วิจัยปั่นจักรยานเสริมสุขภาพคนชรา เพิ่มมวลกระดูก-กระตุ้นสมอง
ศ.นพ.ประเสริฐ อัสสันตชัย อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในการประชุมวิชาการการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2 เมื่อเร็วๆ นี้ว่า จากการศึกษาเรื่อง "ผลดีของการเพิ่มกิจกรรมการเดินหรือการใช้จักรยานต่อตัวชี้วัดทางสุขภาพ ต่างๆ ในผู้สูงอายุ" ระหว่างปี 2550-2552 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-95 ปี มีผลการประเมินปริมาณการเดินหรือการขับขี่จักรยานครบทั้งในปีแรกและปีที่สาม 958 ราย ตรวจสุขภาพในชุมชนทุก 1 ปี เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการเปลี่ยนแปลงปริมาณการออกกำลังกายในช่วง 2 ปี ของผู้สูงอายุ ได้แก่ ความสามารถทางสมอง การดำเนินกิจวัตรประจำวัน การเดิน การดูแลตนเอง ปริมาณมวลกล้ามเนื้อ และความหนาแน่นกระดูก
เมื่อเปรียบเทียบภาวะทางสุขภาพต่างๆ ระหว่างผู้สูงอายุที่มีการเพิ่มปริมาณการทำกิจกรรมการเดินหรือการขับขี่จักรยานขึ้นจากเดิม ร้อยละ 25 กับผู้สูงอายุที่มีการเพิ่มปริมาณกิจกรรมน้อยกว่าร้อยละ 25 ผลการศึกษา พบว่า ผู้ที่มีกิจกรรมเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกร้อยละ 25 ขึ้นไป จะมีตัวชี้วัดทางสุขภาพต่างๆ ดีกว่า ประกอบด้วย มีปริมาณมวลกล้ามเนื้อโดยรวมมากกว่าโดยเฉลี่ย 1.8 กิโลกรัม ความหนาแน่นของกระดูกมากกว่าโดยเฉลี่ย 0.03 กิโลกรัมต่อ ตารางเซนติเมตร มวลกระดูก มากกว่าโดยเฉลี่ย 4.7 คะแนน ความสามารถทางสมองดีกว่าโดยเฉลี่ย 0.8 คะแนน ความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวันรวมดีกว่าโดยเฉลี่ย 3.5 ความสามารถในการเดินดีกว่าโดยเฉลี่ย1.0และคะแนนความสามารถในการดูแลตนเองดีกว่าโดยเฉลี่ย1.2
"แสดงให้เห็นว่าแม้ผู้สูงอายุจะไม่เคยออกกำลังกาย ด้วยการเดินหรือการใช้จักรยานมาก่อน แต่เมื่อได้ปรับพฤติกรรม แม้เพียงร้อยละ 25 ขึ้นไป จะเกิดผลดีต่อสุขภาพ จากผลการศึกษานี้จะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เพิ่มการออกกำลังกาย" ศ.นพ.ประเสริฐกล่าว
ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1394421468
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 มี.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยาน ศ.นพ.ประเสริฐ อัสสันตชัย อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในการประชุมวิชาการการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2 เมื่อเร็วๆ นี้ว่า จากการศึกษาเรื่อง "ผลดีของการเพิ่มกิจกรรมการเดินหรือการใช้จักรยานต่อตัวชี้วัดทางสุขภาพ ต่างๆ ในผู้สูงอายุ" ระหว่างปี 2550-2552 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-95 ปี มีผลการประเมินปริมาณการเดินหรือการขับขี่จักรยานครบทั้งในปีแรกและปีที่สาม 958 ราย ตรวจสุขภาพในชุมชนทุก 1 ปี เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการเปลี่ยนแปลงปริมาณการออกกำลังกายในช่วง 2 ปี ของผู้สูงอายุ ได้แก่ ความสามารถทางสมอง การดำเนินกิจวัตรประจำวัน การเดิน การดูแลตนเอง ปริมาณมวลกล้ามเนื้อ และความหนาแน่นกระดูก เมื่อเปรียบเทียบภาวะทางสุขภาพต่างๆ ระหว่างผู้สูงอายุที่มีการเพิ่มปริมาณการทำกิจกรรมการเดินหรือการขับขี่จักรยานขึ้นจากเดิม ร้อยละ 25 กับผู้สูงอายุที่มีการเพิ่มปริมาณกิจกรรมน้อยกว่าร้อยละ 25 ผลการศึกษา พบว่า ผู้ที่มีกิจกรรมเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกร้อยละ 25 ขึ้นไป จะมีตัวชี้วัดทางสุขภาพต่างๆ ดีกว่า ประกอบด้วย มีปริมาณมวลกล้ามเนื้อโดยรวมมากกว่าโดยเฉลี่ย 1.8 กิโลกรัม ความหนาแน่นของกระดูกมากกว่าโดยเฉลี่ย 0.03 กิโลกรัมต่อ ตารางเซนติเมตร มวลกระดูก มากกว่าโดยเฉลี่ย 4.7 คะแนน ความสามารถทางสมองดีกว่าโดยเฉลี่ย 0.8 คะแนน ความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวันรวมดีกว่าโดยเฉลี่ย 3.5 ความสามารถในการเดินดีกว่าโดยเฉลี่ย1.0และคะแนนความสามารถในการดูแลตนเองดีกว่าโดยเฉลี่ย1.2 "แสดงให้เห็นว่าแม้ผู้สูงอายุจะไม่เคยออกกำลังกาย ด้วยการเดินหรือการใช้จักรยานมาก่อน แต่เมื่อได้ปรับพฤติกรรม แม้เพียงร้อยละ 25 ขึ้นไป จะเกิดผลดีต่อสุขภาพ จากผลการศึกษานี้จะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เพิ่มการออกกำลังกาย" ศ.นพ.ประเสริฐกล่าว ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1394421468 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 มี.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)