สื่อปั้นศักยภาพเด็กพิการ

แสดงความคิดเห็น

สื่อการเรียนการสอนภาพนูน สำหรับนักเรียนคนพิการ

“คนพิการ”หลายคนมีพลัง สติปัญญาความรู้ ความสามารถ ที่จะสามารถช่วยในการพัฒนาประเทศชาติ ได้เฉกเช่นเดียวกับคนปกติทั่วไป หากดึงศักยภาพของพวกเขามาใช้ได้

การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ด้วยรูปแบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับประเภทของความพิการ จะเป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะช่วยสร้างโอกาส ความเท่าเทียม ช่วยให้คนพิการใช้ชีวิตในสังคม ได้อย่างมีความสุข ผศ.ดร.สัญชัย สันติเวส ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น หนึ่งในทีมผู้วิจัย โครงการออกแบบสื่อเพื่อการจัดการเรียนรู้วิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) สำหรับนักเรียนตาบอดระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย" ของคณะวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นอีกหนึ่งงานวิจัยเพื่อพัฒนาคนพิการ เล่าว่า จากปัญหาอุปสรรคในการเรียนศิลปะของเด็กที่มีความพิการทางการมองเห็น หรือ ตาบอด โดยเฉพาะคนที่ตาบอดสนิท จะค่อนข้างมีปัญหาในการเรียนศิลปะ ด้านทัศนศิลป์ที่เป็นการเรียนรู้ รูปทรงต่างๆ ได้ด้วยการมองเห็น ซึ่งเด็กตาบอดไม่สามารถเรียนรู้ได้เหมือนกับเด็กปกติ ทำให้เวลาอยู่ในชั้นเรียนบางครั้งก็ต้องนั่งเฉยๆ หรือปั้นดินน้ำมันไปตามที่ครูสั่ง กรณีต้องทำงานคู่กับเพื่อน เด็กตาบอดก็ทำไม่ได้ เพื่อนเองก็รู้สึกไม่โอเคเพราะต้องทำลำพัง ทำให้ตัวเด็กเองรู้สึกว่าเขาแปลกแยก ไม่มีความสุขกับการเรียน ทั้งที่เด็กตาบอดก็มีความสนใจอยากเรียนรู้ อยากสนุกกับการเรียนวิชาศิลปะ ขณะที่ครูผู้สอนศิลปะไม่มีเวลาที่จะดูแลเด็กตาบอดได้เต็มที่ และโรงเรียนก็ขาดสื่อที่จะมาช่วยพัฒนา

การออกแบบสื่อ สถาปัตยกรรมการะดาษพับสำหรับนักเรียนคนพิการ

คณะวิจัย นำองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรมมาต่อยอดในการออกแบบสื่อเพื่อการจัดการเรียนรู้วิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) สำหรับนักเรียนตาบอดระดับม.ปลาย ที่มีภาวะตาบอดสนิท เลือนราง และไม่มีภาวะพิการซ้ำซ้อน ส่วนที่เลือกเด็กม.ปลายเพราะเป็นวัยที่โตระดับหนึ่งมีพื้นฐานความรู้รอบตัว ซึ่งกลุ่มเป้าหมายคือ อาสาสมัคร นักเรียนในโรงเรียนการศึกษาตาบอด จังหวัดขอนแก่น ในมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตลอดจนครูสอนศิลปะ

รูปแบบการวิจัยได้จัดแผนการเรียนรู้ที่มุ่งสอนเรื่องทัศนศิลป์ใน 4 เรื่องคือ ประวัติศาสตร์ศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ศิลปวิจารณ์ และศิลปะปฏิบัติ ทั้งการวาดภาพระบายสี การปั้นดินน้ำมัน กิจกรรมหลาหลาย สำคัญคือลักษณะการเป็นการเรียนแบบเรียนร่วมระหว่างเด็กปกติและเด็กตาบอด เพื่อให้เพื่อนมีความช่วยเหลือกันและสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ขณะเดียวกัน ได้มีการสร้างคู่มือการสอนต้นแบบสำหรับครู

จากแกนหลักทั้ง 4 เรื่องจะถูกจัดทำเป็นแผนการเรียนรู้ 15 แผน เด็กได้เรียนรู้ศิลปะตั้งแต่เรื่องประวัติศาสตร์ รูปแบบศิลปกรรมของตะวันตก ตะวันออก ความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะและความงาม ส่วนการออกแบบสื่อการเรียนรู้ ทีมวิจัยจะเน้นให้เหมาะสมกับเด็กโดยแบ่งเป็น 7 ประเภท คือทำเป็น ภาพนูนต่ำ หุ่นลอยตัว หุ่นกระดาษพับ ดินน้ำมัน และคลิปเสียง เพื่อสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ ซึ่งวัสดุและอุปกรณ์ที่นำมาใช้สร้างสรรค์ชิ้นงาน จะทำด้วยกระดาษ ซึ่งมีทั้งที่มีกลิ่นและพื้นผิวหลากหลาย ปูนพลาสเตอร์ ดินเหนียว เป็นต้น

สื่อการเรียนการสอนงานปั่น สำหรับนักเรียนคนพิการ

จะเน้นว่าต้องเป็นวัสดุหรือของที่นำมารีไซเคิลได้ แต่ให้ความสำคัญในแง่ของการสร้างชิ้นงานที่ครูผู้สอนสามารถทำเองได้ ทำซ้ำใหม่ได้ ซ่อมแซมได้หากชำรุดเสียหาย วัสดุหาซื้อได้ง่ายในพื้นที่ และเก็บรักษาง่าย เช่น ทำปีระมิด ด้วยกระดาษ ปั้นหุ่นด้วยปูนพลาสเตอร์ เป็นต้น ซึ่งการสร้างชิ้นงานรูปทรงเหล่านี้จะทำให้เด็กตาบอด ได้ประสาทสัมผัสอื่นๆ ในร่างกาย เช่น มือ สัมผัสกระดาษ จมูก ดมกลิ่น เพื่อการเรียนรู้รูปทรงต่างๆ

“ประมาณ 2ปีของการวิจัยและลงพื้นที่เก็บข้อมูลในโครงการ พบว่าบรรยากาศในการเรียนรู้ศิลปะทัศนศิลป์ของเด็กตาบอดดีขึ้น เด็กรู้จักศิลปะด้านทัศนศิลป์ รู้จักรูปทรงรูปลักษณ์ พูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆได้ วิพากษ์วิจารณ์ผลงานของเพื่อนๆ ได้ สำคัญคือเขาได้มีส่วนร่วมในสังคม ในชั้นเรียน ทำให้เขารู้สึกว่ามีตัวตน ทำให้เขารู้สึกมีความสุข รู้สึกเสมอภาคอยู่ในสังคมได้โดยไม่ถูกละเลย ทั้งนี้ ทีมวิจัยมีข้อเสนอแนะด้วยว่า ควรร่วมกันรณรงค์และสร้างจิตสำนึกของคนในสังคมให้เห็นถึงความสำคัญของการผลิตสื่อเพื่อเด็กพิการ สร้างเครือข่ายของสถาบันการศึกษา กำหนดให้เป็นนโยบายระดับชาติ พร้อมกันนี้ควรยกระดับความสำคัญของวิชาศิลปะสาขาทัศนศิลป์ และมีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานของคนตาบอดด้วย”ผศ.ดร.สัญชัย สะท้อนภาพความสำเร็จ

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/news/edu-health/264133 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 มี.ค.60
วันที่โพสต์: 13/03/2560 เวลา 11:07:10 ดูภาพสไลด์โชว์ สื่อปั้นศักยภาพเด็กพิการ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สื่อการเรียนการสอนภาพนูน สำหรับนักเรียนคนพิการ “คนพิการ”หลายคนมีพลัง สติปัญญาความรู้ ความสามารถ ที่จะสามารถช่วยในการพัฒนาประเทศชาติ ได้เฉกเช่นเดียวกับคนปกติทั่วไป หากดึงศักยภาพของพวกเขามาใช้ได้ การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ด้วยรูปแบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับประเภทของความพิการ จะเป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะช่วยสร้างโอกาส ความเท่าเทียม ช่วยให้คนพิการใช้ชีวิตในสังคม ได้อย่างมีความสุข ผศ.ดร.สัญชัย สันติเวส ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น หนึ่งในทีมผู้วิจัย โครงการออกแบบสื่อเพื่อการจัดการเรียนรู้วิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) สำหรับนักเรียนตาบอดระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย" ของคณะวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นอีกหนึ่งงานวิจัยเพื่อพัฒนาคนพิการ เล่าว่า จากปัญหาอุปสรรคในการเรียนศิลปะของเด็กที่มีความพิการทางการมองเห็น หรือ ตาบอด โดยเฉพาะคนที่ตาบอดสนิท จะค่อนข้างมีปัญหาในการเรียนศิลปะ ด้านทัศนศิลป์ที่เป็นการเรียนรู้ รูปทรงต่างๆ ได้ด้วยการมองเห็น ซึ่งเด็กตาบอดไม่สามารถเรียนรู้ได้เหมือนกับเด็กปกติ ทำให้เวลาอยู่ในชั้นเรียนบางครั้งก็ต้องนั่งเฉยๆ หรือปั้นดินน้ำมันไปตามที่ครูสั่ง กรณีต้องทำงานคู่กับเพื่อน เด็กตาบอดก็ทำไม่ได้ เพื่อนเองก็รู้สึกไม่โอเคเพราะต้องทำลำพัง ทำให้ตัวเด็กเองรู้สึกว่าเขาแปลกแยก ไม่มีความสุขกับการเรียน ทั้งที่เด็กตาบอดก็มีความสนใจอยากเรียนรู้ อยากสนุกกับการเรียนวิชาศิลปะ ขณะที่ครูผู้สอนศิลปะไม่มีเวลาที่จะดูแลเด็กตาบอดได้เต็มที่ และโรงเรียนก็ขาดสื่อที่จะมาช่วยพัฒนา การออกแบบสื่อ สถาปัตยกรรมการะดาษพับสำหรับนักเรียนคนพิการ คณะวิจัย นำองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรมมาต่อยอดในการออกแบบสื่อเพื่อการจัดการเรียนรู้วิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) สำหรับนักเรียนตาบอดระดับม.ปลาย ที่มีภาวะตาบอดสนิท เลือนราง และไม่มีภาวะพิการซ้ำซ้อน ส่วนที่เลือกเด็กม.ปลายเพราะเป็นวัยที่โตระดับหนึ่งมีพื้นฐานความรู้รอบตัว ซึ่งกลุ่มเป้าหมายคือ อาสาสมัคร นักเรียนในโรงเรียนการศึกษาตาบอด จังหวัดขอนแก่น ในมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตลอดจนครูสอนศิลปะ รูปแบบการวิจัยได้จัดแผนการเรียนรู้ที่มุ่งสอนเรื่องทัศนศิลป์ใน 4 เรื่องคือ ประวัติศาสตร์ศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ศิลปวิจารณ์ และศิลปะปฏิบัติ ทั้งการวาดภาพระบายสี การปั้นดินน้ำมัน กิจกรรมหลาหลาย สำคัญคือลักษณะการเป็นการเรียนแบบเรียนร่วมระหว่างเด็กปกติและเด็กตาบอด เพื่อให้เพื่อนมีความช่วยเหลือกันและสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ขณะเดียวกัน ได้มีการสร้างคู่มือการสอนต้นแบบสำหรับครู จากแกนหลักทั้ง 4 เรื่องจะถูกจัดทำเป็นแผนการเรียนรู้ 15 แผน เด็กได้เรียนรู้ศิลปะตั้งแต่เรื่องประวัติศาสตร์ รูปแบบศิลปกรรมของตะวันตก ตะวันออก ความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะและความงาม ส่วนการออกแบบสื่อการเรียนรู้ ทีมวิจัยจะเน้นให้เหมาะสมกับเด็กโดยแบ่งเป็น 7 ประเภท คือทำเป็น ภาพนูนต่ำ หุ่นลอยตัว หุ่นกระดาษพับ ดินน้ำมัน และคลิปเสียง เพื่อสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ ซึ่งวัสดุและอุปกรณ์ที่นำมาใช้สร้างสรรค์ชิ้นงาน จะทำด้วยกระดาษ ซึ่งมีทั้งที่มีกลิ่นและพื้นผิวหลากหลาย ปูนพลาสเตอร์ ดินเหนียว เป็นต้น สื่อการเรียนการสอนงานปั่น สำหรับนักเรียนคนพิการ จะเน้นว่าต้องเป็นวัสดุหรือของที่นำมารีไซเคิลได้ แต่ให้ความสำคัญในแง่ของการสร้างชิ้นงานที่ครูผู้สอนสามารถทำเองได้ ทำซ้ำใหม่ได้ ซ่อมแซมได้หากชำรุดเสียหาย วัสดุหาซื้อได้ง่ายในพื้นที่ และเก็บรักษาง่าย เช่น ทำปีระมิด ด้วยกระดาษ ปั้นหุ่นด้วยปูนพลาสเตอร์ เป็นต้น ซึ่งการสร้างชิ้นงานรูปทรงเหล่านี้จะทำให้เด็กตาบอด ได้ประสาทสัมผัสอื่นๆ ในร่างกาย เช่น มือ สัมผัสกระดาษ จมูก ดมกลิ่น เพื่อการเรียนรู้รูปทรงต่างๆ “ประมาณ 2ปีของการวิจัยและลงพื้นที่เก็บข้อมูลในโครงการ พบว่าบรรยากาศในการเรียนรู้ศิลปะทัศนศิลป์ของเด็กตาบอดดีขึ้น เด็กรู้จักศิลปะด้านทัศนศิลป์ รู้จักรูปทรงรูปลักษณ์ พูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆได้ วิพากษ์วิจารณ์ผลงานของเพื่อนๆ ได้ สำคัญคือเขาได้มีส่วนร่วมในสังคม ในชั้นเรียน ทำให้เขารู้สึกว่ามีตัวตน ทำให้เขารู้สึกมีความสุข รู้สึกเสมอภาคอยู่ในสังคมได้โดยไม่ถูกละเลย ทั้งนี้ ทีมวิจัยมีข้อเสนอแนะด้วยว่า ควรร่วมกันรณรงค์และสร้างจิตสำนึกของคนในสังคมให้เห็นถึงความสำคัญของการผลิตสื่อเพื่อเด็กพิการ สร้างเครือข่ายของสถาบันการศึกษา กำหนดให้เป็นนโยบายระดับชาติ พร้อมกันนี้ควรยกระดับความสำคัญของวิชาศิลปะสาขาทัศนศิลป์ และมีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานของคนตาบอดด้วย”ผศ.ดร.สัญชัย สะท้อนภาพความสำเร็จ ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/news/edu-health/264133

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...