นักวิทย์เผย ‘ออทิสติก’ เยียวยาได้
ศาสตราจารย์ Peter Scheiffele และ Kaspar Vogt จาก Biozentrum มหาวิทยาลัย the University of Basel พบความผิดปกติลักษณะเฉพาะในระบบประสาทจากพัฒนาการที่ผิดปกติ เป็นสาเหตุให้เกิดอาการออทิสติก ผลวิจัยนี้รายงานในวารสาร Science โดยนักวิทยาศาสตร์ระบุความสำเร็จในการเยียวยาการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาท ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนายาเพื่อรักษาภาวะออทิสซึม
จากการประมาณพบว่ามีเด็กประมาณ ๑% ที่ เป็นออทิสติก โดยเด็กกลุ่มนี้จะมีปัญหาด้านการเข้าสังคม ปรับตัวยาก และมีพัฒนาการด้านการพูดที่จำกัด ออทิสติกเป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากการพัฒนาของสมองที่ผิดปกติ ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคนี้คือการกลายพันธุ์ของยีนจำนวนมากกว่า ๓๐๐ ชนิดซึ่งได้รับการตรวจพบในขณะนี้ ยีนที่เกี่ยวข้องชนิดหนึ่ง คือ ยีน neuroligin-๓ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการไซแนปส์ (synapse) ระหว่างเซลล์ประสาท
ขาด neuroligin-๓ ยับยั้งการส่งผ่านกระแสประสาท ผลจากการขาด neuroligin-๓ ที่ได้จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า หนูที่ขาดยีน neuroligin-๓ จะพัฒนาพฤติกรรมผิดปกติสำคัญที่พบในผู้ที่มีอาการออทิสติก จากการศึกษาร่วมกับทีมวิจัย Roche จาก Biozentrum มหาวิทยาลัย Basel พบว่า ความผิดปกติบริเวณไซแนปส์ซึ่งส่งผลยับยั้งการทำงานและการฟื้นสภาพของวงจรประสาท มีผลเกี่ยวข้องกับทำให้เซลล์ประสาทสังเคราะห์ตัวรับกลูตาเมทมากขึ้น ตัวรับกลูตาเมทส่งผลเปลี่ยนแปลงการส่งผ่านสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาท พบว่าหากมีตัวรับกลูตาเมทมากเกินไปจะยับยั้งการปรับเปลี่ยนสัญญาณบริเวณ เซลล์ประสาทระหว่างที่เกิดกระบวนการเรียนรู้ ท้ายสุดแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นคือพัฒนาการและการทำงานของสมองจะถูกจำกัดในระยะ ยาว
ประเด็นสำคัญที่พบจากการศึกษาคือ พัฒนาการผิดปกติที่พบในวงจรประสาทสามารถฟื้นสภาพเป็นปกติได้ ทั้งนี้พบว่าเมื่อนักวิทยาศาสตร์กระตุ้นการสังเคราะห์ยีน neuroligin-๓ ในหนูทดลองอีกครั้ง เซลล์ประสาทลดการสังเคราะห์ตัวรับกลูตาเมทจนกระทั่งอยู่ในระดับปกติ อีกทั้งโครงสร้างผิดปกติที่มักเกิดขึ้นในสมองขณะเกิดภาวะออทิสซึมนั้นหายไป ดังนั้นจึงเรียกได้ว่า ตัวรับกลูตาเมทที่กล่าวถึงนี้ อาจเป็นเป้าหมายสำคัญในเชิงเภสัชวิทยาเพื่อค้นหาวิธียับยั้งความผิดปกติด้าน พัฒนาการที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยออทิสติกหรือทำให้ความผิดปกตินั้นฟื้นสภาพ
เป้าหมายในอนาคต การบำบัดอาการออทิสซึม ออทิสซึมเป็นอาการที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ปัจจุบันสามารถเยียวยาได้เพียงกลุ่มอาการผิดปกติบางกลุ่มเท่านั้นโดยอาศัย พฤติกรรมบำบัดและการรักษาร่วม อย่างไรก็ตามงานวิจัยล่าสุด นำเสนอวิธีการรักษาในรูปแบบใหม่ หนึ่งในงานวิจัยร่วมของโครงการ EU-AIMS ซึ่งได้รับการสนุนจาก European Union โดยทีมวิจัยจากBiozentrum ร่วมงานกับ Roche และบริษัทอื่น ๆ เพื่อใส่ glutamate receptor antagonists ในการรักษาอาการออติสซึม และหวังว่า ความผิดปกตินี้จะประสบความสำเร็จทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
ที่มา: Universität Basel (๒๐๑๒, September ๑๔). Disorder of neuronal circuits in autism is reversible, new study suggests. ScienceDaily
ยังไม่มีเรตติ้ง
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ไซแนปส์เคมีซึ่งเป็นการติดต่อกันระหว่างเซลล์ประสาท เพื่อเปลี่ยนกระแสประสาทเป็นสารสื่อประสาทในการนำสัญญาณประสาทไปยังเซลล์ประสาทหลังไซแนปส์ศาสตราจารย์ Peter Scheiffele และ Kaspar Vogt จาก Biozentrum มหาวิทยาลัย the University of Basel พบความผิดปกติลักษณะเฉพาะในระบบประสาทจากพัฒนาการที่ผิดปกติ เป็นสาเหตุให้เกิดอาการออทิสติก ผลวิจัยนี้รายงานในวารสาร Science โดยนักวิทยาศาสตร์ระบุความสำเร็จในการเยียวยาการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาท ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนายาเพื่อรักษาภาวะออทิสซึม จากการประมาณพบว่ามีเด็กประมาณ ๑% ที่ เป็นออทิสติก โดยเด็กกลุ่มนี้จะมีปัญหาด้านการเข้าสังคม ปรับตัวยาก และมีพัฒนาการด้านการพูดที่จำกัด ออทิสติกเป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากการพัฒนาของสมองที่ผิดปกติ ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคนี้คือการกลายพันธุ์ของยีนจำนวนมากกว่า ๓๐๐ ชนิดซึ่งได้รับการตรวจพบในขณะนี้ ยีนที่เกี่ยวข้องชนิดหนึ่ง คือ ยีน neuroligin-๓ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการไซแนปส์ (synapse) ระหว่างเซลล์ประสาท ขาด neuroligin-๓ ยับยั้งการส่งผ่านกระแสประสาท ผลจากการขาด neuroligin-๓ ที่ได้จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า หนูที่ขาดยีน neuroligin-๓ จะพัฒนาพฤติกรรมผิดปกติสำคัญที่พบในผู้ที่มีอาการออทิสติก จากการศึกษาร่วมกับทีมวิจัย Roche จาก Biozentrum มหาวิทยาลัย Basel พบว่า ความผิดปกติบริเวณไซแนปส์ซึ่งส่งผลยับยั้งการทำงานและการฟื้นสภาพของวงจรประสาท มีผลเกี่ยวข้องกับทำให้เซลล์ประสาทสังเคราะห์ตัวรับกลูตาเมทมากขึ้น ตัวรับกลูตาเมทส่งผลเปลี่ยนแปลงการส่งผ่านสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาท พบว่าหากมีตัวรับกลูตาเมทมากเกินไปจะยับยั้งการปรับเปลี่ยนสัญญาณบริเวณ เซลล์ประสาทระหว่างที่เกิดกระบวนการเรียนรู้ ท้ายสุดแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นคือพัฒนาการและการทำงานของสมองจะถูกจำกัดในระยะ ยาว ประเด็นสำคัญที่พบจากการศึกษาคือ พัฒนาการผิดปกติที่พบในวงจรประสาทสามารถฟื้นสภาพเป็นปกติได้ ทั้งนี้พบว่าเมื่อนักวิทยาศาสตร์กระตุ้นการสังเคราะห์ยีน neuroligin-๓ ในหนูทดลองอีกครั้ง เซลล์ประสาทลดการสังเคราะห์ตัวรับกลูตาเมทจนกระทั่งอยู่ในระดับปกติ อีกทั้งโครงสร้างผิดปกติที่มักเกิดขึ้นในสมองขณะเกิดภาวะออทิสซึมนั้นหายไป ดังนั้นจึงเรียกได้ว่า ตัวรับกลูตาเมทที่กล่าวถึงนี้ อาจเป็นเป้าหมายสำคัญในเชิงเภสัชวิทยาเพื่อค้นหาวิธียับยั้งความผิดปกติด้าน พัฒนาการที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยออทิสติกหรือทำให้ความผิดปกตินั้นฟื้นสภาพ เป้าหมายในอนาคต การบำบัดอาการออทิสซึม ออทิสซึมเป็นอาการที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ปัจจุบันสามารถเยียวยาได้เพียงกลุ่มอาการผิดปกติบางกลุ่มเท่านั้นโดยอาศัย พฤติกรรมบำบัดและการรักษาร่วม อย่างไรก็ตามงานวิจัยล่าสุด นำเสนอวิธีการรักษาในรูปแบบใหม่ หนึ่งในงานวิจัยร่วมของโครงการ EU-AIMS ซึ่งได้รับการสนุนจาก European Union โดยทีมวิจัยจากBiozentrum ร่วมงานกับ Roche และบริษัทอื่น ๆ เพื่อใส่ glutamate receptor antagonists ในการรักษาอาการออติสซึม และหวังว่า ความผิดปกตินี้จะประสบความสำเร็จทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ที่มา: Universität Basel (๒๐๑๒, September ๑๔). Disorder of neuronal circuits in autism is reversible, new study suggests. ScienceDaily อ้างอิง: http://www.cf.mahidol.ac.th/floortime/admin3/index.php?option=com_content&view=article&id=1
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)