ใช้ชีวิตอยู่ในความมืดเพิ่มศักยภาพ'หู'
แพทย์และนักประสาทวิทยาค้นพบมานานแล้วว่าเซลล์ประสาทของมนุษย์ เรานั้นไม่ได้หยุดอยู่กับที่ แต่สามารถปรับตัวเองได้ เห็นได้ชัดจากกรณีของบุคคลที่สูญเสียสายตา แต่กลับพัฒนาขีดความสามารถในการรับฟังเพิ่มสูงขึ้น ทั้งในการได้ยินเสียงเบาๆ ได้ดีกว่า และในการจำแนกโทนเสียงที่แตกต่างกันได้ดีกว่าเมื่อเซลล์ประสาทในส่วนที่รับ สัมผัสจากภายนอกปรับปรุงขีดความสามารถอีกด้านหนึ่งให้สูงขึ้นเพื่อชดเชยขีด ความสามารถอีกด้านที่สูญเสียไป
ตัวอย่างที่ดีในกรณีดังกล่าวก็คือของนักร้อง นักดนตรีผู้พิการทางสายตา อาทิ สตีวี่ วันเดอร์ เป็นต้น ทีมนักวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริกาจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ ในเมือง บัลติมอร์ และมหาวิทยาลัยแห่งแมริแลนด์ นำองค์ความรู้ดังกล่าวมาศึกษาทดลองใหม่ เพื่อหาหนทางใช้เป็นเครื่องมือในการเยียวยาขีดความสามารถในการได้ยินของ ผู้สูงอายุ โดยทำการทดลองในหนูทดลองสูงอายุกลุ่มหนึ่ง ด้วยการนำมันไปอยู่ในที่มืดโดยสิ้นเชิงเป็นเวลา 1 สัปดาห์ แล้วนำมาทดสอบขีดความสามารถในการได้ยิน เปรียบเทียบกับหนูทั่วไปที่ใช้ชีวิตอยู่ในสภาพปกติ
ผลการทดลองพบว่าหนูในกลุ่มตัวอย่างที่ควบคุมพฤติกรรม มีขีดความสามารถในการได้ยินดีขึ้น ทั้งหูไวขึ้น และจำแนกโทนเสียงได้ดีขึ้นกว่าหนูนอกกลุ่มควบคุม และแม้ว่าความสามารถดังกล่าวเลือนหายไปเมื่อกลับมาใช้ชีวิตปกติราว 1 สัปดาห์ แต่ทำให้ได้ข้อสรุปที่น่าสนใจกล่าวคือ ทำให้คาดหวังได้ว่าจะสามารถใช้วิธีการเดียวกันนี้ ทำให้คนพัฒนาการได้ยินดีขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่การได้ยินเสื่อมลงเรื่อยๆ
แม้การอยู่ในความมืด 1 สัปดาห์ จะเป็นไปไม่ได้ในการใช้ชีวิตปกติของคนทั่วไป แต่การทดลองก่อนหน้านี้ก็ชี้ว่า การอยู่ในความมืดแค่ระยะเวลาสั้นๆ ก็อาจให้ผลแบบเดียวกัน อย่างเช่นการผูกผ้าปิดตาเป็นเวลา 90 นาที ก็สามารถเสริมสมรรถนะการได้ยินได้ และถ้าทำสม่ำเสมอ ก็อาจสามารถบังคับให้สมองทำในสิ่งที่ปกติแล้วไม่ได้ทำได้เช่นเดียวกัน
ขอบคุณ... http://www.hiso.or.th/hiso5/healthy/news.php?names=01&news_id=4943 (ขนาดไฟล์: 198)
hiso.or.th ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 มี.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
แพทย์และนักประสาทวิทยาค้นพบมานานแล้วว่าเซลล์ประสาทของมนุษย์ เรานั้นไม่ได้หยุดอยู่กับที่ แต่สามารถปรับตัวเองได้ เห็นได้ชัดจากกรณีของบุคคลที่สูญเสียสายตา แต่กลับพัฒนาขีดความสามารถในการรับฟังเพิ่มสูงขึ้น ทั้งในการได้ยินเสียงเบาๆ ได้ดีกว่า และในการจำแนกโทนเสียงที่แตกต่างกันได้ดีกว่าเมื่อเซลล์ประสาทในส่วนที่รับ สัมผัสจากภายนอกปรับปรุงขีดความสามารถอีกด้านหนึ่งให้สูงขึ้นเพื่อชดเชยขีด ความสามารถอีกด้านที่สูญเสียไป ตัวอย่างที่ดีในกรณีดังกล่าวก็คือของนักร้อง นักดนตรีผู้พิการทางสายตา อาทิ สตีวี่ วันเดอร์ เป็นต้น ทีมนักวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริกาจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ ในเมือง บัลติมอร์ และมหาวิทยาลัยแห่งแมริแลนด์ นำองค์ความรู้ดังกล่าวมาศึกษาทดลองใหม่ เพื่อหาหนทางใช้เป็นเครื่องมือในการเยียวยาขีดความสามารถในการได้ยินของ ผู้สูงอายุ โดยทำการทดลองในหนูทดลองสูงอายุกลุ่มหนึ่ง ด้วยการนำมันไปอยู่ในที่มืดโดยสิ้นเชิงเป็นเวลา 1 สัปดาห์ แล้วนำมาทดสอบขีดความสามารถในการได้ยิน เปรียบเทียบกับหนูทั่วไปที่ใช้ชีวิตอยู่ในสภาพปกติ ผลการทดลองพบว่าหนูในกลุ่มตัวอย่างที่ควบคุมพฤติกรรม มีขีดความสามารถในการได้ยินดีขึ้น ทั้งหูไวขึ้น และจำแนกโทนเสียงได้ดีขึ้นกว่าหนูนอกกลุ่มควบคุม และแม้ว่าความสามารถดังกล่าวเลือนหายไปเมื่อกลับมาใช้ชีวิตปกติราว 1 สัปดาห์ แต่ทำให้ได้ข้อสรุปที่น่าสนใจกล่าวคือ ทำให้คาดหวังได้ว่าจะสามารถใช้วิธีการเดียวกันนี้ ทำให้คนพัฒนาการได้ยินดีขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่การได้ยินเสื่อมลงเรื่อยๆ แม้การอยู่ในความมืด 1 สัปดาห์ จะเป็นไปไม่ได้ในการใช้ชีวิตปกติของคนทั่วไป แต่การทดลองก่อนหน้านี้ก็ชี้ว่า การอยู่ในความมืดแค่ระยะเวลาสั้นๆ ก็อาจให้ผลแบบเดียวกัน อย่างเช่นการผูกผ้าปิดตาเป็นเวลา 90 นาที ก็สามารถเสริมสมรรถนะการได้ยินได้ และถ้าทำสม่ำเสมอ ก็อาจสามารถบังคับให้สมองทำในสิ่งที่ปกติแล้วไม่ได้ทำได้เช่นเดียวกัน ขอบคุณ... http://www.hiso.or.th/hiso5/healthy/news.php?names=01&news_id=4943 hiso.or.th ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 มี.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)