อารยสถาปัตย์ กับ ผู้ว่าฯกทม.คนใหม่

แสดงความคิดเห็น

ห้องน้ำชักโครกพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกของประเทศญี่ปุ่น

คอลัมน์ กฤษนะทัวร์ยกล้อ โดย... กฤษนะ ละไล “อารยสถาปัตย์” (Universal Design) คือ ภาษาสากลของโลกยุคปัจจุบัน และอนาคต

“อารยสถาปัตย์” คือ.. การจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อให้คนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย สามารถใช้ชีวิตได้โดยสะดวก และปลอดภัย

“อารยสถาปัตย์” คือ.. การออกแบบ และสร้างทำสิ่งต่างๆ ที่บ่งบอกว่า สังคมเราจะไม่ทอดทิ้งผู้สูงอายุ ไม่ทอดทิ้งตำรวจทหารผ่านศึก ไม่ทอดทิ้งคนพิการ ไม่ทอดทิ้งผู้หญิงท้องแก่ ไม่ทอดทิ้งเด็กเล็ก และรวมถึง..ไม่ทอดทิ้งผู้ป่วยพักฟื้น

“อารยสถาปัตย์” คือ.. การออกแบบตึกอาคาร ตลอดจนบริการสาธารณะต่างๆ เพื่อให้คนทุกกลุ่ม ทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย สามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้โดยสะดวก และปลอดภัย “อารยสถาปัตย์” จึงเป็นการออกแบบที่เป็นธรรมสำหรับคนทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย และเพื่อคนทั้งมวลโดยแท้จริง

จะพูดว่า “อารยสถาปัตย์” คือ..การออกแบบของผู้ที่ประเสริฐแล้ว ผู้ที่เจริญแล้ว ก็ถูกต้องเลยครับ

เพราะ “อารยสถาปัตย์” คือ..การทำให้สังคมดีขึ้น ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนดีขึ้น สะดวกขึ้น ปลอดภัยขึ้น นั่นคือ..คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ ประเทศที่เจริญแล้วทั่วโลก จะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอันดับต้นๆ และหลายประเทศ ทำเรื่องนี้เป็นการอวดโชว์ถึงความเจริญรุ่งเรืองของชาติด้วยซ้ำไป

อย่างเช่นประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีการทำอารยสถาปัตย์ที่ดีที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน ที่ญี่ปุ่น ไม่ได้ทำอารยสถาปัตย์ เพียงแค่เพื่อ “ความสะดวก” และ “ปลอดภัย” เท่านั้น แต่ไปไกลกว่านั้น คือ ทำให้ “สวยงาม” และ “สะอาด” อีกต่างหาก 4 เสาหลัก อันเป็นหัวใจสำคัญของคำว่า “อารยสถาปัตย์” คือ (1)ความสะดวก (2) ความปลอดภัย (3) ความสวยงาม (4) ความสะอาด

ห้องสุขาสาธารณะในประเทศญี่ปุ่น จะอธิบายความเรื่องนี้ ได้ดีที่สุดเพราะห้องสุขาสาธารณะที่ญี่ปุ่น และในหลายประเทศเทศที่ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องนี้ เขาไม่ได้ใช้คำว่า Disable หรือ “ห้องสุขาคนพิการ” แต่จะใช้คำว่า family restroom ซึ่งหมายถึง “ห้องสุขาสำหรับครอบครัว” หรือ “ห้องสุขาพิเศษ” ที่ทุกคน ทุกวัยในครอบครัวสามารถใช้ได้โดยสะดวก และปลอดภัย

หรือไม่ก็ใช้เป็นป้ายสัญลักษณ์ เป็นรูปวีลแชร์ รูปผู้หญิงท้อง รูปคนชราถือไม้เท้า และรูปเด็กเล็กนั่งรถเข็น ไปจนถึงรูปคนป่วยใช้ไม้ค้ำยัน เพื่อเป็นการบอกว่า..สถานที่นั้นๆ มีอารยสถาปัตย์ให้คนทั้งมวลเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้

หันกลับมามองเมืองไทยของเรา ในปัจจุบัน แม้จะมีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน มีความตื่นตัวในเรื่องนี้มากขึ้นเรื่อยๆ แต่ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่ง คือ เรายังขาด “สถาปนิกที่คิดครบ” และยังขาด “ผู้ตรวจรับงานที่รับผิดชอบต่อสังคม” สาเหตุเป็นเพราะอะไร เราๆ ท่านๆ ก็รู้ๆ กันอยู่

ผลที่เกิดขึ้น ดูได้จากตึกอาคาร สถานที่สาธารณะต่างๆ ที่หลายแห่งยังไม่มีอารยสถาปัตย์เหมือนบ้านเมืองตกอยู่ในความล้าหลังป่า เถื่อน แต่หลายแห่งก็เริ่มมี แต่มีไม่ครบ เช่น มีทางลาด แต่ขาดห้องน้ำสำหรับวีลแชร์มีลิฟต์ แต่ไม่มีอักษรเบรลล์หรือมีที่จอดรถสำหรับคนที่นั่งวีลแชร์ แต่ก็ดันมีคนปกติไปจอดแทน อย่างนี้ก็มีให้เห็นอยู่บ่อยๆ

ไหนๆ คนกรุงเทพ ก็เพิ่งได้ผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่กันมาหมาดๆ ก็อดไม่ได้ที่จะหวัง และฝันไปว่า ผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ จะช่วยปรับภาพลักษณ์หน้าตาของประเทศเราให้ดีขึ้น ด้วยการทำกรุงเทพให้เป็นเมืองอารยสถาปัตย์อีกซักแห่งในโลก หรือจะถึงขั้นทำกรุงเทพให้เป็น “เมืองอารยสถาปัตย์แห่งประชาคมอาเซียน” ไปเลย คนกรุงเทพจะได้ภูมิใจซักทีว่า..เลือกผู้ว่าฯ มาไม่ผิดคน และจะไม่ผิดหวังอีกต่อไป

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130304/153104/อารยสถาปัตย์กับผู้ว่าฯกทม.คนใหม่.html#.UTRQxTc7va4 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 5/03/2556 เวลา 04:33:51 ดูภาพสไลด์โชว์  อารยสถาปัตย์ กับ ผู้ว่าฯกทม.คนใหม่

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ห้องน้ำชักโครกพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกของประเทศญี่ปุ่น คอลัมน์ กฤษนะทัวร์ยกล้อ โดย... กฤษนะ ละไล “อารยสถาปัตย์” (Universal Design) คือ ภาษาสากลของโลกยุคปัจจุบัน และอนาคต “อารยสถาปัตย์” คือ.. การจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อให้คนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย สามารถใช้ชีวิตได้โดยสะดวก และปลอดภัย “อารยสถาปัตย์” คือ.. การออกแบบ และสร้างทำสิ่งต่างๆ ที่บ่งบอกว่า สังคมเราจะไม่ทอดทิ้งผู้สูงอายุ ไม่ทอดทิ้งตำรวจทหารผ่านศึก ไม่ทอดทิ้งคนพิการ ไม่ทอดทิ้งผู้หญิงท้องแก่ ไม่ทอดทิ้งเด็กเล็ก และรวมถึง..ไม่ทอดทิ้งผู้ป่วยพักฟื้น “อารยสถาปัตย์” คือ.. การออกแบบตึกอาคาร ตลอดจนบริการสาธารณะต่างๆ เพื่อให้คนทุกกลุ่ม ทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย สามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้โดยสะดวก และปลอดภัย “อารยสถาปัตย์” จึงเป็นการออกแบบที่เป็นธรรมสำหรับคนทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย และเพื่อคนทั้งมวลโดยแท้จริง จะพูดว่า “อารยสถาปัตย์” คือ..การออกแบบของผู้ที่ประเสริฐแล้ว ผู้ที่เจริญแล้ว ก็ถูกต้องเลยครับ เพราะ “อารยสถาปัตย์” คือ..การทำให้สังคมดีขึ้น ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนดีขึ้น สะดวกขึ้น ปลอดภัยขึ้น นั่นคือ..คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ ประเทศที่เจริญแล้วทั่วโลก จะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอันดับต้นๆ และหลายประเทศ ทำเรื่องนี้เป็นการอวดโชว์ถึงความเจริญรุ่งเรืองของชาติด้วยซ้ำไป อย่างเช่นประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีการทำอารยสถาปัตย์ที่ดีที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน ที่ญี่ปุ่น ไม่ได้ทำอารยสถาปัตย์ เพียงแค่เพื่อ “ความสะดวก” และ “ปลอดภัย” เท่านั้น แต่ไปไกลกว่านั้น คือ ทำให้ “สวยงาม” และ “สะอาด” อีกต่างหาก 4 เสาหลัก อันเป็นหัวใจสำคัญของคำว่า “อารยสถาปัตย์” คือ (1)ความสะดวก (2) ความปลอดภัย (3) ความสวยงาม (4) ความสะอาด ห้องสุขาสาธารณะในประเทศญี่ปุ่น จะอธิบายความเรื่องนี้ ได้ดีที่สุดเพราะห้องสุขาสาธารณะที่ญี่ปุ่น และในหลายประเทศเทศที่ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องนี้ เขาไม่ได้ใช้คำว่า Disable หรือ “ห้องสุขาคนพิการ” แต่จะใช้คำว่า family restroom ซึ่งหมายถึง “ห้องสุขาสำหรับครอบครัว” หรือ “ห้องสุขาพิเศษ” ที่ทุกคน ทุกวัยในครอบครัวสามารถใช้ได้โดยสะดวก และปลอดภัย หรือไม่ก็ใช้เป็นป้ายสัญลักษณ์ เป็นรูปวีลแชร์ รูปผู้หญิงท้อง รูปคนชราถือไม้เท้า และรูปเด็กเล็กนั่งรถเข็น ไปจนถึงรูปคนป่วยใช้ไม้ค้ำยัน เพื่อเป็นการบอกว่า..สถานที่นั้นๆ มีอารยสถาปัตย์ให้คนทั้งมวลเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้ หันกลับมามองเมืองไทยของเรา ในปัจจุบัน แม้จะมีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน มีความตื่นตัวในเรื่องนี้มากขึ้นเรื่อยๆ แต่ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่ง คือ เรายังขาด “สถาปนิกที่คิดครบ” และยังขาด “ผู้ตรวจรับงานที่รับผิดชอบต่อสังคม” สาเหตุเป็นเพราะอะไร เราๆ ท่านๆ ก็รู้ๆ กันอยู่ ผลที่เกิดขึ้น ดูได้จากตึกอาคาร สถานที่สาธารณะต่างๆ ที่หลายแห่งยังไม่มีอารยสถาปัตย์เหมือนบ้านเมืองตกอยู่ในความล้าหลังป่า เถื่อน แต่หลายแห่งก็เริ่มมี แต่มีไม่ครบ เช่น มีทางลาด แต่ขาดห้องน้ำสำหรับวีลแชร์มีลิฟต์ แต่ไม่มีอักษรเบรลล์หรือมีที่จอดรถสำหรับคนที่นั่งวีลแชร์ แต่ก็ดันมีคนปกติไปจอดแทน อย่างนี้ก็มีให้เห็นอยู่บ่อยๆ ไหนๆ คนกรุงเทพ ก็เพิ่งได้ผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่กันมาหมาดๆ ก็อดไม่ได้ที่จะหวัง และฝันไปว่า ผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ จะช่วยปรับภาพลักษณ์หน้าตาของประเทศเราให้ดีขึ้น ด้วยการทำกรุงเทพให้เป็นเมืองอารยสถาปัตย์อีกซักแห่งในโลก หรือจะถึงขั้นทำกรุงเทพให้เป็น “เมืองอารยสถาปัตย์แห่งประชาคมอาเซียน” ไปเลย คนกรุงเทพจะได้ภูมิใจซักทีว่า..เลือกผู้ว่าฯ มาไม่ผิดคน และจะไม่ผิดหวังอีกต่อไป ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130304/153104/อารยสถาปัตย์กับผู้ว่าฯกทม.คนใหม่.html#.UTRQxTc7va4

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...