นักวิจัยภาษาเสียดาย หากเลิกใช้ศัพท์ 'ปัญญาอ่อน'
นักวิจัยด้านภาษา ม.มหิดล ชี้เสียดาย หากเลิกใช้ศัพท์ 'ปัญญาอ่อน' เหตุศัพท์ไม่ได้ดูแคลนคนอื่น-อธิบายครบถ้วน แต่อยู่ที่ตีความ ขณะราชบัณฑิตเผย ไม่มีอำนาจในการสั่งยกเลิกคำศัพท์ใด ระบุต้องดูบริบทและความนิยมของคำศัพท์ด้วย...
จากกรณี น.ส.โรสซาลีน่า อเล็กซานเดอร์ แมคเคย์ มูลนิธิเดอะเรนโบว์รูม ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้ง มิวเซียมสยาม สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ และชมรมเมืองไทยเข้าใจออทิสติก ฉลองวันดาวน์ซินโดรมโลกวันที่ 21 มี.ค. ด้วยการเริ่มรณรงค์ให้สังคมไทยเลิกใช้คำว่า "ปัญญาอ่อน" (ป.ญ.อ.) โดยระบุว่า คำดังกล่าวเป็นคำที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตลอดจนคำอื่น ๆ อาทิ โรคภาวะบกพร่องทางร่างกาย คนหูหนวก คนตาบอด เด็กออทิสติก เป็นต้น โดยขอให้ช่วยกันบัญญัติศัพท์ใหม่ที่เหมาะสมเพื่อสร้างความเข้าใจในเชิงบวกแก่สังคมนั้น
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายภาวิช ทองโรจน์ ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ศธ.เลิกใช้คำว่าปัญญาอ่อนมานานแล้ว และยังไม่มีคำใหม่มาใช้แทนที่ โดยขณะนี้ ศธ.ได้พยายามทำเรื่องต่างๆ เพื่อคนพิการ ฉะนั้น หากเพิ่มเรื่องการเปลี่ยนคำอื่นมาใช้แทนคำเหล่านั้น เพื่อให้ฟังรื่นหูขึ้น ก็เป็นเรื่องดี ทั้งนี้ คงต้องลองเสนอดูว่าจะใช้ได้หรือไม่ แต่ที่สุดราชบัณฑิตคงต้องเป็นผู้พิจารณาบัญญัติ
น.ส.สุปัญญา ชมจินดา โฆษกราชบัณฑิตยสถาน เปิดเผยกับ "ไทยรัฐออนไลน์" ว่า ในส่วนของราชบัณฑิตยสถานนั้น ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งยกเลิก หรือให้ใช้ศัพท์ใดศัพท์หนึ่ง เนื่องจากราชบัณฑิตฯ มีหน้าที่ในการให้ความหมายของคำเท่านั้น นอกจากนี้ การยกเลิก หรือไม่ยกเลิกนั้น จะต้องดูปัจจัยหลายด้านเช่นคำศัพท์ดังกล่าวยังใช้ในวงการแพทย์หรือไม่หากยังใช้อยู่การบังคับยกเลิกอาจไม่เป็นผล
เช่นเดียวกับอาจารย์วีระพงศ์ มีสถาน นักวิจัยชำนาญการพิเศษด้านภาษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า หากมีการยกเลิกคำศัพท์ "ปัญญาอ่อนจริง" ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เนื่องจากคำนี้ สามารถบอกความหมาย และอธิบายลักษณะที่ถูกจำแนกได้อย่างถูกต้อง ซึ่งหากแยกเป็น 2 คำ คือ ปัญญา ที่หมายถึงการตัดสินใจ และช่วยตัวเอง และอีก 1 คำ คือ อ่อน ก็จะเห็นว่า คำนี้มีความหมายครบถ้วนอยู่แล้ว โดยไม่เห็นว่าเป็นการดูแคลนอย่างใด แต่เป็นเรื่องของการตีความหมาย และนิยามมากกว่า
"ผมเข้าใจข้อเรียกร้องของทุกส่วนดี แต่ภาษาเป็นเรื่องของมวลชน ไม่ใช่คนใดคนหนึ่งจะบอกว่า ไม่อยากใช้คำนี้แล้ว เพราะถ้าคนในปัจจุบันยังใช้อยู่ การประกาศยกเลิกก็ไม่เป็นผล บวกกับตอนนี้การสื่อสารกระจายเร็วด้วย การเกิด ดับของคำนั้น ขึ้นอยู่ความนิยมเป็นหลัก ถ้าคำนั้นสามารถพูดและอธิบาย เขาก็ยังใช้ต่อไป ถ้าไม่นิยมเดี๋ยวก็จะหายไปเอง ซึ่งในส่วนของในใช้คำนี้ในวงการแพทย์ หากมีการยกเลิก แพทย์อาจไม่ใช่ แต่เราก็ห้ามชาวบ้านไม่ได้ ว่าให้เลิกพูดคำนี้ เช่น เราเคยอยากเป็นความแห้ว เป็น สมหวัง โชห่วย เป็นโชว์สวย ตัวเงินตัวทอง เป็น วรนุช แต่บางคนก็ไม่ใช้ ไม่ติดตลาด ตรงข้าม อย่างคำว่า ยาม้า เปลี่ยนเป็นยาบ้า คำนี้ก็ติดตลาดเลย มันขึ้นอยู่กับการยอมรับในสังคมมากกว่า หรือบางทีก็มีกรณีการใช้เปลี่ยนคำ จนผิดความหมายไปเลยก็มี ทั้งนี้ ความผิดทางภาษาไม่ใช่ความผิดทางกฎหมาย เป็นการสื่ออารมณ์ ไม่งั้นเราก็ต้องไล่ลบคำอื่น ๆ เช่น โง่ เลว เป็นต้น เพราะกลุ่มคำนี้ก็เป็นคำที่ละเมิดสิทธิ์เช่นกัน" อ.วีระชัย กล่าว
ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/edu/407383
ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 มี.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ภายในห้องเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัย นักวิจัยด้านภาษา ม.มหิดล ชี้เสียดาย หากเลิกใช้ศัพท์ 'ปัญญาอ่อน' เหตุศัพท์ไม่ได้ดูแคลนคนอื่น-อธิบายครบถ้วน แต่อยู่ที่ตีความ ขณะราชบัณฑิตเผย ไม่มีอำนาจในการสั่งยกเลิกคำศัพท์ใด ระบุต้องดูบริบทและความนิยมของคำศัพท์ด้วย... จากกรณี น.ส.โรสซาลีน่า อเล็กซานเดอร์ แมคเคย์ มูลนิธิเดอะเรนโบว์รูม ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้ง มิวเซียมสยาม สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ และชมรมเมืองไทยเข้าใจออทิสติก ฉลองวันดาวน์ซินโดรมโลกวันที่ 21 มี.ค. ด้วยการเริ่มรณรงค์ให้สังคมไทยเลิกใช้คำว่า "ปัญญาอ่อน" (ป.ญ.อ.) โดยระบุว่า คำดังกล่าวเป็นคำที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตลอดจนคำอื่น ๆ อาทิ โรคภาวะบกพร่องทางร่างกาย คนหูหนวก คนตาบอด เด็กออทิสติก เป็นต้น โดยขอให้ช่วยกันบัญญัติศัพท์ใหม่ที่เหมาะสมเพื่อสร้างความเข้าใจในเชิงบวกแก่สังคมนั้น ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายภาวิช ทองโรจน์ ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ศธ.เลิกใช้คำว่าปัญญาอ่อนมานานแล้ว และยังไม่มีคำใหม่มาใช้แทนที่ โดยขณะนี้ ศธ.ได้พยายามทำเรื่องต่างๆ เพื่อคนพิการ ฉะนั้น หากเพิ่มเรื่องการเปลี่ยนคำอื่นมาใช้แทนคำเหล่านั้น เพื่อให้ฟังรื่นหูขึ้น ก็เป็นเรื่องดี ทั้งนี้ คงต้องลองเสนอดูว่าจะใช้ได้หรือไม่ แต่ที่สุดราชบัณฑิตคงต้องเป็นผู้พิจารณาบัญญัติ น.ส.สุปัญญา ชมจินดา โฆษกราชบัณฑิตยสถาน เปิดเผยกับ "ไทยรัฐออนไลน์" ว่า ในส่วนของราชบัณฑิตยสถานนั้น ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งยกเลิก หรือให้ใช้ศัพท์ใดศัพท์หนึ่ง เนื่องจากราชบัณฑิตฯ มีหน้าที่ในการให้ความหมายของคำเท่านั้น นอกจากนี้ การยกเลิก หรือไม่ยกเลิกนั้น จะต้องดูปัจจัยหลายด้านเช่นคำศัพท์ดังกล่าวยังใช้ในวงการแพทย์หรือไม่หากยังใช้อยู่การบังคับยกเลิกอาจไม่เป็นผล เช่นเดียวกับอาจารย์วีระพงศ์ มีสถาน นักวิจัยชำนาญการพิเศษด้านภาษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า หากมีการยกเลิกคำศัพท์ "ปัญญาอ่อนจริง" ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เนื่องจากคำนี้ สามารถบอกความหมาย และอธิบายลักษณะที่ถูกจำแนกได้อย่างถูกต้อง ซึ่งหากแยกเป็น 2 คำ คือ ปัญญา ที่หมายถึงการตัดสินใจ และช่วยตัวเอง และอีก 1 คำ คือ อ่อน ก็จะเห็นว่า คำนี้มีความหมายครบถ้วนอยู่แล้ว โดยไม่เห็นว่าเป็นการดูแคลนอย่างใด แต่เป็นเรื่องของการตีความหมาย และนิยามมากกว่า "ผมเข้าใจข้อเรียกร้องของทุกส่วนดี แต่ภาษาเป็นเรื่องของมวลชน ไม่ใช่คนใดคนหนึ่งจะบอกว่า ไม่อยากใช้คำนี้แล้ว เพราะถ้าคนในปัจจุบันยังใช้อยู่ การประกาศยกเลิกก็ไม่เป็นผล บวกกับตอนนี้การสื่อสารกระจายเร็วด้วย การเกิด ดับของคำนั้น ขึ้นอยู่ความนิยมเป็นหลัก ถ้าคำนั้นสามารถพูดและอธิบาย เขาก็ยังใช้ต่อไป ถ้าไม่นิยมเดี๋ยวก็จะหายไปเอง ซึ่งในส่วนของในใช้คำนี้ในวงการแพทย์ หากมีการยกเลิก แพทย์อาจไม่ใช่ แต่เราก็ห้ามชาวบ้านไม่ได้ ว่าให้เลิกพูดคำนี้ เช่น เราเคยอยากเป็นความแห้ว เป็น สมหวัง โชห่วย เป็นโชว์สวย ตัวเงินตัวทอง เป็น วรนุช แต่บางคนก็ไม่ใช้ ไม่ติดตลาด ตรงข้าม อย่างคำว่า ยาม้า เปลี่ยนเป็นยาบ้า คำนี้ก็ติดตลาดเลย มันขึ้นอยู่กับการยอมรับในสังคมมากกว่า หรือบางทีก็มีกรณีการใช้เปลี่ยนคำ จนผิดความหมายไปเลยก็มี ทั้งนี้ ความผิดทางภาษาไม่ใช่ความผิดทางกฎหมาย เป็นการสื่ออารมณ์ ไม่งั้นเราก็ต้องไล่ลบคำอื่น ๆ เช่น โง่ เลว เป็นต้น เพราะกลุ่มคำนี้ก็เป็นคำที่ละเมิดสิทธิ์เช่นกัน" อ.วีระชัย กล่าว ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/edu/407383 ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 มี.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)