"ชุดวาดเขียนเล่นเส้น" เปิดจินตนาการในโลกมืด

แสดงความคิดเห็น

นาตาลี ไซดะ, ฉัตรชัย อภิบาลพูนผล, อรุโณชา พันธุ์สด

การปิดกั้นการรับรู้ของประชาชน เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่งในสังคม แม้บุคคลเหล่านั้นจะมีความบกพร่องทางร่างกาย อาทิ ความบกพร่องทางการมองเห็น ความบกพร่องทางการได้ยิน ฯลฯ กระนั้น รัฐก็ควรจัดสรรทรัพยากร เพื่อให้ประชากรกลุ่มที่ไม่มีความพร้อม สามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากรได้อย่างเท่าเทียมกับประชาชนทั่วไป

ทว่า การพึ่งภาครัฐฝ่ายเดียว คงไม่อาจเกิดเข้าถึงทรัพยากรหรือองค์ความรู้แก่ผู้ด้อยโอกาสได้ จึงเกิด 5 senses เปิดสัมผัสทั้ง 5 ถ้าดวงตามองไม่เห็น ที่โรงเรียนธรรมิกวิทยา ต.สระพัง อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี เป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักเรียนผู้พิการทางสายตา ได้ทดลองใช้ "ชุดวาดเขียนเล่นเส้น" ครั้งแรก

ชุดวาดเขียนเล่นเส้น เป็นอุปกรณ์วาดเขียนและสร้างภาพนูนต่ำสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการมอง เห็น ผลงานชนะเลิศด้านการศึกษาของโครงการกล่องดินสอ จากการประกวด โครงการผู้หญิงกลิ้งโลก ปี 2 โดยความสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ สำนักพิมพ์สามสี มุ่งหวังสร้างแรงบันดาลใจและส่งเสริมผู้หญิงให้ได้ใช้ความรู้ ความสามารถ และศักยภาพให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อสังคม

ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ "ชุดวาดเขียนเล่นเส้น" มนทิรา จูฑะพุทธิ ผู้อำนวยการโครงการผู้หญิงกลิ้งโลก เล่าถึงกิจกรรม "5 senses เปิดสัมผัสทั้ง 5 ถ้าดวงตามองไม่เห็น" ว่า "ชุดวาดเขียนเล่นเส้น" ของโครงการกล่องดินสอ เป็นนวัตกรรมที่สนับสนุนโครงการด้านการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และให้โอกาสแก่คนที่พิการทางสายตา เป็นการพัฒนาต่อยอดสิ่งประดิษฐ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

"อนาคต โครงการผู้หญิงกลิ้งโลกจะสนับสนุนโครงการเดิมที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมมากขึ้น และพัฒนาโครงการให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น โครงการกล่องดินสอ อาจให้ทุนสนับสนุนเพื่อต่อยอดไปใช้ประโยชน์กับชุมชน หรือโรงเรียนมีการนำชุดวาดเล่นเส้นไปสอนแก่โรงเรียนเครือข่ายต่อไป โครงการเราจะไม่เน้นที่ปริมาณแต่เน้นที่คุณภาพ ลงมือทำอย่างจริงจังเหมือนน้ำซึมบ่อทราย วันหนึ่งน้ำจะเต็มบ่อ" มนทิรากล่าว

นัก ออกแบบชุดวาดเล่นเส้น อรุโณชา พันธุ์สด เล่าความเป็นมาว่า ชุดวาดเขียนเล่นเส้นเกิดจาก ฉัตรชัย อภิบาลพูนผล ผู้บริหารบริษัท กล่องดินสอ จำกัด และนาตาลี ไซดะ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและสื่อสารองค์กร เคยคลุกคลีกับนักเรียนโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ พบว่าการลูบๆ คลำๆ ภาพนูนต่ำจำเป็นต่อการเรียนรู้ แต่ปัจจุบันอุปกรณ์ที่มีในท้องตลาดใช้งานยาก และไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ

ผลิตภัณฑ์ "ชุดวาดเขียนเล่นเส้น" "ความลำบากในการเรียนของเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น เพราะไม่มีสื่อการเรียนการสอนที่ดีพอ เด็กจึงไม่เข้าใจบทเรียนบางวิชาโดยเฉพาะคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่ต้อง อาศัยอุปกรณ์ช่วย จึงมีการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนขึ้น ให้ใช้งานง่ายสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น" อรุโณชาบอก และ อธิบายว่า ชุดวาดเขียนเล่นเส้นใช้หลักการของไหมพรมและแถบหนามเตย สร้างเส้นนูนขึ้นระหว่างการใช้งาน ประกอบด้วยอุปกรณ์หลัก 2 อย่าง คือ 1.ปากกาเล่นเส้น ทำจากไม้ยางพารา เขียนออกมาเป็นไหมพรม ปลายปากกามีตัวตัดไหมขัดฟันสำหรับตัดเส้นไหมเมื่อวาดเสร็จ และ 2.สมุดเล่นเส้น ติดด้วยแถบหนามเตยชนิดพิเศษซึ่งแม้จะเรียบแต่ยึดไหมพรมได้ดีมาก เมื่อเขียนปากกาเล่นเส้นลงในสมุดเล่นเส้น ไหมพรมจะติดกับแถบหนามเตย เกิดเป็นเส้นนูนจึงสามารถสัมผัสได้ทันทีขณะวาด

ส่วน ปิยะพร ศรีพลาวงษ์ ข้าราชการบำนาญครูชำนาญการพิเศษ สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โรงเรียนธรรมิกวิทยา กล่าวถึงประโยชน์ของชุดวาดเขียนเล่นเส้นหลังนำไปให้กับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสายตาใช้ พบว่าเสริมสร้างจินตนาการและความสามารถด้านศิลปะได้ ทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนศิลปะ, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, แผนที่ ฯลฯ ทำให้ครูสอนง่ายขึ้น นักเรียนเข้าใจมากขึ้น ช่วยให้นักเรียนรู้ว่ารูปร่างรูปทรงที่วาดเป็นอย่างไรแม้มองไม่เห็น

แล้ว นักเรียนที่ได้ลองใช้ละ... ปภาวดี เอี่ยมกิจ นักเรียนชั้น ม.6 อายุ 18 ปี โรงเรียนธรรมิกวิทยา บอกว่า อาจารย์ที่สอนในโรงเรียนทั่วไปมักบอกว่า แม้เรามองไม่เห็นแต่สามารถวาดรูปร่างได้ เพียงแค่ใช้จินตนาการจากสองมือของเราก็สามารถวาดออกมาเป็นใบหน้าของคนๆ หนึ่งได้ อยู่ที่เราว่าจะวาด จะสร้างอะไรขึ้นมา

"ตอนฝึกวาดภาพโดยใช้ ดินสอและปากกาธรรมดา ไม่สามารถรู้ได้เลยว่าภาพที่วาดเองออกมาเป็นอย่างไร สวยหรือไม่สวย แม้จะมั่นใจว่าวาดใบหน้าคน ดีใจที่มีชุดวาดเขียนเล่นเส้น เพราะสามารถสัมผัสว่ารูปทรงจริงๆ ที่วาดนั้นเป็นอย่างไร สามารถแก้ไขภาพให้ออกมาสวยงามได้" ปภาวดีบอก

แม้ จะเป็นส่วนเล็กๆ ในสังคม แต่การเปิดสัมผัสทั้ง 5 ทั้งที่ดวงตามองไม่เห็น ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ ได้เห็น ได้จินตนาการ…โดย ศิวพร อ่องศรี

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1377080121&grpid=&catid=08&subcatid=0804 (ขนาดไฟล์: 167)

มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ส.ค.56

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 22/08/2556 เวลา 04:15:46 ดูภาพสไลด์โชว์ "ชุดวาดเขียนเล่นเส้น" เปิดจินตนาการในโลกมืด

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นาตาลี ไซดะ, ฉัตรชัย อภิบาลพูนผล, อรุโณชา พันธุ์สด การปิดกั้นการรับรู้ของประชาชน เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่งในสังคม แม้บุคคลเหล่านั้นจะมีความบกพร่องทางร่างกาย อาทิ ความบกพร่องทางการมองเห็น ความบกพร่องทางการได้ยิน ฯลฯ กระนั้น รัฐก็ควรจัดสรรทรัพยากร เพื่อให้ประชากรกลุ่มที่ไม่มีความพร้อม สามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากรได้อย่างเท่าเทียมกับประชาชนทั่วไป ทว่า การพึ่งภาครัฐฝ่ายเดียว คงไม่อาจเกิดเข้าถึงทรัพยากรหรือองค์ความรู้แก่ผู้ด้อยโอกาสได้ จึงเกิด 5 senses เปิดสัมผัสทั้ง 5 ถ้าดวงตามองไม่เห็น ที่โรงเรียนธรรมิกวิทยา ต.สระพัง อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี เป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักเรียนผู้พิการทางสายตา ได้ทดลองใช้ "ชุดวาดเขียนเล่นเส้น" ครั้งแรก ชุดวาดเขียนเล่นเส้น เป็นอุปกรณ์วาดเขียนและสร้างภาพนูนต่ำสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการมอง เห็น ผลงานชนะเลิศด้านการศึกษาของโครงการกล่องดินสอ จากการประกวด โครงการผู้หญิงกลิ้งโลก ปี 2 โดยความสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ สำนักพิมพ์สามสี มุ่งหวังสร้างแรงบันดาลใจและส่งเสริมผู้หญิงให้ได้ใช้ความรู้ ความสามารถ และศักยภาพให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อสังคม ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ \"ชุดวาดเขียนเล่นเส้น\"มนทิรา จูฑะพุทธิ ผู้อำนวยการโครงการผู้หญิงกลิ้งโลก เล่าถึงกิจกรรม "5 senses เปิดสัมผัสทั้ง 5 ถ้าดวงตามองไม่เห็น" ว่า "ชุดวาดเขียนเล่นเส้น" ของโครงการกล่องดินสอ เป็นนวัตกรรมที่สนับสนุนโครงการด้านการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และให้โอกาสแก่คนที่พิการทางสายตา เป็นการพัฒนาต่อยอดสิ่งประดิษฐ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด "อนาคต โครงการผู้หญิงกลิ้งโลกจะสนับสนุนโครงการเดิมที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมมากขึ้น และพัฒนาโครงการให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น โครงการกล่องดินสอ อาจให้ทุนสนับสนุนเพื่อต่อยอดไปใช้ประโยชน์กับชุมชน หรือโรงเรียนมีการนำชุดวาดเล่นเส้นไปสอนแก่โรงเรียนเครือข่ายต่อไป โครงการเราจะไม่เน้นที่ปริมาณแต่เน้นที่คุณภาพ ลงมือทำอย่างจริงจังเหมือนน้ำซึมบ่อทราย วันหนึ่งน้ำจะเต็มบ่อ" มนทิรากล่าว นัก ออกแบบชุดวาดเล่นเส้น อรุโณชา พันธุ์สด เล่าความเป็นมาว่า ชุดวาดเขียนเล่นเส้นเกิดจาก ฉัตรชัย อภิบาลพูนผล ผู้บริหารบริษัท กล่องดินสอ จำกัด และนาตาลี ไซดะ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและสื่อสารองค์กร เคยคลุกคลีกับนักเรียนโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ พบว่าการลูบๆ คลำๆ ภาพนูนต่ำจำเป็นต่อการเรียนรู้ แต่ปัจจุบันอุปกรณ์ที่มีในท้องตลาดใช้งานยาก และไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ผลิตภัณฑ์ \"ชุดวาดเขียนเล่นเส้น\" "ความลำบากในการเรียนของเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น เพราะไม่มีสื่อการเรียนการสอนที่ดีพอ เด็กจึงไม่เข้าใจบทเรียนบางวิชาโดยเฉพาะคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่ต้อง อาศัยอุปกรณ์ช่วย จึงมีการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนขึ้น ให้ใช้งานง่ายสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น" อรุโณชาบอก และ อธิบายว่า ชุดวาดเขียนเล่นเส้นใช้หลักการของไหมพรมและแถบหนามเตย สร้างเส้นนูนขึ้นระหว่างการใช้งาน ประกอบด้วยอุปกรณ์หลัก 2 อย่าง คือ 1.ปากกาเล่นเส้น ทำจากไม้ยางพารา เขียนออกมาเป็นไหมพรม ปลายปากกามีตัวตัดไหมขัดฟันสำหรับตัดเส้นไหมเมื่อวาดเสร็จ และ 2.สมุดเล่นเส้น ติดด้วยแถบหนามเตยชนิดพิเศษซึ่งแม้จะเรียบแต่ยึดไหมพรมได้ดีมาก เมื่อเขียนปากกาเล่นเส้นลงในสมุดเล่นเส้น ไหมพรมจะติดกับแถบหนามเตย เกิดเป็นเส้นนูนจึงสามารถสัมผัสได้ทันทีขณะวาด ส่วน ปิยะพร ศรีพลาวงษ์ ข้าราชการบำนาญครูชำนาญการพิเศษ สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โรงเรียนธรรมิกวิทยา กล่าวถึงประโยชน์ของชุดวาดเขียนเล่นเส้นหลังนำไปให้กับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสายตาใช้ พบว่าเสริมสร้างจินตนาการและความสามารถด้านศิลปะได้ ทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนศิลปะ, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, แผนที่ ฯลฯ ทำให้ครูสอนง่ายขึ้น นักเรียนเข้าใจมากขึ้น ช่วยให้นักเรียนรู้ว่ารูปร่างรูปทรงที่วาดเป็นอย่างไรแม้มองไม่เห็น แล้ว นักเรียนที่ได้ลองใช้ละ... ปภาวดี เอี่ยมกิจ นักเรียนชั้น ม.6 อายุ 18 ปี โรงเรียนธรรมิกวิทยา บอกว่า อาจารย์ที่สอนในโรงเรียนทั่วไปมักบอกว่า แม้เรามองไม่เห็นแต่สามารถวาดรูปร่างได้ เพียงแค่ใช้จินตนาการจากสองมือของเราก็สามารถวาดออกมาเป็นใบหน้าของคนๆ หนึ่งได้ อยู่ที่เราว่าจะวาด จะสร้างอะไรขึ้นมา "ตอนฝึกวาดภาพโดยใช้ ดินสอและปากกาธรรมดา ไม่สามารถรู้ได้เลยว่าภาพที่วาดเองออกมาเป็นอย่างไร สวยหรือไม่สวย แม้จะมั่นใจว่าวาดใบหน้าคน ดีใจที่มีชุดวาดเขียนเล่นเส้น เพราะสามารถสัมผัสว่ารูปทรงจริงๆ ที่วาดนั้นเป็นอย่างไร สามารถแก้ไขภาพให้ออกมาสวยงามได้" ปภาวดีบอก แม้ จะเป็นส่วนเล็กๆ ในสังคม แต่การเปิดสัมผัสทั้ง 5 ทั้งที่ดวงตามองไม่เห็น ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ ได้เห็น ได้จินตนาการ…โดย ศิวพร อ่องศรี ขอบคุณ … http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1377080121&grpid=&catid=08&subcatid=0804 มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...