นายกสมาคมแม่บ้านทบ.มอบรถเข็นคนพิการ
เมื่อวันที่ 14 ก.ค. นางวิภาดา สีตบุตร นายกสมาคมแม่บ้านทหารบก เป็นประธานพิธีมอบรถเข็นคนพิการโรงเรียนเครือข่ายการศึกษาไร้พรมแดน ที่หอประชุมโรงเรียนปทุมธานี "นนทมุนีบำรุง" โดยมีนายกเหล่ากาชาดจังหวัดปทุมธานี, รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 4, พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดปทุมธานี, ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา, นายกสมาคมศิษย์เก่า, ประธานมูลนิธิพัฒนาศักยภาพคนพิการ, นายกเทศมนตรีตำบลบางหลวง, ผู้อำนวยการสถานศึกษา, หัวหน้าส่วนราชการ, นักเรียนอาสาสมัคร คนพิการที่มารับรถเข็น เข้าร่วมพิธี
นางวิภาดา กล่าวว่า โครงการความช่วยเหลือด้านรถเข็นสำหรับคนพิการ ภายใต้เครือข่ายการศึกษาไร้พรมแดนไทย-ญี่ปุ่น เป็นโครงการที่สร้างความสัมพันธ์ ความผูกพัน ระหว่างเด็ก เยาวชน คนพิการ โดยอาศัยเครือข่ายการศึกษา ซึ่งทุกฝ่ายกำลังร่วมกันปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมอย่างสอดรับกันเป็นที่น่าพอใจ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า กิจกรรมของเครือข่ายการศึกษาไร้พรมแดนไทย-ญี่ปุ่น นี้จะได้ก่อรากฐานที่มั่นคงและขยายผลที่กว้างขวางออกไปและขอให้คนพิการและครอบครัวที่รับรถเข็นจากโครงการนี้ได้นำรถเข็นไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ทั้งนี้ โครงการช่วยเหลือคนพิการ ภายใต้เครือข่ายการศึกษาไร้พรมแดนไทย-ญี่ปุ่น เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2535 ในประเทศญี่ปุ่น โดยองค์กรสวัสดิการสังคม หนังสือพิมพ์อาซาฮี เป็นแกนนำขอรับบริจาครถเข็นคนพิการที่มีอยู่จำนวนมากในญี่ปุ่นโดยนำมาซ่อมจนใช้ได้และแจกให้กับคนพิการ ต่อมาขยายผลไปยังประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเริ่มที่ประเทศไทยปี 2539 และส่งให้ประเทศเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และ บังคลาเทศ การดำเนินงานประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ในส่วนของเด็ก นักเรียนเยาวชนของประเทศญี่ปุ่น มีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการกว่า 20 โรงเรียนได้ร่วมกันจัดตั้งเป็นเครือข่ายเรียกว่า "เครือข่ายการศึกษาไร้พรมแดน" ขึ้น ขยายผลกิจกรรมช่วยเหลือคนพิการ
ต่อมาในปี 2543 องค์การสวัสดิการสังคม หนังสือพิมพ์อาซาฮี ประสานงานกับสมาคมพิการนนทบุรี ผู้บริหารโรงเรียนปทุมธานี "นันทมุนีบำรุง" โดยได้ส่งรถเข็นคนพิการจำนวน 143 คันมายังประเทศไทย ส่วนหนึ่งได้รับการซ่อมแซมมาบ้างแล้วจากนักเรียนญี่ปุ่น อีกส่วนหนึ่งได้มอบหมายให้นักเรียนอาสาสมัครของโรงเรียนปทุมธานี "นันทมุนีบำรุง" ซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและมอบให้คนพิการไทย นอกจากนี้ยังได้ฝึกทักษะการช่วยเหลือและศึกษาอุปสรรคต่างๆที่มีผลต่อคนพิการในการใช้รถเข็น และในปี 2544 ได้ขยายโครงการไปยังประเทศลาว โดยนำรถเข็นที่ยังไม่ได้ซ่อมไปส่งยังประเทศลาว และ ได้เป็นวิทยากรจัดอบรมการซ่อมรถเข็นคนพิการให้กับครูและนักเรียนประเทศลาว เป็นประจำทุกปีอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
จากนั้นในปี 2547 ได้ขยายเครือข่ายไปยังโรงเรียนมัธยมศึกษาอีก 3 โรงเรียนเข้าร่วมโครงการ คือ โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี โรงเรียนสุนทโรเมตตาประชาสรรค์ โรงเรียนนนทบุรีพิทยาคม โดยร่วมกิจกรรมเป็นประจำทุกปี ต่อมาได้ขยายเครือข่ายเพิ่มอีก 3 โรงเรียน ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี โรงเรียนทหารอากาศอนุสรณ์ จังหวัดนครสวรรค์ และวิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี สำหรับปีนี้ ประเทศญี่ปุ่นได้ส่งรถเข็นจำนวน 104 คัน มายังประเทศไทย นักเรียนอาสาสมัครในโครงการได้เข้ารับการอบรมซ่อมรถเข็นคนพิการเมื่อวันที่ 19-20 มิถุนายน ที่ผ่านมา และได้ส่งมอบให้คนพิการนำไปใช้งานต่อไป เบื้องต้นจำนวน 40 คัน นอกจากนี้ภายในงานสมาคมแม่บ้านทหารบกได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ จาก กองพันเสนารักษ์ ที่ 13 กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก เปิดให้บริการรักษาประชาชน และบริการอาหารกลางวันให้กับผู้เข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/334781 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เมื่อวันที่ 14 ก.ค. นางวิภาดา สีตบุตร นายกสมาคมแม่บ้านทหารบก เป็นประธานพิธีมอบรถเข็นคนพิการโรงเรียนเครือข่ายการศึกษาไร้พรมแดน ที่หอประชุมโรงเรียนปทุมธานี "นนทมุนีบำรุง" โดยมีนายกเหล่ากาชาดจังหวัดปทุมธานี, รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 4, พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดปทุมธานี, ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา, นายกสมาคมศิษย์เก่า, ประธานมูลนิธิพัฒนาศักยภาพคนพิการ, นายกเทศมนตรีตำบลบางหลวง, ผู้อำนวยการสถานศึกษา, หัวหน้าส่วนราชการ, นักเรียนอาสาสมัคร คนพิการที่มารับรถเข็น เข้าร่วมพิธี พิธีมอบรถเข็นคนพิการโรงเรียนเครือข่ายการศึกษาไร้พรมแดน นางวิภาดา กล่าวว่า โครงการความช่วยเหลือด้านรถเข็นสำหรับคนพิการ ภายใต้เครือข่ายการศึกษาไร้พรมแดนไทย-ญี่ปุ่น เป็นโครงการที่สร้างความสัมพันธ์ ความผูกพัน ระหว่างเด็ก เยาวชน คนพิการ โดยอาศัยเครือข่ายการศึกษา ซึ่งทุกฝ่ายกำลังร่วมกันปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมอย่างสอดรับกันเป็นที่น่าพอใจ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า กิจกรรมของเครือข่ายการศึกษาไร้พรมแดนไทย-ญี่ปุ่น นี้จะได้ก่อรากฐานที่มั่นคงและขยายผลที่กว้างขวางออกไปและขอให้คนพิการและครอบครัวที่รับรถเข็นจากโครงการนี้ได้นำรถเข็นไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ โครงการช่วยเหลือคนพิการ ภายใต้เครือข่ายการศึกษาไร้พรมแดนไทย-ญี่ปุ่น เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2535 ในประเทศญี่ปุ่น โดยองค์กรสวัสดิการสังคม หนังสือพิมพ์อาซาฮี เป็นแกนนำขอรับบริจาครถเข็นคนพิการที่มีอยู่จำนวนมากในญี่ปุ่นโดยนำมาซ่อมจนใช้ได้และแจกให้กับคนพิการ ต่อมาขยายผลไปยังประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเริ่มที่ประเทศไทยปี 2539 และส่งให้ประเทศเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และ บังคลาเทศ การดำเนินงานประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ในส่วนของเด็ก นักเรียนเยาวชนของประเทศญี่ปุ่น มีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการกว่า 20 โรงเรียนได้ร่วมกันจัดตั้งเป็นเครือข่ายเรียกว่า "เครือข่ายการศึกษาไร้พรมแดน" ขึ้น ขยายผลกิจกรรมช่วยเหลือคนพิการ ต่อมาในปี 2543 องค์การสวัสดิการสังคม หนังสือพิมพ์อาซาฮี ประสานงานกับสมาคมพิการนนทบุรี ผู้บริหารโรงเรียนปทุมธานี "นันทมุนีบำรุง" โดยได้ส่งรถเข็นคนพิการจำนวน 143 คันมายังประเทศไทย ส่วนหนึ่งได้รับการซ่อมแซมมาบ้างแล้วจากนักเรียนญี่ปุ่น อีกส่วนหนึ่งได้มอบหมายให้นักเรียนอาสาสมัครของโรงเรียนปทุมธานี "นันทมุนีบำรุง" ซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและมอบให้คนพิการไทย นอกจากนี้ยังได้ฝึกทักษะการช่วยเหลือและศึกษาอุปสรรคต่างๆที่มีผลต่อคนพิการในการใช้รถเข็น และในปี 2544 ได้ขยายโครงการไปยังประเทศลาว โดยนำรถเข็นที่ยังไม่ได้ซ่อมไปส่งยังประเทศลาว และ ได้เป็นวิทยากรจัดอบรมการซ่อมรถเข็นคนพิการให้กับครูและนักเรียนประเทศลาว เป็นประจำทุกปีอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน คนพิการนั่งรถเข็นเข้าร่วมพิธีมอบรถเข็นคนพิการโรงเรียนเครือข่ายการศึกษาไร้พรมแดน จากนั้นในปี 2547 ได้ขยายเครือข่ายไปยังโรงเรียนมัธยมศึกษาอีก 3 โรงเรียนเข้าร่วมโครงการ คือ โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี โรงเรียนสุนทโรเมตตาประชาสรรค์ โรงเรียนนนทบุรีพิทยาคม โดยร่วมกิจกรรมเป็นประจำทุกปี ต่อมาได้ขยายเครือข่ายเพิ่มอีก 3 โรงเรียน ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี โรงเรียนทหารอากาศอนุสรณ์ จังหวัดนครสวรรค์ และวิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี สำหรับปีนี้ ประเทศญี่ปุ่นได้ส่งรถเข็นจำนวน 104 คัน มายังประเทศไทย นักเรียนอาสาสมัครในโครงการได้เข้ารับการอบรมซ่อมรถเข็นคนพิการเมื่อวันที่ 19-20 มิถุนายน ที่ผ่านมา และได้ส่งมอบให้คนพิการนำไปใช้งานต่อไป เบื้องต้นจำนวน 40 คัน นอกจากนี้ภายในงานสมาคมแม่บ้านทหารบกได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ จาก กองพันเสนารักษ์ ที่ 13 กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก เปิดให้บริการรักษาประชาชน และบริการอาหารกลางวันให้กับผู้เข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/334781
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)