ผลวิจัยชี้หญิงไทยลังเลเรื่องการทำแท้ง...ร้อยละ 32.7 ลูกเป็นออทิสติก

แสดงความคิดเห็น

โลโก้ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

ศูนย์วิจัยความสุขชุมชนเอแบคชี้ผู้หญิงส่วนใหญ่ยังลังเลทำแท้งร้อยละ 56.7 ระบุเทคโนโลยีของหมอมีผลต่อการตัดสินใจตั้งครรภ์นางสาวปุณฑีรก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง เทคโนโลยีทางการแพทย์ จริยธรรม กับการตัดสินใจทำแท้งของสตรีตั้งครรภ์ในสังคมไทย กรณีศึกษาตัวอย่างกลุ่มผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 626 ตัวอย่าง พบว่า ผู้หญิงที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 74.8 ระบุว่า ช่วงอายุที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์คือช่วงอายุระหว่าง 20-29 ปี ในขณะที่ร้อยละ 23.5 ระบุว่า ช่วงอายุระหว่าง30-39ปี

ที่น่าพิจารณาคือ ผู้หญิงเกินครึ่งหรือร้อยละ 55.1 ระบุว่า ช่วงอายุที่มากเกินไปสำหรับการตั้งครรภ์คือช่วงอายุระหว่าง 30-39 ปี และร้อยละ 38.0 ระบุ ช่วงอายุระหว่าง 40-49 ปี ในขณะที่ร้อยละ 5.1 ระบุช่วงอายุ 50-59 ปี สำหรับเหตุผลที่ทำให้มีลูกตอนอายุมากนั้น พบว่า กลุ่มตัวอย่างเกือบหนึ่งในสาม หรือร้อยละ 30.0 ระบุว่า แต่งงานตอนอายุมาก รองๆ ลงมาคือ ร้อยละ 27.6 ระบุว่า ความพร้อมทางฐานะการเงิน ร้อยละ 22.8 บอกว่า ความมั่นคงในชีวิตคู่ นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลอื่นๆ อีก ได้แก่ ตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์อยากได้ลูกเป็นโซ่ทองคล้องใจและความมั่นใจในเทคโนโลยีทางการแพทย์ตามลำดับ

ส่วนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับทารกหากตั้งครรภ์ตอนอายุ 30 ปีขึ้นไป ห้าอันดับแรกได้แก่ อันดับหนึ่ง ร้อยละ 53.8 ระบุ มีพัฒนาการเรียนรู้ช้า อันดับสอง ร้อยละ 38.3 ระบุ เด็กเป็นดาวน์ซินโดรม อันดับสาม ร้อยละ 38.0 ระบุ อวัยวะในร่างกายไม่ครบสมบูรณ์ อันดับสี่ร้อยละ32.7ระบุเด็กเป็นออทิสติกและอันดับที่5 ร้อยละ26.2ระบุครรภ์เป็นพิษตามลำดับ

นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 56.7 ระบุว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันมีผลต่อการตัดสินใจตั้งครรภ์มีผลต่อการตัดสินมากถึงค่อนข้างมาก ร้อยละ 34.7 ระบุปานกลาง มีเพียงแค่ร้อยละ5.7ระบุมีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อย

ที่น่าสนใจคือ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 56.8 ระบุว่า ยังลังเลไม่แน่ใจและต้องปรึกษาคนในครอบครัวก่อนว่าจะทำแท้งหรือไม่หากแพทย์วินิจฉัยว่ามีความเสี่ยงต่อชีวิต ในขณะที่ร้อยละ 27.0 จะตัดสินใจทำแท้งทั้งนี้มีเพียงร้อยละ16.2ที่ตัดสินใจไม่ทำแท้งและพร้อมยอมรับความเสี่ยง

ผช.ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า จะเห็นได้ว่าผู้หญิงที่ถูกศึกษามีเพียงส่วนน้อยที่คำนึงถึงศีลธรรม-จริยธรรมที่เข้มแข็ง โดยจากการสัมภาษณ์เจาะลึกพบว่า พวกเธอคิดถึงเรื่อง "ชีวิตมนุษย์" ในครรภ์และ "ความเป็นลูก" ที่มาจากตัวของพวกเธอเป็นหลัก พวกเธอเห็นตรงกันว่า ถ้าตัดสินใจทำแท้งก็คือทำลายชีวิตของลูกชีวิตของมนุษย์และจะเป็นบาปติดตัวไปตลอด

อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ยังคงลังเล ไม่แน่ใจว่าจะทำแท้งหรือไม่ขึ้นอยู่กับการชี้แนะชี้นำของคนใกล้ชิดรอบข้าง แต่การที่ผลสำรวจพบว่าคนที่ตัดสินใจทำแท้งทันทีมีอยู่เกินกว่า 1 ใน 4 ของผู้หญิงที่ถูกศึกษาทั้งหมดนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องถกเถียงในสังคมด้านศาสนาและวิทยาศาสตร์กันต่อไป

ขอบคุณ... http://www.posttoday.com/สังคม/สาธารณสุข/212993/ผลวิจัยชี้หญิงไทยลังเลเรื่องการทำแท้ง (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: โพสต์ทูเดย์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย28มี.ค.56
วันที่โพสต์: 29/03/2556 เวลา 04:23:43 ดูภาพสไลด์โชว์ ผลวิจัยชี้หญิงไทยลังเลเรื่องการทำแท้ง...ร้อยละ 32.7 ลูกเป็นออทิสติก

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โลโก้ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชนเอแบคชี้ผู้หญิงส่วนใหญ่ยังลังเลทำแท้งร้อยละ 56.7 ระบุเทคโนโลยีของหมอมีผลต่อการตัดสินใจตั้งครรภ์นางสาวปุณฑีรก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง เทคโนโลยีทางการแพทย์ จริยธรรม กับการตัดสินใจทำแท้งของสตรีตั้งครรภ์ในสังคมไทย กรณีศึกษาตัวอย่างกลุ่มผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 626 ตัวอย่าง พบว่า ผู้หญิงที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 74.8 ระบุว่า ช่วงอายุที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์คือช่วงอายุระหว่าง 20-29 ปี ในขณะที่ร้อยละ 23.5 ระบุว่า ช่วงอายุระหว่าง30-39ปี ที่น่าพิจารณาคือ ผู้หญิงเกินครึ่งหรือร้อยละ 55.1 ระบุว่า ช่วงอายุที่มากเกินไปสำหรับการตั้งครรภ์คือช่วงอายุระหว่าง 30-39 ปี และร้อยละ 38.0 ระบุ ช่วงอายุระหว่าง 40-49 ปี ในขณะที่ร้อยละ 5.1 ระบุช่วงอายุ 50-59 ปี สำหรับเหตุผลที่ทำให้มีลูกตอนอายุมากนั้น พบว่า กลุ่มตัวอย่างเกือบหนึ่งในสาม หรือร้อยละ 30.0 ระบุว่า แต่งงานตอนอายุมาก รองๆ ลงมาคือ ร้อยละ 27.6 ระบุว่า ความพร้อมทางฐานะการเงิน ร้อยละ 22.8 บอกว่า ความมั่นคงในชีวิตคู่ นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลอื่นๆ อีก ได้แก่ ตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์อยากได้ลูกเป็นโซ่ทองคล้องใจและความมั่นใจในเทคโนโลยีทางการแพทย์ตามลำดับ ส่วนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับทารกหากตั้งครรภ์ตอนอายุ 30 ปีขึ้นไป ห้าอันดับแรกได้แก่ อันดับหนึ่ง ร้อยละ 53.8 ระบุ มีพัฒนาการเรียนรู้ช้า อันดับสอง ร้อยละ 38.3 ระบุ เด็กเป็นดาวน์ซินโดรม อันดับสาม ร้อยละ 38.0 ระบุ อวัยวะในร่างกายไม่ครบสมบูรณ์ อันดับสี่ร้อยละ32.7ระบุเด็กเป็นออทิสติกและอันดับที่5 ร้อยละ26.2ระบุครรภ์เป็นพิษตามลำดับ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 56.7 ระบุว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันมีผลต่อการตัดสินใจตั้งครรภ์มีผลต่อการตัดสินมากถึงค่อนข้างมาก ร้อยละ 34.7 ระบุปานกลาง มีเพียงแค่ร้อยละ5.7ระบุมีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อย ที่น่าสนใจคือ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 56.8 ระบุว่า ยังลังเลไม่แน่ใจและต้องปรึกษาคนในครอบครัวก่อนว่าจะทำแท้งหรือไม่หากแพทย์วินิจฉัยว่ามีความเสี่ยงต่อชีวิต ในขณะที่ร้อยละ 27.0 จะตัดสินใจทำแท้งทั้งนี้มีเพียงร้อยละ16.2ที่ตัดสินใจไม่ทำแท้งและพร้อมยอมรับความเสี่ยง ผช.ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า จะเห็นได้ว่าผู้หญิงที่ถูกศึกษามีเพียงส่วนน้อยที่คำนึงถึงศีลธรรม-จริยธรรมที่เข้มแข็ง โดยจากการสัมภาษณ์เจาะลึกพบว่า พวกเธอคิดถึงเรื่อง "ชีวิตมนุษย์" ในครรภ์และ "ความเป็นลูก" ที่มาจากตัวของพวกเธอเป็นหลัก พวกเธอเห็นตรงกันว่า ถ้าตัดสินใจทำแท้งก็คือทำลายชีวิตของลูกชีวิตของมนุษย์และจะเป็นบาปติดตัวไปตลอด อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ยังคงลังเล ไม่แน่ใจว่าจะทำแท้งหรือไม่ขึ้นอยู่กับการชี้แนะชี้นำของคนใกล้ชิดรอบข้าง แต่การที่ผลสำรวจพบว่าคนที่ตัดสินใจทำแท้งทันทีมีอยู่เกินกว่า 1 ใน 4 ของผู้หญิงที่ถูกศึกษาทั้งหมดนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องถกเถียงในสังคมด้านศาสนาและวิทยาศาสตร์กันต่อไป ขอบคุณ... http://www.posttoday.com/สังคม/สาธารณสุข/212993/ผลวิจัยชี้หญิงไทยลังเลเรื่องการทำแท้ง

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...