ผลวิจัยชี้ “จีน-อินเดีย” มีผู้ป่วยทางจิตมากกว่า 1 ใน 3 ของโลก แต่น้อยคนที่ได้รับการรักษา

แสดงความคิดเห็น

ผลวิจัยชี้ “จีน-อินเดีย” มีผู้ป่วยทางจิตมากกว่า 1 ใน 3 ของโลก แต่น้อยคนที่ได้รับการรักษา

เอเอฟพี - ผลวิจัยล่าสุดชี้จีนและอินเดียเป็นบ้านของประชากรที่ป่วยทางจิตมากกว่า 1 ใน 3 ของโลกแต่มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้รับการรักษา

งานวิจัย 3 ชิ้นที่เผยแพร่ลงในวารสารการแพทย์ เดอะ แลนเซ็ต และ เดอะ แลนเซ็ต ไซไคอะทรี วันนี้ (18 พ.ค.) เนื่องในโอกาสการก่อตั้งพันธมิตรสุขภาพจิตจีน-อินเดีย (China-India Mental Health Alliance) ระบุว่า ทั้ง 2 ชาติยังไม่มีทรัพยากรเพียงพอที่จะรับมือกับปัญหาสุขภาพจิตของพลเมือง

ผลการศึกษาพบว่า จีนและอินเดียมีประชากรที่ประสบปัญหาสุขภาพจิต ประสาท และโรคทางจิตเวชที่เกิดจากการใช้สารเสพติด มากกว่าในกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูงทั่วโลกรวมกันเสียอีก และปัญหานี้จะยิ่งเป็นภาระหนักแก่รัฐบาลในอีกไม่กี่ทศวรรษหน้า โดยเฉพาะอินเดีย ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ป่วยทางจิตเพิ่มขึ้นอีก 1 ใน 4 ภายในปี2025

จีนจะต้องเตรียมรับมือกับจำนวนผู้ป่วยสมองเสื่อม (dementia) ที่เพิ่มขึ้นตามอายุประชากร ซึ่งเป็นผลพวงมาจากนโยบายคุมกำเนิดเข้มงวดที่ใช้มานานกว่า 35 ปี งานวิจัยพบว่า ชาวจีนที่มีปัญหาสุขภาพจิตเล็กๆ น้อยๆ เช่น โรคเครียด หรือโรควิตกกังวล รวมไปถึงผู้ที่มีอาการทางจิตจากการใช้สารเสพติด และผู้ป่วยความจำเสื่อม ได้เดินทางไปพบแพทย์เพียงราวๆ6%เท่านั้น

ไมเคิล ฟิลลิปส์ หนึ่งในหัวหน้าคณะผู้เรียบเรียงรายงาน และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเอมอรีในเมืองแอตแลนตา และมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง (Shanghai Jiao Tong University) ระบุว่า “ความขาดแคลนบุคลากรทางด้านจิตเวชในพื้นที่ชนบทของจีน...รุนแรงเป็นพิเศษ”

ชาวจีนกว่าครึ่งที่มีอาการป่วยทางจิตขั้นรุนแรง เช่น โรคจิตเภท (Schizophrenia) ยังไม่เคยได้รับการดูแลจากแพทย์ส่วนสถิติที่อินเดียก็ไม่แตกต่างกันนัก ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มประเทศร่ำรวยนั้นมีโอกาสเข้าถึงการรักษาสูงกว่า70%ขึ้นไป

ในแง่ของงบประมาณ ที่รัฐใช้จ่ายเพื่อรับมือปัญหาสุขภาพจิตของประชาชนก็แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและชาติมหาอำนาจ จีนและอินเดียจัดสรรงบประมาณสาธารณสุขเพื่อดูแลปัญหาสุขภาพจิตไม่ถึง 1% ในขณะที่สหรัฐฯ ทุ่มงบให้แก่งานด้านนี้ถึง 6% ส่วนเยอรมนีและฝรั่งเศสก็มากกว่า 10% ขึ้นไป

แม้ปักกิ่งและนิวเดลีจะเริ่มมีนโยบายเชิงรุกเพื่อช่วยเหลือพลเมืองที่ป่วยทางจิต แต่สถานการณ์ในภาพรวมก็ยังไม่ดีขึ้นเท่าไหร่ “ช่องว่างด้านการรักษาพยาบาลยังคงกว้างมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท” วิกราม ปาเตลอาจารย์จากวิทยาลัยสุขภาพและเวชศาสตร์เขตร้อนมหาวิทยาลัยลอนดอนเอ่ยถึงสถานการณ์ในอินเดีย

รายงานชุดนี้ สรุปว่า ระบบการแพทย์ของจีนและอินเดียอาจต้องใช้เวลาอีกหลายสิบปีกว่าจะเติมเต็มช่องว่างเหล่านี้ได้ พร้อมทั้งเสนอแนะให้มีการฝึกฝนเพิ่มเติมแก่เหล่าผู้ปฏิบัติโยคะในอินเดีย หรือหมอสมุนไพรในจีน ให้ตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาสุขภาพจิต และเข้ามามีส่วนช่วยดูแลประชาชนในด้านนี้

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000049906 (ขนาดไฟล์: 185)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 พ.ค.59
วันที่โพสต์: 18/05/2559 เวลา 16:11:18 ดูภาพสไลด์โชว์ ผลวิจัยชี้ “จีน-อินเดีย” มีผู้ป่วยทางจิตมากกว่า 1 ใน 3 ของโลก แต่น้อยคนที่ได้รับการรักษา

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ผลวิจัยชี้ “จีน-อินเดีย” มีผู้ป่วยทางจิตมากกว่า 1 ใน 3 ของโลก แต่น้อยคนที่ได้รับการรักษา เอเอฟพี - ผลวิจัยล่าสุดชี้จีนและอินเดียเป็นบ้านของประชากรที่ป่วยทางจิตมากกว่า 1 ใน 3 ของโลกแต่มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้รับการรักษา งานวิจัย 3 ชิ้นที่เผยแพร่ลงในวารสารการแพทย์ เดอะ แลนเซ็ต และ เดอะ แลนเซ็ต ไซไคอะทรี วันนี้ (18 พ.ค.) เนื่องในโอกาสการก่อตั้งพันธมิตรสุขภาพจิตจีน-อินเดีย (China-India Mental Health Alliance) ระบุว่า ทั้ง 2 ชาติยังไม่มีทรัพยากรเพียงพอที่จะรับมือกับปัญหาสุขภาพจิตของพลเมือง ผลการศึกษาพบว่า จีนและอินเดียมีประชากรที่ประสบปัญหาสุขภาพจิต ประสาท และโรคทางจิตเวชที่เกิดจากการใช้สารเสพติด มากกว่าในกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูงทั่วโลกรวมกันเสียอีก และปัญหานี้จะยิ่งเป็นภาระหนักแก่รัฐบาลในอีกไม่กี่ทศวรรษหน้า โดยเฉพาะอินเดีย ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ป่วยทางจิตเพิ่มขึ้นอีก 1 ใน 4 ภายในปี2025 จีนจะต้องเตรียมรับมือกับจำนวนผู้ป่วยสมองเสื่อม (dementia) ที่เพิ่มขึ้นตามอายุประชากร ซึ่งเป็นผลพวงมาจากนโยบายคุมกำเนิดเข้มงวดที่ใช้มานานกว่า 35 ปี งานวิจัยพบว่า ชาวจีนที่มีปัญหาสุขภาพจิตเล็กๆ น้อยๆ เช่น โรคเครียด หรือโรควิตกกังวล รวมไปถึงผู้ที่มีอาการทางจิตจากการใช้สารเสพติด และผู้ป่วยความจำเสื่อม ได้เดินทางไปพบแพทย์เพียงราวๆ6%เท่านั้น ไมเคิล ฟิลลิปส์ หนึ่งในหัวหน้าคณะผู้เรียบเรียงรายงาน และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเอมอรีในเมืองแอตแลนตา และมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง (Shanghai Jiao Tong University) ระบุว่า “ความขาดแคลนบุคลากรทางด้านจิตเวชในพื้นที่ชนบทของจีน...รุนแรงเป็นพิเศษ” ชาวจีนกว่าครึ่งที่มีอาการป่วยทางจิตขั้นรุนแรง เช่น โรคจิตเภท (Schizophrenia) ยังไม่เคยได้รับการดูแลจากแพทย์ส่วนสถิติที่อินเดียก็ไม่แตกต่างกันนัก ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มประเทศร่ำรวยนั้นมีโอกาสเข้าถึงการรักษาสูงกว่า70%ขึ้นไป ในแง่ของงบประมาณ ที่รัฐใช้จ่ายเพื่อรับมือปัญหาสุขภาพจิตของประชาชนก็แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและชาติมหาอำนาจ จีนและอินเดียจัดสรรงบประมาณสาธารณสุขเพื่อดูแลปัญหาสุขภาพจิตไม่ถึง 1% ในขณะที่สหรัฐฯ ทุ่มงบให้แก่งานด้านนี้ถึง 6% ส่วนเยอรมนีและฝรั่งเศสก็มากกว่า 10% ขึ้นไป แม้ปักกิ่งและนิวเดลีจะเริ่มมีนโยบายเชิงรุกเพื่อช่วยเหลือพลเมืองที่ป่วยทางจิต แต่สถานการณ์ในภาพรวมก็ยังไม่ดีขึ้นเท่าไหร่ “ช่องว่างด้านการรักษาพยาบาลยังคงกว้างมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท” วิกราม ปาเตลอาจารย์จากวิทยาลัยสุขภาพและเวชศาสตร์เขตร้อนมหาวิทยาลัยลอนดอนเอ่ยถึงสถานการณ์ในอินเดีย รายงานชุดนี้ สรุปว่า ระบบการแพทย์ของจีนและอินเดียอาจต้องใช้เวลาอีกหลายสิบปีกว่าจะเติมเต็มช่องว่างเหล่านี้ได้ พร้อมทั้งเสนอแนะให้มีการฝึกฝนเพิ่มเติมแก่เหล่าผู้ปฏิบัติโยคะในอินเดีย หรือหมอสมุนไพรในจีน ให้ตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาสุขภาพจิต และเข้ามามีส่วนช่วยดูแลประชาชนในด้านนี้ ขอบคุณ... http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000049906

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...