การดูแลผู้พิการ
คอลัมน์ แยกประชาชื่น ล็อกล้อ : เรื่องของรถเมล์ที่รองรับผู้พิการ เป็นประเด็นที่มีผู้พิการเรียกร้องมาอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้พิการทั้งหลายต่างก็ต้องการให้ตัวเองสามารถดำเนินชีวิตได้เช่นเดียวกับคนปกติ ไม่กลายเป็นปัญหาหรือภาระของใคร แต่ก็ยังติดขัดอยู่กับปัญหาสาธารณูปโภคของรัฐ ที่ไม่ได้ออกแบบมารองรับผู้พิการเลย
เมื่อ วันที่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมา พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต ปฏิบัติหน้าที่รมช.คมนาคม เป็นประธานสาธิตใช้อุปกรณ์ทางลาดสำหรับผู้พิการที่ใช้รถเข็น (Whell Chair) บนรถโดยสารประจำทางแบบชานต่ำ (Low Floor) และแบบกึ่งชานต่ำ (Semi Low Floor) ของขสมก. โดยสาธิตการใช้กันที่ที่ป้ายรถประจำทางหน้า ร.พ.ตำรวจ ถนนราชดำริ พล.อ.พฤณท์ กล่าวถึงการสาธิตใช้อุปกรณ์ก็เพื่อให้เห็นภาพว่ารถวีลแชร์ จะใช้รถเมล์แบบชานต่ำหรือกึ่งชานต่ำได้สะดวกมากน้อยแค่ไหน ซึ่งทั้งหมดจะเป็นเงื่อนไขในการจัดซื้อรถมาให้บริการต่อไป
สำหรับรถเมล์สำหรับผู้พิการนี้ ปฏิบัติหน้าที่รมช.คมนาคมระบุอาจต้องทำเป็นอีกโครงการหนึ่ง ซึ่งการจัดซื้อรถเมล์ใหม่ที่กำลังดำเนินการอยู่ และมีเสียงเรียกร้องให้จัดซื้อรถสำหรับผู้พิการด้วยนั้น แนวโน้มอาจจะต้องจัดซื้อรถในกรอบทีโออาร์เดิมที่ ขสมก.กำหนดไว้ก่อน ส่วนที่ตีปี๊บประชาสัมพันธ์กันมาว่า รถเมล์สำหรับผู้พิการนั้น พล.อ.พฤณท์ยอมรับอย่างชายชาติทหารว่า โครงการนี้คิดไว้เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ไม่ได้ดูภาพรวม พอจะทำจริงก็พบปัญหา โดย ปัญหาที่ว่า เป็นเรื่องคุณสมบัติของรถที่อาจจะวิ่งบนถนนของกรุงเทพฯ ไม่ได้ทุกเส้นทาง เพราะถนนในกรุงเทพฯ พื้นผิวไม่เรียบ บางแห่งต่ำ บางแห่งสูง รถเมล์พื้นต่ำวิ่งผ่านไม่ได้มีถึง 65 จุด ถึงขณะนี้ทั้งรัฐบาล คมนาคม และขสมก. เริ่มตื่นตัวและลงมาดูแลปัญหาของผู้พิการอย่างต่อเนื่อง กทม.ที่เป็นผู้ดูแลถนน ทางเรียบ ทางลาดบนทางเท้า เริ่มตื่นตัวกับปัญหานี้บ้างหรือยังอยากให้เมืองเป็นแบบไหน ก็ต้องออกแบบสาธารณูปโภคมารองรับให้สามารถเกิดขึ้นได้จริง แค่ความห่วงใยไม่พอแต่ต้องลงมือทำด้วย
ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ธ.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
คอลัมน์ แยกประชาชื่น ล็อกล้อ : เรื่องของรถเมล์ที่รองรับผู้พิการ เป็นประเด็นที่มีผู้พิการเรียกร้องมาอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้พิการทั้งหลายต่างก็ต้องการให้ตัวเองสามารถดำเนินชีวิตได้เช่นเดียวกับคนปกติ ไม่กลายเป็นปัญหาหรือภาระของใคร แต่ก็ยังติดขัดอยู่กับปัญหาสาธารณูปโภคของรัฐ ที่ไม่ได้ออกแบบมารองรับผู้พิการเลย เมื่อ วันที่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมา พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต ปฏิบัติหน้าที่รมช.คมนาคม เป็นประธานสาธิตใช้อุปกรณ์ทางลาดสำหรับผู้พิการที่ใช้รถเข็น (Whell Chair) บนรถโดยสารประจำทางแบบชานต่ำ (Low Floor) และแบบกึ่งชานต่ำ (Semi Low Floor) ของขสมก. โดยสาธิตการใช้กันที่ที่ป้ายรถประจำทางหน้า ร.พ.ตำรวจ ถนนราชดำริ พล.อ.พฤณท์ กล่าวถึงการสาธิตใช้อุปกรณ์ก็เพื่อให้เห็นภาพว่ารถวีลแชร์ จะใช้รถเมล์แบบชานต่ำหรือกึ่งชานต่ำได้สะดวกมากน้อยแค่ไหน ซึ่งทั้งหมดจะเป็นเงื่อนไขในการจัดซื้อรถมาให้บริการต่อไป สำหรับรถเมล์สำหรับผู้พิการนี้ ปฏิบัติหน้าที่รมช.คมนาคมระบุอาจต้องทำเป็นอีกโครงการหนึ่ง ซึ่งการจัดซื้อรถเมล์ใหม่ที่กำลังดำเนินการอยู่ และมีเสียงเรียกร้องให้จัดซื้อรถสำหรับผู้พิการด้วยนั้น แนวโน้มอาจจะต้องจัดซื้อรถในกรอบทีโออาร์เดิมที่ ขสมก.กำหนดไว้ก่อน ส่วนที่ตีปี๊บประชาสัมพันธ์กันมาว่า รถเมล์สำหรับผู้พิการนั้น พล.อ.พฤณท์ยอมรับอย่างชายชาติทหารว่า โครงการนี้คิดไว้เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ไม่ได้ดูภาพรวม พอจะทำจริงก็พบปัญหา โดย ปัญหาที่ว่า เป็นเรื่องคุณสมบัติของรถที่อาจจะวิ่งบนถนนของกรุงเทพฯ ไม่ได้ทุกเส้นทาง เพราะถนนในกรุงเทพฯ พื้นผิวไม่เรียบ บางแห่งต่ำ บางแห่งสูง รถเมล์พื้นต่ำวิ่งผ่านไม่ได้มีถึง 65 จุด ถึงขณะนี้ทั้งรัฐบาล คมนาคม และขสมก. เริ่มตื่นตัวและลงมาดูแลปัญหาของผู้พิการอย่างต่อเนื่อง กทม.ที่เป็นผู้ดูแลถนน ทางเรียบ ทางลาดบนทางเท้า เริ่มตื่นตัวกับปัญหานี้บ้างหรือยังอยากให้เมืองเป็นแบบไหน ก็ต้องออกแบบสาธารณูปโภคมารองรับให้สามารถเกิดขึ้นได้จริง แค่ความห่วงใยไม่พอแต่ต้องลงมือทำด้วย ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaVoyc3hNREkwTVRJMU5nPT0=§ionid=TURNek1nPT0=&day=TWpBeE15MHhNaTB5TkE9PQ== ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ธ.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)