ยีนบำบัดตาบอด
ในอนาคตนั้นเราอาจจะใช้ยีนบำบัดในการรักษาการตาบอดแบบต่างๆ ได้ กลุ่มศัลยแพทย์กลุ่มหนึ่งจากมหาวิทยาลัย Oxford ได้ใช้นวัตกรรมการรักษาแบบยีนบำบัดรูปแบบใหม่ ที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยจำนวนหกรายรอดพ้นจากการสูญเสียการมองเห็นได้ และเป็นที่หวังว่าเทคนิคดังกล่าวนี้จะสามารถนำไปใช้รักษาอาการตาบอดได้หลาก หลายกรณี
แม้อาการความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ choroideremia ซึ่งทำให้เซลล์ที่มีตำแหน่งอยู่ด้านหลังของดวงตาและทำหน้าที่รับแสงนั้น เสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ และตายลง โดยผู้ป่วยที่มีความผิดปกติดังกล่าวในช่วงแรกจะประสบปัญหากับการมองเห็นใน ที่ๆ มีแสงน้อย และอาการจะถดถอยลงเรื่อยๆ จนผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมดังกล่าวเกือบทั้งหมดมักจะต้องสูญเสียการ มองเห็นไปเมื่ออายุเข้าสู่ช่วงวัยกลางคน แต่ที่เลวร้ายที่สุดก็คือภาวะ ดังกล่าวนั้นไม่สามารถรักษาได้
อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์ Robert MacLaren และทีมงานของเขานั้น กำลังทดลองเทคนิคใหม่ที่สามารถนำยีนก๊อบปี้ CHM ซึ่งเป็นยีนที่พบว่ามีปัญหาในกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว ฉีดเข้าไปสู่เยื่อชั้นในของลูกตาได้ ซึ่งจากผลการทดลองที่ได้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร The Lancet นั้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเทคนิคดังกล่าวนั้นประสบความสำเร็จในการรักษาได้จริง อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ป่วยหกรายรอดพ้นจากการสูญเสียการมองเห็นไปอีกด้วย
นักวิจัยได้รายงานว่าผู้ป่วยสองรายนั้นไม่เพียงแต่มีการมองเห็นที่คงที่ ขึ้นเท่านั้น พวกเขายังประสบกับการมองเห็นที่ดีขึ้นกว่าเดิม อย่างเช่นความสามารถในการมองในที่มืด หรือสามารถอ่านแบบทดสอบสายตาลงมาได้เพิ่มถึงสามบรรทัด
แต่ข่าวดีที่ว่าก็ยังไม่สิ้นสุดอยู่แค่นี้ โดยศาสตราจารย์ MacLaren ได้อธิบายว่า "กลไกของ choroideremia และสิ่งที่เรากำลังพยายามทำอยู่กับการรักษาดังกล่าวจะสามารถนำไปขยับขยาย เพื่อใช้รักษา อาการอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของการตาบอดได้ด้วย" (วิชาการดอทคอม)
ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/bmnd/1854084
ryt9.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 มี.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ในอนาคตนั้นเราอาจจะใช้ยีนบำบัดในการรักษาการตาบอดแบบต่างๆ ได้ กลุ่มศัลยแพทย์กลุ่มหนึ่งจากมหาวิทยาลัย Oxford ได้ใช้นวัตกรรมการรักษาแบบยีนบำบัดรูปแบบใหม่ ที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยจำนวนหกรายรอดพ้นจากการสูญเสียการมองเห็นได้ และเป็นที่หวังว่าเทคนิคดังกล่าวนี้จะสามารถนำไปใช้รักษาอาการตาบอดได้หลาก หลายกรณี แม้อาการความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ choroideremia ซึ่งทำให้เซลล์ที่มีตำแหน่งอยู่ด้านหลังของดวงตาและทำหน้าที่รับแสงนั้น เสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ และตายลง โดยผู้ป่วยที่มีความผิดปกติดังกล่าวในช่วงแรกจะประสบปัญหากับการมองเห็นใน ที่ๆ มีแสงน้อย และอาการจะถดถอยลงเรื่อยๆ จนผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมดังกล่าวเกือบทั้งหมดมักจะต้องสูญเสียการ มองเห็นไปเมื่ออายุเข้าสู่ช่วงวัยกลางคน แต่ที่เลวร้ายที่สุดก็คือภาวะ ดังกล่าวนั้นไม่สามารถรักษาได้ อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์ Robert MacLaren และทีมงานของเขานั้น กำลังทดลองเทคนิคใหม่ที่สามารถนำยีนก๊อบปี้ CHM ซึ่งเป็นยีนที่พบว่ามีปัญหาในกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว ฉีดเข้าไปสู่เยื่อชั้นในของลูกตาได้ ซึ่งจากผลการทดลองที่ได้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร The Lancet นั้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเทคนิคดังกล่าวนั้นประสบความสำเร็จในการรักษาได้จริง อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ป่วยหกรายรอดพ้นจากการสูญเสียการมองเห็นไปอีกด้วย นักวิจัยได้รายงานว่าผู้ป่วยสองรายนั้นไม่เพียงแต่มีการมองเห็นที่คงที่ ขึ้นเท่านั้น พวกเขายังประสบกับการมองเห็นที่ดีขึ้นกว่าเดิม อย่างเช่นความสามารถในการมองในที่มืด หรือสามารถอ่านแบบทดสอบสายตาลงมาได้เพิ่มถึงสามบรรทัด แต่ข่าวดีที่ว่าก็ยังไม่สิ้นสุดอยู่แค่นี้ โดยศาสตราจารย์ MacLaren ได้อธิบายว่า "กลไกของ choroideremia และสิ่งที่เรากำลังพยายามทำอยู่กับการรักษาดังกล่าวจะสามารถนำไปขยับขยาย เพื่อใช้รักษา อาการอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของการตาบอดได้ด้วย" (วิชาการดอทคอม) ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/bmnd/1854084 ryt9.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 มี.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)