พัฒนาสายรัดวีลแชร์ ช่วยลดอุบัติเหตุผู้ป่วย
รถวีลแชร์ เป็นตัวช่วยสำคัญในการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างพักฟื้น ผู้ป่วยที่มีปัญหาร่างกายทุพพลภาพ หรือแม้แต่คนชราที่เดินไม่สะดวก รถวีลแชร์ ตามโรงพยาบาล หรือสถานดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังขาดอุปกรณ์สำคัญคือสายรัดที่จะช่วยเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย
นายรังสรรค์ คชรัตน์ ผู้บริหารบริษัทซีเปค คอนซัลติ้ง จำกัด กล่าวว่า เดิมบริษัทอุปกรณ์เซฟตี้ครบวงจร เช่น อุปกรณ์เซฟตี้ด้านการจราจร การดับเพลิง และอุปกรณ์ฉุกเฉินที่เกี่ยวกับการแพทย์ บริษัท ซีเปค จุดเริ่มต้นของการผลิต Sicher Belt เข็มขัดเพิ่มความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้รถวีลแชร์ เนื่องจากลูกค้าในกลุ่มโรงพยาบาล มีคำขอให้บริษัทจัดหาสายรัดที่ใช้สำหรับผู้ป่วยที่นั่งรถวีลแชร์ที่ได้ มาตรฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน เพิ่มความมั่นใจให้ผู้ป่วย
โดยทราบว่า น.ส.สาวิตรี จันทคา พยาบาลวิชาชีพ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ได้ออกแบบสายรัดรถเข็นนั่ง และจดทะเบียนอนุสิทธิบัตรไว้กับสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปี 2554 ทางบริษัทจึงประสานงานเพื่อผลิตเข็มขัดสำหรับผู้ที่ต้องนั่งอยู่บนรถเข็น
Sicher Belt ออกแบบให้ติดตั้งกับรถเข็นนั่งได้เกือบทุกประเภท ผู้ใช้สามารถติดตั้งและถอดออกเพื่อทำความสะอาดหรือจัดเก็บได้ด้วยตัวเอง ในชุดประกอบด้วย สายรัดลำตัวที่ใช้รัดช่วงเอว และสายรัดบ่าเพื่อป้องกันการลื่นไหล การเอียงตัว สายรัดขา ขนาดของสายรัดยังปรับได้ตามขนาดของร่างกาย ทำให้ใช้งานได้กับเด็กที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 30 กิโลกรัมขึ้นไป
ข้อดีของสายรัด Sicher Belt คือ การพัฒนามาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างการให้บริการผู้ป่วย จึงตอบสนองในการดูแลคนไข้โดยตรง และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เนื่องจากคนไข้สามารถพยุงตัวขณะนั่งอยู่บนรถวีลแชร์ โดยเฉพาะการประคองตัวได้เวลาที่รถเอียง หรือขณะวิ่งลงเนิน เพราะมีสายรัดบ่าเป็นตัวช่วย และยังมีสายรัดขา ป้องกันเท้าตกจากรถเข็น หรือลากพื้น ซึ่งที่ผ่านมามีปัญหามากสำหรับคนไข้ที่เคลื่อนไหวขาไม่ได้ ทำให้ขาตกจากรถเข็นจนเกิดอุบัติเหตุได้
สายรัดนี้เหมาะที่ จะใช้งานกับบุคคลใน 3 กลุ่มหลัก 1.ผู้พิการ 2.คนชราที่เคลื่อนไหวลำบาก 3.บุคคลพิเศษหรือผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมหรือผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้อกระตุก ที่ผ่านมา บริษัทนำ Sicher Belt แจกให้ผู้พิการที่มีรายได้น้อยในพื้นที่ภาคตะวันออก รวมถึงสถานพยาบาลหลายแห่งได้ทดลอง พบว่าตอบโจทย์ความต้องการได้ตรงจุดทั้งพยาบาลและผู้ป่วย ผู้สนใจเข้าไปดูได้ที่ http://www.sichersafe.com โทร.0-3831-2890
ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ม.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สายรัดวีลแชร์ ช่วยลดอุบัติเหตุผู้ป่วย รถวีลแชร์ เป็นตัวช่วยสำคัญในการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างพักฟื้น ผู้ป่วยที่มีปัญหาร่างกายทุพพลภาพ หรือแม้แต่คนชราที่เดินไม่สะดวก รถวีลแชร์ ตามโรงพยาบาล หรือสถานดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังขาดอุปกรณ์สำคัญคือสายรัดที่จะช่วยเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย นายรังสรรค์ คชรัตน์ ผู้บริหารบริษัทซีเปค คอนซัลติ้ง จำกัด กล่าวว่า เดิมบริษัทอุปกรณ์เซฟตี้ครบวงจร เช่น อุปกรณ์เซฟตี้ด้านการจราจร การดับเพลิง และอุปกรณ์ฉุกเฉินที่เกี่ยวกับการแพทย์ บริษัท ซีเปค จุดเริ่มต้นของการผลิต Sicher Belt เข็มขัดเพิ่มความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้รถวีลแชร์ เนื่องจากลูกค้าในกลุ่มโรงพยาบาล มีคำขอให้บริษัทจัดหาสายรัดที่ใช้สำหรับผู้ป่วยที่นั่งรถวีลแชร์ที่ได้ มาตรฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน เพิ่มความมั่นใจให้ผู้ป่วย ผู้ป่วยหรือคนพิการที่นั่งรถวีลแชร์ใช้สายรัดวีลแชร์โดยทราบว่า น.ส.สาวิตรี จันทคา พยาบาลวิชาชีพ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ได้ออกแบบสายรัดรถเข็นนั่ง และจดทะเบียนอนุสิทธิบัตรไว้กับสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปี 2554 ทางบริษัทจึงประสานงานเพื่อผลิตเข็มขัดสำหรับผู้ที่ต้องนั่งอยู่บนรถเข็น Sicher Belt ออกแบบให้ติดตั้งกับรถเข็นนั่งได้เกือบทุกประเภท ผู้ใช้สามารถติดตั้งและถอดออกเพื่อทำความสะอาดหรือจัดเก็บได้ด้วยตัวเอง ในชุดประกอบด้วย สายรัดลำตัวที่ใช้รัดช่วงเอว และสายรัดบ่าเพื่อป้องกันการลื่นไหล การเอียงตัว สายรัดขา ขนาดของสายรัดยังปรับได้ตามขนาดของร่างกาย ทำให้ใช้งานได้กับเด็กที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 30 กิโลกรัมขึ้นไป ผู้ป่วยหรือคนพิการที่นั่งรถวีลแชร์ใช้สายรัดวีลแชร์ ข้อดีของสายรัด Sicher Belt คือ การพัฒนามาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างการให้บริการผู้ป่วย จึงตอบสนองในการดูแลคนไข้โดยตรง และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เนื่องจากคนไข้สามารถพยุงตัวขณะนั่งอยู่บนรถวีลแชร์ โดยเฉพาะการประคองตัวได้เวลาที่รถเอียง หรือขณะวิ่งลงเนิน เพราะมีสายรัดบ่าเป็นตัวช่วย และยังมีสายรัดขา ป้องกันเท้าตกจากรถเข็น หรือลากพื้น ซึ่งที่ผ่านมามีปัญหามากสำหรับคนไข้ที่เคลื่อนไหวขาไม่ได้ ทำให้ขาตกจากรถเข็นจนเกิดอุบัติเหตุได้ สายรัดนี้เหมาะที่ จะใช้งานกับบุคคลใน 3 กลุ่มหลัก 1.ผู้พิการ 2.คนชราที่เคลื่อนไหวลำบาก 3.บุคคลพิเศษหรือผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมหรือผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้อกระตุก ที่ผ่านมา บริษัทนำ Sicher Belt แจกให้ผู้พิการที่มีรายได้น้อยในพื้นที่ภาคตะวันออก รวมถึงสถานพยาบาลหลายแห่งได้ทดลอง พบว่าตอบโจทย์ความต้องการได้ตรงจุดทั้งพยาบาลและผู้ป่วย ผู้สนใจเข้าไปดูได้ที่ http://www.sichersafe.com โทร.0-3831-2890 ขอบคุณ...http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1pXRXdOREE1TURFMU53PT0=§ionid=TURNek1BPT0=&day=TWpBeE5DMHdNUzB3T1E9PQ== ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ม.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)