เปิดโลกมืดผ่านหนังสือ 'อ่าน-เขียนอย่างไร' รูปแบบอักษรเบรลล์

แสดงความคิดเห็น

คำหลายคำแม้จะนำมาใช้กันบ่อย แต่ก็มักมีผู้อ่านผิด เขียนไม่ถูกต้องและใช้คำผิดความหมาย ที่ผ่านมาหนังสืออ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถานประมวลรวบรวมไว้ พร้อมกับให้คำตอบการอ่าน เขียนถูกต้องเพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดย ล่าสุดจัดพิมพ์ในรูปแบบอักษรเบรลล์เป็นครั้งแรก เพื่อผู้บกพร่องทางการมองเห็นได้เข้าถึง ใช้เป็นหลักการอ่าน การเขียนภาษาไทย ก้าวข้ามอุปสรรคข้อจำกัด

พจนานุกรมอักษรเบรลล์ สำหรับคนพิการทางสายตา

พงษ์ศักดิ์ ศิริวงษ์ เลขาธิการราชบัณฑิตยสภากล่าวถึงหนังสืออักษรเบรลล์ที่จัดทำขึ้นว่า การดำเนินการครั้งนี้เป็นภารกิจของเราซึ่งส่งเสริมให้ความรู้ในเรื่องของภาษา โดยโครงการเตรียมจัดทำ พจนานุกรมอักษรเบรลล์ แต่ก่อนจะดำเนินการจัดทำพจนานุกรมเบรลล์สมบูรณ์แบบ ได้จัดทำ หนังสืออักษรเบรลล์ อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (แก้ไขเพิ่มเติม) เป็นครั้งแรก

“หนังสือเล่มนี้เป็นคู่มือใช้ภาษาไทยของคนทั่วไปได้ดีเล่มหนึ่ง ที่ผ่านมาจัดพิมพ์เผยแพร่มาแล้วหลายครั้ง จากที่กล่าวนอกจากช่วยเหลือด้านภาษาให้กับคนทั่วไป ทั้งเด็กนักเรียน นิสิต นักศึกษา ฯลฯ ยังขยายการเข้าถึงไปยังผู้ที่มองไม่เห็น โดยหนังสือเล่มนี้มีความสำคัญเป็นหลักให้กับผู้อ่าน เขียนภาษาไทยถูกต้อง” การอ่านภาษาผิดไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับเด็กนักเรียน นักศึกษา ฯลฯ ในหนังสือเล่มนี้จะมีคำที่ใช้ผิดบ่อยในชีวิตประจำวันซึ่งรวบรวมไว้ อาทิ ภาพยนตร์ มักเขียนเป็น ภาพยนต์ ขโมย เขียนเป็น โขมย แก๊ง เขียนเป็น แก๊งค์ ฯลฯ ให้คำอธิบาย เสนอวิธีการอ่าน การเขียนที่ถูกต้อง การอ่านตัวเลข เครื่องหมายต่าง ๆ ฯลฯ โดยรวบรวมเป็นหนังสือเล่มเล็ก ๆ แต่ในทุกหน้าครบด้วยคุณค่า

เมื่อนำมาจัดทำเป็นหนังสือเบรลล์สำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น คนตาบอดได้เข้าถึง การจัดทำอยู่ใน โครงการรู้ รัก ภาษาไทย เป็นโครงการหลักของราชบัณฑิตในการเผยแพร่ภาษาไทยสู่สังคมและที่ผ่านมาเรามีหลายโครงการที่จัดทำขึ้น ดร.ชลธิชา สุดมุข นักวรรณศิลป์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้าโครงการฯร่วมให้ข้อมูลกล่าวเพิ่มอีกว่า ในด้านเนื้อหา สกัดสิ่งที่จำเป็น ควรรู้ อ่านเขียนอย่างไรให้ถูกต้อง ซึ่งเนื้อหาที่จัดทำเหมือนกับหนังสือเล่มสำหรับคนทั่วไปทุกประการ

“ผู้บกพร่องทางการมองเห็น โอกาสที่จะได้อ่าน เรียนรู้ในสิ่งที่เขาสนใจ บางครั้งอาจเข้าไม่ถึง ด้วยที่อ่านไม่เห็นด้วยตนเอง ต้องพึ่งพาครู คนใกล้ตัวที่สายตาดีช่วยสืบค้น อ่านให้ฟังและแม้จะมีแอพพลิเคชั่นช่วยการอ่าน การเขียนทำให้เข้าใจรับรู้ได้จากการได้ยิน แต่อย่างไรแล้วก็ไม่เท่ากับการมีอักษรเบรลล์ให้อ่านสัมผัส โครงการฯจึงดำเนินการจัดทำหนังสือเบรลล์เล่มแรกขึ้น ก่อนจัดทำพจนานุกรมอักษรเบรลล์ต่อไป”

หนังสืออักษรเบรลล์จะแบ่งออกเป็น 4 เล่ม ขยายจากหนังสือเล่มปกติ ทั้งนี้ 1 หน้าปกติจะเท่ากับ 3-4 หน้า เบรลล์ โดยรูปแบบของหนังสือ หนึ่งหน้าจะมี 25 บรรทัด บรรทัดละ 40 เซล ใช้อักษรเบรลล์ระดับ 1 เข้ารูปเล่มหนังสือแบบสันขดลวด โดยรวมทุกเล่มอยู่ในชุดเดียวกัน บรรจุกล่องที่มีขนาดพอดีกับหนังสือ นอกจากนี้ จัดทำดีวีดีไฟล์อักษรเบรลล์ หนังสืออ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (แก้ไขเพิ่มเติม)จัดส่งไปพร้อมกัน

“หนังสืออักษรเบรลล์ ที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจัดทำ เราให้ทางศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาคนตาบอด มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นผู้จัดพิมพ์ โดยหนังสือจะส่งไปยังสถานศึกษาที่มีผู้บกพร่องทางการมองเห็น ศูนย์การศึกษาพิเศษ และโรงเรียนเฉพาะความพิการ โดยคาดว่าจะผลิตแล้วเสร็จพร้อมแจกจ่ายส่งไปถึงหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศช่วงเดือนเมษายน”

พจนานุกรมอักษรเบรลล์ สำหรับคนพิการทางสายตา

จากที่ผ่านมามูลนิธิฯผลิตอักษรเบรลล์ให้กับคนตาบอดซึ่งตรงกับเราที่มีความต้องการเผยแพร่ภาษา องค์ความรู้ภาษาไทยไปสู่ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น เข้าถึงภาษาและนอกจากการพิมพ์หนังสือครั้งนี้ยังจัดทำดีวีดีไฟล์อักษรเบรลล์ซึ่งผู้พิการสามารถนำไปเปิดในคอมพิวเตอร์และจัดพิมพ์เพิ่มขึ้นได้

“ทุกหน้าหนังสือไม่ว่าจะเป็นเล่มหนังสือของคนตาดีหรือคนตาบอด เนื้อหาสาระนำเสนอเหมือนกัน โดยความสำคัญของหนังสือเล่มนี้เป็นการตั้งต้น เป็นหนังสือคู่มือทำให้อ่าน เขียน ใช้คำภาษาที่เป็นทางการถูกต้อง หนังสือเบรลล์เท่าที่ทราบหนึ่งเล่มจะมีไม่เกิน 50 หน้าซึ่งพอเหมาะกับการเข้าเล่มและเนื้อหา เมื่อขึ้นหน้าใหม่จะมีบรรทัดบอกหน้าเบรลล์ว่าเป็นหน้าที่เท่าไหร่และหน้าที่ตรงกับหนังสือจริงคือหน้าใดเพื่อจะได้เปรียบเทียบกันได้ ในด้านกระดาษที่นำมาจัดพิมพ์เป็นมาตรฐาน สามารถเปิดอ่านได้สะดวก ขณะที่การเข้าเล่มแบบสันห่วง ผู้อ่านสามารถสัมผัสได้ถึงขอบหนังสือฯลฯ ให้ความสำคัญกับทุก ๆ ด้านเพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้งาน เข้าถึงการเรียนรู้ได้ง่าย รวดเร็วและมีความถูกต้องที่สุด”

เลขาธิการราชบัณฑิตยสภากล่าวเพิ่มอีกว่า การเข้าถึงความรู้มีความสำคัญ เช่นเดียวกับหนังสือเล่มนี้ที่จะทำให้มีความเข้าใจในภาษา เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีทำให้ทุกกลุ่มสามารถนำไปใช้ และจากเทคโนโลยีอักษรเบรลล์ทำให้เพิ่มเติมความรู้ในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น

แต่อย่างไรก็ตามการจัดพิมพ์อักษรเบรลล์ยังมีอยู่น้อย หนังสืออักษรเบรลล์ในโครงการรู้ รัก ภาษาไทยจะดำเนินต่อเนื่องไป ดังที่กล่าวหลังจากหนังสือเล่มนี้เสร็จสมบูรณ์จะจัดทำพจนานุกรมอักษรเบรลล์ โดยอาจเริ่มจากหมวดอักษร อาทิ หมวด ก จากนั้นเป็นหมวดอักษรต่อไปซึ่งทุกขั้นตอนมีความละเอียด ต้องใช้ระยะเวลา นอกจากทำหนังสืออักษรเบรลล์ ขณะนี้จัดทำพจนานุกรมภาษามือให้กับผู้พิการทางการได้ยินเผยแพร่ผ่านทางเว็บเพจร่วมด้วยและไม่ว่าจะเป็นภาษามือหรืออักษรเบรลล์ ทั้งหมดเป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้ที่ไม่ได้ยินและมองไม่เห็นได้เรียนรู้ เข้าถึง ใช้ภาษาสื่อสารถูกต้องเช่นเดียวกับคนทั่วไป.

พงษ์พรรณบุญเลิศ

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/384176 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 มี.ค.59
วันที่โพสต์: 9/03/2559 เวลา 11:17:21 ดูภาพสไลด์โชว์ เปิดโลกมืดผ่านหนังสือ 'อ่าน-เขียนอย่างไร' รูปแบบอักษรเบรลล์

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คำหลายคำแม้จะนำมาใช้กันบ่อย แต่ก็มักมีผู้อ่านผิด เขียนไม่ถูกต้องและใช้คำผิดความหมาย ที่ผ่านมาหนังสืออ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถานประมวลรวบรวมไว้ พร้อมกับให้คำตอบการอ่าน เขียนถูกต้องเพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดย ล่าสุดจัดพิมพ์ในรูปแบบอักษรเบรลล์เป็นครั้งแรก เพื่อผู้บกพร่องทางการมองเห็นได้เข้าถึง ใช้เป็นหลักการอ่าน การเขียนภาษาไทย ก้าวข้ามอุปสรรคข้อจำกัด พจนานุกรมอักษรเบรลล์ สำหรับคนพิการทางสายตา พงษ์ศักดิ์ ศิริวงษ์ เลขาธิการราชบัณฑิตยสภากล่าวถึงหนังสืออักษรเบรลล์ที่จัดทำขึ้นว่า การดำเนินการครั้งนี้เป็นภารกิจของเราซึ่งส่งเสริมให้ความรู้ในเรื่องของภาษา โดยโครงการเตรียมจัดทำ พจนานุกรมอักษรเบรลล์ แต่ก่อนจะดำเนินการจัดทำพจนานุกรมเบรลล์สมบูรณ์แบบ ได้จัดทำ หนังสืออักษรเบรลล์ อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (แก้ไขเพิ่มเติม) เป็นครั้งแรก “หนังสือเล่มนี้เป็นคู่มือใช้ภาษาไทยของคนทั่วไปได้ดีเล่มหนึ่ง ที่ผ่านมาจัดพิมพ์เผยแพร่มาแล้วหลายครั้ง จากที่กล่าวนอกจากช่วยเหลือด้านภาษาให้กับคนทั่วไป ทั้งเด็กนักเรียน นิสิต นักศึกษา ฯลฯ ยังขยายการเข้าถึงไปยังผู้ที่มองไม่เห็น โดยหนังสือเล่มนี้มีความสำคัญเป็นหลักให้กับผู้อ่าน เขียนภาษาไทยถูกต้อง” การอ่านภาษาผิดไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับเด็กนักเรียน นักศึกษา ฯลฯ ในหนังสือเล่มนี้จะมีคำที่ใช้ผิดบ่อยในชีวิตประจำวันซึ่งรวบรวมไว้ อาทิ ภาพยนตร์ มักเขียนเป็น ภาพยนต์ ขโมย เขียนเป็น โขมย แก๊ง เขียนเป็น แก๊งค์ ฯลฯ ให้คำอธิบาย เสนอวิธีการอ่าน การเขียนที่ถูกต้อง การอ่านตัวเลข เครื่องหมายต่าง ๆ ฯลฯ โดยรวบรวมเป็นหนังสือเล่มเล็ก ๆ แต่ในทุกหน้าครบด้วยคุณค่า เมื่อนำมาจัดทำเป็นหนังสือเบรลล์สำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น คนตาบอดได้เข้าถึง การจัดทำอยู่ใน โครงการรู้ รัก ภาษาไทย เป็นโครงการหลักของราชบัณฑิตในการเผยแพร่ภาษาไทยสู่สังคมและที่ผ่านมาเรามีหลายโครงการที่จัดทำขึ้น ดร.ชลธิชา สุดมุข นักวรรณศิลป์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้าโครงการฯร่วมให้ข้อมูลกล่าวเพิ่มอีกว่า ในด้านเนื้อหา สกัดสิ่งที่จำเป็น ควรรู้ อ่านเขียนอย่างไรให้ถูกต้อง ซึ่งเนื้อหาที่จัดทำเหมือนกับหนังสือเล่มสำหรับคนทั่วไปทุกประการ “ผู้บกพร่องทางการมองเห็น โอกาสที่จะได้อ่าน เรียนรู้ในสิ่งที่เขาสนใจ บางครั้งอาจเข้าไม่ถึง ด้วยที่อ่านไม่เห็นด้วยตนเอง ต้องพึ่งพาครู คนใกล้ตัวที่สายตาดีช่วยสืบค้น อ่านให้ฟังและแม้จะมีแอพพลิเคชั่นช่วยการอ่าน การเขียนทำให้เข้าใจรับรู้ได้จากการได้ยิน แต่อย่างไรแล้วก็ไม่เท่ากับการมีอักษรเบรลล์ให้อ่านสัมผัส โครงการฯจึงดำเนินการจัดทำหนังสือเบรลล์เล่มแรกขึ้น ก่อนจัดทำพจนานุกรมอักษรเบรลล์ต่อไป” หนังสืออักษรเบรลล์จะแบ่งออกเป็น 4 เล่ม ขยายจากหนังสือเล่มปกติ ทั้งนี้ 1 หน้าปกติจะเท่ากับ 3-4 หน้า เบรลล์ โดยรูปแบบของหนังสือ หนึ่งหน้าจะมี 25 บรรทัด บรรทัดละ 40 เซล ใช้อักษรเบรลล์ระดับ 1 เข้ารูปเล่มหนังสือแบบสันขดลวด โดยรวมทุกเล่มอยู่ในชุดเดียวกัน บรรจุกล่องที่มีขนาดพอดีกับหนังสือ นอกจากนี้ จัดทำดีวีดีไฟล์อักษรเบรลล์ หนังสืออ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (แก้ไขเพิ่มเติม)จัดส่งไปพร้อมกัน “หนังสืออักษรเบรลล์ ที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจัดทำ เราให้ทางศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาคนตาบอด มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นผู้จัดพิมพ์ โดยหนังสือจะส่งไปยังสถานศึกษาที่มีผู้บกพร่องทางการมองเห็น ศูนย์การศึกษาพิเศษ และโรงเรียนเฉพาะความพิการ โดยคาดว่าจะผลิตแล้วเสร็จพร้อมแจกจ่ายส่งไปถึงหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศช่วงเดือนเมษายน” พจนานุกรมอักษรเบรลล์ สำหรับคนพิการทางสายตา จากที่ผ่านมามูลนิธิฯผลิตอักษรเบรลล์ให้กับคนตาบอดซึ่งตรงกับเราที่มีความต้องการเผยแพร่ภาษา องค์ความรู้ภาษาไทยไปสู่ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น เข้าถึงภาษาและนอกจากการพิมพ์หนังสือครั้งนี้ยังจัดทำดีวีดีไฟล์อักษรเบรลล์ซึ่งผู้พิการสามารถนำไปเปิดในคอมพิวเตอร์และจัดพิมพ์เพิ่มขึ้นได้ “ทุกหน้าหนังสือไม่ว่าจะเป็นเล่มหนังสือของคนตาดีหรือคนตาบอด เนื้อหาสาระนำเสนอเหมือนกัน โดยความสำคัญของหนังสือเล่มนี้เป็นการตั้งต้น เป็นหนังสือคู่มือทำให้อ่าน เขียน ใช้คำภาษาที่เป็นทางการถูกต้อง หนังสือเบรลล์เท่าที่ทราบหนึ่งเล่มจะมีไม่เกิน 50 หน้าซึ่งพอเหมาะกับการเข้าเล่มและเนื้อหา เมื่อขึ้นหน้าใหม่จะมีบรรทัดบอกหน้าเบรลล์ว่าเป็นหน้าที่เท่าไหร่และหน้าที่ตรงกับหนังสือจริงคือหน้าใดเพื่อจะได้เปรียบเทียบกันได้ ในด้านกระดาษที่นำมาจัดพิมพ์เป็นมาตรฐาน สามารถเปิดอ่านได้สะดวก ขณะที่การเข้าเล่มแบบสันห่วง ผู้อ่านสามารถสัมผัสได้ถึงขอบหนังสือฯลฯ ให้ความสำคัญกับทุก ๆ ด้านเพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้งาน เข้าถึงการเรียนรู้ได้ง่าย รวดเร็วและมีความถูกต้องที่สุด” เลขาธิการราชบัณฑิตยสภากล่าวเพิ่มอีกว่า การเข้าถึงความรู้มีความสำคัญ เช่นเดียวกับหนังสือเล่มนี้ที่จะทำให้มีความเข้าใจในภาษา เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีทำให้ทุกกลุ่มสามารถนำไปใช้ และจากเทคโนโลยีอักษรเบรลล์ทำให้เพิ่มเติมความรู้ในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการจัดพิมพ์อักษรเบรลล์ยังมีอยู่น้อย หนังสืออักษรเบรลล์ในโครงการรู้ รัก ภาษาไทยจะดำเนินต่อเนื่องไป ดังที่กล่าวหลังจากหนังสือเล่มนี้เสร็จสมบูรณ์จะจัดทำพจนานุกรมอักษรเบรลล์ โดยอาจเริ่มจากหมวดอักษร อาทิ หมวด ก จากนั้นเป็นหมวดอักษรต่อไปซึ่งทุกขั้นตอนมีความละเอียด ต้องใช้ระยะเวลา นอกจากทำหนังสืออักษรเบรลล์ ขณะนี้จัดทำพจนานุกรมภาษามือให้กับผู้พิการทางการได้ยินเผยแพร่ผ่านทางเว็บเพจร่วมด้วยและไม่ว่าจะเป็นภาษามือหรืออักษรเบรลล์ ทั้งหมดเป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้ที่ไม่ได้ยินและมองไม่เห็นได้เรียนรู้ เข้าถึง ใช้ภาษาสื่อสารถูกต้องเช่นเดียวกับคนทั่วไป. พงษ์พรรณบุญเลิศ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/384176

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...