‘จุฑามาศ’ นางฟ้าภาษามือ เปิดโลกเงียบไร้พรมแดน
ว่ากันว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมามีศักดิ์และศรีเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเขาและเธอคนนั้นจะอยู่ในสถานภาพไหน ยากดีมีจนอย่างไร กฎหมายย่อมให้ความคุ้มครองทุกคนอย่างเสมอภาค โดยเฉพาะผู้พิการด้วยแล้วต้องถือว่ากลุ่มคนเหล่านี้ยังขาดโอกาสในการเข้าถึง สิทธิขั้นพื้นฐานในสังคม สิทธิข้อหนึ่งที่มีการพูดถึงมาก คือการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของผู้พิการทางการได้ยิน อาชีพล่ามภาษามือจึงเป็นการตอบโจทย์เพื่อช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ให้ได้รับรู้ ข้อมูลข่าวสาร การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันรวมถึงการเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ
“อ้อย” จุฑามาศ สุธนวัฒนาเจริญ ผู้เชี่ยวชาญภาษามือ สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย เป็นผู้หนึ่งที่คลุกคลีอยู่ในแวดวงคนหูหนวก เพราะได้ทุ่มเทเกือบทั้งชีวิตให้กับอาชีพนี้ “อ้อย” จึงเข้าใจความรู้สึกของคนที่มีข้อจำกัดในการสื่อสารดีว่าจะรู้สึกเช่นไร
งานของ “อ้อย” เป็นเสมือนโซ่ข้อกลางที่เชื่อมโลกเงียบเข้ากับโลกข่าวสาร ไม่ว่าจะเป็นด้านการแพทย์ การประกอบอาชีพ การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม รวมถึงการแปลข่าวสารในรายการโทรทัศน์ด้วย ล่ามภาษามือมีหน้าที่หลัก ๆ ในการแปลภาษาพูด จากเสียงที่คนปกติได้ยิน ให้เป็นภาษามือ และแปลภาษามือจากคนหูหนวกเป็นภาษาพูด ให้คนสองกลุ่มเกิดการติดต่อสื่อสารกันได้
จริง ๆ อ้อยไม่ได้เรียนภาษามือมาโดยตรง แต่อาศัยเรียนรู้การใช้ภาษามือและวิธีสื่อสารกับคนหูหนวกเป็นประจำ พยายามเขียนสื่อสาร จดจำและฝึกศัพท์ภาษามือง่าย ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถสื่อสารได้แล้วค่อย ๆ พัฒนาภาษามือจนกลายมาเป็นล่ามภาษามือได้ในที่สุด
ที่เราทำงานมาถึงวันนี้ก็เพราะอยากช่วยเหลือ คิดว่าหากความรู้ความสามารถที่เรามีจะพอเป็นประโยชน์และช่วยให้คนหูหนวกได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านต่าง ๆ ให้ดีขึ้นได้ มองว่าการทำงานที่มีส่วนช่วยพัฒนาคนให้มีโอกาส มีชีวิตที่ดีเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจ
งานที่เข้ามาแต่ละวันมีความหลากหลายและยากง่ายต่างกันขึ้นอยู่กับเนื้อหา และสถานการณ์ที่ทำการแปลแต่ละครั้ง ล่ามที่ดีจึงต้องพยายามเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอเพื่อการพัฒนาตัวเอง การเป็นล่ามต้องทำงานกับภาษา และภาษามีการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดขึ้นใหม่ได้เสมอ จึงต้องหมั่นเรียนรู้และทำความเข้าใจภาษามือใหม่ ๆ เพื่อให้การแปลของเรามีคุณภาพมากขึ้น
ก่อนจะจบการสนทนาขอฝากว่าอาชีพล่ามภาษามือเป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีคุณค่าเช่นเดียวกับอาชีพอื่น ๆ เรามีภาษามือเป็นสื่อในการให้ และการให้ที่สำคัญคือการให้ความรู้ (ข้อมูลข่าวสาร) ให้โอกาส ให้ความเสมอภาค ล่ามเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนหูหนวกให้สามารถดำรงชีวิตในสังคม ได้อย่างมีความสุขและเท่าเทียมกัน.
‘จ๊อบแมน’
job_man28@yahoo.co.th
ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/Article.do?contentId=219545
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 มี.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
“อ้อย” จุฑามาศ สุธนวัฒนาเจริญ ผู้เชี่ยวชาญภาษามือ สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย ว่ากันว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมามีศักดิ์และศรีเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเขาและเธอคนนั้นจะอยู่ในสถานภาพไหน ยากดีมีจนอย่างไร กฎหมายย่อมให้ความคุ้มครองทุกคนอย่างเสมอภาค โดยเฉพาะผู้พิการด้วยแล้วต้องถือว่ากลุ่มคนเหล่านี้ยังขาดโอกาสในการเข้าถึง สิทธิขั้นพื้นฐานในสังคม สิทธิข้อหนึ่งที่มีการพูดถึงมาก คือการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของผู้พิการทางการได้ยิน อาชีพล่ามภาษามือจึงเป็นการตอบโจทย์เพื่อช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ให้ได้รับรู้ ข้อมูลข่าวสาร การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันรวมถึงการเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ “อ้อย” จุฑามาศ สุธนวัฒนาเจริญ ผู้เชี่ยวชาญภาษามือ สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย เป็นผู้หนึ่งที่คลุกคลีอยู่ในแวดวงคนหูหนวก เพราะได้ทุ่มเทเกือบทั้งชีวิตให้กับอาชีพนี้ “อ้อย” จึงเข้าใจความรู้สึกของคนที่มีข้อจำกัดในการสื่อสารดีว่าจะรู้สึกเช่นไร งานของ “อ้อย” เป็นเสมือนโซ่ข้อกลางที่เชื่อมโลกเงียบเข้ากับโลกข่าวสาร ไม่ว่าจะเป็นด้านการแพทย์ การประกอบอาชีพ การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม รวมถึงการแปลข่าวสารในรายการโทรทัศน์ด้วย ล่ามภาษามือมีหน้าที่หลัก ๆ ในการแปลภาษาพูด จากเสียงที่คนปกติได้ยิน ให้เป็นภาษามือ และแปลภาษามือจากคนหูหนวกเป็นภาษาพูด ให้คนสองกลุ่มเกิดการติดต่อสื่อสารกันได้ จริง ๆ อ้อยไม่ได้เรียนภาษามือมาโดยตรง แต่อาศัยเรียนรู้การใช้ภาษามือและวิธีสื่อสารกับคนหูหนวกเป็นประจำ พยายามเขียนสื่อสาร จดจำและฝึกศัพท์ภาษามือง่าย ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถสื่อสารได้แล้วค่อย ๆ พัฒนาภาษามือจนกลายมาเป็นล่ามภาษามือได้ในที่สุด ที่เราทำงานมาถึงวันนี้ก็เพราะอยากช่วยเหลือ คิดว่าหากความรู้ความสามารถที่เรามีจะพอเป็นประโยชน์และช่วยให้คนหูหนวกได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านต่าง ๆ ให้ดีขึ้นได้ มองว่าการทำงานที่มีส่วนช่วยพัฒนาคนให้มีโอกาส มีชีวิตที่ดีเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจ งานที่เข้ามาแต่ละวันมีความหลากหลายและยากง่ายต่างกันขึ้นอยู่กับเนื้อหา และสถานการณ์ที่ทำการแปลแต่ละครั้ง ล่ามที่ดีจึงต้องพยายามเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอเพื่อการพัฒนาตัวเอง การเป็นล่ามต้องทำงานกับภาษา และภาษามีการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดขึ้นใหม่ได้เสมอ จึงต้องหมั่นเรียนรู้และทำความเข้าใจภาษามือใหม่ ๆ เพื่อให้การแปลของเรามีคุณภาพมากขึ้น ก่อนจะจบการสนทนาขอฝากว่าอาชีพล่ามภาษามือเป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีคุณค่าเช่นเดียวกับอาชีพอื่น ๆ เรามีภาษามือเป็นสื่อในการให้ และการให้ที่สำคัญคือการให้ความรู้ (ข้อมูลข่าวสาร) ให้โอกาส ให้ความเสมอภาค ล่ามเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนหูหนวกให้สามารถดำรงชีวิตในสังคม ได้อย่างมีความสุขและเท่าเทียมกัน. ‘จ๊อบแมน’ job_man28@yahoo.co.th ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/Article.do?contentId=219545 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 มี.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)