การขับเคลื่อนด้านการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้ทุกคนในสังคม
ทุกกระทรวงล้วนมีบทบาทหน้าที่ในการมีส่วนร่วมบูรณาการงานส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ ตาม มาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ดังนั้น คณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ ในคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรีผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา จึงติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับคนพิการของทุกกระทรวงอย่างสมํ่าเสมอ โดยเฉพาะกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งนับเป็นกระทรวงหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยมีสำนักงานส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินงานและประสานงานด้านคนพิการโดยตรง ซึ่งส่งผลให้เกิดความคืบหน้าเป็นรูปธรรมตามนโยบาย และยุทธศาสตร์ด้านคนพิการของประเทศอย่างรอบด้าน เช่น การส่งเสริมสวัสดิการและสิทธิคนพิการ การสร้างความเข้มแข็งองค์กรด้านคนพิการและเครือข่าย การให้คำแนะนำและช่วยเหลือคนพิการให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอำนวยความสะดวก การตรวจ สอบการได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ เป็นต้น โดยมีแนวคิดและเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาศักยภาพคนพิการให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ตลอดจนเป็นผู้มีส่วนร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป
ทั้งนี้ ปัญหา และอุปสรรคสำคัญที่ทำให้คนพิการไม่สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ คือ การขาดสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ที่เอื้อให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตอย่างเป็นอิสระด้วยการพึ่งพาตนเอง เช่น การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อม อาคารสถานที่ การเดินทาง ข้อมูลข่าวสาร และบริการต่างๆ เป็นต้น ดังนั้น สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) จึงได้นำเสนอคณะรัฐมนตรี ให้กำหนดนโยบายให้หน่วยราชการจัดทำสิ่งอำนวยความ สะดวกดังกล่าว ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เห็นชอบสนับสนุนมาตรการผลักดันการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้ทุกคนในสังคม เช่น ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้เจ็บป่วย เด็ก และคนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ โดยให้สำนักงบประมาณสนับสนุนงบประมาณ หน่วยงานละ ๓๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับการปรับปรุง หรือจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวก ไม่น้อยกว่า ๕ ประเภท ได้แก่ ทางลาด ห้องนํ้า ที่จอดรถ ป้ายและสัญลักษณ์ และบริการข้อมูลข่าวสาร โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ.๒๕๕๘ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)
นอกจากนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ยังได้ประกาศกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคารสถานที่ หรือบริการสาธารณะอื่น เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ.๒๕๕๕
ในการขับเคลื่อนมติคณะรัฐมนตรี และกฎกระทรวง รวมทั้งแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม พก. ได้ร่วมกับสำนักนายกรัฐมนตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรม KICK OFF “เปลี่ยนภาระเป็นพลัง สร้างสังคมเพื่อทุกคน ” เมื่อวันที่ ๑๔-๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมีนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ และเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง ๑๙ กระทรวง ๒ หน่วยงาน คือ สำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนมาตรการผลักดันการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการและทุกคนในสังคมสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ นอกจากนี้ มีกิจกรรมประกอบด้วยการอภิปราย นิทรรศการ นวัตกรรม เทคโนโลยีเกี่ยวกับการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกการเปิดตัวทูตอารยะสถาปัตย์ การตรวจสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณทำเนียบรัฐบาล และการปล่อยขบวนสายตรวจสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ เป็นต้น
ทั้งนี้ พก. ได้ดำเนินงานและมีความคืบหน้าในหลายด้าน เช่น จัดประชุม work shop กำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนและผลักดันแผนยุทธศาสตร์สู่การปฎิบัติอย่างเป็น รูปธรรม จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ช่างโยธา คนพิการ และเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ รวม ๑๐ รุ่น ประมาณ ๑,๕๐๐ คน แต่งตั้งคณะทำงานตรวจการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในส่วนภูมิภาค ๘ คณะ และจะลงนามความร่วมมือทางวิชาการส่งเสริมนวัตกรรม และการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการกับหน่วยงานและสถาบันการศึกษาต่างๆ รวมทั้ง การประชาสัมพันธ์การดำเนินงานด้านคนพิการผ่านสื่อต่างๆ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนด้านการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้ทุกคนในสังคม ให้ประสบผลสำเร็จรวมทั้ง มีความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจาก ทุกภาคส่วน รวมทั้ง คนพิการทุกคน ทั้งนี้ คณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ ในคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภาจะติดตามผลการดำเนินงานด้านคนพิการของหน่วยงานต่างๆ อย่างต่อเนื่องต่อไป
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา โทร ๐ ๒๘๓๑ ๙๒๒๕-๖ โทรสาร ๐ ๒๘๓๑ ๙๒๒๖ สายด่วนวุฒิสภา ๑๑๐๒ หรือส่งจดหมาย/เอกสาร/ข้อร้องเรียนไปที่ “ตู้ปวงชนชาวไทย”ไปรษณีย์รัฐสภา กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๕
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินดูสิ่งอำนวยความสะดวกภายในทําเนียบรัฐบาล ทุกกระทรวงล้วนมีบทบาทหน้าที่ในการมีส่วนร่วมบูรณาการงานส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ ตาม มาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ดังนั้น คณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ ในคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรีผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา จึงติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับคนพิการของทุกกระทรวงอย่างสมํ่าเสมอ โดยเฉพาะกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งนับเป็นกระทรวงหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยมีสำนักงานส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินงานและประสานงานด้านคนพิการโดยตรง ซึ่งส่งผลให้เกิดความคืบหน้าเป็นรูปธรรมตามนโยบาย และยุทธศาสตร์ด้านคนพิการของประเทศอย่างรอบด้าน เช่น การส่งเสริมสวัสดิการและสิทธิคนพิการ การสร้างความเข้มแข็งองค์กรด้านคนพิการและเครือข่าย การให้คำแนะนำและช่วยเหลือคนพิการให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอำนวยความสะดวก การตรวจ สอบการได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ เป็นต้น โดยมีแนวคิดและเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาศักยภาพคนพิการให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ตลอดจนเป็นผู้มีส่วนร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ ปัญหา และอุปสรรคสำคัญที่ทำให้คนพิการไม่สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ คือ การขาดสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ที่เอื้อให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตอย่างเป็นอิสระด้วยการพึ่งพาตนเอง เช่น การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อม อาคารสถานที่ การเดินทาง ข้อมูลข่าวสาร และบริการต่างๆ เป็นต้น ดังนั้น สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) จึงได้นำเสนอคณะรัฐมนตรี ให้กำหนดนโยบายให้หน่วยราชการจัดทำสิ่งอำนวยความ สะดวกดังกล่าว ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เห็นชอบสนับสนุนมาตรการผลักดันการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้ทุกคนในสังคม เช่น ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้เจ็บป่วย เด็ก และคนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ โดยให้สำนักงบประมาณสนับสนุนงบประมาณ หน่วยงานละ ๓๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับการปรับปรุง หรือจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวก ไม่น้อยกว่า ๕ ประเภท ได้แก่ ทางลาด ห้องนํ้า ที่จอดรถ ป้ายและสัญลักษณ์ และบริการข้อมูลข่าวสาร โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ.๒๕๕๘ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) นอกจากนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ยังได้ประกาศกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคารสถานที่ หรือบริการสาธารณะอื่น เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ.๒๕๕๕ ในการขับเคลื่อนมติคณะรัฐมนตรี และกฎกระทรวง รวมทั้งแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม พก. ได้ร่วมกับสำนักนายกรัฐมนตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรม KICK OFF “เปลี่ยนภาระเป็นพลัง สร้างสังคมเพื่อทุกคน ” เมื่อวันที่ ๑๔-๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมีนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ และเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง ๑๙ กระทรวง ๒ หน่วยงาน คือ สำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนมาตรการผลักดันการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการและทุกคนในสังคมสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ นอกจากนี้ มีกิจกรรมประกอบด้วยการอภิปราย นิทรรศการ นวัตกรรม เทคโนโลยีเกี่ยวกับการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกการเปิดตัวทูตอารยะสถาปัตย์ การตรวจสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณทำเนียบรัฐบาล และการปล่อยขบวนสายตรวจสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ เป็นต้น ทั้งนี้ พก. ได้ดำเนินงานและมีความคืบหน้าในหลายด้าน เช่น จัดประชุม work shop กำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนและผลักดันแผนยุทธศาสตร์สู่การปฎิบัติอย่างเป็น รูปธรรม จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ช่างโยธา คนพิการ และเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ รวม ๑๐ รุ่น ประมาณ ๑,๕๐๐ คน แต่งตั้งคณะทำงานตรวจการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในส่วนภูมิภาค ๘ คณะ และจะลงนามความร่วมมือทางวิชาการส่งเสริมนวัตกรรม และการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการกับหน่วยงานและสถาบันการศึกษาต่างๆ รวมทั้ง การประชาสัมพันธ์การดำเนินงานด้านคนพิการผ่านสื่อต่างๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนด้านการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้ทุกคนในสังคม ให้ประสบผลสำเร็จรวมทั้ง มีความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจาก ทุกภาคส่วน รวมทั้ง คนพิการทุกคน ทั้งนี้ คณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ ในคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภาจะติดตามผลการดำเนินงานด้านคนพิการของหน่วยงานต่างๆ อย่างต่อเนื่องต่อไป ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา โทร ๐ ๒๘๓๑ ๙๒๒๕-๖ โทรสาร ๐ ๒๘๓๑ ๙๒๒๖ สายด่วนวุฒิสภา ๑๑๐๒ หรือส่งจดหมาย/เอกสาร/ข้อร้องเรียนไปที่ “ตู้ปวงชนชาวไทย”ไปรษณีย์รัฐสภา กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๕ ขอบคุณ... http://www.naewna.com/lady/columnist/7159
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)