"นิโคติน" ทำลายสุขภาพจิต ก่อซึมเศร้า-วิตกกังวล ขวางฤทธิ์ยารักษาผู้ป่วยจิตเวช
กรมสุขภาพจิต ชี้ "นิโคติน" ในบุหรี่ ทำลายสุขภาพจิต ก่ออาการซึมเศร้า วิตกกังวล เหตุทำร่างกายสารสารโดปามีนเองไม่ได้ ซ้ำขวางการรักษาผู้ป่วยจิตเวช ทำฤทธิ์ยาอ่อนลง บางรายต้องเพิ่มขนาดยารักษา
น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า วันที่ 31 พ.ค.ของทุกปีเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก ประเด็นที่น่าห่วงคือ กลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-24 ปี สูบบุหรี่ถึง 1.4 ล้านกว่าคน เฉลี่ยเริ่มสูบครั้งแรกอายุน้อยลงเริ่มที่ 16 ปี โดยผลการสำรวจของสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ปี 2559 ในกลุ่มนักเรียนอายุ 13-17 ปี ที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นถึงมัธยมตอนปลายหรือ ปวช.ปี 1-3 ทุกสังกัดการศึกษา พบว่ามีเด็กสูบและติดบุหรี่ขั้นงอมแงม ร้อยละ 5.8 หรือจำนวนประมาณ 230,000 คน และมีอีกร้อยละ 2.4 หรือจำนวนประมาณ 96,000 คน ที่ติดบุหรี่อย่างหนัก หากหยุดสูบจะมีอาการไม่สบายที่เรียกว่าถอนบุหรี่ เช่น หดหู่ใจ อารมณ์ซึมเศร้า นอนไม่หลับ หงุดหงิด โกรธง่าย ไม่มีสมาธิ จากการขาดสารนิโคติน นอกจากนี้ ยังพบว่ากลุ่มที่สูบบุหรี่มีระดับไอคิวต่ำกว่ากลุ่มไม่สูบประมาณ7จุดสังคมจึงต้องเร่งช่วยป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชนตกเป็นเหยื่อของบุหรี่ทุกประเภท
พญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวว่า วัยรุ่นเป็นวัยที่สมองกำลังพัฒนายังไม่สมบูรณ์แบบ สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นสูบบุหรี่มีหลายปัจจัย ทั้งตัวของวัยรุ่นเอง ซึ่งเข้าสู่ในระยะเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กเป็นวัยผู้ใหญ่ จะมีความรู้สึกว่าตนเองก็เป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งที่ทำทุกอย่างได้เหมือนผู้ใหญ่ อยากรู้อยากลอง หรือทดสอบความเข้มแข็งจิตใจของตนเอง รวมทั้งปัจจัยทางสังคมสิ่งแวดล้อมอิทธิพลของเพื่อนและการเลียนแบบจากสื่อต่างๆที่พบเห็น เป็นที่ยอมรับของเพื่อนและเพศตรงข้าม และปัจจัยสำคัญที่ต้องทำให้สูบเรื่อยๆ คือนิโคตินที่อยู่ในบุหรี่ทั้งบุหรี่ทั่วไปและบุหรี่ไฟฟ้า ในบุหรี่ 1 มวนจะมีสารนิโคตินประมาณ 10 มิลลิกรัมเมื่อสูบเข้าไปนิโคตินจะเข้าสู่สมองภายใน10-15วินาที
“ผลวิจัยของวงการจิตแพทย์ระดับโลก ระบุว่า นิโคตินจะออกฤทธิ์กระตุ้นที่สมองส่วนหน้าที่มีชื่อว่า คอร์เทกซ์ ทำหน้าที่คล้ายกุญแจเข้าไปปลดล็อกโมเลกุลของประสาทตัวรับรู้ ให้ทำหน้าที่ปล่อยสารสื่อประสาทชื่อโดปามีน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดความพอใจ สุขใจ ทำให้ผู้สูบรู้สึกดีขึ้น และจะทำให้ร่างกายสูญเสียความสามารถในการสร้างโดปามีนด้วยตัวเอง ยิ่งสูบมากก็จะมีประสาทตัวรับรู้และตัวสั่งมากขึ้น จึงเกิดความต้องการนิโคตินมากขึ้นวนไปวนมา เมื่อสมองวัยรุ่นถูกกระตุ้นอยู่ในสภาพนี้นานๆ จะทำให้เกิดผลข้างเคียงคือ อาการวิตกกังวล อาการซึมเศร้า จึงต้องสูบเพื่อเติมนิโคตินเข้าไป ให้ความรู้สึกกลับคืนมา จึงกล่าวได้ว่าบุหรี่มีผลกระทบต่อสุขภาพจิตโดยตรง และผลวิจัยยังพบว่า บุหรี่เป็นยาเสพติดต้นทางของยาเสพติดชนิดร้ายแรงขึ้น และมีผลการศึกษาในหนูทดลองด้วยว่ามีผลกระตุ้นความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้น”พญ.มธุรดากล่าว
พญ.มธุรดา กล่าวว่า การช่วยเหลือและบำบัดรักษาผู้ที่ติดบุหรี่จะแตกต่างกันตามระยะเวลาที่สูบและระดับความรุนแรงของการติด ในผู้ใหญ่มักจะมีอาการคล้ายถอนยาที่รุนแรง เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเป็นตัวกระตุ้นให้อยากสูบ แต่ในวัยรุ่นอาการถอนยาจะรุนแรงน้อยกว่าแต่มีโอกาสพัฒนาไปใช้ยาเสพติดชนิดอื่นสูงกว่าผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่วัยรุ่นที่สูบบุหรี่มักมีระดับความรุนแรงของการติดนิโคตินเล็กน้อยถึงปานกลาง การบำบัดรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคือการบำบัดทางจิตสังคม คือการประเมินแรงจูงใจและการปรับพฤติกรรม การให้คำปรึกษาทั้งรายบุคคล รายกลุ่มซึ่งมีผู้ปกครองด้วย เนื่องจากผลการศึกษาพบว่าการบำบัดด้วยยาอย่างเดียว อาจมีผลเสียตามมาเช่นติดนิโคตินเพิ่มมากขึ้น
นพ.กิตต์กวี โพธิ์โน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์ กล่าวว่า พฤติกรรมอาการที่บ่งบอกว่าผู้สูบบุหรี่ติดบุหรี่มาก ที่สำคัญมี 5 อาการ ได้แก่ 1. ต้องสูบมวนแรกหลังตื่นนอนภายใน 30 นาที 2. สูบมากกว่าวันละ 1 ซอง 3. แม้ไม่สบายก็สูบ 4. เคยเลิกสูบแล้วแต่กลับไปสูบใหม่ และ 5. อยู่ในที่ห้ามสูบแล้วต้องหลบออกไปสูบบุหรี่ ทั้งนี้ การสูบบุหรี่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตด้วย โดยผลการศึกษาในกลุ่มของผู้ป่วยจิตเภทพบว่า สูบบุหรี่มากถึงร้อยละ 70-90 และสูบเฉลี่ยประมาณวันละ 20 มวน นับว่ามีการเสพนิโคตินเข้าไปในระดับที่สูงมาก จึงมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมกับผู้ป่วยจิตเวช เป็นอุปสรรคในการรักษาอย่างมาก เพราะผู้ป่วยจะเลิกสูบบุหรี่ยาก เนื่องจากพอหยุดสูบบุหรี่ จะทำเกิดอาการซึมเศร้า เมื่อสูบบุหรี่เข้าไปด้วย ฤทธิ์ของนิโคตินจะไปทำให้ตับกำจัดยาที่รักษาออกจากร่างกายเร็วขึ้น ทำให้ฤทธิ์ยาอ่อนลง บางรายต้องเพิ่มขนาดยารักษาขึ้นอีก หรือทำให้อาการโรคกำเริบเร็วขึ้น
ทั้งนี้ในกลุ่มผู้ที่สูบบุหรี่มานาน เมื่อหยุดสูบจะเกิดอาการขาดนิโคติน อาจพบอาการหงุดหงิด กระวนกระวาย โกรธง่าย วิตกกังวล ไม่มีสมาธิ อยู่ไม่นิ่ง ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ซึ่งจะเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง หากผู้ต้องการจะเลิกทนอาการเหล่านี้ได้ ใน 2-3 วัน โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรก อาการไม่สบายจะค่อยๆหายไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการติดแต่ละคน ข้อมูลการวิจัยพบว่า 8 ใน 10 ของผู้ที่เลิกสูบสำเร็จ จะเลิกได้เองโดยการให้กำลังใจจากคนในครอบครัว หรือคนใกล้ชิด ไม่ต้องพึ่งคลินิกหรือยาช่วย แต่ในรายที่ติดบุหรี่มาก อาจต้องพึ่งคลินิกและยาช่วยอดบุหรี่ รวมทั้งการให้คำปรึกษาช่วยสร้างกำลังใจ
ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9600000055503 (ขนาดไฟล์: 164)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
กรมสุขภาพจิต ชี้ "นิโคติน" ในบุหรี่ ทำลายสุขภาพจิต ก่ออาการซึมเศร้า วิตกกังวล เหตุทำร่างกายสารสารโดปามีนเองไม่ได้ ซ้ำขวางการรักษาผู้ป่วยจิตเวช ทำฤทธิ์ยาอ่อนลง บางรายต้องเพิ่มขนาดยารักษา ควันบุหรี่ น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า วันที่ 31 พ.ค.ของทุกปีเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก ประเด็นที่น่าห่วงคือ กลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-24 ปี สูบบุหรี่ถึง 1.4 ล้านกว่าคน เฉลี่ยเริ่มสูบครั้งแรกอายุน้อยลงเริ่มที่ 16 ปี โดยผลการสำรวจของสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ปี 2559 ในกลุ่มนักเรียนอายุ 13-17 ปี ที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นถึงมัธยมตอนปลายหรือ ปวช.ปี 1-3 ทุกสังกัดการศึกษา พบว่ามีเด็กสูบและติดบุหรี่ขั้นงอมแงม ร้อยละ 5.8 หรือจำนวนประมาณ 230,000 คน และมีอีกร้อยละ 2.4 หรือจำนวนประมาณ 96,000 คน ที่ติดบุหรี่อย่างหนัก หากหยุดสูบจะมีอาการไม่สบายที่เรียกว่าถอนบุหรี่ เช่น หดหู่ใจ อารมณ์ซึมเศร้า นอนไม่หลับ หงุดหงิด โกรธง่าย ไม่มีสมาธิ จากการขาดสารนิโคติน นอกจากนี้ ยังพบว่ากลุ่มที่สูบบุหรี่มีระดับไอคิวต่ำกว่ากลุ่มไม่สูบประมาณ7จุดสังคมจึงต้องเร่งช่วยป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชนตกเป็นเหยื่อของบุหรี่ทุกประเภท พญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวว่า วัยรุ่นเป็นวัยที่สมองกำลังพัฒนายังไม่สมบูรณ์แบบ สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นสูบบุหรี่มีหลายปัจจัย ทั้งตัวของวัยรุ่นเอง ซึ่งเข้าสู่ในระยะเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กเป็นวัยผู้ใหญ่ จะมีความรู้สึกว่าตนเองก็เป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งที่ทำทุกอย่างได้เหมือนผู้ใหญ่ อยากรู้อยากลอง หรือทดสอบความเข้มแข็งจิตใจของตนเอง รวมทั้งปัจจัยทางสังคมสิ่งแวดล้อมอิทธิพลของเพื่อนและการเลียนแบบจากสื่อต่างๆที่พบเห็น เป็นที่ยอมรับของเพื่อนและเพศตรงข้าม และปัจจัยสำคัญที่ต้องทำให้สูบเรื่อยๆ คือนิโคตินที่อยู่ในบุหรี่ทั้งบุหรี่ทั่วไปและบุหรี่ไฟฟ้า ในบุหรี่ 1 มวนจะมีสารนิโคตินประมาณ 10 มิลลิกรัมเมื่อสูบเข้าไปนิโคตินจะเข้าสู่สมองภายใน10-15วินาที “ผลวิจัยของวงการจิตแพทย์ระดับโลก ระบุว่า นิโคตินจะออกฤทธิ์กระตุ้นที่สมองส่วนหน้าที่มีชื่อว่า คอร์เทกซ์ ทำหน้าที่คล้ายกุญแจเข้าไปปลดล็อกโมเลกุลของประสาทตัวรับรู้ ให้ทำหน้าที่ปล่อยสารสื่อประสาทชื่อโดปามีน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดความพอใจ สุขใจ ทำให้ผู้สูบรู้สึกดีขึ้น และจะทำให้ร่างกายสูญเสียความสามารถในการสร้างโดปามีนด้วยตัวเอง ยิ่งสูบมากก็จะมีประสาทตัวรับรู้และตัวสั่งมากขึ้น จึงเกิดความต้องการนิโคตินมากขึ้นวนไปวนมา เมื่อสมองวัยรุ่นถูกกระตุ้นอยู่ในสภาพนี้นานๆ จะทำให้เกิดผลข้างเคียงคือ อาการวิตกกังวล อาการซึมเศร้า จึงต้องสูบเพื่อเติมนิโคตินเข้าไป ให้ความรู้สึกกลับคืนมา จึงกล่าวได้ว่าบุหรี่มีผลกระทบต่อสุขภาพจิตโดยตรง และผลวิจัยยังพบว่า บุหรี่เป็นยาเสพติดต้นทางของยาเสพติดชนิดร้ายแรงขึ้น และมีผลการศึกษาในหนูทดลองด้วยว่ามีผลกระตุ้นความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้น”พญ.มธุรดากล่าว พญ.มธุรดา กล่าวว่า การช่วยเหลือและบำบัดรักษาผู้ที่ติดบุหรี่จะแตกต่างกันตามระยะเวลาที่สูบและระดับความรุนแรงของการติด ในผู้ใหญ่มักจะมีอาการคล้ายถอนยาที่รุนแรง เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเป็นตัวกระตุ้นให้อยากสูบ แต่ในวัยรุ่นอาการถอนยาจะรุนแรงน้อยกว่าแต่มีโอกาสพัฒนาไปใช้ยาเสพติดชนิดอื่นสูงกว่าผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่วัยรุ่นที่สูบบุหรี่มักมีระดับความรุนแรงของการติดนิโคตินเล็กน้อยถึงปานกลาง การบำบัดรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคือการบำบัดทางจิตสังคม คือการประเมินแรงจูงใจและการปรับพฤติกรรม การให้คำปรึกษาทั้งรายบุคคล รายกลุ่มซึ่งมีผู้ปกครองด้วย เนื่องจากผลการศึกษาพบว่าการบำบัดด้วยยาอย่างเดียว อาจมีผลเสียตามมาเช่นติดนิโคตินเพิ่มมากขึ้น นพ.กิตต์กวี โพธิ์โน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์ กล่าวว่า พฤติกรรมอาการที่บ่งบอกว่าผู้สูบบุหรี่ติดบุหรี่มาก ที่สำคัญมี 5 อาการ ได้แก่ 1. ต้องสูบมวนแรกหลังตื่นนอนภายใน 30 นาที 2. สูบมากกว่าวันละ 1 ซอง 3. แม้ไม่สบายก็สูบ 4. เคยเลิกสูบแล้วแต่กลับไปสูบใหม่ และ 5. อยู่ในที่ห้ามสูบแล้วต้องหลบออกไปสูบบุหรี่ ทั้งนี้ การสูบบุหรี่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตด้วย โดยผลการศึกษาในกลุ่มของผู้ป่วยจิตเภทพบว่า สูบบุหรี่มากถึงร้อยละ 70-90 และสูบเฉลี่ยประมาณวันละ 20 มวน นับว่ามีการเสพนิโคตินเข้าไปในระดับที่สูงมาก จึงมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมกับผู้ป่วยจิตเวช เป็นอุปสรรคในการรักษาอย่างมาก เพราะผู้ป่วยจะเลิกสูบบุหรี่ยาก เนื่องจากพอหยุดสูบบุหรี่ จะทำเกิดอาการซึมเศร้า เมื่อสูบบุหรี่เข้าไปด้วย ฤทธิ์ของนิโคตินจะไปทำให้ตับกำจัดยาที่รักษาออกจากร่างกายเร็วขึ้น ทำให้ฤทธิ์ยาอ่อนลง บางรายต้องเพิ่มขนาดยารักษาขึ้นอีก หรือทำให้อาการโรคกำเริบเร็วขึ้น ทั้งนี้ในกลุ่มผู้ที่สูบบุหรี่มานาน เมื่อหยุดสูบจะเกิดอาการขาดนิโคติน อาจพบอาการหงุดหงิด กระวนกระวาย โกรธง่าย วิตกกังวล ไม่มีสมาธิ อยู่ไม่นิ่ง ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ซึ่งจะเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง หากผู้ต้องการจะเลิกทนอาการเหล่านี้ได้ ใน 2-3 วัน โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรก อาการไม่สบายจะค่อยๆหายไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการติดแต่ละคน ข้อมูลการวิจัยพบว่า 8 ใน 10 ของผู้ที่เลิกสูบสำเร็จ จะเลิกได้เองโดยการให้กำลังใจจากคนในครอบครัว หรือคนใกล้ชิด ไม่ต้องพึ่งคลินิกหรือยาช่วย แต่ในรายที่ติดบุหรี่มาก อาจต้องพึ่งคลินิกและยาช่วยอดบุหรี่ รวมทั้งการให้คำปรึกษาช่วยสร้างกำลังใจ ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9600000055503
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)