ผลวิจัยชี้ ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีทัศนคติ เด็กพิการไม่สามารถเรียนได้

แสดงความคิดเห็น

อักษรเบล

นางสาวสุทธาสินี วัชรบูล รองเลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวในการประชุมสัมมนา เรื่อง แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการ ว่า การจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเด็กพิการเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเร่งดำเนินการ จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการมีพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เพื่อที่จะส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับผู้พิการให้มีคุณภาพและมีมาตรฐาน

นอกจากนี้ ในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) กำหนดเป้าหมายการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ซึ่งกล่าวถึงเด็กด้อยโอกาสในหลายกลุ่มรวมถึงเด็กพิการด้วย ซึ่งในปัจจุบันการจัดการศึกษายังขาดในเรื่องสื่อการเรียน ครูผู้สอน และอุปกรณ์การเรียนการสอน ให้เด็กกลุ่มนี้เท่าที่ควร สกศ.จึงร่วมกับวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะรัตน์ นุชผ่องใส และคณะทำการศึกษากรณีศึกษาต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศในเรื่องดังกล่าว และผลจากการประชุมจะนำไปเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการให้มีคุณภาพต่อไป

ด้าน ผศ.ดร.ปิยะรัตน์ กล่าวว่า คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับสภาพปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการการศึกษาแก่เด็กพิการในประเทศไทยกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารศูนย์การศึกษาพิเศษ ครูและบุคลากรในสถานศึกษาเฉพาะความพิการและในศูนย์การศึกษาพิเศษ เด็กพิการ และผู้ปกครองทั่วประเทศ จำนวน 1,177 คน ซึ่งผลการวิจัยในด้านนโยบายและการบริหารจัดการ พบว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการ อย่างเท่าเทียมทางสิทธิ โอกาส การมีส่วนร่วมเท่าเทียมกับคนทั่วไป ไม่แตกต่างกัน โดยเด็กสามารถเลือกเรียนในโรงเรียนทั่วไปได้ตามความสามารถ และสามารถเรียนถึงระดับอุดมศึกษาโดยไม่เสียค่าเล่าเรียน

ส่วนในด้านการจัดการเรียนการสอน พบว่า การสอนของครูยังเน้นเรื่องการบรรยายและสาธิต และครูยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับการสอนคละชั้น ครูไม่ได้รับการนิเทศจากศึกษานิเทศก์หรือสำนักบริหารการศึกษาพิเศษ สำหรับด้านทรัพยากรและปัจจัยเกื้อหนุน พบว่า งบประมาณไม่เพียงพอ ครูต้องปฏิบัติงานทั่วไปและงานธุรการควบคู่กับภาระการสอน ครูไม่มีความรู้เพียงพอในการผลิตสื่อหรือไม่มีเครื่องมือในการผลิตสื่อ ห้องสมุดสำหรับเด็กในสถานศึกษาเฉพาะความพิการยังไม่มี ที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังมีทัศนคติว่าเด็กพิการไม่สามารถเรียนได้และเด็กพิการ ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญหรือประโยชน์ของการศึกษา

"หากเปรียบเทียบการศึกษากับเด็กพิการในต่างประเทศ พบว่า การเปิดชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนทั่วไปและการเรียนในชั้นเรียนปกติร่วมกับ เด็กทั่วไปในประเทศไทยยังนับว่ามีน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดครูการศึกษาพิเศษที่มีความสามารถสอนรายวิชาต่างๆ และไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ ตลอดจนการประเมิน/คัดกรองก่อนเข้าโปรแกรมหรือรับบริการยังไม่มี สำหรับแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการ อาทิเช่น การกำหนดนโยบายให้เด็กพิการได้เรียนในโรงเรียนทั่วไปใกล้บ้านหรือเป็นรูปแบบ การเรียนร่วม ตลอดจนให้มีหน่วยงานระดับชาติด้านการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการคอยทำ หน้าที่ศึกษา วิจัย พัฒนา และเป็นแหล่งข้อมูลด้านการศึกษาสำหรับคนพิการ อีกทั้งการปรับปรุงหลักสูตรโดยคณะกรรมการที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง พัฒนาการเด็ก และปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าด้านการศึกษาสำหรับคนพิการ หรือการศึกษาพิเศษ ตลอดจนการจัดเตรียมอัตรากำลังครูการศึกษาพิเศษให้เพียงพอ เป็นต้น" หัวหน้าคณะวิจัย

ขอบคุณ... http://www.onec.go.th/cms/new_highlightview.php?ID=342

ที่มา: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 27/06/2556 เวลา 06:17:11 ดูภาพสไลด์โชว์ ผลวิจัยชี้ ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีทัศนคติ เด็กพิการไม่สามารถเรียนได้

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

อักษรเบล นางสาวสุทธาสินี วัชรบูล รองเลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวในการประชุมสัมมนา เรื่อง แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการ ว่า การจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเด็กพิการเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเร่งดำเนินการ จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการมีพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เพื่อที่จะส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับผู้พิการให้มีคุณภาพและมีมาตรฐาน นอกจากนี้ ในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) กำหนดเป้าหมายการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ซึ่งกล่าวถึงเด็กด้อยโอกาสในหลายกลุ่มรวมถึงเด็กพิการด้วย ซึ่งในปัจจุบันการจัดการศึกษายังขาดในเรื่องสื่อการเรียน ครูผู้สอน และอุปกรณ์การเรียนการสอน ให้เด็กกลุ่มนี้เท่าที่ควร สกศ.จึงร่วมกับวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะรัตน์ นุชผ่องใส และคณะทำการศึกษากรณีศึกษาต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศในเรื่องดังกล่าว และผลจากการประชุมจะนำไปเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการให้มีคุณภาพต่อไป ด้าน ผศ.ดร.ปิยะรัตน์ กล่าวว่า คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับสภาพปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการการศึกษาแก่เด็กพิการในประเทศไทยกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารศูนย์การศึกษาพิเศษ ครูและบุคลากรในสถานศึกษาเฉพาะความพิการและในศูนย์การศึกษาพิเศษ เด็กพิการ และผู้ปกครองทั่วประเทศ จำนวน 1,177 คน ซึ่งผลการวิจัยในด้านนโยบายและการบริหารจัดการ พบว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการ อย่างเท่าเทียมทางสิทธิ โอกาส การมีส่วนร่วมเท่าเทียมกับคนทั่วไป ไม่แตกต่างกัน โดยเด็กสามารถเลือกเรียนในโรงเรียนทั่วไปได้ตามความสามารถ และสามารถเรียนถึงระดับอุดมศึกษาโดยไม่เสียค่าเล่าเรียน ส่วนในด้านการจัดการเรียนการสอน พบว่า การสอนของครูยังเน้นเรื่องการบรรยายและสาธิต และครูยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับการสอนคละชั้น ครูไม่ได้รับการนิเทศจากศึกษานิเทศก์หรือสำนักบริหารการศึกษาพิเศษ สำหรับด้านทรัพยากรและปัจจัยเกื้อหนุน พบว่า งบประมาณไม่เพียงพอ ครูต้องปฏิบัติงานทั่วไปและงานธุรการควบคู่กับภาระการสอน ครูไม่มีความรู้เพียงพอในการผลิตสื่อหรือไม่มีเครื่องมือในการผลิตสื่อ ห้องสมุดสำหรับเด็กในสถานศึกษาเฉพาะความพิการยังไม่มี ที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังมีทัศนคติว่าเด็กพิการไม่สามารถเรียนได้และเด็กพิการ ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญหรือประโยชน์ของการศึกษา "หากเปรียบเทียบการศึกษากับเด็กพิการในต่างประเทศ พบว่า การเปิดชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนทั่วไปและการเรียนในชั้นเรียนปกติร่วมกับ เด็กทั่วไปในประเทศไทยยังนับว่ามีน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดครูการศึกษาพิเศษที่มีความสามารถสอนรายวิชาต่างๆ และไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ ตลอดจนการประเมิน/คัดกรองก่อนเข้าโปรแกรมหรือรับบริการยังไม่มี สำหรับแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการ อาทิเช่น การกำหนดนโยบายให้เด็กพิการได้เรียนในโรงเรียนทั่วไปใกล้บ้านหรือเป็นรูปแบบ การเรียนร่วม ตลอดจนให้มีหน่วยงานระดับชาติด้านการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการคอยทำ หน้าที่ศึกษา วิจัย พัฒนา และเป็นแหล่งข้อมูลด้านการศึกษาสำหรับคนพิการ อีกทั้งการปรับปรุงหลักสูตรโดยคณะกรรมการที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง พัฒนาการเด็ก และปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าด้านการศึกษาสำหรับคนพิการ หรือการศึกษาพิเศษ ตลอดจนการจัดเตรียมอัตรากำลังครูการศึกษาพิเศษให้เพียงพอ เป็นต้น" หัวหน้าคณะวิจัย ขอบคุณ... http://www.onec.go.th/cms/new_highlightview.php?ID=342

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...