คนไทยทำได้! 'SenzE' เครื่องช่วยสื่อสารผ่านดวงตา ถูกกว่าดีกว่าเพื่อคนไทย

แสดงความคิดเห็น

นายปิยะศักดิ์ บุญคมรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมดิเทค โซลูชั่น จำกัด ผู้คิดค้นวิจัย ผลิต และจัดจำหน่ายอุปกรณ์ SenzE

ตามทีมข่าวไอทีออนไลน์ ไปทำความรู้จักอุปกรณ์ช่วยสื่อสาร พัฒนาโดยคนไทย แต่ประสิทธิภาพแซงหน้าต่างชาติมั่นใจคุณภาพดีกว่าราคาถูกกว่าแถมปลอดภัยไม่มีผลข้างเคียง...ต้องยอมรับว่าการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน แต่ละวันเราใช้เทคโนโลยีกันอย่างสุรุ่ยสุร่าย โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เห็นใช้งานกันบ่อยครั้งและแพร่หลายทั่วโลก เพราะไม่เพียงประโยชน์ด้านการติดต่อสื่อสาร แต่ยังช่วยทำให้คนอยู่ต่างภูมิภาค ต่างประเทศได้ใกล้ชิดกัน เสมือนทำให้โลกแคบลง แต่หากจะบอกว่า ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถฟื้นความสามารถในการสื่อสารให้แก่ผู้ป่วย และผู้ที่สูญเสียความสามารถในการสื่อสาร ทั้งการพูด การเขียน ให้กลับมาสื่อสารกับผู้อื่นได้อีกครั้ง คุณจะเชื่อหรือไม่!!!

"ทีมข่าวไอทีออนไลน์" กำลังจะพาผู้อ่านทุกท่านไปรู้จักกับอุปกรณ์ที่เรียกว่า "SenzE" ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการสื่อสารผ่านทางสายตาสำหรับผู้ป่วยอัมพาต โดยเป็นเครื่องแรกของโลกที่ทำงานด้วยซอฟต์แวร์ภาษาไทย ถือเป็นความสำเร็จอีกขั้นที่มนุษย์สามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยให้ผู้ที่ไม่ สามารถสื่อสาร ได้กลับมาสื่อสารแสดงความรู้สึกความต้องการได้ดังเดิมด้วยแนวคิดในการผลิตและพัฒนาโดยฝีมือคนไทย

ซึ่งในครั้งนี้ นายปิยะศักดิ์ บุญคมรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมดิเทค โซลูชั่น จำกัด ผู้คิดค้นวิจัย ผลิต และจัดจำหน่ายอุปกรณ์ SenzE ได้เล่าถึงแนวคิด ประโยชน์ที่น่าสนใจ รวมถึงความสำเร็จของอุปกรณ์ดังกล่าว ที่คนไทยสามารถผลิตได้เป็นประเทศที่ 3 ของโลก และเป็นเครื่องแรกในเอเชีย ให้ผู้อ่านทุกท่านได้ติดตามและชื่นชมไปพร้อมกัน...

ประดิษฐ์เครื่องให้คนใกล้ตัวแต่พัฒนาจนได้รับทุนนวัตกรรม! ก่อนหน้านี้ผมทำธุรกิจด้านไอที บริษัท บางกอกโซลูชั่น จำกัด โดยจัดทำซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่น เว็บไซต์ให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชน จนกระทั่งเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ที่พบว่าพ่อของเพื่อนคนหนึ่งเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้สูญเสียความสามารถในการควบคุมอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ส่งผลให้ไม่สามารถสื่อสารกับคนรอบข้างได้เลยทั้งการพูดและการเขียน เพื่อนคนดังกล่าวจึงได้มาปรึกษากับผมว่าจะมีเทคโนโลยีอะไรเพื่อช่วยเหลือให้พ่อของเขาสามารถกลับมาสื่อสารได้อีกครั้ง

หลังจากได้รับโจทย์ดังกล่าว ผมได้ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลจนกระทั่งพบว่ามีเทคโนโลยีการตรวจจับดวงตา (Eye Tracking System) ที่ใช้ประโยชน์จากการสื่อสายด้วยสายตา แต่ในต่างประเทศเองก็มีการพัฒนาไม่มากนัก โดยพบว่ามีในอเมริกาและสวีเดน แต่ในเอเชียหรือไทยยังไม่มีใครทำเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างจริงจัง จึงนำไอเดียดังกล่าวไปเสนอสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ เอ็นไอเอ เมื่อปี 2554 และได้รับทุนให้เปล่าสนับสนุนราว 500,000 บาทมาในที่สุด เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ SenzE สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยที่สูญเสียความสามารถทางการสื่อสาร อาทิ ผู้ป่วยอัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง บาดเจ็บทางสมอง ซึ่งมีมากกว่า 900,000 รายในประเทศไทย

อุปกรณ์ SenzE ความสำเร็จ...เครื่องแรกของโลก!!! หลังจากพัฒนาเสร็จในขั้นตอนแรกในช่วงกุมภาพันธ์ 2555 ก็ได้มีการนำไปทดสอบกับผู้ป่วยจริงที่สถาบันประสาทวิทยา จำนวน 10 ราย ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จากนั้นจึงมีการขอทุนสนับสนุนอีกครั้งราว 600,000 บาท เพื่อพัฒนาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งเอ็นไอเอต้องการให้จำหน่ายในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากอุปกรณ์ SenzE ถือเป็นเครื่องแรกของโลกที่มีซอฟต์แวร์ภาษาไทย ขณะเดียวกันก็ยังถือเป็นความสำเร็จแรกในเอเชียที่ทำให้ผู้ป่วยกลับมาสื่อสารได้ด้วยสายตา และยังสามารถลดต้นทุนจากการนำเข้าอุปกรณ์ลักษณะดังกล่าวจากต่างประเทศ ทั้งยังสามารถส่งออกจำหน่ายในต่างประเทศได้อีกด้วย โดยบริษัทการสนับสนุนทุนด้านการออกแบบจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ จึงได้ก่อตั้งบริษัท เมดิเทค โซลูชั่น จำกัด เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2556 หลังจากเรามีความพร้อมและคิดว่าสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ได้แล้ว

ผู้ป่วยนอนเตียงทดลองใช้อุปกรณ์ SenzE ตรวจจับสายตา และแปลงเป็นถ้อยคำ อุปกรณ์ ในชุด SenzE ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก หรือคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป 1 เครื่อง ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องราคาแพงหรือสเปกสูงมาก เพราะโปรแกรมที่ใช้นั้นไม่ได้ใช้ทรัพยากรเครื่องหนัก และใช้ร่วมกับจอแอลซีดีขนาด 19 นิ้ว และกล้องเว็บแคมความคมชัดสูง โดยวางบนโต๊ะที่รวมอยู่ในชุดอุปกรณ์ และยังสามารถพับเก็บใส่กล่องเคลื่อนย้ายและขนส่งซึ่งสามารถประกอบใช้งานได้ภายใน5นาที

ขณะเดียวกันยังให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าอุปกรณ์ของต่างประเทศ เนื่องจากใช้เทคโนโลยีการตรวจจับสายตาที่ให้ความแม่นยำ ปลอดภัยกว่า และทนทาน ซึ่งในต่างประเทศจะใช้เทคโนโลยีแบบอื่นซึ่งจะใช้ได้ผลดีเฉพาะผู้ป่วยนอนราบ ขณะใช้งาน เนื่องจากต้องตรวจจับดวงตาทั้ง 2 ข้าง และใช้สายตาแทนเม้าส์ในการคลิกเลือกเมนูต่างๆ อาจทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าสายตา แตกต่างกับอุปกรณ์ SenzE ที่ใช้งานง่ายกว่า และตรวจจับดวงตาเพียงข้างเดียว ทำให้ผู้ป่วยหรือผู้พิการที่มีดวงตาเพียง 1 ข้างยังสามารถใช้งานได้ ส่วนการใช้งานนั้น ยืนยันว่าใช้งานง่ายและสะดวกโดยทางบริษัทจะมีการแนะนำให้จนกว่าผู้ดูแลหรือผู้ป่วยจะใช้งานได้

ในการใช้งานอุปกรณ์ SenzE ใช้การเลื่อนแถบเมนูอัตโนมัติ โดยผู้ป่วยสามารถกะพริบตา 2 ครั้ง เพื่อเลือกเมนูหรือข้อความที่กำลังปรากฏแถบสีอยู่บนหน้าจอ ซึ่งมีโอกาสเกิดความผิดพลาดในการเลือกได้น้อย และยังมีข้อดีซึ่งอุปกรณ์นั้นไม่ได้ถูกยึดไว้กับตัวผู้ป่วย โดยตั้งห่างจากตัวผู้ป่วยราว 70 เซนติเมตร เสมือนการดูโทรทัศน์ จึงไม่สร้างความรำคาญและปลอดภัยในการใช้งาน สามารถดูแลรักษาอุปกรณ์ได้ง่ายกว่าเพราะแต่ละชิ้นส่วนนั้นแยกออกจากกันได้

อย่างไรก็ตาม ในการใช้งานอุปกรณ์ SenzE ยังมีข้อจำกัด เช่น แสงสว่างภายในห้อง ซึ่งไม่ควรเป็นแสงสีส้ม, สติสัมปชัญญะของผู้ใช้ ต้องสามารถจดจำรูปลักษณ์และจำแนกสิ่งของได้ และต้องสามารถกะพริบตาได้, สามารถอ่านหนังสือได้ แต่ผู้ที่ไม่มีความชำนาญในเทคโนโลยีและไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์มาก่อน จะสามารถใช้งานอุปกรณ์ SenzE ได้อย่างแน่นอน

อุปกรณ์ SenzE อ่านภาษาไทยได้ ฟื้นการสื่อสารให้ผู้ป่วยและผู้พิการ ประโยชน์ ของอุปกรณ์ SenzE คือ การทำให้ผู้ป่วยที่ไม่เคยสื่อสารได้เลย สามารถกลับมาสื่อสารได้ ทำให้มีกำลังใจและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยบางโรค เช่น อัมพาต ที่จะต้องนอนอยู่บนเตียงไปตลอดชีวิต พูดได้ว่ามีชีวิตเหมือนร่างไร้วิญญาณ รวมถึงผู้ป่วยหนักหรือผู้สูงอายุ ซึ่งอุปกรณ์ SenzE จะช่วยให้กลับมาสื่อสารได้อีกครั้ง ทำให้แพทย์ ผู้ดูแล หรือญาติมิตร สามารถเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง และสามารถตอบสนองได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ยังช่วยลดการนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศ และที่สำคัญคือทำให้คนไทยได้ใช้อุปกรณ์ในราคาถูกกว่าหลายเท่าตัว โดยอุปกรณ์จากต่างประเทศซึ่งไม่มีเมนูการใช้งานภาษาไทยจะมีราคามากกว่า 300,000 บาท ซึ่งยังไม่รวมภาษีนำเข้าและค่าขนส่ง ขณะที่อุปกรณ์ SenzE ที่มีซอฟต์แวร์ภาษาไทยและพัฒนาเพื่อคนไทยนั้น เราจำหน่ายในราคา 180,000 บาท ไม่รวมคอมพิวเตอร์ในชุด ซึ่งผู้ใช้สามารถจัดหาคอมพิวเตอร์ไว้เองได้ พร้อมการรับประกันอัพเดตซอฟต์แวร์ฟรีและซ่อมถึงที่นาน 2 ปี

อุปกรณ์ SenzE อ่านภาษาไทยได้ เตรียมกวาดรางวัลในเวทีนานาชาติ เราได้รับการคัดเลือกจากเอ็นไอเอ ให้อุปกรณ์ SenzE ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการนวัตกรรมเชิงสังคม ซึ่งคัดเลือกจากกว่า 1,000 โครงการที่เอ็นไอเอเคยสนับสนุนทุนวิจัย และจัดเป็นโครงการ SenzE for Charity ซึ่งได้รับการสนับสนุนร่วมกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ที่เล็งเห็นประโยชน์ของอุปกรณ์ SenzE โดยซื้ออุปกรณ์กว่า 30 ชุด เพื่อนำไปบริจาคให้โรงพยาบาลของรัฐแห่งละ 3 ชุด รวม 10 แห่ง อาทิ โรงพยาบาลจุฬา โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี สถาบันประสาทวิทยา ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพการแพทย์แห่งชาติ โรงพยาบาลทหารผ่านศึก โรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่ โรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยกว่า 10,000 คนได้ใช้ประโยชน์

นอกจากนี้อุปกรณ์ SenzE ยังเคยได้รับรางวัลจากการประกวดในเวทีอื่นๆ มาแล้ว อาทิ จากโครงการของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) โครงการทรู อินโนเวชั่น อะวอร์ด โดยในเร็วๆ นี้ บริษัทจะนำอุปกรณ์ SenzE เข้าร่วมการประกวด ณ ประเทศสิงคโปร์อีกด้วย

อุปกรณ์ SenzE อ่านภาษาไทยได้ พัฒนาเพื่อคนไทย ให้ทดลองใช้-ผ่อนชำระได้ ขณะนี้มีผู้สนใจติดต่อทดลองใช้อุปกรณ์ SenzE บ้างแล้ว เป้าหมายของเราคืออยากพัฒนาอุปกรณ์ที่ผู้ป่วยสามารถใช้งานได้จริงและเกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นเรายินดีจะให้ผู้สนใจได้นำไปทดลองใช้งานก่อนตัดสินใจซื้อ ขณะเดียวกัน หากผู้ป่วยไม่สะดวกจะซื้อในราคาเต็มก็มีการซื้อแบบผ่อนชำระได้ด้วย เพราะเป้าหมายของเราคือการผลิตและจำหน่ายให้ผู้ป่วย ไม่ใช่เน้นขายให้โรงพยาบาลเท่านั้น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นพระสงฆ์หรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือเหตุความไม่สงบในภาคใต้นั้น เรามีแผนจะจำหน่ายให้ในราคาพิเศษ หรือองค์กรใดต้องการบริจาคทางบริษัทยินดีจะดำเนินการให้ทันทีซึ่งบริษัทมีกำลังผลิตได้หลักร้อยเครื่องต่อ1เดือน

เล็งต่อยอดการใช้งานต้อนรับประชาคมอาเซียน ปัจจุบันเครื่องมือของเราสามารถใช้งานได้ 2 ภาษา คือ คีย์บอร์ดภาษาไทยและอังกฤษ แต่บริษัทมีแผนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนภายใน 2 ปี จึงตั้งเป้าพัฒนาคีย์บอร์ดเพื่อรองรับภาษาต่างๆ ในกลุ่มอาเซียนด้วย โดยภาษาต่อไปอาจเป็นการพัฒนาภาษาจีน นอกจากนี้ยังมีแผนพัฒนาฟังก์ชั่นการใช้งานใหม่ๆ เช่น การเป็นโฮมเอ็นเตอร์เทนเมนต์ เพิ่มภาพ เพลง ภาพยนตร์เข้าไปในเครื่อง เพื่อให้ความบันเทิงแก่ผู้ป่วยที่ใช้งาน หรือการช่วยสะกดคำ เพื่อลดเวลาในการพิมพ์ให้สามารถทำได้รวดเร็วขึ้น รวมถึงการทำเมนูเสียง การแจ้งเตือนเพื่อขอความช่วยเหลือฉุกเฉินไปยังเบอร์โทรศัพท์ของญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วย และการเชื่อมต่อกับระบบออนไลน์เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ต เข้าสู่เว็บไซต์อ่านข่าว หรือดูโทรทัศน์ผ่านระบบไอพีทีวี เป็นต้น ซึ่งคาดว่าบางฟังก์ชั่นนั้นจะสามารถพัฒนาได้สมบูรณ์ภายในสิ้นปีนี้ อย่างไรก็ตาม เราพิจารณาจากแนวโน้มเทคโนโลยี ซึ่งในอนาคตอาจมีการพัฒนาสู่บริการผ่านระบบคลาวด์ คอมพิวติ้งด้วย เพื่อให้สามารถใช้งานได้จากหลายอุปกรณ์ และเปิดโอกาสให้เช่าซื้อเช่าใช้อุปกรณ์ได้.

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/edu/359392

ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ก.ค.56

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 29/07/2556 เวลา 03:00:24 ดูภาพสไลด์โชว์ คนไทยทำได้! 'SenzE' เครื่องช่วยสื่อสารผ่านดวงตา ถูกกว่าดีกว่าเพื่อคนไทย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายปิยะศักดิ์ บุญคมรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมดิเทค โซลูชั่น จำกัด ผู้คิดค้นวิจัย ผลิต และจัดจำหน่ายอุปกรณ์ SenzE ตามทีมข่าวไอทีออนไลน์ ไปทำความรู้จักอุปกรณ์ช่วยสื่อสาร พัฒนาโดยคนไทย แต่ประสิทธิภาพแซงหน้าต่างชาติมั่นใจคุณภาพดีกว่าราคาถูกกว่าแถมปลอดภัยไม่มีผลข้างเคียง...ต้องยอมรับว่าการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน แต่ละวันเราใช้เทคโนโลยีกันอย่างสุรุ่ยสุร่าย โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เห็นใช้งานกันบ่อยครั้งและแพร่หลายทั่วโลก เพราะไม่เพียงประโยชน์ด้านการติดต่อสื่อสาร แต่ยังช่วยทำให้คนอยู่ต่างภูมิภาค ต่างประเทศได้ใกล้ชิดกัน เสมือนทำให้โลกแคบลง แต่หากจะบอกว่า ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถฟื้นความสามารถในการสื่อสารให้แก่ผู้ป่วย และผู้ที่สูญเสียความสามารถในการสื่อสาร ทั้งการพูด การเขียน ให้กลับมาสื่อสารกับผู้อื่นได้อีกครั้ง คุณจะเชื่อหรือไม่!!! "ทีมข่าวไอทีออนไลน์" กำลังจะพาผู้อ่านทุกท่านไปรู้จักกับอุปกรณ์ที่เรียกว่า "SenzE" ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการสื่อสารผ่านทางสายตาสำหรับผู้ป่วยอัมพาต โดยเป็นเครื่องแรกของโลกที่ทำงานด้วยซอฟต์แวร์ภาษาไทย ถือเป็นความสำเร็จอีกขั้นที่มนุษย์สามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยให้ผู้ที่ไม่ สามารถสื่อสาร ได้กลับมาสื่อสารแสดงความรู้สึกความต้องการได้ดังเดิมด้วยแนวคิดในการผลิตและพัฒนาโดยฝีมือคนไทย ซึ่งในครั้งนี้ นายปิยะศักดิ์ บุญคมรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมดิเทค โซลูชั่น จำกัด ผู้คิดค้นวิจัย ผลิต และจัดจำหน่ายอุปกรณ์ SenzE ได้เล่าถึงแนวคิด ประโยชน์ที่น่าสนใจ รวมถึงความสำเร็จของอุปกรณ์ดังกล่าว ที่คนไทยสามารถผลิตได้เป็นประเทศที่ 3 ของโลก และเป็นเครื่องแรกในเอเชีย ให้ผู้อ่านทุกท่านได้ติดตามและชื่นชมไปพร้อมกัน... ประดิษฐ์เครื่องให้คนใกล้ตัวแต่พัฒนาจนได้รับทุนนวัตกรรม! ก่อนหน้านี้ผมทำธุรกิจด้านไอที บริษัท บางกอกโซลูชั่น จำกัด โดยจัดทำซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่น เว็บไซต์ให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชน จนกระทั่งเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ที่พบว่าพ่อของเพื่อนคนหนึ่งเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้สูญเสียความสามารถในการควบคุมอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ส่งผลให้ไม่สามารถสื่อสารกับคนรอบข้างได้เลยทั้งการพูดและการเขียน เพื่อนคนดังกล่าวจึงได้มาปรึกษากับผมว่าจะมีเทคโนโลยีอะไรเพื่อช่วยเหลือให้พ่อของเขาสามารถกลับมาสื่อสารได้อีกครั้ง หลังจากได้รับโจทย์ดังกล่าว ผมได้ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลจนกระทั่งพบว่ามีเทคโนโลยีการตรวจจับดวงตา (Eye Tracking System) ที่ใช้ประโยชน์จากการสื่อสายด้วยสายตา แต่ในต่างประเทศเองก็มีการพัฒนาไม่มากนัก โดยพบว่ามีในอเมริกาและสวีเดน แต่ในเอเชียหรือไทยยังไม่มีใครทำเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างจริงจัง จึงนำไอเดียดังกล่าวไปเสนอสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ เอ็นไอเอ เมื่อปี 2554 และได้รับทุนให้เปล่าสนับสนุนราว 500,000 บาทมาในที่สุด เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ SenzE สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยที่สูญเสียความสามารถทางการสื่อสาร อาทิ ผู้ป่วยอัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง บาดเจ็บทางสมอง ซึ่งมีมากกว่า 900,000 รายในประเทศไทย อุปกรณ์ SenzE ความสำเร็จ...เครื่องแรกของโลก!!! หลังจากพัฒนาเสร็จในขั้นตอนแรกในช่วงกุมภาพันธ์ 2555 ก็ได้มีการนำไปทดสอบกับผู้ป่วยจริงที่สถาบันประสาทวิทยา จำนวน 10 ราย ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จากนั้นจึงมีการขอทุนสนับสนุนอีกครั้งราว 600,000 บาท เพื่อพัฒนาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งเอ็นไอเอต้องการให้จำหน่ายในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากอุปกรณ์ SenzE ถือเป็นเครื่องแรกของโลกที่มีซอฟต์แวร์ภาษาไทย ขณะเดียวกันก็ยังถือเป็นความสำเร็จแรกในเอเชียที่ทำให้ผู้ป่วยกลับมาสื่อสารได้ด้วยสายตา และยังสามารถลดต้นทุนจากการนำเข้าอุปกรณ์ลักษณะดังกล่าวจากต่างประเทศ ทั้งยังสามารถส่งออกจำหน่ายในต่างประเทศได้อีกด้วย โดยบริษัทการสนับสนุนทุนด้านการออกแบบจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ จึงได้ก่อตั้งบริษัท เมดิเทค โซลูชั่น จำกัด เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2556 หลังจากเรามีความพร้อมและคิดว่าสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ได้แล้ว ผู้ป่วยนอนเตียงทดลองใช้อุปกรณ์ SenzE ตรวจจับสายตา และแปลงเป็นถ้อยคำ อุปกรณ์ ในชุด SenzE ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก หรือคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป 1 เครื่อง ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องราคาแพงหรือสเปกสูงมาก เพราะโปรแกรมที่ใช้นั้นไม่ได้ใช้ทรัพยากรเครื่องหนัก และใช้ร่วมกับจอแอลซีดีขนาด 19 นิ้ว และกล้องเว็บแคมความคมชัดสูง โดยวางบนโต๊ะที่รวมอยู่ในชุดอุปกรณ์ และยังสามารถพับเก็บใส่กล่องเคลื่อนย้ายและขนส่งซึ่งสามารถประกอบใช้งานได้ภายใน5นาที ขณะเดียวกันยังให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าอุปกรณ์ของต่างประเทศ เนื่องจากใช้เทคโนโลยีการตรวจจับสายตาที่ให้ความแม่นยำ ปลอดภัยกว่า และทนทาน ซึ่งในต่างประเทศจะใช้เทคโนโลยีแบบอื่นซึ่งจะใช้ได้ผลดีเฉพาะผู้ป่วยนอนราบ ขณะใช้งาน เนื่องจากต้องตรวจจับดวงตาทั้ง 2 ข้าง และใช้สายตาแทนเม้าส์ในการคลิกเลือกเมนูต่างๆ อาจทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าสายตา แตกต่างกับอุปกรณ์ SenzE ที่ใช้งานง่ายกว่า และตรวจจับดวงตาเพียงข้างเดียว ทำให้ผู้ป่วยหรือผู้พิการที่มีดวงตาเพียง 1 ข้างยังสามารถใช้งานได้ ส่วนการใช้งานนั้น ยืนยันว่าใช้งานง่ายและสะดวกโดยทางบริษัทจะมีการแนะนำให้จนกว่าผู้ดูแลหรือผู้ป่วยจะใช้งานได้ ในการใช้งานอุปกรณ์ SenzE ใช้การเลื่อนแถบเมนูอัตโนมัติ โดยผู้ป่วยสามารถกะพริบตา 2 ครั้ง เพื่อเลือกเมนูหรือข้อความที่กำลังปรากฏแถบสีอยู่บนหน้าจอ ซึ่งมีโอกาสเกิดความผิดพลาดในการเลือกได้น้อย และยังมีข้อดีซึ่งอุปกรณ์นั้นไม่ได้ถูกยึดไว้กับตัวผู้ป่วย โดยตั้งห่างจากตัวผู้ป่วยราว 70 เซนติเมตร เสมือนการดูโทรทัศน์ จึงไม่สร้างความรำคาญและปลอดภัยในการใช้งาน สามารถดูแลรักษาอุปกรณ์ได้ง่ายกว่าเพราะแต่ละชิ้นส่วนนั้นแยกออกจากกันได้ อย่างไรก็ตาม ในการใช้งานอุปกรณ์ SenzE ยังมีข้อจำกัด เช่น แสงสว่างภายในห้อง ซึ่งไม่ควรเป็นแสงสีส้ม, สติสัมปชัญญะของผู้ใช้ ต้องสามารถจดจำรูปลักษณ์และจำแนกสิ่งของได้ และต้องสามารถกะพริบตาได้, สามารถอ่านหนังสือได้ แต่ผู้ที่ไม่มีความชำนาญในเทคโนโลยีและไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์มาก่อน จะสามารถใช้งานอุปกรณ์ SenzE ได้อย่างแน่นอน อุปกรณ์ SenzE อ่านภาษาไทยได้ ฟื้นการสื่อสารให้ผู้ป่วยและผู้พิการ ประโยชน์ ของอุปกรณ์ SenzE คือ การทำให้ผู้ป่วยที่ไม่เคยสื่อสารได้เลย สามารถกลับมาสื่อสารได้ ทำให้มีกำลังใจและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยบางโรค เช่น อัมพาต ที่จะต้องนอนอยู่บนเตียงไปตลอดชีวิต พูดได้ว่ามีชีวิตเหมือนร่างไร้วิญญาณ รวมถึงผู้ป่วยหนักหรือผู้สูงอายุ ซึ่งอุปกรณ์ SenzE จะช่วยให้กลับมาสื่อสารได้อีกครั้ง ทำให้แพทย์ ผู้ดูแล หรือญาติมิตร สามารถเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง และสามารถตอบสนองได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ยังช่วยลดการนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศ และที่สำคัญคือทำให้คนไทยได้ใช้อุปกรณ์ในราคาถูกกว่าหลายเท่าตัว โดยอุปกรณ์จากต่างประเทศซึ่งไม่มีเมนูการใช้งานภาษาไทยจะมีราคามากกว่า 300,000 บาท ซึ่งยังไม่รวมภาษีนำเข้าและค่าขนส่ง ขณะที่อุปกรณ์ SenzE ที่มีซอฟต์แวร์ภาษาไทยและพัฒนาเพื่อคนไทยนั้น เราจำหน่ายในราคา 180,000 บาท ไม่รวมคอมพิวเตอร์ในชุด ซึ่งผู้ใช้สามารถจัดหาคอมพิวเตอร์ไว้เองได้ พร้อมการรับประกันอัพเดตซอฟต์แวร์ฟรีและซ่อมถึงที่นาน 2 ปี อุปกรณ์ SenzE อ่านภาษาไทยได้ เตรียมกวาดรางวัลในเวทีนานาชาติ เราได้รับการคัดเลือกจากเอ็นไอเอ ให้อุปกรณ์ SenzE ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการนวัตกรรมเชิงสังคม ซึ่งคัดเลือกจากกว่า 1,000 โครงการที่เอ็นไอเอเคยสนับสนุนทุนวิจัย และจัดเป็นโครงการ SenzE for Charity ซึ่งได้รับการสนับสนุนร่วมกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ที่เล็งเห็นประโยชน์ของอุปกรณ์ SenzE โดยซื้ออุปกรณ์กว่า 30 ชุด เพื่อนำไปบริจาคให้โรงพยาบาลของรัฐแห่งละ 3 ชุด รวม 10 แห่ง อาทิ โรงพยาบาลจุฬา โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี สถาบันประสาทวิทยา ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพการแพทย์แห่งชาติ โรงพยาบาลทหารผ่านศึก โรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่ โรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยกว่า 10,000 คนได้ใช้ประโยชน์ นอกจากนี้อุปกรณ์ SenzE ยังเคยได้รับรางวัลจากการประกวดในเวทีอื่นๆ มาแล้ว อาทิ จากโครงการของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) โครงการทรู อินโนเวชั่น อะวอร์ด โดยในเร็วๆ นี้ บริษัทจะนำอุปกรณ์ SenzE เข้าร่วมการประกวด ณ

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...