เปิดเว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทยฉบับแรก
เปิด “เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพิ่มโอกาส-คุณภาพชีวิตแก่ผู้พิการทางการได้ยินกว่า 3 แสนคน
ที่วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกับสำนักงานราชบัณฑิตยสภา จัดงานเปิด “เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา 12 สิงหาคม ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยติดต่อสื่อสารระหว่างคนหูหนวกด้วยกัน หรือระหว่างคนไทยทั่วไปกับคนหูหนวกให้ก้าวไปด้วยกันสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือเรียนรู้ภาษาไทยแก่คนหูหนวก
นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลงานสำนักราชบัณฑิตยสภา เป็นประธานพิธีเปิดงาน กล่าวว่า ในการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศไปข้างหน้านั้น การพัฒนาด้านภาษาไทยและการสื่อสารถือเอกลักษณ์และวัฒนธรรมประจำชาติและความเป็นไทย ควบคู่กับการดูแลทุกข์สุขของประชาชนทุกกลุ่มในสังคมไทยให้ก้าวเดินไปด้วยกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่ง “เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาสร้างนวัตกรรมเพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของผู้พิการและเข้าถึงได้ง่าย ทั้งนี้ ได้เริ่มทำมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 โดยมีคณะกรรมการประกอบด้วย คนหูหนวกจากชุมชน สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย ผู้แทนจากมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย คนหูหนวก, ฝ่ายเทคโนโลยีสำหรับคนหูหนวก, นักภาษาศาสตร์, ล่ามภาษามือจากวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ซึ่งบัดนี้พร้อมเปิดใช้งานและคู่มือการใช้งานเว็บไซต์ที่ http://164.115.33.116 (ขนาดไฟล์: 742)
"ทั้งนี้ เป็นการสนับสนุนให้ผู้พิการทางการได้ยินได้มีโอกาสที่เท่าเทียมกับคนทั่วไปมากยิ่งขึ้น และได้ใช้ “เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา อย่างทั่วถึง นำความรู้จากพจนานุกรมมาสร้างความเข้าใจในการสื่อสาร ทั้งในด้านการศึกษา คุณภาพชีวิตและการอาชีพ สามารถพัฒนาศักยภาพตนเองให้เข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อย่างเท่าเทียมเช่นคนไทยทั่วไป และสามารถสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และเป็นพลังขับเคลื่อนให้กับสังคมต่อไป เสริมศักยภาพของผู้พิการให้ก้าวทันเทคโนโลยีและเชื่อมต่อกับสังคมโลก ควบคู่ไปกับการร่วมพัฒนาโมเดล Thailand 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม" รมต.สำนักนายกฯ กล่าว
นอกจากนี้ เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทยนี้ยังเป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่นอีกจำนวนมาก อาทิ ล่ามภาษามือ, ครูสอนในโรงเรียนโสตศึกษา, โรงเรียนที่มีคนพิการทางการได้ยินเรียนร่วม, ครอบครัวของคนพิการทางการได้ยิน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับคนพิการทางการได้ยิน และผู้สนใจทั่วไปอีกด้วย”
ผศ.ดร.พิมพา ขจรธรรม คณบดีวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้พิการทางการได้ยินจำนวนถึง 329,437 คน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวมาจากฐานข้อมูลทะเบียนกลางคนพิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ณ วันที่ 25 มิ.ย.2560 และภาษามือ นับเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารและใช้ในการถ่ายทอดความหมายเมื่อเทียบกับการพูดคุย เพื่อให้ผู้พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย สามารถดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมไทยได้อย่างมีความสุข และยังเป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและกัน.
ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/?q=node/32792 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลงานสำนักราชบัณฑิตยสภา เป็นประธานพิธีเปิดงาน เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา เปิด “เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพิ่มโอกาส-คุณภาพชีวิตแก่ผู้พิการทางการได้ยินกว่า 3 แสนคน ที่วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกับสำนักงานราชบัณฑิตยสภา จัดงานเปิด “เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา 12 สิงหาคม ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยติดต่อสื่อสารระหว่างคนหูหนวกด้วยกัน หรือระหว่างคนไทยทั่วไปกับคนหูหนวกให้ก้าวไปด้วยกันสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือเรียนรู้ภาษาไทยแก่คนหูหนวก งานเปิดตัว เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลงานสำนักราชบัณฑิตยสภา เป็นประธานพิธีเปิดงาน กล่าวว่า ในการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศไปข้างหน้านั้น การพัฒนาด้านภาษาไทยและการสื่อสารถือเอกลักษณ์และวัฒนธรรมประจำชาติและความเป็นไทย ควบคู่กับการดูแลทุกข์สุขของประชาชนทุกกลุ่มในสังคมไทยให้ก้าวเดินไปด้วยกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่ง “เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาสร้างนวัตกรรมเพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของผู้พิการและเข้าถึงได้ง่าย ทั้งนี้ ได้เริ่มทำมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 โดยมีคณะกรรมการประกอบด้วย คนหูหนวกจากชุมชน สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย ผู้แทนจากมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย คนหูหนวก, ฝ่ายเทคโนโลยีสำหรับคนหูหนวก, นักภาษาศาสตร์, ล่ามภาษามือจากวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ซึ่งบัดนี้พร้อมเปิดใช้งานและคู่มือการใช้งานเว็บไซต์ที่ http://164.115.33.116 งานเปิดตัว เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา "ทั้งนี้ เป็นการสนับสนุนให้ผู้พิการทางการได้ยินได้มีโอกาสที่เท่าเทียมกับคนทั่วไปมากยิ่งขึ้น และได้ใช้ “เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา อย่างทั่วถึง นำความรู้จากพจนานุกรมมาสร้างความเข้าใจในการสื่อสาร ทั้งในด้านการศึกษา คุณภาพชีวิตและการอาชีพ สามารถพัฒนาศักยภาพตนเองให้เข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อย่างเท่าเทียมเช่นคนไทยทั่วไป และสามารถสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และเป็นพลังขับเคลื่อนให้กับสังคมต่อไป เสริมศักยภาพของผู้พิการให้ก้าวทันเทคโนโลยีและเชื่อมต่อกับสังคมโลก ควบคู่ไปกับการร่วมพัฒนาโมเดล Thailand 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม" รมต.สำนักนายกฯ กล่าว นอกจากนี้ เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทยนี้ยังเป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่นอีกจำนวนมาก อาทิ ล่ามภาษามือ, ครูสอนในโรงเรียนโสตศึกษา, โรงเรียนที่มีคนพิการทางการได้ยินเรียนร่วม, ครอบครัวของคนพิการทางการได้ยิน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับคนพิการทางการได้ยิน และผู้สนใจทั่วไปอีกด้วย” ผศ.ดร.พิมพา ขจรธรรม คณบดีวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้พิการทางการได้ยินจำนวนถึง 329,437 คน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวมาจากฐานข้อมูลทะเบียนกลางคนพิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ณ วันที่ 25 มิ.ย.2560 และภาษามือ นับเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารและใช้ในการถ่ายทอดความหมายเมื่อเทียบกับการพูดคุย เพื่อให้ผู้พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย สามารถดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมไทยได้อย่างมีความสุข และยังเป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและกัน. ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/?q=node/32792
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)