โรงงานขาเทียมพระราชทานแห่งแรกอันดามันช่วยผู้พิการแล้ว60ราย

แสดงความคิดเห็น

นายแพทย์ประวิทย์ เอี่ยมวิถีวนิช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลห้วยยอด จังหวัดตรัง กล่าวว่า เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาโรงพยาบาลชุมชน ในเขตภาคใต้ฝั่งอันดามัน ยังไม่มีโรงงานผลิต เปลี่ยน และซ่อมแซมขาเทียม สำหรับให้บริการผู้พิการขาขาด ทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องเดินทางไปรับบริการที่โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช หรือโรงพยาบาลตรัง แต่การทำขาเทียมในแต่ละราย ผู้ป่วยต้องเดินทางไปมามากกว่า 1 ครั้ง เพราะต้องไปวัดขา ทำขาและทดลองเดินจนทำให้เกิดความไม่สะดวกรอคิวนานและมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูง

ดังนั้น มูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จังหวัดเชียงใหม่ จึงมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้งโรงงานขาเทียมพระราชทานขึ้น ณ โรงพยาบาลห้วยยอด สำหรับให้บริการผู้พิการในเขตภาคใต้ฝั่งอันดามัน และพื้นที่ใกล้เคียงอื่นๆ เป็นแห่งแรก พร้อมกับให้การสนับสนุนงบประมาณ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1 ล้าน 2 แสนบาท โดยเป็นครุภัณฑ์ที่จำเป็นสำหรับโรงงานและวัสดุอุปกรณ์ 1 ล้านบาท และการปรับปรุงอาคารใช้เป็นโรงงานอีก2ล้านบาทรวมทั้งช่วยดำเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ทำขาเทียมด้วย

ทั้งนี้ โรงงานขาเทียมพระราชทาน ได้เริ่มเปิดมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 ให้บริการทำขาเทียม ซ่อมขาเทียม เปลี่ยนฝ่าเท้าเทียม ซ่อมครุภัณฑ์เครื่องใช้ผู้พิการ เช่น รถเข็น และให้บริการกายอุปกรณ์ โดยมีเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้พิการขาขาด ทั้งชาย-หญิง รวม 2 คน มาทำหน้าที่ให้บริการ ซึ่งนอกจากจะเป็นการส่งเสริมให้ผู้พิการมีงานทำแล้ว เจ้าหน้าที่ทั้งคู่ยังมีความเข้าใจถึงความต้องการของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี เนื่องจากตนเองก็เป็นผู้พิการขาขาดและเป็นผู้ที่ใช้ขาเทียมซึ่งผลิตขึ้นจากโรงงานแห่งนี้ด้วย

สำหรับผลจากการดำเนินงานในช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา ปรากฏว่า สามารถให้บริการผู้พิการไปแล้ว 60 ราย หรือเฉลี่ยเดือนละ 3-4 ราย ทั้งๆ ที่มีศักยภาพในการรองรับผู้พิการได้วันละ 1 ราย หรือเดือนละ 30 ราย ซึ่งต่อไปจะต้องเพิ่มการประชาสัมพันธ์ออกนอกจังหวัดตรังให้มากขึ้น เพื่อเชิญชวนผู้พิการทั้งที่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายจากกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ หรือผู้พิการที่มีฐานะยากจน ให้เข้ามาใช้บริการที่โรงงานขาเทียมแห่งนี้ซึ่งล่าสุดก็ได้มีการจัดตั้งกองทุนผู้พิการยากไร้ชึ้นมาช่วยเหลือแล้ว

นอกจากนั้น ผู้พิการและญาติต่างก็มีความพึงพอใจในบริการมาก โดยเฉพาะการเดินทางที่สะดวก และสถานบริการยังอยู่ใกล้บ้าน ถึงแม้บางรายจะมาจากต่างจังหวัด ในเขตภาคใต้ฝั่งอันดามัน ก็ตาม เนื่องจากเดินทางไม่ไกลจนเกินไป ส่วนคุณภาพของขาเทียมที่ได้รับ ก็มีความสวยงาม และสวมใส่นุ่มสบาย โดยในปีงบประมาณ 2556 นี้ โรงงานขาเทียมพระราชทาน มีแผนจะแผนขยายกิจกรรมเพิ่มหลายอย่าง เช่น การจัดตั้งศูนย์ซ่อมรถเข็นผู้พิการ และการจัดตั้งศูนย์ผลิตรองเท้าสำหรับผู้พิการ หรือผู้ป่วยเบาหวาน

ขอบคุณhttp://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=673916&lang=T&cat=

ที่มา: เนชั่นแชลแนลออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 14/03/2556 เวลา 04:27:43

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายแพทย์ประวิทย์ เอี่ยมวิถีวนิช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลห้วยยอด จังหวัดตรัง กล่าวว่า เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาโรงพยาบาลชุมชน ในเขตภาคใต้ฝั่งอันดามัน ยังไม่มีโรงงานผลิต เปลี่ยน และซ่อมแซมขาเทียม สำหรับให้บริการผู้พิการขาขาด ทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องเดินทางไปรับบริการที่โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช หรือโรงพยาบาลตรัง แต่การทำขาเทียมในแต่ละราย ผู้ป่วยต้องเดินทางไปมามากกว่า 1 ครั้ง เพราะต้องไปวัดขา ทำขาและทดลองเดินจนทำให้เกิดความไม่สะดวกรอคิวนานและมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูง ดังนั้น มูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จังหวัดเชียงใหม่ จึงมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้งโรงงานขาเทียมพระราชทานขึ้น ณ โรงพยาบาลห้วยยอด สำหรับให้บริการผู้พิการในเขตภาคใต้ฝั่งอันดามัน และพื้นที่ใกล้เคียงอื่นๆ เป็นแห่งแรก พร้อมกับให้การสนับสนุนงบประมาณ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1 ล้าน 2 แสนบาท โดยเป็นครุภัณฑ์ที่จำเป็นสำหรับโรงงานและวัสดุอุปกรณ์ 1 ล้านบาท และการปรับปรุงอาคารใช้เป็นโรงงานอีก2ล้านบาทรวมทั้งช่วยดำเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ทำขาเทียมด้วย ทั้งนี้ โรงงานขาเทียมพระราชทาน ได้เริ่มเปิดมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 ให้บริการทำขาเทียม ซ่อมขาเทียม เปลี่ยนฝ่าเท้าเทียม ซ่อมครุภัณฑ์เครื่องใช้ผู้พิการ เช่น รถเข็น และให้บริการกายอุปกรณ์ โดยมีเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้พิการขาขาด ทั้งชาย-หญิง รวม 2 คน มาทำหน้าที่ให้บริการ ซึ่งนอกจากจะเป็นการส่งเสริมให้ผู้พิการมีงานทำแล้ว เจ้าหน้าที่ทั้งคู่ยังมีความเข้าใจถึงความต้องการของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี เนื่องจากตนเองก็เป็นผู้พิการขาขาดและเป็นผู้ที่ใช้ขาเทียมซึ่งผลิตขึ้นจากโรงงานแห่งนี้ด้วย สำหรับผลจากการดำเนินงานในช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา ปรากฏว่า สามารถให้บริการผู้พิการไปแล้ว 60 ราย หรือเฉลี่ยเดือนละ 3-4 ราย ทั้งๆ ที่มีศักยภาพในการรองรับผู้พิการได้วันละ 1 ราย หรือเดือนละ 30 ราย ซึ่งต่อไปจะต้องเพิ่มการประชาสัมพันธ์ออกนอกจังหวัดตรังให้มากขึ้น เพื่อเชิญชวนผู้พิการทั้งที่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายจากกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ หรือผู้พิการที่มีฐานะยากจน ให้เข้ามาใช้บริการที่โรงงานขาเทียมแห่งนี้ซึ่งล่าสุดก็ได้มีการจัดตั้งกองทุนผู้พิการยากไร้ชึ้นมาช่วยเหลือแล้ว นอกจากนั้น ผู้พิการและญาติต่างก็มีความพึงพอใจในบริการมาก โดยเฉพาะการเดินทางที่สะดวก และสถานบริการยังอยู่ใกล้บ้าน ถึงแม้บางรายจะมาจากต่างจังหวัด ในเขตภาคใต้ฝั่งอันดามัน ก็ตาม เนื่องจากเดินทางไม่ไกลจนเกินไป ส่วนคุณภาพของขาเทียมที่ได้รับ ก็มีความสวยงาม และสวมใส่นุ่มสบาย โดยในปีงบประมาณ 2556 นี้ โรงงานขาเทียมพระราชทาน มีแผนจะแผนขยายกิจกรรมเพิ่มหลายอย่าง เช่น การจัดตั้งศูนย์ซ่อมรถเข็นผู้พิการ และการจัดตั้งศูนย์ผลิตรองเท้าสำหรับผู้พิการ หรือผู้ป่วยเบาหวาน ขอบคุณ…http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=673916&lang=T&cat=

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...