มูลนิธิขาเทียมฯ ปั้น “คนพิการขาขาดเป็นช่างทำขาเทียม”

แสดงความคิดเห็น

มูลนิธิขาเทียมฯ ตั้งโรงงานทำขาเทียมร่วมกับโรงพยาบาลชุมชน และคัดเลือกคนพิการขาขาดจากชุมชนเข้าอบรมเป็นช่างทำขาเทียม ส่งไปทำงานในโรงพยาบาลชุมชนปัจจุบันมี 37 แห่ง ตั้งเป้าขยายให้ครอบคลุม จังหวัดละ 1 แห่ง รองรับคนพิการขาขาดที่พบมากกว่า 3,500 ขาต่อปี เพื่อให้คนพิการที่อยู่ตามชนบทได้รับขาเทียมอย่างรวดเร็วรวมทั้งทดแทนขาเทียมที่ชำรุดสามารถช่วยเหลือตนเองและประกอบอาชีพได้

ช่างทำขาเทียม

วันที่(20 กรกฎาคม 2558) ที่ สถาบันบำราศนราดูร จ.นนทบุรี ฯพณฯ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ประธานกรรมการมูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พล.ท.นพ.ธำรงรัตน์ แก้วกาญจน์ รองประธานกรรมการมูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พร้อมด้วยนายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ กรรมการและเลขาธิการ นายแพทย์อำนวย กาจีนะ รักษาราชการปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชุมชี้แจงนโยบายและการดำเนินงานของมูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประจำปี 2558 แก่ผู้บริหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในเครือข่ายจำนวน 130 คน เพื่อพัฒนาระบบบริการการจัดทำขาเทียมแก่คนพิการขาขาดได้ทั่วถึงรวดเร็ว

ข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขแต่ละปีมีผู้ป่วยถูกตัดขาตั้งแต่ ระดับนิ้วเท้าจนถึงสะโพกรายใหม่มากกว่า 12,000 ราย ในจำนวนนี้ต้องใส่ขาเทียม 3,500 ราย มากสุดคือผู้ป่วยเบาหวาน ที่ตัดขา ขาขาดจากอุบัติเหตุ โรคเส้นเลือดตีบ รวมทั้งขาเทียมที่ชำรุด ต้องเปลี่ยนใหม่ทุก 2 ปี คนพิการขาขาดส่วนใหญ่ของไทยอยู่ในชนบท ห่างไกลในขณะที่โรงงานทำขาเทียมส่วนใหญ่อยู่ในตัวจังหวัด ในปี 2551 มูลนิธิฯ ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ตั้งโรงงานทำขาเทียมในโรงพยาบาลชุมชน โดยคัดเลือกคนพิการขาขาดที่ร่างกายแข็งแรงจากชุมชน แห่งละ 2-3 คน เข้าฝึกอบรมที่มูลนิธิฯ เพื่อให้เป็นช่างทำขาเทียม และกลับไปทำงานในโรงพยาบาลชุมชน ปัจจุบันมี 37 แห่ง โดยมูลนิธิฯ สนับสนุนเครื่องมือ และอุปกรณ์ให้โดยไม่คิดมูลค่าผลดำเนินการที่ผ่านมาได้ผลดี ในปีนี้จึงตั้งเป้าขยายดำเนินการในโรงพยาบาลชุมชนเพิ่มขึ้นครอบคลุมจังหวัดละ 1 แห่ง เพื่อให้คนพิการที่อยู่ตามชนบทได้รับขาเทียมอย่างรวดเร็วทั่วถึงช่วยเหลือตนเองและประกอบอาชีพได้

มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จัดตั้งขึ้นเพื่อทำขาเทียมให้แก่คนพิการขาขาดยากจน ทุกเชื้อชาติศาสนา โดยไม่คิดมูลค่า ผลิตชิ้นส่วนขาเทียม จัดทำอุปกรณ์เพิ่มเพื่อให้ผู้ใส่ขาเทียมแล้วมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถประกอบอาชีพได้ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2535 โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นประธาน ปัจจุบันสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงดำรงตำแหน่งองค์นายกกิตติมศักดิ์

ผลการดำเนินงานรอบ 22 ปี ให้บริการร่วมกับโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นและเอกชน ทำขาเทียมให้คนพิการชาวไทยและต่างชาติที่ยากจนมากกว่า 27,000 คน รวม 36,000 ขา ศึกษาวิจัยและพัฒนาคุณภาพของขาเทียมอย่างต่อเนื่อง ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ ช่างทำขาเทียม นักกายภาพบำบัด เพื่อไปปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอื่นๆ กว่า 53 แห่งทั่วประเทศ อบรมแพทย์และช่างทำ ขาเทียมชาวต่างประเทศ ที่มูลนิธิฯไปตั้งโรงงานอยู่ เช่น เมียนมาร์ มาเลเชีย และบังคลาเทศ ร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานพัฒนาหลักสูตรช่างเครื่องช่วยคนพิการให้ได้มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ และร่วมผลิตช่างเทคนิคกายอุปกรณ์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่

ขอบคุณ... http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=286578:2015-07-20-07-55-09&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524#.Va2wbaTtmko

ที่มา: ฐานเศรษฐกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.ค.58
วันที่โพสต์: 21/07/2558 เวลา 10:58:30 ดูภาพสไลด์โชว์ มูลนิธิขาเทียมฯ ปั้น “คนพิการขาขาดเป็นช่างทำขาเทียม”

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

มูลนิธิขาเทียมฯ ตั้งโรงงานทำขาเทียมร่วมกับโรงพยาบาลชุมชน และคัดเลือกคนพิการขาขาดจากชุมชนเข้าอบรมเป็นช่างทำขาเทียม ส่งไปทำงานในโรงพยาบาลชุมชนปัจจุบันมี 37 แห่ง ตั้งเป้าขยายให้ครอบคลุม จังหวัดละ 1 แห่ง รองรับคนพิการขาขาดที่พบมากกว่า 3,500 ขาต่อปี เพื่อให้คนพิการที่อยู่ตามชนบทได้รับขาเทียมอย่างรวดเร็วรวมทั้งทดแทนขาเทียมที่ชำรุดสามารถช่วยเหลือตนเองและประกอบอาชีพได้ ช่างทำขาเทียม วันที่(20 กรกฎาคม 2558) ที่ สถาบันบำราศนราดูร จ.นนทบุรี ฯพณฯ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ประธานกรรมการมูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พล.ท.นพ.ธำรงรัตน์ แก้วกาญจน์ รองประธานกรรมการมูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พร้อมด้วยนายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ กรรมการและเลขาธิการ นายแพทย์อำนวย กาจีนะ รักษาราชการปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชุมชี้แจงนโยบายและการดำเนินงานของมูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประจำปี 2558 แก่ผู้บริหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในเครือข่ายจำนวน 130 คน เพื่อพัฒนาระบบบริการการจัดทำขาเทียมแก่คนพิการขาขาดได้ทั่วถึงรวดเร็ว ข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขแต่ละปีมีผู้ป่วยถูกตัดขาตั้งแต่ ระดับนิ้วเท้าจนถึงสะโพกรายใหม่มากกว่า 12,000 ราย ในจำนวนนี้ต้องใส่ขาเทียม 3,500 ราย มากสุดคือผู้ป่วยเบาหวาน ที่ตัดขา ขาขาดจากอุบัติเหตุ โรคเส้นเลือดตีบ รวมทั้งขาเทียมที่ชำรุด ต้องเปลี่ยนใหม่ทุก 2 ปี คนพิการขาขาดส่วนใหญ่ของไทยอยู่ในชนบท ห่างไกลในขณะที่โรงงานทำขาเทียมส่วนใหญ่อยู่ในตัวจังหวัด ในปี 2551 มูลนิธิฯ ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ตั้งโรงงานทำขาเทียมในโรงพยาบาลชุมชน โดยคัดเลือกคนพิการขาขาดที่ร่างกายแข็งแรงจากชุมชน แห่งละ 2-3 คน เข้าฝึกอบรมที่มูลนิธิฯ เพื่อให้เป็นช่างทำขาเทียม และกลับไปทำงานในโรงพยาบาลชุมชน ปัจจุบันมี 37 แห่ง โดยมูลนิธิฯ สนับสนุนเครื่องมือ และอุปกรณ์ให้โดยไม่คิดมูลค่าผลดำเนินการที่ผ่านมาได้ผลดี ในปีนี้จึงตั้งเป้าขยายดำเนินการในโรงพยาบาลชุมชนเพิ่มขึ้นครอบคลุมจังหวัดละ 1 แห่ง เพื่อให้คนพิการที่อยู่ตามชนบทได้รับขาเทียมอย่างรวดเร็วทั่วถึงช่วยเหลือตนเองและประกอบอาชีพได้ มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จัดตั้งขึ้นเพื่อทำขาเทียมให้แก่คนพิการขาขาดยากจน ทุกเชื้อชาติศาสนา โดยไม่คิดมูลค่า ผลิตชิ้นส่วนขาเทียม จัดทำอุปกรณ์เพิ่มเพื่อให้ผู้ใส่ขาเทียมแล้วมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถประกอบอาชีพได้ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2535 โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นประธาน ปัจจุบันสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงดำรงตำแหน่งองค์นายกกิตติมศักดิ์ ผลการดำเนินงานรอบ 22 ปี ให้บริการร่วมกับโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นและเอกชน ทำขาเทียมให้คนพิการชาวไทยและต่างชาติที่ยากจนมากกว่า 27,000 คน รวม 36,000 ขา ศึกษาวิจัยและพัฒนาคุณภาพของขาเทียมอย่างต่อเนื่อง ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ ช่างทำขาเทียม นักกายภาพบำบัด เพื่อไปปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอื่นๆ กว่า 53 แห่งทั่วประเทศ อบรมแพทย์และช่างทำ ขาเทียมชาวต่างประเทศ ที่มูลนิธิฯไปตั้งโรงงานอยู่ เช่น เมียนมาร์ มาเลเชีย และบังคลาเทศ ร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานพัฒนาหลักสูตรช่างเครื่องช่วยคนพิการให้ได้มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ และร่วมผลิตช่างเทคนิคกายอุปกรณ์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ ขอบคุณ... http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=286578:2015-07-20-07-55-09&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524#.Va2wbaTtmko

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...