การเข้าถึงอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการทางกายของ คนพิการไทย
เนื้อหาบางส่วน
ความพิการเป็นสิ่งที่ไม่มีใครต้องการให้เกิด แต่มีแนวโน้มจะมากขึ้นในสังคม เนื่องจากคนมีอายุยืนขึ้น พร้อมกับการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้า ในระดับสากล ได้มีการขับเคลื่อนพัฒนาสิทธิด้านกฎหมายที่สำคัญ คือ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการแห่งสหประชาชาติ (The United Nations Convention on the Rights of Person with Disabilities : CRPD) เพื่อนำไปสู่การบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ ในด้านส่งเสริม พิทักษ์และประกันสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่คนพิการทุกคนพึงได้รับ การเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้โดยเฉพาะด้านสาธารณสุข ได้แก่ การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการแพทย์ ซึ่งการบริการอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญตามคำนิยามคนพิการ ใน พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 คือ บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการทำกิจกรรมประจำวัน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ และความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่างๆ และมีความจำเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป ในความหมายของความจำเป็นพิเศษนี้ จะหมายรวมถึงอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการที่จำเป็น เช่น คนขาขาด เดินไม่ได้ จำเป็นต้องได้รับขาเทียม เป็นต้น
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เนื้อหาบางส่วน ความพิการเป็นสิ่งที่ไม่มีใครต้องการให้เกิด แต่มีแนวโน้มจะมากขึ้นในสังคม เนื่องจากคนมีอายุยืนขึ้น พร้อมกับการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้า ในระดับสากล ได้มีการขับเคลื่อนพัฒนาสิทธิด้านกฎหมายที่สำคัญ คือ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการแห่งสหประชาชาติ (The United Nations Convention on the Rights of Person with Disabilities : CRPD) เพื่อนำไปสู่การบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ ในด้านส่งเสริม พิทักษ์และประกันสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่คนพิการทุกคนพึงได้รับ การเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้โดยเฉพาะด้านสาธารณสุข ได้แก่ การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการแพทย์ ซึ่งการบริการอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญตามคำนิยามคนพิการ ใน พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 คือ บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการทำกิจกรรมประจำวัน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ และความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่างๆ และมีความจำเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป ในความหมายของความจำเป็นพิเศษนี้ จะหมายรวมถึงอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการที่จำเป็น เช่น คนขาขาด เดินไม่ได้ จำเป็นต้องได้รับขาเทียม เป็นต้น ดาวน์โหลดเอกสาร
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)