วิดีโอเกมบำบัดผู้ป่วยทางสมอง

แสดงความคิดเห็น

ภาพบางส่วนของวิดีโอเกมบำบัดผู้ป่วยทางสมอง อาร์เจนตินานำเทคโนโลยีวิดีโอเกมเข้ามาใช้ในการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบประสาทให้มีอาการดีขึ้น แอเรียล ชิอันซิโอ อดีตวิศวกร วัย 53 ปี ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันตั้งแต่ปีที่แล้ว ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายซีกซ้ายได้ ขณะนี้เขากำลังเข้าร่วมโครงการฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีปัญหากล้ามเนื้อประสาทและ บกพร่องทางการเรียนรู้ของสถาบันเฟลนี (FLENI) ซึ่งเชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาและศัลยกรรมระบบประสาทในอาร์เจนตินา ที่นี่บำบัดด้วยการใช้เกมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมด้วยท่าทาง เช่น เกมกอล์ฟ 3 มิติ โบว์ลิ่งเสมือนจริง และอีกหลากหลายเกม ซึ่งบรรดานักประสาทวิทยาเชื่อว่าจะช่วยให้พัฒนาการต่างๆดีขึ้นทั้งในการเคลื่อนไหวและการพัฒนาของสมอง

เกมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการอีฟเรสต์ (EVREST) ที่ย่อมาจาก Effectiveness of Virtual Reality Exercises in Stroke Rehabilitation ซึ่งจัดการทดลองขึ้นพร้อมกันทั้งในอาร์เจนตินา แคนาดา บราซิล เปรู สหรัฐ และไทย เครื่องมือสำคัญของโครงการฟื้นฟูนี้ ได้แก่ วิดีโอเกมนินเทนโด วี, เอ็กซ์บ็อกซ์ ไคเนกต์ และเพลย์สเตชั่น 3 มีผู้ป่วยให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการมากขึ้น และพบว่าราวร้อยละ 20-30 ของผู้ป่วยที่เข้าร่วมมีอาการดีขึ้น

ผู้ป่วยทางสมองทดลองเล่นวิดีโอเกมบำบัดอาการทางสมอง ลิซานโดร โอลมอส ผู้บริหารสถาบันเฟลนี่ มั่นใจว่าแม้จะยังอยู่ในขั้นการทดลองเบื้องต้น แต่เชื่อว่าการบำบัดด้วยวิธีนี้จะประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม เขาเห็นว่ายังต้องทำการทดลองเพิ่มเติมเพื่อให้มั่นใจยิ่งขึ้น

ขณะนี้ผู้เชี่ยวชาญของ INECO องค์กรสำคัญอีกแห่งหนึ่งของอาร์เจนตินาที่พัฒนาวิธีบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยกำลังพัฒนาปรับปรุงเกมที่จะนำมาใช้ในการบำบัดฟื้นฟูให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยสนใจเข้าร่วมโครงการซึ่งจะช่วยให้ฟื้นฟูผู้ป่วยได้เร็วขึ้น

ในการทดลองนักวิจัยสามารถวัดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของคลื่นสมองออกมาให้เห็นได้ ช่วยให้ทราบว่ากลไกการทำงานของสมองจะช่วยพัฒนาในด้านความจำและสมาธิได้อย่างไร แต่จำเป็นต้องเฝ้าติดตามสังเกตอาการของผู้ป่วยขณะรับการบำบัดอย่างใกล้ชิด เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมอง อันจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ซึ่งขณะนี้พบว่ามีผู้ป่วยเลือกที่จะใช้เกมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟู มากขึ้น.

ขอบคุณ... http://www.mcot.net/site/content?id=52e8a11abe047063398b4576#.UunOQvsyPlA

สำนักข่าวไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ม.ค.57

ที่มา: สำนักข่าวไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 30/01/2557 เวลา 06:20:35 ดูภาพสไลด์โชว์ วิดีโอเกมบำบัดผู้ป่วยทางสมอง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาพบางส่วนของวิดีโอเกมบำบัดผู้ป่วยทางสมองอาร์เจนตินานำเทคโนโลยีวิดีโอเกมเข้ามาใช้ในการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบประสาทให้มีอาการดีขึ้น แอเรียล ชิอันซิโอ อดีตวิศวกร วัย 53 ปี ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันตั้งแต่ปีที่แล้ว ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายซีกซ้ายได้ ขณะนี้เขากำลังเข้าร่วมโครงการฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีปัญหากล้ามเนื้อประสาทและ บกพร่องทางการเรียนรู้ของสถาบันเฟลนี (FLENI) ซึ่งเชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาและศัลยกรรมระบบประสาทในอาร์เจนตินา ที่นี่บำบัดด้วยการใช้เกมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมด้วยท่าทาง เช่น เกมกอล์ฟ 3 มิติ โบว์ลิ่งเสมือนจริง และอีกหลากหลายเกม ซึ่งบรรดานักประสาทวิทยาเชื่อว่าจะช่วยให้พัฒนาการต่างๆดีขึ้นทั้งในการเคลื่อนไหวและการพัฒนาของสมอง เกมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการอีฟเรสต์ (EVREST) ที่ย่อมาจาก Effectiveness of Virtual Reality Exercises in Stroke Rehabilitation ซึ่งจัดการทดลองขึ้นพร้อมกันทั้งในอาร์เจนตินา แคนาดา บราซิล เปรู สหรัฐ และไทย เครื่องมือสำคัญของโครงการฟื้นฟูนี้ ได้แก่ วิดีโอเกมนินเทนโด วี, เอ็กซ์บ็อกซ์ ไคเนกต์ และเพลย์สเตชั่น 3 มีผู้ป่วยให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการมากขึ้น และพบว่าราวร้อยละ 20-30 ของผู้ป่วยที่เข้าร่วมมีอาการดีขึ้น ผู้ป่วยทางสมองทดลองเล่นวิดีโอเกมบำบัดอาการทางสมองลิซานโดร โอลมอส ผู้บริหารสถาบันเฟลนี่ มั่นใจว่าแม้จะยังอยู่ในขั้นการทดลองเบื้องต้น แต่เชื่อว่าการบำบัดด้วยวิธีนี้จะประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม เขาเห็นว่ายังต้องทำการทดลองเพิ่มเติมเพื่อให้มั่นใจยิ่งขึ้น ขณะนี้ผู้เชี่ยวชาญของ INECO องค์กรสำคัญอีกแห่งหนึ่งของอาร์เจนตินาที่พัฒนาวิธีบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยกำลังพัฒนาปรับปรุงเกมที่จะนำมาใช้ในการบำบัดฟื้นฟูให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยสนใจเข้าร่วมโครงการซึ่งจะช่วยให้ฟื้นฟูผู้ป่วยได้เร็วขึ้น ในการทดลองนักวิจัยสามารถวัดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของคลื่นสมองออกมาให้เห็นได้ ช่วยให้ทราบว่ากลไกการทำงานของสมองจะช่วยพัฒนาในด้านความจำและสมาธิได้อย่างไร แต่จำเป็นต้องเฝ้าติดตามสังเกตอาการของผู้ป่วยขณะรับการบำบัดอย่างใกล้ชิด เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมอง อันจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ซึ่งขณะนี้พบว่ามีผู้ป่วยเลือกที่จะใช้เกมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟู มากขึ้น. ขอบคุณ... http://www.mcot.net/site/content?id=52e8a11abe047063398b4576#.UunOQvsyPlA สำนักข่าวไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ม.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...