พก.สนับสนุนทุนวิจัยนวัตกรรม มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

แสดงความคิดเห็น

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จัดงานแถลงข่าวโครงการส่งเสริมเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อความพิการและคนพิการ และลงนามบันทึกความร่วมมือกับหน่วยงาน และสถาบันการศึกษา จำนวน 6 แห่ง ในการที่จะพัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

นายวิมล จันทร์จิราวุฒิกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีคนพิการได้รับการออกบัตรประจำตัวคนพิการจำนวน 1,374,133 คน ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายสำคัญในการเสริมสร้างเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อความพิการ และคนพิการ โดยการปรับเปลี่ยนแนวคิดคนพิการจากการเป็นภาระให้เป็นพลังของสังคม โดยการร่วมสร้างสังคมที่ปราศจากอุปสรรคสำหรับคนพิการ

มีการกำหนดแนวทางมาตรการให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2555-2559 ซึ่งกำหนดยุทธศาสตร์สำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อม เทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสาร ที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ตลอดจนการศึกษาวิจัย เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ การพัฒนาศักยภาพ การคุ้มครองพิทักษ์สิทธิคนพิการ จึงทำให้เกิดความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสิ่งอำนวย ความสะดวกเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ได้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือกับหน่วยงานและสถาบันการศึกษาทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ

นอกจากนี้ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ยังได้มอบทุนสนับสนุนงานวิจัย จำนวน 4 เรื่อง เพื่อสนับสนุนให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตอิสระร่วมกับทุกคนในสังคมอย่างมี ความสุขและเสมอภาค ได้แก่ 1.ระบบควบคุมสภาพแวดล้อมสำหรับคนพิการ โดย ผศ.ดร.ภาณุทัต บุญประมุข คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 2.ระบบควบคุมรถเข็นคนพิการด้วยการตรวจจับการเคลื่อนไหวของใบหน้า โดย ผศ.ดร.ปรัญชลีย์ สมานพิบูรณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 3.การออกแบบและพัฒนาเครื่องช่วยการเคลื่อนไหวข้อเข่าอย่างต่อเนื่องสำหรับ การพื้นฟูคนพิการทางการเคลื่อนไหว โดย ผศ.ดร.สุเมธ อ่ำชิต คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ 4.การขยายระดับการทดสอบใช้งานต้นแบบเครื่องยกคนพิการ โดย ดร.พสุ สิริสาลี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช.

นับเป็นจุดเริ่มต้นของการบูรณาการความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนางานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ เพื่อให้คนพิการในประเทศไทยสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ และเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างปกติสุขและเท่าเทียมกับคนทั่วไป

ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/x-cite/230713/76771 (ขนาดไฟล์: 167)

ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ก.ค.56

ที่มา: ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 23/07/2556 เวลา 02:48:17

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จัดงานแถลงข่าวโครงการส่งเสริมเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อความพิการและคนพิการ และลงนามบันทึกความร่วมมือกับหน่วยงาน และสถาบันการศึกษา จำนวน 6 แห่ง ในการที่จะพัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ นายวิมล จันทร์จิราวุฒิกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีคนพิการได้รับการออกบัตรประจำตัวคนพิการจำนวน 1,374,133 คน ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายสำคัญในการเสริมสร้างเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อความพิการ และคนพิการ โดยการปรับเปลี่ยนแนวคิดคนพิการจากการเป็นภาระให้เป็นพลังของสังคม โดยการร่วมสร้างสังคมที่ปราศจากอุปสรรคสำหรับคนพิการ มีการกำหนดแนวทางมาตรการให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2555-2559 ซึ่งกำหนดยุทธศาสตร์สำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อม เทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสาร ที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ตลอดจนการศึกษาวิจัย เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ การพัฒนาศักยภาพ การคุ้มครองพิทักษ์สิทธิคนพิการ จึงทำให้เกิดความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสิ่งอำนวย ความสะดวกเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ได้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือกับหน่วยงานและสถาบันการศึกษาทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ นอกจากนี้ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ยังได้มอบทุนสนับสนุนงานวิจัย จำนวน 4 เรื่อง เพื่อสนับสนุนให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตอิสระร่วมกับทุกคนในสังคมอย่างมี ความสุขและเสมอภาค ได้แก่ 1.ระบบควบคุมสภาพแวดล้อมสำหรับคนพิการ โดย ผศ.ดร.ภาณุทัต บุญประมุข คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 2.ระบบควบคุมรถเข็นคนพิการด้วยการตรวจจับการเคลื่อนไหวของใบหน้า โดย ผศ.ดร.ปรัญชลีย์ สมานพิบูรณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 3.การออกแบบและพัฒนาเครื่องช่วยการเคลื่อนไหวข้อเข่าอย่างต่อเนื่องสำหรับ การพื้นฟูคนพิการทางการเคลื่อนไหว โดย ผศ.ดร.สุเมธ อ่ำชิต คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ 4.การขยายระดับการทดสอบใช้งานต้นแบบเครื่องยกคนพิการ โดย ดร.พสุ สิริสาลี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช. นับเป็นจุดเริ่มต้นของการบูรณาการความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนางานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ เพื่อให้คนพิการในประเทศไทยสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ และเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างปกติสุขและเท่าเทียมกับคนทั่วไป ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/x-cite/230713/76771 ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...