'อัญชลี อินอ่อน'คิดสื่อ'อักษรเบรลล์' สร้างการเรียนรู้ผู้พิการสายตา
โดย...หทัยรัตน์ ดีประเสริฐ "เพิ่งมาสอนที่นี่ได้ 3 ปี ก่อนหน้านี้สอนสังคมอยู่ที่ ร.ร.เซนต์โยเซฟเพชรบุรี มีโอกาสมาเยี่ยมนักเรียนผู้พิการทางสายตาที่ ร.ร.ธรรมิกวิทยา ทำให้รับรู้ว่าเด็กเหล่านี้อยู่ในโลกมืดที่มองไม่เห็น ต้องการความช่วยเหลือ อยากรู้อยากเห็น ช่างซักถาม สนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว ถ้าหากช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ได้ จะทำให้สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในสังคม จึงกลับไปลาออกจากโรงเรียนเก่าและใช้เวลาที่เหลืออีก 9 ปีกว่าจะเกษียณสอนเด็กพิการสายตาเหล่านี้" ครูอัญชลี อินอ่อน ผู้ได้รับ "ทุนครูสอนดี" จาก โรงเรียนธรรมิกวิทยา อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี กล่าว
แรกๆ ก็ขลุกขลัก เพราะไม่ได้จบด้านการศึกษาพิเศษมาโดยตรง แต่พยายามเรียนรู้ "อักษรเบรลล์" ไปพร้อมกับเด็กๆ เพราะคือเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยเปิดโอกาสการเรียนรู้ให้แก่ผู้พิการทางสายตา ให้มีโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพและความรู้ได้ทัดเทียมเทียบเท่ากับคนปกติ ซึ่งปัจจุบันใช้ Slate (สเลท) หรือ บรรทัดเขียนอักษรเบรลล์ อาจไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กๆ หรือเด็กบางคนที่มีความพิการอื่นๆ ร่วมด้วยจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะถ้ากล้ามเนื้อมือไม่ดี ก็จะใช้เวลานานมากที่จะจับความรู้สึกได้สักหนึ่งจุด ซึ่งแต่ละจุดก็มีขนาดที่เล็กมาก กว่าจะเรียนรู้ได้ครบทั้ง 6 จุดที่จะสื่อความหมายถึงตัวอักษรและตัวเลขทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษเป็นไป ได้อย่างล่าช้า
ครูอัญชลี ได้พยายามเรียนรู้และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ นำดินน้ำมันมาปั้นเป็นจุดต่างๆ เพื่อแทนที่คำศัพท์ หรือตัวอักษร รวมทั้ง การนำลูกแก้วมาวางลงไปในหลุมดินน้ำมันในตำแหน่งต่างๆ แต่ก็ยังเป็นเรื่องยากที่ครูผู้สอนจะสามารถตรวจทานความถูกต้องของตำแหน่งจุด หรือลูกแก้วให้ตรงกับตัวอักษรที่บอกให้เด็กๆ ฝึกทักษะการจดจำตำแหน่งต่างๆ ตามหลักของอักษรเบรลล์ ด้วยความเชื่อมั่นว่า "คนตาบอดคือคนปกติที่มองไม่เห็น แต่ประสาทสัมผัสส่วนอื่นยังใช้ได้ดี หากได้รับการศึกษาและสามารถพัฒนาตนเองให้ถึงศักยภาพสูงสุด พวกเขาจะเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณภาพได้
กระทั่งได้รับทุนจากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ภายใต้โครงการ "สังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ ยกย่องเชิดชู ครูสอนดี" ครูอัญชลี จึงจัดทำ "โครงการส่งเสริมการผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้อักษรเบรลล์ภาษาไทย-อังกฤษ" คิดค้น ออกแบบ และพัฒนาสื่อการเรียนรู้อักษรเบรลล์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กที่บกพร่องทางการมองเห็น ที่สามารถนำไปใช้ช่วยการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับเด็กทั้ง 2 กลุ่มได้เป็นอย่างดี ประกอบไปด้วย แผ่นไม้อักษรเบรลล์, เครื่องอ่านและเครื่องเขียนอักษรเบรลล์อิเล็กทรอนิกส์ ชุดฝึกไทย-อังกฤษเบรลล์ด้วยกระดานพูดได้
"เครื่องมือที่ได้จัดทำขึ้นทั้ง 3 แบบ จะช่วยฝึกในเรื่องพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็กให้แก่เด็กๆ ช่วยให้การเรียนรู้อักษรเบรลล์สำหรับเด็กๆ เป็นไปได้โดยง่ายมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากมีขนาดที่ใหญ่และเหมาะสมกับกล้ามเนื้อมือของเด็ก และตัวครูเองยังสามารถตรวจสอบความถูกต้องของตำแหน่งจุดที่แทนตัวอักษรหรือ ตัวเลขได้อย่างง่ายดาย เพราะมีเสียงประกอบ และเด็กๆ ก็สนุกที่จะเรียนรู้ผ่านเครื่องมือเหล่านี้ ซึ่งเหมือนเป็นของเล่น มีปุ่มให้กด มีเสียงให้ฟัง ซึ่งน่าสนใจมากกว่าการเรียนผ่านบรรทัดเขียนอักษรเบรลล์" ครูอัญชลีระบุ
นอกจากนี้ยังร่วมกับเพื่อนครูในโรงเรียนพัฒนาสื่อการสอนที่เรียก "สื่อสัมผัส" ชุดต่างๆ ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม ทั้งคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ลักษณะคำนาม เครื่องดนตรี ฯลฯ และถ่ายทอดความรู้ในการผลิตสื่อสัมผัสไปสู่คณะครูทุกคน โดยประยุกต์จากวัสดุที่มีและเหลือใช้ในโรงเรียน และจัดทำ "หนังสืออ่านเสริม" อีกกว่า 30 เล่ม ที่นำหนังสือที่มีเรื่องราวน่าสนใจในปัจจุบันและมีความสัมพันธ์กับบทเรียน ต่างๆ ในห้องเรียน มาเจาะตัวอักษรเบรลล์ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้เพิ่มเติม โดยเฉพาะเรื่องราวที่เด็กๆ สนใจ และมีความเชื่อมโยงหรือสัมพันธ์กับบทเรียนต่างๆ ในแต่ละวิชาที่สอน ก็จะช่วยกระตุ้นให้เด็กๆ เกิดความสนใจใฝ่เรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
เวลาที่เหลือ "ครูอัญชลี" บอกว่าจะพยายามทำทุกอย่างที่ทำให้เด็กๆ พิการสายตาเรียนได้ดีกว่าเดิม เก่งกว่าเดิม เข้าใจกว่าเดิม แม้ว่าจะเหนื่อยเพิ่มขึ้น ถ้าหากเรียนรู้อักษรเบรลล์ได้ดี จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระวิชา ก็มีความเป็นไปได้สูงที่เขาจะเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น พึ่งพาตนเองได้ในอนาคต สนใจบริจาคแผ่นใส หรือ Slate (สเลท) และเครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ สอบถามได้ที่ โรงเรียนธรรมิกวิทยา 032-561-603 หรือ ครูอัญชลี 08-1450-0072 หรือ unchalee_inon@hotmail.com
ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20140225/179656.html#.Uw_9o84yPlA (ขนาดไฟล์: 167)
ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.พ.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เด็กนักเรียนตาบอด ใช้สื่อ\'อักษรเบรลล์\'ในการเรียนรู้ โดย...หทัยรัตน์ ดีประเสริฐ "เพิ่งมาสอนที่นี่ได้ 3 ปี ก่อนหน้านี้สอนสังคมอยู่ที่ ร.ร.เซนต์โยเซฟเพชรบุรี มีโอกาสมาเยี่ยมนักเรียนผู้พิการทางสายตาที่ ร.ร.ธรรมิกวิทยา ทำให้รับรู้ว่าเด็กเหล่านี้อยู่ในโลกมืดที่มองไม่เห็น ต้องการความช่วยเหลือ อยากรู้อยากเห็น ช่างซักถาม สนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว ถ้าหากช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ได้ จะทำให้สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในสังคม จึงกลับไปลาออกจากโรงเรียนเก่าและใช้เวลาที่เหลืออีก 9 ปีกว่าจะเกษียณสอนเด็กพิการสายตาเหล่านี้" ครูอัญชลี อินอ่อน ผู้ได้รับ "ทุนครูสอนดี" จาก โรงเรียนธรรมิกวิทยา อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี กล่าว แรกๆ ก็ขลุกขลัก เพราะไม่ได้จบด้านการศึกษาพิเศษมาโดยตรง แต่พยายามเรียนรู้ "อักษรเบรลล์" ไปพร้อมกับเด็กๆ เพราะคือเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยเปิดโอกาสการเรียนรู้ให้แก่ผู้พิการทางสายตา ให้มีโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพและความรู้ได้ทัดเทียมเทียบเท่ากับคนปกติ ซึ่งปัจจุบันใช้ Slate (สเลท) หรือ บรรทัดเขียนอักษรเบรลล์ อาจไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กๆ หรือเด็กบางคนที่มีความพิการอื่นๆ ร่วมด้วยจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะถ้ากล้ามเนื้อมือไม่ดี ก็จะใช้เวลานานมากที่จะจับความรู้สึกได้สักหนึ่งจุด ซึ่งแต่ละจุดก็มีขนาดที่เล็กมาก กว่าจะเรียนรู้ได้ครบทั้ง 6 จุดที่จะสื่อความหมายถึงตัวอักษรและตัวเลขทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษเป็นไป ได้อย่างล่าช้า ครูอัญชลี ได้พยายามเรียนรู้และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ นำดินน้ำมันมาปั้นเป็นจุดต่างๆ เพื่อแทนที่คำศัพท์ หรือตัวอักษร รวมทั้ง การนำลูกแก้วมาวางลงไปในหลุมดินน้ำมันในตำแหน่งต่างๆ แต่ก็ยังเป็นเรื่องยากที่ครูผู้สอนจะสามารถตรวจทานความถูกต้องของตำแหน่งจุด หรือลูกแก้วให้ตรงกับตัวอักษรที่บอกให้เด็กๆ ฝึกทักษะการจดจำตำแหน่งต่างๆ ตามหลักของอักษรเบรลล์ ด้วยความเชื่อมั่นว่า "คนตาบอดคือคนปกติที่มองไม่เห็น แต่ประสาทสัมผัสส่วนอื่นยังใช้ได้ดี หากได้รับการศึกษาและสามารถพัฒนาตนเองให้ถึงศักยภาพสูงสุด พวกเขาจะเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณภาพได้ กระทั่งได้รับทุนจากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ภายใต้โครงการ "สังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ ยกย่องเชิดชู ครูสอนดี" ครูอัญชลี จึงจัดทำ "โครงการส่งเสริมการผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้อักษรเบรลล์ภาษาไทย-อังกฤษ" คิดค้น ออกแบบ และพัฒนาสื่อการเรียนรู้อักษรเบรลล์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กที่บกพร่องทางการมองเห็น ที่สามารถนำไปใช้ช่วยการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับเด็กทั้ง 2 กลุ่มได้เป็นอย่างดี ประกอบไปด้วย แผ่นไม้อักษรเบรลล์, เครื่องอ่านและเครื่องเขียนอักษรเบรลล์อิเล็กทรอนิกส์ ชุดฝึกไทย-อังกฤษเบรลล์ด้วยกระดานพูดได้ "เครื่องมือที่ได้จัดทำขึ้นทั้ง 3 แบบ จะช่วยฝึกในเรื่องพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็กให้แก่เด็กๆ ช่วยให้การเรียนรู้อักษรเบรลล์สำหรับเด็กๆ เป็นไปได้โดยง่ายมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากมีขนาดที่ใหญ่และเหมาะสมกับกล้ามเนื้อมือของเด็ก และตัวครูเองยังสามารถตรวจสอบความถูกต้องของตำแหน่งจุดที่แทนตัวอักษรหรือ ตัวเลขได้อย่างง่ายดาย เพราะมีเสียงประกอบ และเด็กๆ ก็สนุกที่จะเรียนรู้ผ่านเครื่องมือเหล่านี้ ซึ่งเหมือนเป็นของเล่น มีปุ่มให้กด มีเสียงให้ฟัง ซึ่งน่าสนใจมากกว่าการเรียนผ่านบรรทัดเขียนอักษรเบรลล์" ครูอัญชลีระบุ นอกจากนี้ยังร่วมกับเพื่อนครูในโรงเรียนพัฒนาสื่อการสอนที่เรียก "สื่อสัมผัส" ชุดต่างๆ ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม ทั้งคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ลักษณะคำนาม เครื่องดนตรี ฯลฯ และถ่ายทอดความรู้ในการผลิตสื่อสัมผัสไปสู่คณะครูทุกคน โดยประยุกต์จากวัสดุที่มีและเหลือใช้ในโรงเรียน และจัดทำ "หนังสืออ่านเสริม" อีกกว่า 30 เล่ม ที่นำหนังสือที่มีเรื่องราวน่าสนใจในปัจจุบันและมีความสัมพันธ์กับบทเรียน ต่างๆ ในห้องเรียน มาเจาะตัวอักษรเบรลล์ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้เพิ่มเติม โดยเฉพาะเรื่องราวที่เด็กๆ สนใจ และมีความเชื่อมโยงหรือสัมพันธ์กับบทเรียนต่างๆ ในแต่ละวิชาที่สอน ก็จะช่วยกระตุ้นให้เด็กๆ เกิดความสนใจใฝ่เรียนรู้เพิ่มมากขึ้น เวลาที่เหลือ "ครูอัญชลี" บอกว่าจะพยายามทำทุกอย่างที่ทำให้เด็กๆ พิการสายตาเรียนได้ดีกว่าเดิม เก่งกว่าเดิม เข้าใจกว่าเดิม แม้ว่าจะเหนื่อยเพิ่มขึ้น ถ้าหากเรียนรู้อักษรเบรลล์ได้ดี จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระวิชา ก็มีความเป็นไปได้สูงที่เขาจะเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น พึ่งพาตนเองได้ในอนาคต สนใจบริจาคแผ่นใส หรือ Slate (สเลท) และเครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ สอบถามได้ที่ โรงเรียนธรรมิกวิทยา 032-561-603 หรือ ครูอัญชลี 08-1450-0072 หรือ unchalee_inon@hotmail.com ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20140225/179656.html#.Uw_9o84yPlA ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.พ.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)