สจล.ล้ำต่อยอดรถมอเตอร์ไซค์สำหรับคนพิการใช้ได้เร็วกว่ารถเมล์

แสดงความคิดเห็น

สจล.เร่งประกอบรถมอเตอร์ไซค์ สำหรับคนพิการทดลองแจก 20 คัน คาดใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดข้อจำกัดเรื่องการเดินทาง พร้อมติดตามผลเพื่อนำมาพัฒนาต่อยอด

รถมอเตอร์ไซค์สำหรับคนพิการ วันที่10 ธ.ค.ดร.ดอน อิศรากร อาจารย์ประจำสาชาวิชาวิศวกรรมการวัดและควบคุม คณะวิศวกรรม ศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวถึงแนวคิดการทำรถจักรยานยนต์สำหรับคนพิการ ว่า แนวคิดดังกล่าวสืบเนื่องจากว่า คณะวิศกรรมฯได้ทำข้อตกลง (MOU) กับทางสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) และทาง พก.ได้ให้โจทย์มาว่าอยากได้รถจักรยานยนต์ที่คนพิการสามารถใช้งานได้โดยใน เบื้องต้นจะทำขึ้นมา 20 คัน เพื่อเป็นตัวอย่าง ตนจึงได้เข้าไปศึกษารูปแบบรถที่มีอยู่แล้วกับบริษัท สวัสดีโปรเมด เพื่อนำรถที่เคยผลิตมาปรับปรุงให้สามารถตอบโจทย์คนพิการได้มากขึ้น ซึ่งลักษณะของรถจักรยานยนต์สำหรับคนพิการนั้น จะเป็นรถที่ใช้เครื่องยนต์ขนาด 110 ซีซี ตำแหน่งของเครื่องยนต์จะอยู่ด้านหน้ารถเพื่อให้ด้านหลังมีความต่ำพอที่จะ สามารถยกรถวีลแชร์ขึ้นไปได้ ระบบเกียร์จะเป็นลักษณะกึ่งอัตโนมัติ มีทั้งหมด 3 เกียร์ และมีเกียร์ถอยหลัง เพื่อง่ายต่อการใช้งาน ทั้งนี้ผู้พิการที่สามารถจะใช้งานนั้นจะต้องเป็นบุคคลที่พิการตั้งแต่ช่วงล่างลงมา ส่วนบนของร่างกายโดยเฉพาะมือจะต้องมีความแข็งแรงพอสมควร เนื่องจากว่าจะต้องให้มือทั้งสองข้างบังคับรถ อย่างไรก็ตาม ตนคาดว่าสภาพปัญหาปัญหาการจราจรในประเทศไทยจะไม่เป็นข้อจำกัดในการขับขี่ เพราะหากเป็นทางขรุขระ หรือลูกระนาด รถประเภทนี้จะสามารถผ่านได้ สำหรับเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนนั้นยังถือว่ามีความปลอดภัยกว่ารถ จักรยานยนต์ทั่วไปที่คนธรรมดาขับ เพราะรถจะมีโครงสร้างรอบๆ คัน ที่สามารถป้องกันเมื่อเกิดอุบติเหตุ ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดการพิการซ้ำซ้อนด้วย

รถมอเตอร์ไซค์สำหรับคนพิการ ดร.ดอน กล่าวต่อว่า รถดังกล่าวเมื่อ ทาง สจล.ประกอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะต้องผ่านการตรวจสอบจากกรมการขนส่งทางบก (ขส.ทบ.) เพื่อขอใบอนุญาต และตัวคนพิการเองจะต้องเข้ารับการอบรมวิธีการใช้ และอบรมการเพื่อทำใบขับขี่ ซึ่งทาง ขส.ทบ.จะมีเกณฑ์สำหรับผู้พิการอยู่แล้ว โดยในวันที่ 11-12ธ.ค.จะมีการจัดอบรมทดสอบขับ

อย่างไรก็ตามเมื่อแจกรถให้กับผู้พิการไปแล้วจะต้องมีการติดตามผลการใช้งาน ซึ่งคาดว่าหากผู้พิการใช้รถที่ได้ไปทุกวันภายในเวลา 1 เดือนก็จะสามารถรู้ได้ว่ารถมีจุดบกพร่องจุดใด สามารถตอบสนองความต้องการได้เพียงพอหรือไม่ ซึ่งตนอยากได้ข้อคิดเห็นจากผู้ใช้งานโดยตรงเพื่อที่จะได้นำไปพัฒนา ปรับปรุง ให้มีความสมบูรณ์แบบ และจัดทำในรุ่นต่อไป ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับรถเมล์สำหรับผู้พิการตนเห็นว่าจะมีความเป็นไปได้ ว่าคนพิการจะได้ใช้เร็วกว่า

“เมื่อคนพิการได้รถมอเตอร์ไซค์ไปแล้ว ผมคิดว่าพวกเขาจะใช้งานได้อย่างคุ้มค่าที่สุด สามารถออกไปทำงาน ออกไปเรียน ได้เหมือนคนปกติทั่วไป และยังจะช่วยลดค่าใช่จ่ายลงด้วย เพราะในแต่ละครั้งที่พวกเข้าออกนอกบ้านจะต้องเสียค่าแท็กซี่แพงมาก หากได้ใช้มอเตอร์ไซค์ก็จะทำข้อจำกัดในเรื่องของการเดินทางลดลง” ดร.ดอนกล่าว

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000152112 (ขนาดไฟล์: 164)

(ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ธ.ค. 56)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ธ.ค. 56
วันที่โพสต์: 11/12/2556 เวลา 03:49:59 ดูภาพสไลด์โชว์ สจล.ล้ำต่อยอดรถมอเตอร์ไซค์สำหรับคนพิการใช้ได้เร็วกว่ารถเมล์

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สจล.เร่งประกอบรถมอเตอร์ไซค์ สำหรับคนพิการทดลองแจก 20 คัน คาดใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดข้อจำกัดเรื่องการเดินทาง พร้อมติดตามผลเพื่อนำมาพัฒนาต่อยอด รถมอเตอร์ไซค์สำหรับคนพิการวันที่10 ธ.ค.ดร.ดอน อิศรากร อาจารย์ประจำสาชาวิชาวิศวกรรมการวัดและควบคุม คณะวิศวกรรม ศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวถึงแนวคิดการทำรถจักรยานยนต์สำหรับคนพิการ ว่า แนวคิดดังกล่าวสืบเนื่องจากว่า คณะวิศกรรมฯได้ทำข้อตกลง (MOU) กับทางสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) และทาง พก.ได้ให้โจทย์มาว่าอยากได้รถจักรยานยนต์ที่คนพิการสามารถใช้งานได้โดยใน เบื้องต้นจะทำขึ้นมา 20 คัน เพื่อเป็นตัวอย่าง ตนจึงได้เข้าไปศึกษารูปแบบรถที่มีอยู่แล้วกับบริษัท สวัสดีโปรเมด เพื่อนำรถที่เคยผลิตมาปรับปรุงให้สามารถตอบโจทย์คนพิการได้มากขึ้น ซึ่งลักษณะของรถจักรยานยนต์สำหรับคนพิการนั้น จะเป็นรถที่ใช้เครื่องยนต์ขนาด 110 ซีซี ตำแหน่งของเครื่องยนต์จะอยู่ด้านหน้ารถเพื่อให้ด้านหลังมีความต่ำพอที่จะ สามารถยกรถวีลแชร์ขึ้นไปได้ ระบบเกียร์จะเป็นลักษณะกึ่งอัตโนมัติ มีทั้งหมด 3 เกียร์ และมีเกียร์ถอยหลัง เพื่อง่ายต่อการใช้งาน ทั้งนี้ผู้พิการที่สามารถจะใช้งานนั้นจะต้องเป็นบุคคลที่พิการตั้งแต่ช่วงล่างลงมา ส่วนบนของร่างกายโดยเฉพาะมือจะต้องมีความแข็งแรงพอสมควร เนื่องจากว่าจะต้องให้มือทั้งสองข้างบังคับรถ อย่างไรก็ตาม ตนคาดว่าสภาพปัญหาปัญหาการจราจรในประเทศไทยจะไม่เป็นข้อจำกัดในการขับขี่ เพราะหากเป็นทางขรุขระ หรือลูกระนาด รถประเภทนี้จะสามารถผ่านได้ สำหรับเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนนั้นยังถือว่ามีความปลอดภัยกว่ารถ จักรยานยนต์ทั่วไปที่คนธรรมดาขับ เพราะรถจะมีโครงสร้างรอบๆ คัน ที่สามารถป้องกันเมื่อเกิดอุบติเหตุ ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดการพิการซ้ำซ้อนด้วย รถมอเตอร์ไซค์สำหรับคนพิการ ดร.ดอน กล่าวต่อว่า รถดังกล่าวเมื่อ ทาง สจล.ประกอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะต้องผ่านการตรวจสอบจากกรมการขนส่งทางบก (ขส.ทบ.) เพื่อขอใบอนุญาต และตัวคนพิการเองจะต้องเข้ารับการอบรมวิธีการใช้ และอบรมการเพื่อทำใบขับขี่ ซึ่งทาง ขส.ทบ.จะมีเกณฑ์สำหรับผู้พิการอยู่แล้ว โดยในวันที่ 11-12ธ.ค.จะมีการจัดอบรมทดสอบขับ อย่างไรก็ตามเมื่อแจกรถให้กับผู้พิการไปแล้วจะต้องมีการติดตามผลการใช้งาน ซึ่งคาดว่าหากผู้พิการใช้รถที่ได้ไปทุกวันภายในเวลา 1 เดือนก็จะสามารถรู้ได้ว่ารถมีจุดบกพร่องจุดใด สามารถตอบสนองความต้องการได้เพียงพอหรือไม่ ซึ่งตนอยากได้ข้อคิดเห็นจากผู้ใช้งานโดยตรงเพื่อที่จะได้นำไปพัฒนา ปรับปรุง ให้มีความสมบูรณ์แบบ และจัดทำในรุ่นต่อไป ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับรถเมล์สำหรับผู้พิการตนเห็นว่าจะมีความเป็นไปได้ ว่าคนพิการจะได้ใช้เร็วกว่า “เมื่อคนพิการได้รถมอเตอร์ไซค์ไปแล้ว ผมคิดว่าพวกเขาจะใช้งานได้อย่างคุ้มค่าที่สุด สามารถออกไปทำงาน ออกไปเรียน ได้เหมือนคนปกติทั่วไป และยังจะช่วยลดค่าใช่จ่ายลงด้วย เพราะในแต่ละครั้งที่พวกเข้าออกนอกบ้านจะต้องเสียค่าแท็กซี่แพงมาก หากได้ใช้มอเตอร์ไซค์ก็จะทำข้อจำกัดในเรื่องของการเดินทางลดลง” ดร.ดอนกล่าว ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000152112 (ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ธ.ค. 56)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...