สารวิจัยเพื่อคนพิการ(งานวิจัยเรื่องคนหูหนวก........จะไปทางไหน ??)

เนื้อหาบางส่วน

ทุกๆ ๔ ปี สมาพันธ์โลกของคนหูหนวกจะจัดประชุมสภาโลก ซึ่งมักมีคนหูหนวกไม่น้อยกว่า ๒,๐๐๐ คน จากประเทศสมาชิกทั่วโลกจำนวน ๑๒๖ ประเทศ มาประชุม และมีคนหูไม่หนวกที่สนใจมาร่วมด้วย วาระสำคัญของการประชุมคือการนำเสนอผลงานศึกษาวิจัยต่างๆ โดยใช้ล่ามภาษามือมากกว่า ๑๐๐ ภาษา ในปีนี้ เป็นการประชุมครั้งที่ ๑๔ จัดที่เมืองมอนทรีอัล ประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๔๖ ใช้หัวข้อนำว่า “ โอกาส และการท้าทายในศตวรรษที่ ๒๑ ”

การประชุมครั้งนี้มีประเด็นหลัก ๗ ประเด็น คือ ๑) สิทธิมนุษยชน ๒) ประเทศกำลังพัฒนา ๓) การศึกษา ๔) สุขภาพ ๕) ภาษาและวัฒนธรรม ๖) เทคโนโลยี และ ๗) ชุมชนสัมพันธ์

ประเด็นที่มีสาระสำคัญซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมๆ อย่างเห็นได้ชัด คือ เรื่องสุขภาพ กล่าวคือ การศึกษาวิจัย และโครงการต่างๆ พุ่งเป้าไปที่สุขภาพจิต ซึ่งพบว่ามีปัญหาเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง ทำให้เกิดการพัฒนางานให้บริการจิตบำบัด โดยการสนับสนุนให้นักจิตวิทยาเรียนรู้การใช้ภาษามือเพื่อการบำบัด และส่งเสริมให้ล่ามภาษามือสามารถให้คำปรึกษาแนะแนวแก่ทั้งคนหูหนวก และครอบครัว โดยวิธีให้บริการมีทั้งแบบซึ่งหน้า และแบบทางไกลผ่านกล้องวีดีทัศน์

ดาวน์โหลดเอกสาร

ที่มา: คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายการวิจัยและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการและครอบครัว สำนักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ
วันที่โพสต์: 25/06/2556 เวลา 04:53:35