กินน้ำตาลมากฉลาดน้อยจริงหรือ? – หมอรามาฯไขปัญหาสุขภาพ

แสดงความคิดเห็น

ขนมหวาน

ในสภาวะสังคมที่มีร้านอาหาร ร้านเบเกอรี่ ร้านขายขนม ร้านกาแฟอยู่มากมายรอบตัว คุณผู้อ่านเคยสังเกตบ้างไหมคะว่า ในวัน ๆ หนึ่ง เราทานอาหาร เครื่องดื่ม หรือขนมที่ไม่มีสารอาหารอันจำเป็นต่อร่างกาย มากมายขนาดไหนกัน

เราเคยได้ยินว่าการกินน้ำตาลมากเกินไปเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลายโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคอ้วน หรือแม้กระทั่งตับล้มเหลว ใครจะเชื่อว่าเมื่อ 10,000 ปีก่อน คนเรากินน้ำตาลแค่ 20 ช้อนชาต่อปี แต่ในปัจจุบันเรากินถึง27กิโลกรัมต่อปีต่อคนซึ่งนับได้ว่าเป็นจำนวนมากขึ้นและมากขึ้นทุกปี

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำตาลฟรักโทสคอร์นไซรัป (หรือน้ำตาลปรุงแต่งที่ห่างไกลกับธรรมชาติ ตามชื่อที่ว่า คอร์นคือ ข้าวโพด) ถึงแม้ว่าจะมีต้นกำเนิดมาจากข้าวโพดก็จริง แต่สูตรการปรุงแต่งน้ำตาลที่ยังคงเป็นความลับทำให้ตัวน้ำตาลแทบจะไม่หลงเหลือความเป็นน้ำตาลข้าวโพดอยู่เลย

ในขณะที่น้ำตาลแดงหรือน้ำตาลซูโครส โดยทั่วไปจะมีโมเลกุลคู่ 2 ตัว นั่นคือ กลูโคสกับฟรักโทสอยู่เท่า ๆ กัน เกาะเกี่ยวเป็นเกลียว เมื่อคนเราทานเข้าไปแล้ว น้ำย่อยเราจะย่อยน้ำตาลแดงนี้ให้เป็นโมเลกุลที่เล็กที่สุดเพื่อเข้าสู่ร่างกายไปใช้เป็นพลังงานต่อไป ส่วนน้ำตาลฟรักโทสคอร์นไซรัปไม่ได้มีสัดส่วนโมเลกุลระหว่างกลูโคสกับฟรักโทส เท่า ๆ กัน ไม่ได้เรียงตัวกันเป็นแบบแผน อีกทั้งยังมีความกระจายตัวของโมเลกุลเป็นอย่างมาก ดังนั้นเมื่อเรากินน้ำตาลประเภทนี้เข้าไป น้ำตาลก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ฟรักโทสจำนวนหนึ่งจะพุ่งตรงเข้าสู่ตับ เราจึงพบได้ว่า คนที่รับประทานน้ำตาลมากเกินไปส่วนหนึ่งจะมีภาวะไขมันพอกตับและจะมีภาวะตับแข็งได้ทั้งที่ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์

ในขณะที่ฟรักโทสอีกส่วนหนึ่งจะไปทำให้ฮอร์โมนอินซูลินสูงขึ้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วน น้ำหนักเกิน โรคหัวใจ และโรคมะเร็งนั่นเองค่ะ เมื่อกลางปีที่แล้ว ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-ลอสแอนเจลิส ได้ทำงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ลงวารสารด้านสรีรวิทยาของสหรัฐ กล่าวถึงผลกระทบของน้ำตาลฟรักโทสคอร์นไซรัปที่ส่งผลทำให้สมองมีประสิทธิภาพลดลง โดยการนำหนูทดลองมาเลี้ยงให้ฝึกหาทางออกอยู่ในเขาวงกตเป็นเวลา 5 วัน ในช่วงนี้ให้หนูกินอาหารหนูและน้ำเปล่าเป็นประจำทุกวัน หลังจากนั้นอีก 6 สัปดาห์เริ่มเปลี่ยนน้ำจากน้ำเปล่าเป็นน้ำที่ผสมฟรักโทสคอร์นไซรัปขนาดความ เข้มข้น 15% แล้วมาทดสอบโดยปล่อยหนูลงไปในเขาวงกตอีกครั้ง

นักวิจัยพบว่า หนูเดินช้าลงบางตัวเดินกลับไปกลับมาแทนที่จะเดินไปข้างหน้า รวมถึงใช้เวลานานกว่าเดิมในการหาทางออกได้ และเมื่อมีการสแกนสมองหนูก็พบว่า เส้นใยประสาทของสมองทำงานติดขัดรวมถึงการเชื่อมโยงของเซลล์สมองก็ช้าลงอย่างเห็นได้ชัด

จากงานวิจัยนี้ทำให้ได้ข้อสรุปว่า การกินน้ำตาลจำนวนมากทำให้สารสื่อประสาททำงานเชื่อมโยงไม่เป็นระบบ อีกทั้งยังส่งผลโดยตรงต่อการเรียนรู้ที่แย่ลงและอาจทำให้เกิดภาวะหลงลืม นอกจากนี้ยังทำให้ระดับอินซูลินในเลือดสูงขึ้น ซึ่งอินซูลินนี้ไม่เพียงเกี่ยวเนื่องกับระบบ การทำงานของร่างกายโดยภาพรวม แต่ยังเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองส่วนที่เกี่ยวกับความจำโดยตรง อาจกล่าวได้ว่า ระดับอินซูลินที่สูงขึ้นสกัดกั้นการส่งสัญญาณของเส้นประสาทของสมอง หรือจะให้เข้าใจง่ายกว่านั้นก็คือ การกินน้ำตาลนี้จะไปกั้นการสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง2เซลล์มีผลทำให้คิดช้าและสมองประมวลผลข้อมูลได้ยากขึ้น

เรื่องนี้นักวิจัยได้สรุปในตอนท้ายว่า การทำงานของสมองจะช้าลงอย่างแน่นอนถ้ารับประทานน้ำตาลฟรักโทสคอร์นไซรัปต่อ เนื่องกันเป็นระยะเวลานาน ส่วนคำถามที่ว่าเราจะพบน้ำตาลฟรักโทสคอร์นไซรัปที่ไหนได้บ้าง คำตอบก็คือ น้ำอัดลมต่าง ๆ เครื่องปรุงอาหาร ซอสต่าง ๆ รวมถึงขนมขบเคี้ยว และที่น่าตกใจก็คืออาหารที่เขียนว่าเด็กเล็กสามารถกินได้ก็มีน้ำตาลประเภทนี้อยู่มากเช่นเดียวกัน

สำหรับผู้ใหญ่การเลือกกินอาหารเป็นสิ่งที่จะช่วยทำให้ร่างกายทำงานได้ดีขึ้น แข็งแรงขึ้น แต่สำหรับเด็กเล็กที่สมองจำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ การเลือกอาหารที่กินอย่างเดียวคงไม่พอ คงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่จะต้องหลีกเลี่ยงสารอาหารที่ไม่เป็น ประโยชน์ต่อร่างกายเช่นเดียวกันค่ะ.

อ.ดร.ปรียาสิริมานะสันต์

โครงการพัฒนาศักยภาพประชากรไทย

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/1490/239551 (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 ต.ค.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 15/10/2556 เวลา 03:07:38 ดูภาพสไลด์โชว์ กินน้ำตาลมากฉลาดน้อยจริงหรือ? – หมอรามาฯไขปัญหาสุขภาพ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ขนมหวาน ในสภาวะสังคมที่มีร้านอาหาร ร้านเบเกอรี่ ร้านขายขนม ร้านกาแฟอยู่มากมายรอบตัว คุณผู้อ่านเคยสังเกตบ้างไหมคะว่า ในวัน ๆ หนึ่ง เราทานอาหาร เครื่องดื่ม หรือขนมที่ไม่มีสารอาหารอันจำเป็นต่อร่างกาย มากมายขนาดไหนกัน เราเคยได้ยินว่าการกินน้ำตาลมากเกินไปเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลายโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคอ้วน หรือแม้กระทั่งตับล้มเหลว ใครจะเชื่อว่าเมื่อ 10,000 ปีก่อน คนเรากินน้ำตาลแค่ 20 ช้อนชาต่อปี แต่ในปัจจุบันเรากินถึง27กิโลกรัมต่อปีต่อคนซึ่งนับได้ว่าเป็นจำนวนมากขึ้นและมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำตาลฟรักโทสคอร์นไซรัป (หรือน้ำตาลปรุงแต่งที่ห่างไกลกับธรรมชาติ ตามชื่อที่ว่า คอร์นคือ ข้าวโพด) ถึงแม้ว่าจะมีต้นกำเนิดมาจากข้าวโพดก็จริง แต่สูตรการปรุงแต่งน้ำตาลที่ยังคงเป็นความลับทำให้ตัวน้ำตาลแทบจะไม่หลงเหลือความเป็นน้ำตาลข้าวโพดอยู่เลย ในขณะที่น้ำตาลแดงหรือน้ำตาลซูโครส โดยทั่วไปจะมีโมเลกุลคู่ 2 ตัว นั่นคือ กลูโคสกับฟรักโทสอยู่เท่า ๆ กัน เกาะเกี่ยวเป็นเกลียว เมื่อคนเราทานเข้าไปแล้ว น้ำย่อยเราจะย่อยน้ำตาลแดงนี้ให้เป็นโมเลกุลที่เล็กที่สุดเพื่อเข้าสู่ร่างกายไปใช้เป็นพลังงานต่อไป ส่วนน้ำตาลฟรักโทสคอร์นไซรัปไม่ได้มีสัดส่วนโมเลกุลระหว่างกลูโคสกับฟรักโทส เท่า ๆ กัน ไม่ได้เรียงตัวกันเป็นแบบแผน อีกทั้งยังมีความกระจายตัวของโมเลกุลเป็นอย่างมาก ดังนั้นเมื่อเรากินน้ำตาลประเภทนี้เข้าไป น้ำตาลก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ฟรักโทสจำนวนหนึ่งจะพุ่งตรงเข้าสู่ตับ เราจึงพบได้ว่า คนที่รับประทานน้ำตาลมากเกินไปส่วนหนึ่งจะมีภาวะไขมันพอกตับและจะมีภาวะตับแข็งได้ทั้งที่ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ ในขณะที่ฟรักโทสอีกส่วนหนึ่งจะไปทำให้ฮอร์โมนอินซูลินสูงขึ้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วน น้ำหนักเกิน โรคหัวใจ และโรคมะเร็งนั่นเองค่ะ เมื่อกลางปีที่แล้ว ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-ลอสแอนเจลิส ได้ทำงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ลงวารสารด้านสรีรวิทยาของสหรัฐ กล่าวถึงผลกระทบของน้ำตาลฟรักโทสคอร์นไซรัปที่ส่งผลทำให้สมองมีประสิทธิภาพลดลง โดยการนำหนูทดลองมาเลี้ยงให้ฝึกหาทางออกอยู่ในเขาวงกตเป็นเวลา 5 วัน ในช่วงนี้ให้หนูกินอาหารหนูและน้ำเปล่าเป็นประจำทุกวัน หลังจากนั้นอีก 6 สัปดาห์เริ่มเปลี่ยนน้ำจากน้ำเปล่าเป็นน้ำที่ผสมฟรักโทสคอร์นไซรัปขนาดความ เข้มข้น 15% แล้วมาทดสอบโดยปล่อยหนูลงไปในเขาวงกตอีกครั้ง นักวิจัยพบว่า หนูเดินช้าลงบางตัวเดินกลับไปกลับมาแทนที่จะเดินไปข้างหน้า รวมถึงใช้เวลานานกว่าเดิมในการหาทางออกได้ และเมื่อมีการสแกนสมองหนูก็พบว่า เส้นใยประสาทของสมองทำงานติดขัดรวมถึงการเชื่อมโยงของเซลล์สมองก็ช้าลงอย่างเห็นได้ชัด จากงานวิจัยนี้ทำให้ได้ข้อสรุปว่า การกินน้ำตาลจำนวนมากทำให้สารสื่อประสาททำงานเชื่อมโยงไม่เป็นระบบ อีกทั้งยังส่งผลโดยตรงต่อการเรียนรู้ที่แย่ลงและอาจทำให้เกิดภาวะหลงลืม นอกจากนี้ยังทำให้ระดับอินซูลินในเลือดสูงขึ้น ซึ่งอินซูลินนี้ไม่เพียงเกี่ยวเนื่องกับระบบ การทำงานของร่างกายโดยภาพรวม แต่ยังเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองส่วนที่เกี่ยวกับความจำโดยตรง อาจกล่าวได้ว่า ระดับอินซูลินที่สูงขึ้นสกัดกั้นการส่งสัญญาณของเส้นประสาทของสมอง หรือจะให้เข้าใจง่ายกว่านั้นก็คือ การกินน้ำตาลนี้จะไปกั้นการสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง2เซลล์มีผลทำให้คิดช้าและสมองประมวลผลข้อมูลได้ยากขึ้น เรื่องนี้นักวิจัยได้สรุปในตอนท้ายว่า การทำงานของสมองจะช้าลงอย่างแน่นอนถ้ารับประทานน้ำตาลฟรักโทสคอร์นไซรัปต่อ เนื่องกันเป็นระยะเวลานาน ส่วนคำถามที่ว่าเราจะพบน้ำตาลฟรักโทสคอร์นไซรัปที่ไหนได้บ้าง คำตอบก็คือ น้ำอัดลมต่าง ๆ เครื่องปรุงอาหาร ซอสต่าง ๆ รวมถึงขนมขบเคี้ยว และที่น่าตกใจก็คืออาหารที่เขียนว่าเด็กเล็กสามารถกินได้ก็มีน้ำตาลประเภทนี้อยู่มากเช่นเดียวกัน สำหรับผู้ใหญ่การเลือกกินอาหารเป็นสิ่งที่จะช่วยทำให้ร่างกายทำงานได้ดีขึ้น แข็งแรงขึ้น แต่สำหรับเด็กเล็กที่สมองจำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ การเลือกอาหารที่กินอย่างเดียวคงไม่พอ คงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่จะต้องหลีกเลี่ยงสารอาหารที่ไม่เป็น ประโยชน์ต่อร่างกายเช่นเดียวกันค่ะ. อ.ดร.ปรียาสิริมานะสันต์ โครงการพัฒนาศักยภาพประชากรไทย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/1490/239551 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...