นักวิจัยสแตนฟอร์ดพบวิธีฟื้นฟู ‘ตาบอด’ ด้วยการกระตุ้นเส้นประสาทใหม่
ทีมนักวิจัยด้านชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกในการใช้วิธีการผสมผสานเพื่อฟื้นฟูสภาพการมองเห็นของหนูตาบอดให้กลับมามองเห็นได้อีกครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเซลล์สมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สามารถเติบโตใหม่แทนส่วนที่เสียหายได้ ไม่จำเพาะแต่ในสัตว์จำพวกกบ, ปลา และไก่ เท่านั้นที่เซลล์สมองกลับมาโตได้อีกครั้งหลังจากได้รับความเสียหายไปก่อนหน้านี้
ทีมวิจัยดังกล่าว นำโดย แอนดรูว์ ฮิวเบอร์เเมน นักชีววิทยาประสาทของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ดำเนินการทดลองในหนูและสามารถยืนยันได้ว่าเซลล์เรตินัล แกงไกลออน ที่เชื่อมต่อกับประสาทตาของหนูดังกล่าวกลับมาเติบโตได้ใหม่ไม่ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็มากพอที่จะทำให้ตาข้างที่เคยบอดสนิทของหนูทดลองมองเห็นได้อีกครั้ง
งานวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า “แอกซอน” หรือ “ใยประสาท” ซึ่งทำหน้าที่นำกระแสประสาทที่เป็นคำสั่งออกจากตัวเซลล์ประสาท ซึ่งเติบโตใหม่ได้อีกนั้นสามารถทำให้เติบโตไปในทิศทางที่ถูกต้องได้ เพื่อให้กลายเป็นส่วนเชื่อมต่อที่จำเป็นในการฟื้นฟูการมองเห็นกลับคืนมาอีกครั้ง ซึ่งฮิวเบอร์แมนเชื่อว่าเป็นเพราะใยประสาทเหล่านั้นจดจำพัฒนาการในอดีตของมันได้และสามารถหาหนทางกลับคืนไปยังจุดเดิมได้อีกครั้ง
ทีมวิจัยของสแตนฟอร์ด ใช้วิธีการสองอย่างผสมผสานไปในคราวเดียวกันเพื่อกระตุ้นให้เซลล์สมองกลับมาเติบโตใหม่อีกครั้ง ทั้งนี้โดยปกติแล้วเมื่อใดก็ตามที่เซลล์ในระบบประสาทส่วนกลางของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเติบโตเต็มที่แล้ว เซลล์จะปิด “สวิตช์” และจะไม่เติบโตอีกเลย ทีมวิจัยใช้กรรมวิธีปรับแต่งพันธุกรรมเพื่อให้สวิตช์ที่ว่านี้ซึ่งเรียกว่า “เเมมาเลียน ทาร์เก็ท ราปามายซิน” หรือ “เอ็มทีโออาร์” กลับมาทำหน้าที่อีกครั้งและช่วยกระตุ้นให้เซลล์เกิดการขยายตัวหรือเจริญเติบโตได้ใหม่
ในเวลาเดียวกัน ทีมวิจัยก็ใช้วิธี “บริหาร” ตาของหนูข้างที่เสียหายเพื่อกระตุ้นให้กลับมาทำงานใหม่อีกครั้งด้วยการฉายภาพเส้นแถบสีที่เคลื่อนไหวและมีคอนทราสต์สูงต่อหนูทดลอง ผลที่ได้น่าสนใจอย่างยิ่ง คือ เกิดการขยายตัวของเส้นประสาทเร็วกว่าและได้ระยะทางมากกว่าปกติถึง 500 เท่า ในขณะเดียวกันทีมวิจัยพบว่าการปิดตาหนูทดลองข้างที่ปกติลง จะช่วยให้การฟื้นฟูการของเห็นของหนูทดลองเกิดขึ้นได้ดีขึ้น ในทำนองเดียวกับเทคนิคการปิดตาข้างที่ดีเพื่อรักษาตาข้างที่ทำงานไม่เต็มที่หรือที่จักษุแพทย์เรียกว่าตาขี้เกียจนั่นเอง
เหอ จี้กัง หนึ่งในทีมวิจัยชี้ว่า หากจะปรับวิธีการนี้มาใช้ในมนุษย์อาจไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการที่ยุ่งยาก อย่างเช่น การตัดต่อเพื่อปรับแต่งทางพันธุกรรม แต่หันมาใช้วิธีการอื่นๆ เพื่อเปิดสวิตช์เติบโตของเซลล์อีกครั้งที่ง่ายกว่ามาก อย่างเช่น การให้ยาเม็ด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กระบวนการดังกล่าวนี้ยังไม่พร้อมสำหรับการใช้ทดลองในคน ซึ่งจำเป็นต้องให้มีผลแตกต่างออกไป อย่างเช่น ในกรณีที่จะฟื้นฟูสายตาของคนกลับมาใหม่อีกครั้งนั้น เซลล์ที่กลับมาเติบโตใหม่ต้องมีสัดส่วนสูงกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ เพราะเส้นประสาทสมองของมนุษย์นั้นไม่ได้ยาวเป็นมิลลิเมตรแต่เป็นหลายเซนติเมตร
อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้ก็ช่วยในการเสนอทางเลือกใหม่ให้กับผู้พิการทางสายตา ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่มีทางเลือกเหลืออยู่เลย นอกจากนั้นยังอาจส่งผลดีต่อการรักษาอาการเซลล์ประสาทเสียหายในที่อื่นๆ ได้อีกด้วยอย่างเช่น อาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังจนเป็นอัมพาตหรือช่วยเหลือผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น
ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1470032169 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ทีมนักวิจัยด้านชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกในการใช้วิธีการผสมผสานเพื่อฟื้นฟูสภาพการมองเห็นของหนูตาบอดให้กลับมามองเห็นได้อีกครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเซลล์สมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สามารถเติบโตใหม่แทนส่วนที่เสียหายได้ ไม่จำเพาะแต่ในสัตว์จำพวกกบ, ปลา และไก่ เท่านั้นที่เซลล์สมองกลับมาโตได้อีกครั้งหลังจากได้รับความเสียหายไปก่อนหน้านี้ ดวงตาของหญิงสาว ทีมวิจัยดังกล่าว นำโดย แอนดรูว์ ฮิวเบอร์เเมน นักชีววิทยาประสาทของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ดำเนินการทดลองในหนูและสามารถยืนยันได้ว่าเซลล์เรตินัล แกงไกลออน ที่เชื่อมต่อกับประสาทตาของหนูดังกล่าวกลับมาเติบโตได้ใหม่ไม่ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็มากพอที่จะทำให้ตาข้างที่เคยบอดสนิทของหนูทดลองมองเห็นได้อีกครั้ง งานวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า “แอกซอน” หรือ “ใยประสาท” ซึ่งทำหน้าที่นำกระแสประสาทที่เป็นคำสั่งออกจากตัวเซลล์ประสาท ซึ่งเติบโตใหม่ได้อีกนั้นสามารถทำให้เติบโตไปในทิศทางที่ถูกต้องได้ เพื่อให้กลายเป็นส่วนเชื่อมต่อที่จำเป็นในการฟื้นฟูการมองเห็นกลับคืนมาอีกครั้ง ซึ่งฮิวเบอร์แมนเชื่อว่าเป็นเพราะใยประสาทเหล่านั้นจดจำพัฒนาการในอดีตของมันได้และสามารถหาหนทางกลับคืนไปยังจุดเดิมได้อีกครั้ง ทีมวิจัยของสแตนฟอร์ด ใช้วิธีการสองอย่างผสมผสานไปในคราวเดียวกันเพื่อกระตุ้นให้เซลล์สมองกลับมาเติบโตใหม่อีกครั้ง ทั้งนี้โดยปกติแล้วเมื่อใดก็ตามที่เซลล์ในระบบประสาทส่วนกลางของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเติบโตเต็มที่แล้ว เซลล์จะปิด “สวิตช์” และจะไม่เติบโตอีกเลย ทีมวิจัยใช้กรรมวิธีปรับแต่งพันธุกรรมเพื่อให้สวิตช์ที่ว่านี้ซึ่งเรียกว่า “เเมมาเลียน ทาร์เก็ท ราปามายซิน” หรือ “เอ็มทีโออาร์” กลับมาทำหน้าที่อีกครั้งและช่วยกระตุ้นให้เซลล์เกิดการขยายตัวหรือเจริญเติบโตได้ใหม่ ในเวลาเดียวกัน ทีมวิจัยก็ใช้วิธี “บริหาร” ตาของหนูข้างที่เสียหายเพื่อกระตุ้นให้กลับมาทำงานใหม่อีกครั้งด้วยการฉายภาพเส้นแถบสีที่เคลื่อนไหวและมีคอนทราสต์สูงต่อหนูทดลอง ผลที่ได้น่าสนใจอย่างยิ่ง คือ เกิดการขยายตัวของเส้นประสาทเร็วกว่าและได้ระยะทางมากกว่าปกติถึง 500 เท่า ในขณะเดียวกันทีมวิจัยพบว่าการปิดตาหนูทดลองข้างที่ปกติลง จะช่วยให้การฟื้นฟูการของเห็นของหนูทดลองเกิดขึ้นได้ดีขึ้น ในทำนองเดียวกับเทคนิคการปิดตาข้างที่ดีเพื่อรักษาตาข้างที่ทำงานไม่เต็มที่หรือที่จักษุแพทย์เรียกว่าตาขี้เกียจนั่นเอง เหอ จี้กัง หนึ่งในทีมวิจัยชี้ว่า หากจะปรับวิธีการนี้มาใช้ในมนุษย์อาจไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการที่ยุ่งยาก อย่างเช่น การตัดต่อเพื่อปรับแต่งทางพันธุกรรม แต่หันมาใช้วิธีการอื่นๆ เพื่อเปิดสวิตช์เติบโตของเซลล์อีกครั้งที่ง่ายกว่ามาก อย่างเช่น การให้ยาเม็ด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กระบวนการดังกล่าวนี้ยังไม่พร้อมสำหรับการใช้ทดลองในคน ซึ่งจำเป็นต้องให้มีผลแตกต่างออกไป อย่างเช่น ในกรณีที่จะฟื้นฟูสายตาของคนกลับมาใหม่อีกครั้งนั้น เซลล์ที่กลับมาเติบโตใหม่ต้องมีสัดส่วนสูงกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ เพราะเส้นประสาทสมองของมนุษย์นั้นไม่ได้ยาวเป็นมิลลิเมตรแต่เป็นหลายเซนติเมตร อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้ก็ช่วยในการเสนอทางเลือกใหม่ให้กับผู้พิการทางสายตา ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่มีทางเลือกเหลืออยู่เลย นอกจากนั้นยังอาจส่งผลดีต่อการรักษาอาการเซลล์ประสาทเสียหายในที่อื่นๆ ได้อีกด้วยอย่างเช่น อาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังจนเป็นอัมพาตหรือช่วยเหลือผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1470032169
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)