ระดับวิตามินสมอง B12 ลดลง เมื่ออายุมากขึ้นและจะลดต่ำลงก่อนวัยอันควรในเด็กออทิสติกและโรคจิตเภท
งานวิจัยครั้งใหม่ที่ได้เผยแพร่ในวารสาร Public Library of Science One (PLOS One) ได้รายงานว่า ระดับวิตามิน B12 ในสมองจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดในผู้สูงอายุ และเมื่อเปรียบเทียบคนที่อายุเท่าๆกัน คนที่เป็นโรคออทิสติกและโรคจิตเภทจะมีระดับวิตามิน B12 ในสมองที่ต่ำกว่ามาก ยกตัวอย่าง เช่น ระดับวิตามิน B12 ของเด็กอายุ 10 ขวบที่ป่วยเป็นออทิสติกจะต่ำกว่าเด็กที่อายุเท่ากันถึง 3 เท่า ซึ่งเป็นปริมาณที่ใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีอายุ 50 ปี ขึ้นไปสิ่งเหล่านี้ได้ชี้ให้เห็นว่าโรคออทิสติกและโรคจิตเภทก่อให้การลดระดับของวิตามิน B12 ก่อนวัยอันควร
คณะวิจัยระดับนานาชาติ ซึ่งนำโดย ศาสตราจารย์ ดร. Richard Deth อาจารย์ประจำสาขาเภสัชกรรมที่มหาวิทยาลัย Nova Southeastern University's (NSU) College of Pharmacy ผู้ที่ทำการวิเคราะห์และเปรียบเทียบเนื้อเยื่อจากผู้ที่มีสุขภาพดี ผู้สูงอายุและเนื้อเยื่อจากผู้ป่วยออทิสติก
ดร. Deth กล่าวว่า “สิ่งที่ค้นพบเหล่านี้ถือเป็นการค้นพบครั้งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะความแตกต่างของวิตามิน B12 ของสมองที่พวกเราพบในผู้สูงอายุ คนที่เป็นออทิสติกและโรคจิตเภทนั้นไม่สามารถตรวจพบได้ในเลือด ในขณะที่พวกเรามักจะตรวจหาระดับวิตามิน B12 จากเลือดอยู่เสมอๆ การขาดแคลนวิตามินของสมอง B12 ในผู้ป่วยที่เป็นออทิสติกและโรคจิตเภทสามารถช่วยในการอธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยต้องทนทุกข์ทรมานจากความผิดปกติในการทำงานทางประสาทวิทยาและอาการทางประสาทจิตเวช”
งานวิจัยนี้ยังค้นพบอีกว่าผู้สูงอายุที่มีอายุอยู่ในช่วง 61-80 ปี มีปริมาณวิตามิน B12 ในสมองต่ำกว่าคนวัยหนุ่มสาวถึง 3 เท่า ซึ่งสิ่งนี้เป็นเรื่องตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว เนื่องจากอายุที่เพิ่มมากขึ้นตามวัย การลดลงตามธรรมชาตินี้อาจจะช่วยปรับกระบวนการทำงานของสมอง เพื่อให้สมองยังคงทำหน้าที่ของมันได้ต่อไปตลอดชั่วอายุขัยของมนุษย์
ส่วนหนึ่งของวิตามินสมอง B12 ที่ทำงานตอบสนองต่อสมองได้ถูกเรียกว่า เมธิลโคบอลามีน (methylcobalamin) หรือเมธิล B12 ซึ่งช่วยสนับสนุนการพัฒนาของสมองในสภาวะปกติ โดยเมธิล B12 ได้ควบคุมผ่านกระบวนการที่รู้จักกันดีคือ epigenetic regulation of gene expression (การควบคุมการแสดงออกของยีนที่เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงลำดับเบสของ DNA) มันเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากที่ว่าพวกเขาพบว่าผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีจะมีระดับเมธิล B12 ในสมองต่ำกว่าคนวัยหนุ่มสาวที่มีสุขภาพดีถึง 10 เท่า และการที่มีระดับเมธิล B12 ในสมองต่ำกว่าระดับปกติอาจจะส่งผลในทางตรงกันข้ามในการพัฒนาของระบบประสาทในคนที่มีอายุน้อยได้และสามารถรบกวนกระบวนการเรียนรู้และความทรงจำเกี่ยวกับชีวิตในภายหลังได้
ทั้งผู้ป่วยออทิสติกและโรคจิตเภทนั้นล้วนแล้วแต่มีความเกี่ยวโยงกับภาวะเครียดที่เกิดจากออกซิเดชั่น หรือการที่อนุมูลอิสระเข้าไปทำลายระบบต่างๆภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งมันยังมีบทบาทสำคัญต่อการที่มีอายุมากขึ้น และภาวะเครียดที่เกิดจากออกซิเดชั่นอาจจะมีสาเหตุมาจากการลดลงของระดับ B12 ในสมองตามตามที่ได้สังเกตจากการศึกษาครั้งนี้
การค้นพบเหล่านี้ ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการทำวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อต่อยอดทางการศึกษาถึงคำถามที่ว่าการใช้อาหารเสริมจากเมธิล B12 และสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น กลูตาไทโอน อาจจะสามารถช่วยป้องกันภาวะเครียดที่เกิดจากออกซิเดชั่น และเป็นประโยชน์ต่อการรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทวิทยาได้หรือไม่
คณะวิจัยประกอบด้วย
ดร. Deth และ Yiting Zhang จากมหาวิทยาลัย Northeastern University
Nathaniel Hodgson จากมหาวิทยาลัย Harvard University
Malav S. Trivedi จากมหาวิทยาลัย Nova Southeastern University
Hamid Abdolmaleky จากมหาวิทยาลัย Boston University
และ Margot Fournier, Michel Cuenod และ Kim Quang Do จากมหาวิทยาลัย Lausanne University ประเทศ Switzerland
ที่มา http://www.sciencedaily.com/releases/2016/01/160122144730.htm (ขนาดไฟล์: 167)
ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1454321477
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
อาหารบำรุงสมอง เพิ่มระดับวิตามิน B12 งานวิจัยครั้งใหม่ที่ได้เผยแพร่ในวารสาร Public Library of Science One (PLOS One) ได้รายงานว่า ระดับวิตามิน B12 ในสมองจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดในผู้สูงอายุ และเมื่อเปรียบเทียบคนที่อายุเท่าๆกัน คนที่เป็นโรคออทิสติกและโรคจิตเภทจะมีระดับวิตามิน B12 ในสมองที่ต่ำกว่ามาก ยกตัวอย่าง เช่น ระดับวิตามิน B12 ของเด็กอายุ 10 ขวบที่ป่วยเป็นออทิสติกจะต่ำกว่าเด็กที่อายุเท่ากันถึง 3 เท่า ซึ่งเป็นปริมาณที่ใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีอายุ 50 ปี ขึ้นไปสิ่งเหล่านี้ได้ชี้ให้เห็นว่าโรคออทิสติกและโรคจิตเภทก่อให้การลดระดับของวิตามิน B12 ก่อนวัยอันควร คณะวิจัยระดับนานาชาติ ซึ่งนำโดย ศาสตราจารย์ ดร. Richard Deth อาจารย์ประจำสาขาเภสัชกรรมที่มหาวิทยาลัย Nova Southeastern University's (NSU) College of Pharmacy ผู้ที่ทำการวิเคราะห์และเปรียบเทียบเนื้อเยื่อจากผู้ที่มีสุขภาพดี ผู้สูงอายุและเนื้อเยื่อจากผู้ป่วยออทิสติก ดร. Deth กล่าวว่า “สิ่งที่ค้นพบเหล่านี้ถือเป็นการค้นพบครั้งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะความแตกต่างของวิตามิน B12 ของสมองที่พวกเราพบในผู้สูงอายุ คนที่เป็นออทิสติกและโรคจิตเภทนั้นไม่สามารถตรวจพบได้ในเลือด ในขณะที่พวกเรามักจะตรวจหาระดับวิตามิน B12 จากเลือดอยู่เสมอๆ การขาดแคลนวิตามินของสมอง B12 ในผู้ป่วยที่เป็นออทิสติกและโรคจิตเภทสามารถช่วยในการอธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยต้องทนทุกข์ทรมานจากความผิดปกติในการทำงานทางประสาทวิทยาและอาการทางประสาทจิตเวช” งานวิจัยนี้ยังค้นพบอีกว่าผู้สูงอายุที่มีอายุอยู่ในช่วง 61-80 ปี มีปริมาณวิตามิน B12 ในสมองต่ำกว่าคนวัยหนุ่มสาวถึง 3 เท่า ซึ่งสิ่งนี้เป็นเรื่องตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว เนื่องจากอายุที่เพิ่มมากขึ้นตามวัย การลดลงตามธรรมชาตินี้อาจจะช่วยปรับกระบวนการทำงานของสมอง เพื่อให้สมองยังคงทำหน้าที่ของมันได้ต่อไปตลอดชั่วอายุขัยของมนุษย์ ส่วนหนึ่งของวิตามินสมอง B12 ที่ทำงานตอบสนองต่อสมองได้ถูกเรียกว่า เมธิลโคบอลามีน (methylcobalamin) หรือเมธิล B12 ซึ่งช่วยสนับสนุนการพัฒนาของสมองในสภาวะปกติ โดยเมธิล B12 ได้ควบคุมผ่านกระบวนการที่รู้จักกันดีคือ epigenetic regulation of gene expression (การควบคุมการแสดงออกของยีนที่เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงลำดับเบสของ DNA) มันเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากที่ว่าพวกเขาพบว่าผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีจะมีระดับเมธิล B12 ในสมองต่ำกว่าคนวัยหนุ่มสาวที่มีสุขภาพดีถึง 10 เท่า และการที่มีระดับเมธิล B12 ในสมองต่ำกว่าระดับปกติอาจจะส่งผลในทางตรงกันข้ามในการพัฒนาของระบบประสาทในคนที่มีอายุน้อยได้และสามารถรบกวนกระบวนการเรียนรู้และความทรงจำเกี่ยวกับชีวิตในภายหลังได้ ทั้งผู้ป่วยออทิสติกและโรคจิตเภทนั้นล้วนแล้วแต่มีความเกี่ยวโยงกับภาวะเครียดที่เกิดจากออกซิเดชั่น หรือการที่อนุมูลอิสระเข้าไปทำลายระบบต่างๆภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งมันยังมีบทบาทสำคัญต่อการที่มีอายุมากขึ้น และภาวะเครียดที่เกิดจากออกซิเดชั่นอาจจะมีสาเหตุมาจากการลดลงของระดับ B12 ในสมองตามตามที่ได้สังเกตจากการศึกษาครั้งนี้ การค้นพบเหล่านี้ ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการทำวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อต่อยอดทางการศึกษาถึงคำถามที่ว่าการใช้อาหารเสริมจากเมธิล B12 และสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น กลูตาไทโอน อาจจะสามารถช่วยป้องกันภาวะเครียดที่เกิดจากออกซิเดชั่น และเป็นประโยชน์ต่อการรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทวิทยาได้หรือไม่ คณะวิจัยประกอบด้วย ดร. Deth และ Yiting Zhang จากมหาวิทยาลัย Northeastern University Nathaniel Hodgson จากมหาวิทยาลัย Harvard University Malav S. Trivedi จากมหาวิทยาลัย Nova Southeastern University Hamid Abdolmaleky จากมหาวิทยาลัย Boston University และ Margot Fournier, Michel Cuenod และ Kim Quang Do จากมหาวิทยาลัย Lausanne University ประเทศ Switzerland ที่มา http://www.sciencedaily.com/releases/2016/01/160122144730.htm ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1454321477
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)