กระตุ้นสมองขณะหลับเพื่อสร้างความทรงจำ
ในขณะที่เราหลับ สมองจะทำการตกผลึกความคิดที่เราได้เรียนรู้มาในวันนั้นเพื่อสร้างเป็นความทรงจำเพื่อใช้งานในวันพรุ่งนี้ สัปดาห์หน้า หรือแม้กระทั่งปีหน้า และคนที่ความจำไม่ค่อยดี อาจจะด้วยมีความบกพร่องในระบบสร้างความทรงจำส่วนนี้มักจะประสบปัญหาในการดำรงชีวิต
ล่าสุด นักวิจัยใช้วิธีการกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าแบบ transcranial alternating current stimulation หรือ tACS เพื่อกระตุ้นสมองบริเวณหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับและการสร้างความทรงจำในสมอง นักวิจัยได้รายงานการค้นพบในวารสารวิชาการ Current Biology ว่า การศึกษาครั้งนี้ทำให้เราได้วิธีกระตุ้นสมองแบบไม่ต้องผ่าตัด ที่อาจจะช่วยคนที่มีปัญหาด้วยความจำหลายล้านคน ทั้งคนที่เป็นออทิสติก อัลไซเมอร์ โรคจิตเภท และอาการอื่นๆ
นักวิทยาศาสตร์ทราบกันดีว่าคลื่นไฟฟ้าในสมองที่จะสั่นในขณะที่เราหลับนั้น สามารถวัดได้โดยใช้เครื่องวัดกระแสไฟฟ้าในสมอง หรือ EEG คลื่นเหล่านี้เรียกกันว่า "แกนหมุนการนอน" และนักวิทยาศาสตร์ก็เชื่อว่าคลื่นเหล่านี้น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับการสร้างความทรงจำขณะที่เราหลับด้วย
"แต่เราไม่รู้ว่า คลื่นสมองเหล่านี้จะมีผลอะไรกับการเก็บและการตกผลึกความจำในสมองหรือไม่" รองศาสตราจารย์ ดร.ฟลาวิโอ โฟรห์ลิช แห่งศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนอร์ธแคโลไรนา เผย "คลื่นเหล่านี้อาจจะเป็นผลลัพธ์จากกระบวนการในสมองส่วนอื่นที่ทำให้เราเก็บความทรงจำได้ งานวิจัยของเราได้แสดงให้เห็นว่า แท้จริงแล้ว กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับสร้างความทรงจำ และเราจำเป็นต้องมีกระบวนการเหล่านี้ทุกวัน งานวิจัยของเรามีขึ้นโดยตั้งใจจะกระตุ้นสมองส่วนนี้เพื่อขยายขีดความสามารถในการจำ"
นับเป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์พยายามกระตุ้นสมองเฉพาะจุด โดยไม่ทำให้กิจกรรมในสมองส่วนอื่นเพิ่ม ก่อนหน้านี้ก็เคยมีวิธีการที่เรียกว่าการกระตุ้นไฟฟ้าสมองด้วยไฟกระแสตรง หรือ tDCS ซึ่งคล้ายกับวิธี tACS แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก ส่วนวิธีหลังนี้จะใช้สัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับกระตุ้น
ในการศึกษาครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 16 คน เป็นชายทั้งหมด โดยให้ทุกคนเข้านอนเป็นเวลา 2 คืน ก่อนเริ่มการทดลอง ผู้เข้าร่วมการทดลองทุกคนจะเข้าทำการทดสอบความจำ โดยมีเกมเกี่ยวกับคำและลำดับของการขยับร่างกาย ส่วนในช่วงที่ทดลองนั้น นักวิจัยจะติดขั้วไฟฟ้าเข้าที่หนังศีรษะของผู้เข้าร่วมการทดลอง โดยในวันแรกจะทำการกระตุ้นไฟฟ้าด้วย tACS ส่วนในคืนที่สองจะทำการเก็บข้อมูลอีกครั้ง
นักวิจัยพบว่า ในแต่ละวัน ผู้เข้าร่วมการทดลองมักจะทำคะแนนในแบบทดสอบความจำได้เท่าเดิม ไม่มีการพัฒนาส่วนของความจำด้านการใช้คำ แต่งานที่ต้องขยับร่างกายและจำให้ได้นั้น นักวิจัยพบว่า การออกกำลังกายทำให้จำดีขึ้นได้
"งานชิ้นนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างแพทเทิร์นกิจกรรมไฟฟ้าในสมองที่เกี่ยวข้องกับการหลับ และกระบวนการตกผลึกความจำ" ส่วนทาง ดร.คาโรลิน ลุสเตนเบอร์เกอร์ นักวิจัยร่วมเผยว่า "เราตื่นเต้นมากเพราะนี่เป็นการบอกให้รู้ว่าการนอนหลับเชื่อมโยงกับการสร้างความทรงจำอย่างไร และคนที่มีปัญหาด้านการจำก็มีเยอะมาก ทั้งโรคจิตเภทและอัลไซเมอร์ เราหวังว่าการพุ่งเป้าหมายไปที่กลไกเฉพาะที่เกี่ยวกับการนอน น่าจะทำให้เราได้วิธีการรักษาการสูญเสียซึ่งความทรงจำได้" ทีมวิจัย tACS ในครั้งนี้มีเป้าหมายไปที่คลื่นอัลฟาในสมอง โดยคลื่นนี้มักจะไม่เกิดในคนที่ปัญหาด้านสุขภาพจิต ระบบประสาท และโรคซึมเศร้า
ขอบคุณ... http://www.vcharkarn.com/vnews/505415 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ในขณะที่เราหลับ สมองจะทำการตกผลึกความคิดที่เราได้เรียนรู้มาในวันนั้นเพื่อสร้างเป็นความทรงจำเพื่อใช้งานในวันพรุ่งนี้ สัปดาห์หน้า หรือแม้กระทั่งปีหน้า และคนที่ความจำไม่ค่อยดี อาจจะด้วยมีความบกพร่องในระบบสร้างความทรงจำส่วนนี้มักจะประสบปัญหาในการดำรงชีวิต หญิงสาวกำลังนอนหลับอยู่บนเตียงนอน ล่าสุด นักวิจัยใช้วิธีการกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าแบบ transcranial alternating current stimulation หรือ tACS เพื่อกระตุ้นสมองบริเวณหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับและการสร้างความทรงจำในสมอง นักวิจัยได้รายงานการค้นพบในวารสารวิชาการ Current Biology ว่า การศึกษาครั้งนี้ทำให้เราได้วิธีกระตุ้นสมองแบบไม่ต้องผ่าตัด ที่อาจจะช่วยคนที่มีปัญหาด้วยความจำหลายล้านคน ทั้งคนที่เป็นออทิสติก อัลไซเมอร์ โรคจิตเภท และอาการอื่นๆ นักวิทยาศาสตร์ทราบกันดีว่าคลื่นไฟฟ้าในสมองที่จะสั่นในขณะที่เราหลับนั้น สามารถวัดได้โดยใช้เครื่องวัดกระแสไฟฟ้าในสมอง หรือ EEG คลื่นเหล่านี้เรียกกันว่า "แกนหมุนการนอน" และนักวิทยาศาสตร์ก็เชื่อว่าคลื่นเหล่านี้น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับการสร้างความทรงจำขณะที่เราหลับด้วย "แต่เราไม่รู้ว่า คลื่นสมองเหล่านี้จะมีผลอะไรกับการเก็บและการตกผลึกความจำในสมองหรือไม่" รองศาสตราจารย์ ดร.ฟลาวิโอ โฟรห์ลิช แห่งศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนอร์ธแคโลไรนา เผย "คลื่นเหล่านี้อาจจะเป็นผลลัพธ์จากกระบวนการในสมองส่วนอื่นที่ทำให้เราเก็บความทรงจำได้ งานวิจัยของเราได้แสดงให้เห็นว่า แท้จริงแล้ว กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับสร้างความทรงจำ และเราจำเป็นต้องมีกระบวนการเหล่านี้ทุกวัน งานวิจัยของเรามีขึ้นโดยตั้งใจจะกระตุ้นสมองส่วนนี้เพื่อขยายขีดความสามารถในการจำ" นับเป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์พยายามกระตุ้นสมองเฉพาะจุด โดยไม่ทำให้กิจกรรมในสมองส่วนอื่นเพิ่ม ก่อนหน้านี้ก็เคยมีวิธีการที่เรียกว่าการกระตุ้นไฟฟ้าสมองด้วยไฟกระแสตรง หรือ tDCS ซึ่งคล้ายกับวิธี tACS แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก ส่วนวิธีหลังนี้จะใช้สัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับกระตุ้น ในการศึกษาครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 16 คน เป็นชายทั้งหมด โดยให้ทุกคนเข้านอนเป็นเวลา 2 คืน ก่อนเริ่มการทดลอง ผู้เข้าร่วมการทดลองทุกคนจะเข้าทำการทดสอบความจำ โดยมีเกมเกี่ยวกับคำและลำดับของการขยับร่างกาย ส่วนในช่วงที่ทดลองนั้น นักวิจัยจะติดขั้วไฟฟ้าเข้าที่หนังศีรษะของผู้เข้าร่วมการทดลอง โดยในวันแรกจะทำการกระตุ้นไฟฟ้าด้วย tACS ส่วนในคืนที่สองจะทำการเก็บข้อมูลอีกครั้ง นักวิจัยพบว่า ในแต่ละวัน ผู้เข้าร่วมการทดลองมักจะทำคะแนนในแบบทดสอบความจำได้เท่าเดิม ไม่มีการพัฒนาส่วนของความจำด้านการใช้คำ แต่งานที่ต้องขยับร่างกายและจำให้ได้นั้น นักวิจัยพบว่า การออกกำลังกายทำให้จำดีขึ้นได้ "งานชิ้นนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างแพทเทิร์นกิจกรรมไฟฟ้าในสมองที่เกี่ยวข้องกับการหลับ และกระบวนการตกผลึกความจำ" ส่วนทาง ดร.คาโรลิน ลุสเตนเบอร์เกอร์ นักวิจัยร่วมเผยว่า "เราตื่นเต้นมากเพราะนี่เป็นการบอกให้รู้ว่าการนอนหลับเชื่อมโยงกับการสร้างความทรงจำอย่างไร และคนที่มีปัญหาด้านการจำก็มีเยอะมาก ทั้งโรคจิตเภทและอัลไซเมอร์ เราหวังว่าการพุ่งเป้าหมายไปที่กลไกเฉพาะที่เกี่ยวกับการนอน น่าจะทำให้เราได้วิธีการรักษาการสูญเสียซึ่งความทรงจำได้" ทีมวิจัย tACS ในครั้งนี้มีเป้าหมายไปที่คลื่นอัลฟาในสมอง โดยคลื่นนี้มักจะไม่เกิดในคนที่ปัญหาด้านสุขภาพจิต ระบบประสาท และโรคซึมเศร้า ขอบคุณ... http://www.vcharkarn.com/vnews/505415
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)