีผู้ใจบุญ มีกายอุปกรณ์ที่เลิกใช้แล้ว หรือชำรุด นำมามามอบให้ และทำการซ่อมแซมใหม่ ส่งมอบให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล มอบให้ผู้พิการในหมู่บ้านยืมไปใช้ในการดำรงชีวิต แต่ยังไม่เพียงพอ กำลังต้องการผู้บริจาคกายอุปกรณ์เพิ่มเติม ซึ่งผู้ใดมีจิตศรัทธา สามารถบริจาคได้ที่วัดไผ่ล้อม ต.บางพระ อ.เมือง จ.ตราด ที่ผ่านมา นำเงินทุนส่วนตัวมาใช้ในโครงการนี้ไปกว่า 3 แสนบาทแล้ว ขอบคุณ... http://morning-news.bectero.com/regional/27-Oct-2016/90077
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)