ผลวิจัยเผย...แม่ส่งความเครียดสู่ลูก...ตั้งแต่ในครรภ์
เอลิเซีย ป็อกกี เดวิส และ คิม พิลยอง สองนักจิตวิทยาเด็กจากมหาวิทยาลัยเดนเวอร์ เปิดเผยผลวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นที่แสดงให้เห็นว่า ฮอร์โมนความเครียดที่ผู้เป็นมารดาหลั่งออกมาขณะตั้งครรภ์นั้น อาจส่งผลในระยะยาวต่อเด็กทารกในครรภ์ แม้เมื่อคลอดและเจริญวัยขึ้นมาแล้ว และส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กเหล่านั้น ทำให้การแก้ไขหรือป้องกันควรทำตั้งแต่ผู้เป็นมารดาเริ่มตั้งครรภ์ ไม่ใช่มุ่งเน้นในการแก้ปัญหาสภาวะแวดล้อมในการเจริญวัยในภายหลัง
ในผลการทดลองก่อนหน้านี้ ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี 2011 นักวิชาการทั้งคู่เคยติดตามผู้หญิง 116 คนตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ เพื่อทดสอบระดับ คอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมหมวกไตเพื่อตอบสนองกับความเครียด การตรวจวัดทำกันทุกเดือนในช่วงครรภ์ระยะที่สองและที่สาม หลังจากทารกคลอดแล้ว ผู้วิจัยตรวจวัดระดับคอร์ติซอลของทารกแต่ละรายจากเลือดที่เจาะจากเท้า รวมทั้งเฝ้าติดตามอาการของเด็กขณะเจาะเลือดด้วย และพบว่าเด็กทารกรายที่เจอกับภาวะฮอร์โมน คอร์ติซอลของผู้เป็นแม่ระหว่างอยู่ในครรภ์สูง ยิ่งเกิดการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลสูงมากตามไปด้วยในการเจาะเลือด และมีแนวโน้มว่าจะลดระดับลงช้ากว่า เด็กปกติทั่วไปเมื่อการเจาะเลือดสิ้นสุดลง
ต่อมา เดวิส และ คิม ทดลอง ด้วยการให้ฮอร์โมน คอร์ติซอล สังเคราะห์ หรือกลูโคคอร์ติคอยด์ ซึ่งใช้กันทั่วไปเพื่อแก้ปัญหาแม่ที่มีภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด ทั้งนี้ เพื่อให้ปอดของทารกในครรภ์ทำงานได้เต็มที่ตั้งแต่ก่อนคลอดเพื่อช่วยชีวิต เด็กที่คลอดก่อนกำหนด อย่างไรก็ตาม 30-40 เปอร์เซ็นต์ ของผู้หญิงที่ส่อเค้าว่าจะคลอดก่อนกำหนด กลับคลอดตามกำหนดปกติ ซึ่งเท่ากับได้รับปริมาณฮอร์โมนคอร์ติซอลเข้าไปในระดับสูงโดยไม่มีประโยชน์ นั่นเอง
จากการติดตามเด็กๆ อายุระหว่าง 6-10 ขวบ ซึ่งผู้เป็นแม่ได้รับ กลูโคคอร์ติคอยด์ ในระดับสูงขณะตั้งครรภ์ ผู้วิจัยพบว่า สมองของเด็กเหล่านี้มีส่วนที่เรียกว่า "โรสทรัล แอนทีเรียร์ ซินกูเลต" บางกว่าเด็กรายอื่นๆ ซึ่งไม่ได้รับกลูโคคอร์ติคอยด์ในระดับสูง ส่วนของสมองดังกล่าวเกี่ยวพันกับอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งเด็กๆ ที่มีสมองส่วนนี้บาง จะเป็นคนกลัว กระวนกระวาย รู้สึกไม่มั่นคง ซึ่งชี้ให้เห็นว่าทำไม ความเครียดหรือสถานการณ์บางอย่าง ส่งผลต่อแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน สถานการณ์เดียวกันอาจทำให้บางคนถึงกับใจสั่นระรัว มือไม้สั่น ในขณะที่อีกบางคนรู้สึกเฉยๆ สบายๆ เท่านั้นเอง
ฟิลิป โคเฮน นักสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการวิจัยดังกล่าว แต่ชี้ว่าผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับผลการศึกษาของตนเอง ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างแม่ที่มีฐานะยากจน ซึ่งตกอยู่ท่ามกลางความเครียดตลอดเวลาเพราะสถานะทางการเงิน จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการคลอดลูกที่มีภาวะพิการทางร่างกายสูงกว่า ผู้เป็นแม่ที่มีฐานะดี เช่นเดียวกับที่แม่ที่มีการศึกษาระดับต่ำกว่า มีโอกาสเสี่ยงที่จะมีลูกพิการสูงกว่าแม่ที่มีการศึกษาสูงเป็นต้น
ทั้งนี้ ผลการศึกษาของโคเฮน พบว่า มารดาที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือต่ำกว่า ซึ่งอายุ 25 ปี หรือต่ำกว่า มีโอกาสเสี่ยงที่จะคลอดลูกซึ่งมีความบกพร่องด้านพัฒนาการสูงถึง 3.1 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับมารดาที่มีอายุ 25 ปีหรือต่ำกว่า ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีมีความเสี่ยงเพียง 2.1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง
ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน
ขอบคุณ... http://www.hiso.or.th/hiso5/healthy/news.php?names=01&news_id=4889 (ขนาดไฟล์: 198)
hiso.or.th ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 มี.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เอลิเซีย ป็อกกี เดวิส และ คิม พิลยอง สองนักจิตวิทยาเด็กจากมหาวิทยาลัยเดนเวอร์ เปิดเผยผลวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นที่แสดงให้เห็นว่า ฮอร์โมนความเครียดที่ผู้เป็นมารดาหลั่งออกมาขณะตั้งครรภ์นั้น อาจส่งผลในระยะยาวต่อเด็กทารกในครรภ์ แม้เมื่อคลอดและเจริญวัยขึ้นมาแล้ว และส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กเหล่านั้น ทำให้การแก้ไขหรือป้องกันควรทำตั้งแต่ผู้เป็นมารดาเริ่มตั้งครรภ์ ไม่ใช่มุ่งเน้นในการแก้ปัญหาสภาวะแวดล้อมในการเจริญวัยในภายหลัง ในผลการทดลองก่อนหน้านี้ ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี 2011 นักวิชาการทั้งคู่เคยติดตามผู้หญิง 116 คนตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ เพื่อทดสอบระดับ คอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมหมวกไตเพื่อตอบสนองกับความเครียด การตรวจวัดทำกันทุกเดือนในช่วงครรภ์ระยะที่สองและที่สาม หลังจากทารกคลอดแล้ว ผู้วิจัยตรวจวัดระดับคอร์ติซอลของทารกแต่ละรายจากเลือดที่เจาะจากเท้า รวมทั้งเฝ้าติดตามอาการของเด็กขณะเจาะเลือดด้วย และพบว่าเด็กทารกรายที่เจอกับภาวะฮอร์โมน คอร์ติซอลของผู้เป็นแม่ระหว่างอยู่ในครรภ์สูง ยิ่งเกิดการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลสูงมากตามไปด้วยในการเจาะเลือด และมีแนวโน้มว่าจะลดระดับลงช้ากว่า เด็กปกติทั่วไปเมื่อการเจาะเลือดสิ้นสุดลง ต่อมา เดวิส และ คิม ทดลอง ด้วยการให้ฮอร์โมน คอร์ติซอล สังเคราะห์ หรือกลูโคคอร์ติคอยด์ ซึ่งใช้กันทั่วไปเพื่อแก้ปัญหาแม่ที่มีภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด ทั้งนี้ เพื่อให้ปอดของทารกในครรภ์ทำงานได้เต็มที่ตั้งแต่ก่อนคลอดเพื่อช่วยชีวิต เด็กที่คลอดก่อนกำหนด อย่างไรก็ตาม 30-40 เปอร์เซ็นต์ ของผู้หญิงที่ส่อเค้าว่าจะคลอดก่อนกำหนด กลับคลอดตามกำหนดปกติ ซึ่งเท่ากับได้รับปริมาณฮอร์โมนคอร์ติซอลเข้าไปในระดับสูงโดยไม่มีประโยชน์ นั่นเอง จากการติดตามเด็กๆ อายุระหว่าง 6-10 ขวบ ซึ่งผู้เป็นแม่ได้รับ กลูโคคอร์ติคอยด์ ในระดับสูงขณะตั้งครรภ์ ผู้วิจัยพบว่า สมองของเด็กเหล่านี้มีส่วนที่เรียกว่า "โรสทรัล แอนทีเรียร์ ซินกูเลต" บางกว่าเด็กรายอื่นๆ ซึ่งไม่ได้รับกลูโคคอร์ติคอยด์ในระดับสูง ส่วนของสมองดังกล่าวเกี่ยวพันกับอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งเด็กๆ ที่มีสมองส่วนนี้บาง จะเป็นคนกลัว กระวนกระวาย รู้สึกไม่มั่นคง ซึ่งชี้ให้เห็นว่าทำไม ความเครียดหรือสถานการณ์บางอย่าง ส่งผลต่อแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน สถานการณ์เดียวกันอาจทำให้บางคนถึงกับใจสั่นระรัว มือไม้สั่น ในขณะที่อีกบางคนรู้สึกเฉยๆ สบายๆ เท่านั้นเอง ฟิลิป โคเฮน นักสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการวิจัยดังกล่าว แต่ชี้ว่าผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับผลการศึกษาของตนเอง ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างแม่ที่มีฐานะยากจน ซึ่งตกอยู่ท่ามกลางความเครียดตลอดเวลาเพราะสถานะทางการเงิน จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการคลอดลูกที่มีภาวะพิการทางร่างกายสูงกว่า ผู้เป็นแม่ที่มีฐานะดี เช่นเดียวกับที่แม่ที่มีการศึกษาระดับต่ำกว่า มีโอกาสเสี่ยงที่จะมีลูกพิการสูงกว่าแม่ที่มีการศึกษาสูงเป็นต้น ทั้งนี้ ผลการศึกษาของโคเฮน พบว่า มารดาที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือต่ำกว่า ซึ่งอายุ 25 ปี หรือต่ำกว่า มีโอกาสเสี่ยงที่จะคลอดลูกซึ่งมีความบกพร่องด้านพัฒนาการสูงถึง 3.1 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับมารดาที่มีอายุ 25 ปีหรือต่ำกว่า ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีมีความเสี่ยงเพียง 2.1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน ขอบคุณ... http://www.hiso.or.th/hiso5/healthy/news.php?names=01&news_id=4889 hiso.or.th ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 มี.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)